igoodmedia network
 
- Close

 

 

แบบทดสอบการเรียนรู้
วิชา นศ.5002 ความรู้เบื้องต้นทางการสื่อสาร

ผู้สอน: รองศาสตราจารย์ประชัน วัลลิโก
ผู้เรียน: สู่ดิน ชาวหินฟ้า
วัน เดือน ปี: 30 พฤษภาคม 2548

------------------------------------------------

คำถาม:

ข้อ 2. ให้เลือกอธิบายโดยละเอียด จากหัวข้อต่อไปนี้ (เลือก 3 หัวข้อ 30 คะแนน)

2.1 การสื่อสารภายในบุคคล
2.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
2.3 การสื่อสารในองค์กร
2.4 การสื่อสารมวลชน
2.5 กาารสื่อสารระหว่างประเทศ

คำตอบ:

หัวเรื่อง:
1. การสื่อสารภายในบุคคล
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล
3. การสื่อสารมวลชน

สาระสำคัญ:

1. การสื่อสารภายในบุคคล

1.1 การสื่อสารภายใต้จิตสำนึก

1.2 การสื่อสารโดยสติสัมปชัญญะ

2. การสื่อสารระหว่างบุคคล

3. การสื่อสารมวลชน

3.1 ความหมาย ขอบข่าย

3.2 องค์ประกอบ

3.3 ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน

ความคิดรวบยอด:

1. การสื่อสารภายในบุคคล มีอิทธิพลต่อการควบคุม และเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของแต่ละคน

2. การสื่อสารระหว่างบุคคลมุ่งประเด็นสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ส่งสาร
และผู้รับสาร ที่จะร่วมมือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

3. การสื่อสารมวลชน มีอิทธิต่อประชาชนในฐานะองค์การแห่งการเรียนรู้

รายละเอียด:

1. การสื่อสารภายในบุคคล

เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ที่เป็นนามธรรม จะรู้ได้เฉพาะตน ผู้ที่มีความรู้ ทัศนคติ คุณธรรมในระดับเดียวกันเท่านั้น จึงจะพิสูจน์กันได้ ดังนั้น การสื่อสารภายในบุคคล จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคล(Personality) มากกว่าเป็นเรื่องทั่วไป แต่ความเป็นส่วนบุคคลดังกล่าว ก็สามารถพิสูจน์ได้จากประเมินพฤติกรรม ที่ผ่านการเสร้างเงื่อนไข

การสื่อสารภายในบุคคล (Intra Communication) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

(1) การสื่อสารภายใต้จิตสำนึก เป็นการประมวลประสบการณ์ที่ได้รับทางอวัย เป็นพฤติกรรมรอยต่อระหว่างจุดเชื่อมต่อภายใน (อายตนะภายใน) และ จุดเชื่อมต่อภายนอก (อายตนะภายนอก) จุดเชื่อมต่อภายในได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้ม กาย ใจ จุดเชื่อมต่อภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ การรับรู้ไม่ว่าระดับขั้นใดๆ ย่อมสั่งสมลงในจิตวิญญาณ (ความจำได้หมายรู้) นั่นคือมีการสื่อสารเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยบุคคลไม่รู้ตัว นั่นคือเกิดการเรียนรู้ เลียนแบบ จากสื่อที่พบเห็นอยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่อวัยวะและสติสัมปชัญญะมนุษย์โดยปกติ คนบ้าก็มีการสื่อสาร แต่ไม่สามารถอธิบายบอกผู้อื่นได้ เนื่องจาก ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดการใช้สัญลักษณ์ หรือบุคคลที่มีจิตภาพผิดปกติเพศ เช่น พวกบัณเฑาะว์ (กระเทย ทอมดี้ ตุ๊ด) ประสิทธิภาพในการรับรู้จะเบี่ยงเบนไปตามอารมณ์ และทัศนคติที่ยึดมั่นของตน โดยที่ตนเองไม่รู้ตัว (คนบ้า จะไม่ยอมรับว่าตัวเองบ้า หรือคนที่ยอมรับว่าตนเองบ้า แต่ไม่แก้ไข คือคนดื้อ หรือ ปทปรมะ) หรือไม่ยอมรับในความผิดปกติเพศ

การสื่อสารภายใต้จิตสำนึก เป็นเรื่องของการสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณ น่าจะเป็นแขนงวิชาหนึ่งที่มีการศึกษาค้นคว้าต่อไป (การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสุขภาวะจิตวิญญาณ: Used Emotion Health Communication) โดยเฉพาะกันคนในเอเชีย ซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างจากตะวันตก เพราะวิทยาการทางจิตที่ให้คนในเอเรียนแทนที่จะเป็นนักวิชาการตะวันออก กลับเป็นนักวิชาการตะวันตก

(2) การสื่อสารโดยสติสัมปชัญญะ หมายถึงการสื่อสารแบบลืมตาเห็นๆ โดยปกติวิสัยประจำวันของมนุษย์ ที่เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอน จัดเป็นการสื่อสารโดยสติสัมปชัญญะ แต่ถ้าสติสัมปชัญญะถูกทำลาย ณ ช่วงเวลาใดๆ ช่วงเวลานั้นก็จะเกิดอุปสรรคในการสื่อสาร แต่ยังคงมีการสื่อสารภายใต้จิตสำนึกอยู่

การสื่อสารภายใน เป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยบุคคลคนเดียวกัน โดยอาศัยปัจจัยภายนอกเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

2. การสื่อสารระหว่างบุคคล

การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อที่จำเป็นต้องใช้สื่อกลาง (Midium) มาเป็นพาหะ เพราะผู้ส่งสารกับผู้รับสาร มีปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา คือ

(1) สถานที่ (Place) ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจมองไม่เห็นหน้ากัน อยู่คนละที่ แต่ก็สื่อสารกันได้

(2) ตำแหน่ง (Position) ผู้ส่งสาร กับผู้รับสาร มีสถานภาพทางหน้าที่การงาน อาชีพ เชื้อชาติ ความเชื่อถือ แต่ต้องการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งอาจมีอุปสรรคในเรื่องของการใช้ภาษา เวลาที่จะพูดคุยสนทนากัน จำเป็นต้องมีสื่อกลางมาเป็นสื่อพาสารไป

(3) เวลา (Time) ทั้ง ระยะเวลา (Clock หรือ นาฬิกา) จำนวนเวลา (นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี) และครั้ง (Times) เนื่องจากทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่สามารถหาเวลาในเงื่อนไขต่างๆ ได้ตรงกัน จึงจำเป็นต้องมีสื่อกลางในการพาสารไป

(4) โอกาส (Opportunity) หมายถึง โอกาสที่อยู่ต่อหน้า หรือโอกาสในการส่งสาร โอกาสในการรับสาร ซึ่งบางครั้งสารได้ถูกกำหนดพร้อมที่จะส่ง แต่ไม่มีโอกาส หรือโอกาสไม่เหมาะสม ก็ต้องมีการสำรองสารนั้นไว้ เพื่อรอโอกาสที่เหมาะสม นี่ก็ต้องใช้สื่อกลางเช่นกัน

(5) ระดับความสามารถในการใช้หรือเข้าถึงสื่ออุปกรณ์ เป็นความสามารถส่วนบุคคล ทั้งของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ดังนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือมาช่วย connect ให้เกิดการสื่อสารครบกระบวนการ

(6) ทัศนคติ ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีทัศนคติที่ต่างกัน ย่อมมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมในการรับสารต่างกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีสื่อกลางมาคอยช่วยลดทอนความต่างของทัศนคติดังกล่าวด้วย

(7) อารมณ์ เป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่ทำให้เกิด noise (สิ่งรบกวนในการรับ-ส่งสาร) หรือเป็นตัวเสริม boot ให้เกิดพลังหรือประสิทธิภาพในการส่ง-รับสาร กล่าวคือ อารมณ์ดี มี emotion สูง ก็มีความสามารถในการข่าวสารได้ดีกว่าช่วงที่มีอารมขุ่นมัว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีสื่อมาเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้

การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีความหมายกว้างขวางมาก แต่ก็สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

2.1 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

2.2 การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) คือการส่งข้อมูล ข่าวสาร Hard Mass ที่ระบุรายการสำคัญลงไปด้วย แต่ไม่ลงในรายละเอียดมากนัก มักไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางในการเผยแพร่ มักเป็นเครื่องของความร่วมมือ หรือแจ้งวัตถุประสงค์ เหตุการณ์ไปยังผู้รับ

2.3 การโฆษณา (Advertising) คือ การส่งสารที่ผ่านการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี โดยที่สารที่จะส่งนั้น จะบอกสาระสำคัญที่ต้องการโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การโฆษณา มีระยะเวลาจำกัดกว่าการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่าการประชาสัมพันธ์

2.4 การสื่อสารภายในองค์กร คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลภายในองค์การในทุกๆ รูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ เรื่องส่วนตัวของบุคคลที่เกี่ยวกับกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานขององค์การดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

เป็นการสื่อที่จัดระเบียบทางความคิด ภาษา ลำดับงาน ตำแหน่ง แบบแผนในการสั่งการ เพื่อให้การสื่อสารมีผลต่อการดำเนินงานขององค์กร ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามแผนงานที่ตั้งไว้

สัดส่วนที่ต้องมีการบริหาร และวิเคราะห์เป็นพื้นฐานคือ อัตราส่วนระหว่าง “งาน” กับ “อารมณ” หรือ “ความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในองค์กร” กับ “ปริมาณงาน” งานจะดีมีคุณภาพ ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความสัมพันธ์ความเข้าใจที่ดีต่อกันของสมาชิกในองค์กร ดังนั้น จะทำอย่างไร ที่จะสร้างอัตราส่วนที่พอเหมาะ เพราะถ้างานมากเกิน อารมณ์ก็เสีย ขาดมิตรภาพที่ดี แต่ถ้ารัก และสร้างกิจกรรมสัมพันธ์มากเกินไป หรือละเลยระบบระเบียบปฏิบัติ ปล่อยให้สบายๆ มากเกินไป งานก็เสีย

ประเด็นการสื่อสารในองค์กร จึงให้ค่าความสำคัญไปที่ “คน” กับ “ระบบ” กล่าวคือ ต้องจัดองค์ประกอบที่ดีให้แก่คน และ ระบบ เพราะเหตุว่า คนดี ย่อมสร้างระบบดี (องค์กรเข้มแข็ง) ระบบที่ดี ย่อมส่งเสริมให้คนดีทำดีง่าย คนชั่ว ทำชั่วได้ยาก องค์กรที่เข้มแข็ง พนักงานก็ขมักเขม้นเอาภาระดี ส่วนคนเลว ย่อมสร้างระบบเลว (องค์กรไร้ประสิทธิภาพ) ระบบเลว ย่อมส่งเสริมให้คนเลว ทำเลวได้ง่าย ขณะเดียวกันก็จะกีดกันให้คนดี ทำดียาก นั่นหมายถึงว่า ผู้บริหารองค์กรเป็นผู้ลำเอียง จะบริหารองค์กรล้มเหลว กิจการพลังทลายได้ง่าย เพราะจะเกิดกลุ่มผลประโยชน์ และการช่วงเชิง แบ่งพรรคพวก ส่งผลให้ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกดีบางกลุ่ม ไม่ดีบางกลุ่ม งานที่ได้ด้อยคุณภาพ

2.5 การสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการสื่อสารระหว่างความแตกต่างทั้งด้านสถานที่ ภาษา เชื้อชาติ วัฒนธรรม พิธีการ (Protocal) ทัศนคติ การสื่อสารระหว่างประเทศ จะมีเรื่องของการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ เข้ามาเกี่ยวข้อง การกำหนดสาร วาระของสาร จึงต้องผ่านการวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งส่งสารและผู้รับสาร ตลอดจน เครื่องมืออุปกรณ์ ต้องมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงพอที่จะไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารกัน

2.6 การใช้กลยุทธ์การรณรงค์ (Strategic Campaign) คือการสื่อสารที่ผ่านการวิเคราะห์ก่อนลงมือ กล่าวคือ ต้องมีการวิเคราะห์ผู้รับสาร (Audience Analysis) วิเคราะห์ตัวสาร (Message Analysis) แล้วจึงสร้างสาร (Message Design) ตามที่ต้องการ โดยมีปัจจัยและเงื่อนไขของ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ ระยะเวลา เป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินการ

2.7 การกำหนดวาระสาร (Agenda Setting) เป็นการสื่อระหว่างบุคคลประเภทหนึ่ง ที่เฉพาะเจาะจง โดยนำทฤษฎีการจัดลำดับสารมาประยุกต์ใช้ โดยเชื่อว่าสื่อยังคงมีอิทธิพลต่อผุ้รับสารสูงกว่า หมายถึงกระบวนการที่สื่อมวลชนเป็นผู้จัดลำกับความสำคัญของข่าวสารแล้วนำเสนอไปยังผู้รับสาร (Rogers & Dearing)

McQuail แบ่งการจัดลำดับสารออกเป็น 3 วาระคือ

2.7.1 วาระทางการเมือง (Policy Agenda) ผู้มีอำนาจทางการเมืองขณะนั้นเป็นผู้กำหนด ส่วนมากจะเป็นเรื่องการเมือง ผลประโยชน์ทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง ประชาชนผู้รับสารจะเป็นผู้ถูกกระทำเสียมากกว่า

2.7.2 วาระสาธารณะ (Public Agenda) สาธาณะชน หรือสถาการณ์ทางสังคม วัฒนธรรม เป็นปัจจัยกำหนดให้เกิดจัดลำดับสาร เช่น ประชาชนได้รับผลกระทบจากอากาศเป็นพิษ ก็จะร่วมกันประชามติให้มีการกำหนดหัวเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ดังกล่าวก่อน เป็นต้น

2.7.3 วาระการสื่อ (Media Agenda) เนื่องจากมีปัจจัยที่มาเป็นผลกระทบหลายด้าน ซึ่งสื่อมวลชนรู้ดี จึงร่วมกันทำเป็นประชามติ ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวก่อน

การเมือง มักจะเข้ามาแทรกในวาระสาธารณะ และวาระของสื่อ เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลระหว่างการใช้อำนาจรัฐ กับจริยธรรมทางการเมือง และความด้อยประสิทธิภาพในการใช้อำนาจตรวจสอบรัฐของประชาชนผู้รับสาร

3. การสื่อสารมวลชน

3.1 ความหมาย และขอบข่าย

การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) หมายถึง การสื่อสารไปยังคนจำนวนมาก ในเวลาเดียวกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกัน

สื่อมวลชน (Mass Media) หมายถึง ตัวกลางที่หน้าที่เป็นทั้งสื่อ และเป็นช่องทางในการส่งสารไปยังผู้รับ ได้แก่ แผ่นป้ายโฆษณา (Build Bard, Cut out) หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือวารสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต

3.2 องค์ประกอบของการสื่อสารมวลชน

3.2.1 ผู้ส่งสาร ที่เป็นสื่อมวลชน ประกอบด้วยคุณลักษณะเด่น 3 ประการ คือ

(1) เป็นคณะทำงาน ที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบ

(2) คณะทำงานต้องมีความสามารถในระดับ Professional

(3) มีงบประมาณในการบริหารจัดการ และค่าดำเนินการที่พอเพียง

3.2.2 สาร ที่เป็นสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยลักษณะหลัก 3 ประการ คือ

(1) หลักสาธารณะ (Public Surveillance) คือตัวสารต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนรับได้ มิใช่เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องที่แสวงหาผลประโยชน์ หรือเป็นเครื่องมือทำลายคู่ต่อสู้ ดังนั้น สารมวลชน (สื่อมวลชน) ที่ดีจะต้องสอดแทรกด้านจริยธรรม คุณธรรมลงไปด้วย

(2) หลักความรวดเร็ว (Express) โดยมีเงื่อนไขของเวลา สถานที่ โอกาส ที่ผู้รับสารได้รับสารในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่ต่างสถานที่ และมีโอกาสในการเข้าถึงสารได้รวดเร็ว

(3) หลักความสิ้นเปลือง หรือไม่ยั่งยืน (Consumption) เพราะอายุของสาร สั้น เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน รายการประจำวันของวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เหล่านี้เปลี่ยนแปลงทุกวัน ทำให้สิ้นเปลือง

3.2.3 สื่อ ที่เป็นสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ

(1) หลักความสามารถและปริมาณ สามารถนำพาสารไปยังผู้รับสารกลุ่มใหญ่ได้

(2) หลักความรวดเร็ว มีความรวดเร็วในการนำพาสารเหล่านั้น

(3) หลักแห่งเวลาและโอกาส ให้ผู้รับสารที่อยู่ต่างสถานที่ มีโอกาสได้รับสารในเวลาใกล้เคียงกัน

3.2.4 ผู้รับสาร ที่จัดอยู่ในกลุ่มการสื่อสารมวลชน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

(1) เป็นคนกลุ่มใหญ่ ในการรับสารแต่ละเรื่อง

(2) มีความแตกต่างที่หลากหลาย ทั้งทางด้านประชากรศาสตร์ (Demographic, Pychographic) และ วิถีชีวิต (Life Style)

(3) ไม่รู้จักกันมาก่อน (Anonymity)

3.3 ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อสังคม

3.3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม และเกิดการเลียนแบบพฤติกรรม เพราะสื่อคือตัวแทนแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น สื่อจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของคนในสังคม

3.3.2 ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ผู้รับสารมีความสำคัญกว่าตัวสาร การสื่อสารออกไปต้องมีความชัดเจน พฤติกรรมการเปิดรับสื่ออย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับความพึงพอใจในสื่อ ความพึงพอใจได้แก่ entertain, Personal Relation, Personal Identity, การติดตามอ่านข่าว

3.3.4 ทฤษฎีความหวังจากสื่อ กล่าวว่า ผู้รับสารมีพฤติกรรมในการรับสื่อเฉพาะที่ตนสนใจ หรือเกิดแรงจูงใจ (Motivation) และความคาดหวัง ดังนั้น แรงจูงใจ นำไปสู่การคาดคะเนที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดรับสื่อ และเกิดพฤติกรรมเปิดรับสื่อ

3.4 Mass Media Content

3.4.1 สิ่งพิมพ์ (Press) ได้แก่

3.4.1.1 หนังสือพิมพ์ มีลักษณะ วาระการเผยแพร่ออกถี่ มีอิทธิพลต่อประชาชนสูง (ในฐานะเป็นตัวแทนแห่งการเรียนรู้ Agent of Socialization) จำนวนผู้อ่านมากกว่าวารสาร ไม่เย็บเล่ม ราคาถูก ขนาด 21x34 inch. หรือขนาด tabloid

3.4.1.2 นิตยสาร หรือ วารสาร มีลักษณะ วารการเผยแพร่รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน รายสามเดือน รายสี่เดือน รายหกเดือน รายปี เย็บเล่มสวย คงทน สีมีคุณภาพสดกว่า ราคาแพง อ้างอิงได้ มีความน่าเชื่อถือทางข้อมูล

3.4.1.3 หนังสือเล่ม มีลักษณะทางวิชาการ ออกแบบคงทน ใช้อ้างอิงทางวิชาการ มีวาระการออกไม่แน่นอน นับเป็น

3.4.2 โทรคมนาคม (Communication)

3.4.2.1 วิทยุโทรทัศน์

3.4.2.2 วิทยุกระจายเสียง

3.4.2.3

3.4.3 ฟิล์ม หรือ ภาพยนตร์ ลงทุนสูง ใช้ระยะเวลาสร้างนาน เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย เช่น

1. ผู้ประสานงาน AE. (Account Executive)

2. ผู้คิดสร้างสรรค์ CD. (Creative Director)

3. ผู้กำกับศิลป์ AD. (Art Director)

4. ผู้สร้างสรรค์บทโฆษณา (Copywriter)

5. ผู้ควบคุมการผลิต (Producer)

6. ผู้กำกับการแสดง (Director)

7. ผู้ตัดต่อ (Editor)

8. ผู้ถ่ายภาพ (Camera)

9. ผู้กำกับแสง (Lighting)

10. ผู้กำกับเสียง (Sound Engineer)

11. ผู้ช่วยในสาขาต่างๆ (Staft)

มีวาระการนำเสนอนาน ต้องใช้สถานที่เฉพาะ (โรงภาพยนตร์) แต่ให้อารมณ์ทางสุนทรียศิลป์สูงกว่าวิทยุโทรทัศน์ หรือสื่ออย่างอื่น เป็นธุรกิจระดับอุตสาหกรรม ปัจจุบันภาพยตร์ได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบอื่น เป็นผสมทางการตลาดไปด้วย คือ ซีดี หรือหนังแผ่น

3.4.4 ปราศรัย คือการบรรยายปราศรัย เป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน ระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) อาจคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ แต่ผู้ฟังจำนวนมาก

3.4.4.1 การปราศรัยทางการเมือง

3.4.4.2 การบรรยายทางวิชาการ หรือการปาฐกถา

3.4.4.3 การพูดแบบ นำด้วยสาระ ตามด้วยบันเทิง เช่น Talk show โต้วาที ใช้สาระนำตามด้วยบันเทิง

3.4.4.4 การพูดแบบ นำด้วยบันเทิง ตามด้วยสาระ เช่น ละครย่อย ประกอบเกมโชว์

3.4.5 อินเตอร์เน็ต ราคาถูก แต่ใช้ Hi-tecnology เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้ระยะไกลกว่าสื่อประเภทอื่น รวดเร็ว ปริมาณมาก ครอบคลุมทั้งทางด้านเนื้อหา บุคคล เด่นในเรื่องของ ปฏิสัมพันธ์ (Interactive), สถานที่ไม่จำกัด (Connectivity) หรือเคลื่อนที่ได้ (Mobility), ดัดแปลงข้อมูลได้ (Convertibility), ไร้พรหมแดน (Globalization) แต่มีอุปสรรค เรื่องเครื่องรับ ที่ต้องใช้เครื่องเฉพาะ คือคอมพิวเตอร์ และอาศัยช่องทางของ กสท. ยังไม่มีอิสระในเรื่อง channel แต่เป็นสื่อที่ควบคุมยาก

3.4.5.1 World Wide Web Server บริการด้านเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร

3.4.5.2 Mail Server บริการด้านรับส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์

3.4.5.3 FTP Server บริการรับส่งข้อมูลข่าวสาร ที่ใช้รูปแบบการรับส่ง (Protocal) อันเดียวกัน

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสาร ทำให้ความหมายของการสื่อสารเปลี่ยนไป ด้วยสาเหตุต่อไปนี้

-ผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีความสามารถ และ โอกาสในการใช้เครื่องมือสื่อสารที่ต่างกัน ตลอดจนมีทัศนคติต่อตัวสาร เครื่องมือ และคน ที่ต่างกัน

-สื่อกลาง (medium) ที่ใช้สร้างและจัดเก็บ ตัวสาร (Message Content) มี 3 รูปแบบ คือ

(1) Material เป็นวัตถุที่จับต้องได้ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ เอกสาร สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ที่พิมพ์ลงวัสดุแผ่น เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ แท่งหิน ไม้ ละอองน้ำ

(2) Analog เป็นสัญญาณไฟฟ้า มี 4 ชนิด คือ คลื่นเสียง (sound wave) คลื่นแสง (light wave) คลื่นวิทยุ (radio wave) และคลื่นแม่เหล็ก (magnetic wave) ตัวสารที่ถูกสร้างด้วยสื่อกลางประเภทนี้ อาจใช้สัญญาณไฟฟ้าเป็นสื่อกลางมากกว่า 1 ชนิด เช่น รายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ที่ถ่ายทอดออกมา (Output, Display) ด้วยภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน ส่วนการจัดเก็บนั้น ทางด้านกายภาพมักนิยมเก็บด้วยวิธี record หมายถึง การเข้ารหัสทางไฟฟ้า แล้วเก็บ (back up) รหัสไว้ใน แถบเส้น (tape), แผ่น (แผ่นเสียง) ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ ก็ใช้บัตรเจาะรู เตรียมรอเอาไปถอดรหัสเพื่อแสดงผลต่อไป กลไกการทำงานใช้ระบบเครื่องกล (Mechanic) ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ

ปัจจุบันระบบอนาล็อก ยังมีใช้อยู่ เพราะเหตุว่าอุปกรณ์ที่เป็นตัวเข้ารหัสและถอดรหัส (เครื่องบันทึก Recorder, เครื่องอ่าน Player) ยังถูกใช้อยู่ ดังนั้น อุปกรณ์ที่ back up รหัสต่างๆ ไว้ จึงยังจำเป็นต้องนำไปใช้เช่นเดียวกัน แต่ปัจจุบันกำลังเป็นอุปกรณ์ตกยุค หรือล้าสมัยไปแล้ว เพราะมีอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทน ในราคาที่ถูกลง และประสิทธิภาพสูง

(3) Digital Signal เป็นสัญญาณไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่ถูกควบคุมด้วยสัญลักษณ์คำสั่งที่มาจากการเข้ารหัสและถอดรหัสแบบเลขฐานสอง ข้อดีคือ มีความเที่ยงตรงสูง เหมาะสำหรับใช้คัดลอกได้หลายสำเนา โดยข้อมูลไม่ผิดพลาด เพราะการอ่านและเขียนรหัส มีความเที่ยงตรงสูง

ปัจจุบัน สื่อ Digital ได้รับการพัฒนาไปมาก สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก แต่ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยลง โดยการใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูล สื่อกลางที่ใช้เก็บรหัส Digital ได้แก่ อุปกรณ์ Fix Disc หรือ Hard Disc, Compact Disc (VCD, CD, DVD), Chip หรือ Card ที่สามารถจัดเก็บรหัส Digital ได้ โดยมีขนาดความจุที่ใช้จัดเก็บ มีหน่วยเป็นเมกะไบต์ (MB) หรือ จิกะไบต์ (GB)

ด้วยประสิทธิภาพของระบบดิจิตอล ทำให้ข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ (Master หรือ Original Source) กับ ฉบับสำเนา (Copied Target) มีคุณภาพไม่ต่างกันเลย ทำให้การคัดลอกข้อมูลทำได้แม่นยำ และรวดเร็ว การส่งสารและการรับสาร ในอนาคตจะใช้ระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมด

-ช่องทาง (Channel) ที่ใช้ส่งสาร และรับสาร มีทางเลือกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน สื่อ (Media) หรือ เทคโนโลยี เอกสาร สิ่งพิมพ์ ผลิตด้วยสื่อกระดาษ เข้าเล่ม จัดส่ง ยังคงพึ่งพาไปรษณีย์ ภาพและเสียง บันทึกเก็บในแผ่น compact disc แล้วส่ง หรือ บันทึกแล้วส่ง (ถ่ายทอดสด) ใช้บริการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เป็นช่องทาง ภาพยนตร์ยังคงใช้ฟิล์มและฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ก็ตอบสนองคนดูได้หลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น ในการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะถูกจัดเก็บในรูปของแฟ้มข้อมูล (File) ก่อน ส่วนการส่งและรับข้อมูล จะอาศัยช่องทางของเครือข่าย LAN, WAN, Intranet, Internet โดยมีเงื่อนไขของการเข้ารหัสและถอดรหัสเพิ่มเติมเข้ามา

ปัจจุบัน สื่อระบบดิจิตอลเข้ามามีบทบาทในการยกระดับความสามารถและประเสิทธิของอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณ และเครื่องรับสัญญาณ ทำให้ความหมายของการสื่อสารมวลชน และสื่อมวลชน มีการตีความให้ครอบคลุมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

เช่น การส่งข้อมูล การรับข้อมูล ผ่านโทรศัพท์ติดตามตัว การเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต การสนทนาหรือประชุมผ่านอุปกรณ์ทางไกล (Teleconference) เหล่านี้แม้จะยังไม่เป็นข้อยุติว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารมวลชนหรือไม่ แต่ก็มีเรื่องของ เวลา โอกาส สถานที่ ความรวดเร็ว มาเป็นเงื่อนไขในการวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อให้เป็นข้อมูลในการตัดสิน หรือตกลงใจในการตีความ

-ข้อมูลย้อนกลับ (feed back) ในกระบวนการสื่อสาร ได้รับการตอบสนองสูงขึ้น ด้วยอัตราความเร็ว จำนวนครั้ง ความถี่ ทำให้ประสิทธิภาพในการประเมินผลของการสื่อสาร เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และได้รับการตอบสนองที่ดี ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญที่จะนำระบบการสื่อสารไปประยุกต์ในธุรกิจของตน เพื่อการแข่งขัน