igoodmedia network
 
- Close

 

 

 

ตารางแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของสังขารธรรม


สังขารธรรม

องค์ประกอบ
(Factor of Causality Compounded)

สถานภาพ (Status)
ที่ประกอบเป็นสังขารแล้ว

ประเภท
ของสังขารธรรม

ดิน, วัตถุ (Material)

ธาตุทั้ง 5 (ดิน + น้ำ + ไฟ + ลม + อากาศ)

สสาร + พลังงาน
(Mass + Power)

สิ่งไม่มีชีวิต (Mass)

พืช
(Plant)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร

อาหาร คือ การเคลื่อนที่ หรือแปรสภาพของ ธาตุทั้ง 5 ออกมาเป็นพลัง หรือกำลังงาน (energy)

สสาร + พลังงาน + กริยา
(Mass + Power + Action)

กริยา หมายถึง อาการ ที่เป็นผลจาก การแปรสภาพของ ธาตุทั้ง 5

สิ่งมีชีวิต ระดับ “พีชะ”
(Organic)

สัตว์
(Animal)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ (ความรู้สึก-รับรู้ได้)

ภูตะ คือ จิตใจ ที่สามารถรับรู้ได้ หรือรู้สึกได้ ต่อสิ่งต่อไปนี้ (1) อุณหภูมิ (2) แสง สี (3) เสียง
(4) รส (5) กลิ่น (6) สัมผัสทางผิวหนัง (7) อารมณ์

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วัฎฎะ
(Mass + Power + Action + Motion + Eternity)

สัตว์ไม่สามารถรับรู้เรื่อง ปาณะ หรือวิญญาณ ได้ ดังนั้น ความดีความชั่ว สัตว์ไม่รู้จัก กรรมของสัตว์ จึงเป็น วัฎฎะ มิใช่วิบาก เพราะกรรมนั้นขาดเจตนา

ด้วยเหตุนี้ ภพ ชาติ ชรา มรณะ ของสัตว์จึงยาวนาน

สิ่งมีชีวิต ระดับ “เดรัจฉาน”
(Living)

คน หรือ
มนุษย์
(Homo Sapiens)

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ (ความรู้สึก-รับรู้ได้) + ปาณะ (วิญญาณ) + กิเลส

กิเลส เป็นเครื่องแบ่งเขต ความเป็นปุถุชน กัลยาณชน มนุษยชน

ปาณะ หรือ วิญญาณ คือ การรับรู้ได้ เรียนรู้ได้ มีจริงได้ และเป็นจริงได้ (Being) ในเรื่องของ
(1) ดี-ชั่ว (2) จริง-เท็จ (3) ศิลป-อนาจาร
(4) ควรทำ-ควรละเว้น (5) หมด-เหลือ

ถ้ารับรู้ได้ เรียนรู้ได้ เป็นได้แค่เพียง “คน”
ถ้าถึงขึ้น มีจริงได้ เป็นจริงได้ ก็เรียก “มนุษย์”
จนถึงขั้น “เทวดา”

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วิบาก
(Mass + Power + Action + Motion + Effect)

สิ่งมีชีวิต ระดับ “ปุถุชน” (Person) หรือ
ระดับ “มนุษย์” (Human)

เทพ หรือ พระเจ้า

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ + ปาณะ + ภพ (สวรรค์)

ภพ คือ ความติด ความเหลือ ที่ค้างอยู่ในจิต (ชีวะนุปาทิ-ชีระนุปาทิ) หรือ ค้างอยู่ในวัฎฎะ (ภพ ชาติ ชรา มรณะ)

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + วิบาก
(Mass + Power + Action + Motion + Effect)

สิ่งมีชีวิต ระดับ “เทวะ” (God)

ธรรม

ธาตุทั้ง 5 + อาหาร + ภูตะ + ปาณะ + สุญญตา

สุญญตา คือ ไม่หลงเหลือ สิ่งต่อไปนี้ในจิต และวิญญาณเลย (Null)
-ความชั่ว -ความเท็จ -สังโยค –อกุศล –อวิชชา (ทุกข้อมีค่าเป็น 0)

สสาร + พลังงาน + กริยา + กรรม + กาละ
(Mass + Power + Action + Motion + Time)

กรรม ของสิ่งมีชีวิตระดับนี้ เป็นกรรมบริสุทธิ์ ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งใด หรืออะไร คงมีเวลาเท่านั้น เป็นสิ่งที่ดำเนินไป คู่กับกรรม หรือการกระทำ

สิ่งที่มีชีวิต ระดับ “ธรรมะ” (Integrity) หรือระดับเหนือชีวิต (Being Null)

เป็นผู้ที่ไม่เหลือแม้ ชีวะนุปาทิ และ ชีระนุปาทิ มีชีวิตเพื่อผู้อื่น หมดสิ้นอัตตาตัวตนใดๆ (สุญญตบุคคล หรือ สรรพัญญูบุคคล) ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ปัจจุบัน

อภิธานศัพท์

สังขารธรรม (Causality Compounded) คือ การปรุงแต่ง (สร้าง) ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม จากเหตุและปัจจัยที่เป็นจริง หรือการก่อกำเนิดของทุกสรรพสิ่งบนโลก

ความสูญ ความว่างเปล่า ความหมดไม่เหลือ (Extinct, Nothing, Null)

เทพ หรือ เทวดา (A man of Integrity)

พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้น ลึกซึ้ง (คัมภีรา) เห็นได้ยาก (ทุททสา) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา) สงบ (สันตา) ประณีต (ปณีตา) จะคาดคะเนเอาไม่ได้ (อตักกาวจรา) ละเอียด (นิปุณา) รู้ได้เฉพาะบัณฑิต (ปัณฑิตเวทนียา)

พระพุทธองค์ประกาศศาสนามิใช่เพื่อตัวเพื่อตน หรือเพื่อสมาคมใด หรือเพื่อองค์กรใด แต่หลักธรรมทั้งหลายที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อประโยชน์แก่มหาชน (พหุชนหิตายะ) เพื่อความสุขของมหาชน (พหุชนหิตายะ) เพื่อเกื้อกูลโลก (โลกานุกัมปายะ)

กรรมเlป็นของตน (กัมมัสโกมหิ) กรรมเป็นทายาท (กัมมทายาโท) กรรมเป็นแดนเกิด (กัมมโยนิ) กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (กัมมพันธุ) กรรมเป็นที่พึ่ง (กัมมปฏิสรโณ) กรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ (กัมมัง สัตเต วิภัชชติ)

ปัญหา หรือ วิกฤติ (Crisis)

(1) วิกฤติภายนอก
-นิพัทธทุกข์ หรือทุกข์เนืองนิตย์ วนเวียน คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจาระ ปัสสาวะ (ปัญหาความต้องการพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ หรือ need)
-พยาธิทุกข์ หรือ ทุกขเวทนา คือ ความเจ็บป่วยทางกาย ด้วยโรคสาเหตุต่างๆ ที่มาเบียดเบียน
-อาหารปริเยฎฐิทุกข์

(2) วิกฤติภายใน
-ปกิณกทุกข์ (ทุกขอริยสัจจ์) หรือ ทุกข์จร คือ โสก ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส พรากจากของรัก พบของที่ไม่ชอบใจ
-สันตาปทุกข์ หรือ ทุกข์คือความร้อนเผาใจด้วยความโง่ (อวิชชา) คือ ทุกที่เกิดจาก ราคะ โทสะ โมหะ
-วิวาทมูลกทุกข์ ความร้อนรน กลัวภัยทั้ง 5 (ภัยทั้ง 5 มีอะไรบ้าง)

(3) วิกฤติโดยสภาพ
-สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
-วิปากทุกข์ หรือ ทุกข์เพราะผลกรรม ได้แก่ วิปฏิสาร ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว “เป็นผลจากการกระทำของผู้อื่น ที่มีการกระทำของตนเป็นเหตุ”
-สหคตทุกข์

การวิเคราะห์หาสาเหตุและทางออกของวิกฤติแต่ละข้อเพื่อ
–เพื่อเลือกว่าวิกฤติข้อใดที่แก้ไขได้ในระดับปัจเจกบุคคล
–เพื่อเลือกว่าวิกฤติข้อใดที่แก้ไขได้ในระดับปัจจเจกบุคคลและระดับรัฐ
–เพื่อเลือกว่าวกฤติข้อใดที่แก้ไขได้ในกรอบเวลาอันสั้น เร่งด่วน หรือแผนระยะยาว
–เพื่อเลือกว่าวกฤติข้อใดที่ควรนำมาแก้ไขเป็นลำดับก่อนหลัง
–เพื่อเลือกว่าวกฤติข้อใดที่แก้ไขไม่ได้ ให้เอาเวลาและพลังงานไปแก้ไขวิกฤติข้ออื่น

ทรงยืนยันว่า ทางนี้เป็นทางเอกทางเดียว (เอเสวมัคโค) ทางอื่นไม่มี (นัตถัญโญ)

 

สู่ดิน ชาวหินฟ้า
21 มิย 2548