พ่อท่านเปิดการฝึกอบรม

นำหนังสือที่ ส.ศิวลักษณ์ เขียนถึงพ่อท่าน ว่าเป็น แสดงให้เห็นถึงว่า กระแสสังคมให้การยอมรับอโศกมากขึ้น ในระดับประเทศ และไปสู่กระแสโลก อโศกจะเป็นแหล่งให้นักวิจัยมาใช้เป็นแหล่งศึกษา ทุกอย่างเป็นไปในทางที่ดี ซึ่งต่างจากในอดีต ที่พวกเขาไม่เข้าใจเรา แต่ต่อนี้ไปประชาชน สังคมรู้จักเรา ศึกษาเรามากขึ้น สัจจะความจริงได้เปิดเผยมากขึ้น และเป็นสัจจะที่สังคมกำลังขาดแคลน ก็ยิ่งเป็นความต้องการของสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการหันมาสู่ความเป็นคนจน จนอย่างมีปัญญานี่แหละจะเป็นทางออกของสังคม

งานนี้มาจัดที่สันติอโศก อาจจะเป็นการทดลอง หรือมาศึกษาจากสันติอโศกโดยนัยยะแห่งสังคม ทำให้รู้สึกว่าเขาเองก็ไม่ผิดหวัง เราจะต้องตรวจสอบ เก็บรักษา เรียนรู้ความซับซ้อน ของสังคม ของจิตวิญญาณ ซึ่งถ้าเป็นแนวลึก จะต้องติดตามกันใช้เวลายาวนานขึ้น

เราอยู่ในสังคมได้ด้วยความแน่น ความแข็ง (ด้วยอุดมการณ์ทางศาสนา) จึงอยู่ได้อย่างยั่งยืน แม้สังคมจะมองว่าเราต่ำ (ทำขยะ ทำจน เป็นชาวไร่ชาวนา ไม่มีเงิน) ลึกๆ แล้วเราเป็นผู้ใหญ่ ไม่สะสม ถ้ามาดูใกล้ๆ แล้วจะรู้ในสิ่งที่เราทำ ที่เราเป็น

จิตวิญญาณเป็นประธานสิ่งทั้งปวง เป็นต้นทางในการพัฒนาสังคม พวกเราแข็งแร็งขึ้น มีอัตราการก้าวหน้า เขาไม่กล้าจะทำอย่างเรา เพราะต้องอาศัยเวลา แต่เขาจะให้เราทำอย่างเขา เพื่อจะได้ปริมาณ และกว้าง มันเป็นไปไม่ได้ เพราะจะไม่ได้คุณภาพ จะได้แต่ปริมาณ

ขอให้ยืนยันความจริงที่เรามีเราเป็นต่อสังคม เขาจะยอมรับในความจริง แต่ขอให้พวกเราระมัดระวังเรื่องมารยาทของสังคมเขาบ้าง เรื่องความสวยงามแบบโลกๆ เราก็ทำได้แต่ยังไม่ถึงเวลา แต่เราต้องอาศัยรูปธรรม ภาษาธรรม สื่อแสดงออกไปให้สังคมเขาเข้าใจ

 

––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กับโครงการวิจัย "การสร้างเสริมสุขภาวะจิตวิญญาณ ศึกษากรณีชุมชนชาวอโศก" วันที่ 3 – 5 พฤษภาคม 2547 ณ ชุมชนสันติอโศก กรุงเทพมหานคร

ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผอ.สถาบันเอเชียศึกษา

––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––

 

การใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดย ดร.สุภางค์ จันทวานิช

 

สุขภาพของมนุษย์ ตามขอบข่ายของกระทรวงสาธารณสุขคือ

1. สุขภาวะกาย

2. สุขภาวะจิต

3. สุขภาวะจิตวิญญาณ

4. สุขภาวะทางสังคม

 

เรื่องของ นิยาม

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ การให้ความหมายที่หลากหลาย ต้องการประมวลความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ตามความรับรู้ของชาวอโศก ซึ่งได้มีการนิยาม คำว่า จิตวิญญาณ มาแล้ว ต่อไปต้องไปติดตามดูว่า พฤติกรรม คืออย่างไร สิ่งที่ต้องทำต่อคือ การตีความอย่างนี้ เหมาะสมแล้วหรือยัง

คนอื่น เขามีความหมายอีกอย่าง ซึ่งต่างจากที่เราหมาย ต้องตามไปดูอีกว่า สิ่งที่เราตั้งไว้

การวิจัยเชิงคุณภาพ ไม่เกินร้อยปี (ศตวรรษที่ 19) เป็นการวิจัยแบบทางเลือก ต่างไปจากการวิจัยเชิงปริมาณ นักสังคมศาสตร์จะทำวิจัยบ้าง ก็นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษามนุษย์ กายภาพ ชีวภาพ ดิน น้ำ ลม ไฟ

แต่จริงๆ แล้ว การศึกษาทางจิตวิญญาณ มันลึกซึ้งยิ่งกว่ารูปธรรมมาก

ลักษณะความเป็นจริงทางสังคม

 

1. มีความหมาย

2. มีความสลับซับซ้อน

3. มีความเปลี่ยนแปลง ไม่อยู่นิ่งในระดับสูง

4. มีความเกี่ยวพันระหว่างความเป็นจริง กับ บริบททางสังคม

มนุษย์เอาความหมายไปใส่ลงในวัตถุ แล้วกำหนดเป็น สี อารมณ์ ความสูงต่ำ ฯลฯ ความหมายที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อ มนุษย์ คือ ภาษา ความหมายที่อยู่นอกภาษา เป็นสิ่งสำคัญ มีความซับซ้อน เช่น ดูคนต้องดูที่อากัปกิริยา สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล การไหว้มีความหมายที่ซ่อนอยู่ในอากัปกิริยา ซึ่งไม่สามารถเอาค่าทางปริมาณ มาวัดค่าได้ รับรู้ได้ในหมู่คนเฉพาะกลุ่มได้ดี

Outsider = Emic
Insider = Emic เราจะใช้ระบบความหมายนี้มาทำวิจัย

มนุษย์อยู่กับระบบความหมาย เหมือนปลาอยู่ในน้ำ ก็ไม่รู้สึก แล้วจะมาศึกษาตนเอง อย่างนี้ทำได้ไม่ง่าย เหมือนไม่รู้จักนำ แต่กล้าอาจหาญจะมาทำวิจัยเรื่องน้ำ ดังนั้น เราจะต้องทำใจให้ได้ว่าเราไม่ใช่ insider

นักวิจัยมือใหม่ ไม่ควรทำวิจัยเรื่องของตัวเอง ถ้าจะทำต้องจัดระเบียบความรู้สึกใหม่ว่า เราเป็นคนนอก Outsider

รายการการปฏิบัติธรรมของอโศก กับ ความเป็นจริงทางสังคม นั้นต่างกัน

มิติทางด้านจิตใจ ทำให้ความเป็นจริงทางสังคมเหมือนภูเขาน้ำแข็ง คือ แสดงความเป็นเพียง 1 ใน 10 ส่วนเท่านั้น ทุกคนต้องมีทั้งหน้าบ้าน และหลังบ้าน เราต้องนึกเสมือนว่า เราเป็นบ้านหลังหนึ่ง จะอนุญาตให้คนเข้าถึงบ้านเราแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความไว้วางใจ

เราจะเป็นทั้งผู้วิจัย และถูกวิจัย ทุกคนต้องมีหลังบ้าน (มีเรื่องที่คิดอยู่ ที่ซ่อนเร้นไว้) กับมีหน้าบ้าน พร้อมที่จะเปิดเผย หน้าที่ของผู้วิจัย ทำอย่างไร จะเข้าให้ถึงหล้งบ้านให้ได้ ต้องฝึกฝนตัวเอง จากคนแปลกหน้า ให้เป็นคนที่ได้รับการไว้วางใจ (Professional strenger) จนเขายอมให้เข้าถึงหลังบ้านได้ แต่ถ้าเป็นคนในด้วยกันเอง ต้องระมัดระวัง เรื่องความลับ เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากใคร ต้องปิดเป็นความลับ คือทำอย่างไร ให้เขาไว้ใจเราว่า เขายอมเปิดเผยเรื่องของเขา โดยที่เขาไว้ใจว่าเราไม่เอาเรื่องภายในของเขาไปเผยต่อ ของบางอย่างบอกคนไกลตัว (เรื่องเกี่ยวกับสรรเสริญ) ของบางอย่างบอกคนใกล้ตัว (เรื่องไม่อยากเปิดเผย)

การบริโภคข่าวสาร ต้องใช้วิจารณญาณ เพราะโลกของข่าวสาร มีแต่สีเทา จะหาขาว กับ ดำนั้น ยากยิ่งนัก การหาความเป็นจริงทางสังคม มีหลายเวอร์ชั่น (ชาวบ้าน ทหาร รัฐมนตรี จุฬาราชมนตรี) นักวิชาการ รู้น้อย วิเคราะห์เยาะ พูดมาก เท่ากับ กวนน้ำให้ขุ่น ความสลับซับซ้อน ความไม่อยู่นิ่ง

การปิติยินดีคนถูกฆ่า ทำร้าย ไม่ใช่วิสัยของชาวพุทธ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นใคร

ความเป็นจริงทางสังคม มีหลากหลาย ต่างต่างความเป็นจริงทางธรรมชาติ ถ้ามะม่วงหล่นต้องตกลงบนพื้นดิน แต่ความเป็นจริงทางสังคม เหมือนตาบอดคลำช้าง คนแต่ละกลุ่ม ก็มีนิยามเป็นของตนเอง แล้วถ้าเอามาวัดหรือเปรียบเทียบกัน จะทำให้ได้ความหมายที่ผิดเพี้ยน (ใครเป็นผู้ชี้ว่า ผิด ถูก) ดังนั้นหน้าที่ของนักวิจัยที่ดี ก็คือ เก็บรายละเอียดของทุกๆ กลุ่มความเห็น

ข้อ 4 มีความเกี่ยวพันระหว่างความเป็นจริง กับ บริบททางสังคม

สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา คือ

สุขภาวะจิตวิญญาณ (ตัวปรากฏการณ์) กับสิ่งแวดล้อม (บริบท ทางสังคมและวัฒนธรรม คือ วรรณะ 9)
ดังนั้น วรรณะ 9 รวมกันเป็นองค์ประกอบของสุขภาวะจิตวิญญาณ ถ้าองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่ง ของวรรณะ 9 ไม่มี สุขภาวะจิตวิญญาณ ก็จะไม่เกิด หรือไม่สมบูรณ์ เรียกว่า Social Counhstruction nof Reality

วรรณะ 9 ค่อนข้างไป สุขภาวะทางกายภาพมากกว่า จิตวิญญาณ ดังนั้น เราจะต้อง เพิ่มบริบทอื่นเข้าไปอีก ดงนั้น วรรณะ 9 เป็นเพียงวิถีไปสู่ สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

เช่น ทักษิณ ประกอบด้วย ชินวัตร, พลังธรรม, ไทยรักไทย, พจมานและอุ๋งอิ๋ง, นายก, นายร้อยสามพราน, แม้ว, ที่ปรึกษานายก ถ้าถอดออกบริบทเหล่านี้ออก จะเกิดอะไร บริบทเหล่านี้สร้างความเป็นจริงปัจจุบัน ของความเป็นทักษิณ อย่าเอาบริบทของวรรณะ 9 ไปแวดล้อมทักษิณ (Outsider) จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเป็นบริบท Outsider

ความเกี่ยวกันระหว่างคนกับคน เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเขาไม่ยินดีให้ความร่วมมือ เราก็ทำวิจัยไม่ได้ ดังนั้น เขาเป็นผู้ตัดสินว่า จะให้เราวิจัยหรือไม่ เราจะต้องให้เขาไว้ใจเปิดเผย เราจะต้องเคารพในศักดิ์ศรีความร่วมมือ โดยรักษาจรรยาบรรณ ไม่เปิดเผย เราต้องรับผิดชอบ จะทำวิจัยเรื่องใดกับคน ต้องได้รับอนุญาตของเจ้าของก่อน นี่คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวปรากฏการณ์ กับผู้ทำวิจัย

ถามว่า คนในทำวิจัยกับคนใน เป็นประโยชน์ต่อคนใน แต่จะตอบอย่างไรกับคนนอกว่า ไม่ลำเอียง

คำตอบ

1. จะต้องเอามาตรฐานที่มากกว่า วรรณะ 9 คือเอาแนวฐานคิดของคนกลุ่มอื่นมาร่วมเป็นบริบทร่วมกับ วรรณะ 9 ด้วย คือ พุทธกลุ่มอื่น หรือศาสนาอื่น มีกรอบแนวคิดเพิ่มเติมอะไรอีกบ้าง นอกจาก วรรณะ 9 แล้วนำบริบทเหล่านั้น มาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย

2. กระเสือกกระสนออกจากนอกน้ำให้ได้ ต้องทำตัวให้อยู่นอกอโศก ตั้งคำถามให้ได้ว่า ทำได้จริงหรือ คือต้องเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง มองเข้าไปในอโศก (คนจะทำอย่างนี้ได้ จะต้องมีวุฒิภาวะจริงๆ) คือ เป็นคนใน ทำเป็นคนนอก แม้ความเป็นจริงเราเป็นอโศก แต่ต้องทำใจว่า เราเป็นคนอื่น ที่ไม่ใช่ชาวอโศก

ปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) ประกอบด้วย –Objective Reality, –Subjective Reality

–Objective Reality, ความจริงแกน ไม่ต้องเน้น ความเป็นจริงเชิงจิตวิสัย

–Subjective Reality มีหลากหลาย ต้องให้ความสำคัญกับข้อนี้

 

หน้าที่นักวิจัย ไม่ใช่แสวงหาสัจธรรม แต่รายงานความเป็นจริงต่อสังคม นักวิจัยเป็นร่างทรง ไม่ใช่เจ้าสำนัก ต้องตรวจสอบข้อมูล ต้องตีความหมาย นำมาเผยต่อสังคม

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

1. เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม (Holistic + Multidimensional)

2. เป็นการศึกษาติดตามระยะยาว และเจาะลึก

 

3. ศึกษาปรากฏการณ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

4. คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย

5. ใช้การพรรณนาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย

6. เน้นปัจจัยหรือตัวแปรด้านความรู้สึกนิดคิด จิตใจ ความหมาย

 

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

 

1. เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม

(Holistic + Multidimensional) ต้องนำเอาระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม มาอธิบายความเป็น สุขภาวะทางจิตวิญญาณ ด้วย

2. เป็นการศึกษาติดตามระยะยาว และเจาะลึก จะศึกษาความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางจิตวิญญาณ โดยใช้เวลานาน เพราะความไม่นิ่งของภาวะสังคม สังคมมีวัฏจักรที่ไม่อนิจจัง ฟู และ แฟบ ต้องมีระยะเวลา เหมือนลูกตุ้มเหวี่ยงซ้ายขวา ให้พิจารณาดูว่า สุขภาวะทางจิตวิญญาณ เป็นแบบลูกตุ้มเหวี่ยงหรือไม่ ผู้วิจัยต้องย้อนเวลาเอาเหตุการณ์มาอธิบาย

การเข้าถึงหลังบ้าน เพื่อเจาะลึก

3. ศึกษาปรากฏการณ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ หรือตามปกติ ศึกษาให้เห็นบริบทของมัน อย่าเอาเหตุการณ์ออกนอกบริบท (ถ้าเอาออกนอกบริบท จะไม่ได้ความถูกที่ถูกตามความเป็นจริง)

4. คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย ต้องปิดเป็นความลับ และรับผิดชอบ หรือบีบเค้นเอาข้อมูล หรือยุติการทำวิจัย ถ้าไม่ให้ความร่วมมือ

5. ใช้การพรรณนาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย วิธีการนำเสนอข้อมูล มีสถิติเบื้องต้นเท่านั้น ไม่มีการใช้สถิติชั้นสูง ใช้กับเฉพาะกลุ่ม วิเคราะห์ข้อสรุปเชิงคุณธรรมให้ได้

6. เน้นปัจจัยหรือตัวแปรด้านความรู้สึกนิดคิด จิตใจ ความหมาย แต่ละคนคิดอะไร ต่างกันอย่างไร รับรู้ทุกระดับ ทุกคน ในแนวลึก

คำในภาษาอังกฤษ

Qualitative Research

Ethnographic Research การวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณะ

Anthropological ReSearch การวิจัยมานุษยวิทยา

Naturalistic Research

Field Research

Phenomenological Research การวิจัยที่มีความหมายต่อโลก

 

การใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

 

1. เมื่อต้องการสร้างสมมุติฐาน หรือทฤษฎีใหม่

2. เมื่อต้องการศึกษากระบวนการ

3. เมื่อต้องการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ในระดับลึกซึ้งถึงความหมาย

4. เมื่อทำวิจัยในสังคมที่มีผู้ไม่รู้หนังสือ

5. เมื่อต้องการทำวิจัยในเรื่องที่มีลักษณะเป็นนามธรรม

6. เมื่อต้องการข้อมูลระดับลึก มาประกอบการตัดสินใจในการวางแผน

ตารางการวิเคราะห์วิธีจัยเชิงคุณภาพ

ประเภท
ของข้อมูล

การแจงนับ และ
การใช้กลุ่มตัวอย่าง

การสังเกต
แบบมีส่วนร่วม

การสัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

จำนวน การกระจาย
และความถี่

นิยมใช้กันมากและหมาะสมที่สุด

ไม่ได้ข้อมูลเพียงพอ และขาดประสิทธิภาพ

มักจะไม่ได้ข้อมูลเพียงพอ แต่ถ้าได้จะถือว่า
มีประสิทธิภาพ

เหตุการณ์ เรื่องราวบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น

ไม่ได้ข้อมูลเพียงพอ โดยตัวเอง ขาดประสิทธิภาพ

นิยมใช้กันมาก และเหมาะสมที่สุด

จะได้ข้อมูลเพียงพอ และ มีประสิทธิภาพ ถ้าทำด้วยความระมัดระวัง

ระเบียบกฏเกณฑ์
ข้อกำหนด และ
ความหมาย

ได้ข้อมูลเพียงพอ แต่ขาดประสิทธภาพ

ได้ข้อมูลเพียงพอ แต่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ข้อมูลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

นิยมใช้กันมาก และเหมาะสมที่สุด

ระเบียบกฏเกณฑ์ข้อกำหนดและความหมาย เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ต้องการมากที่สุด และหาข้อมูลได้ยากที่สุด โดยเฉพาะกฎเกณฑ์ที่รู้กันแต่ไม่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร ในอโศกมีกฎระเบียบมากมายที่ไม่ได้เขียนเป็นกฎ แต่คนนอกไม่รู้ (Emicterm เช่น ตัดรอบ เก็บหาง ติดภพ ต้องให้คนในอธิบายด้วยตัวของเขาเอง) คำอธิบายเหล่านี้ จะต้องระบุไว้ในบัญชีคำเฉพาะด้วย

 

การเตรียมตัวทำงานภาคสนาม

ขั้นตอนสำคัญของการเข้าสนาม

 

1. ขั้นเลือกสนาม

1.1 เลือกที่พัก อย่าเข้าไปอยู่ใกล้กับกลุ่มคนที่จะเก็บข้อมูล (เกิดความเกรงใจ) อย่าเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รู้ทางลม อาจอาศัยเวลา ชุมชนต่างกันเก็บคนละที่ สัมภาษณ์ซ้ำได้ ครั้งแรก ครั้งหลังเก็บหมด

1.2 ใช้เวลาในสนาม ตอนไหนใช้กับกลุ่มใด กะเวลาให้เหมาะสม

1.3 การเตรียมตัวเข้าสนาม ต้องทำตัวให้เข้ากับผู้อยู่ในสนาม (ทำตัวให้กลืน) สี ภาษา (ภาษาที่คนในสนามใช้กัน) แบบ (แต่งกายให้เหมือน)

1.4 การเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ขึ้นอยู่กับผู้ทำวิจัยจะเลือกให้เหมาะ เลือกคุณสมบัติให้เหมาะกับเหตุการณ์ สถานการณ์ เล่าเรื่อง ใครทำกรุงศรีอยุธยาแตก เด็ก ผมไม่ได้ทำ คู เด็กคงพูดจริง เพราะซื่อสัตย์ ไม่รู้จะทำอย่างไร ครูใหญ่ แตกเสียหายเท่าไร่ จะชดใช้ให้

2. ขั้นแนะนำตัว คือการกำหนดสถานภาพ และบทบาทของนักวิจัย

2.1 ไม่บอกว่าเป็นใคร (Covert Role)

2.2 บอกว่าเป็นใคร (Overt Role)

3. ขั้นสร้างสัมพันธ์ (Rapport)

3.1 ไม่แสดงความรังเกียจ หรือแสดงความไม่เต็มใจจะผูกมิตร

3.2 ทำตัวให้คุ้นเคยกับคนในสนาม อย่าให้เกิดเชิงชู้สาว

3.3 มีของฝากของขวัญที่แสดงน้ำใจ ให้ลูก เป็นของกินก็ได้

3.4 หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามที่ก้าวร้าว ละเอียดอ่อน ต้องรู้จักเลือกคำถาม เลือกอารมณ์ของคำถาม

3.5 ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน เพื่อสร้างความไว้วางใจ ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ตอบ แต่ไม่แน่เสมอไปว่า จะได้ข้อมูลจริง (ต้องเสี่ยง) บางอย่างอาจไม่ได้ของจริง แต่อีกเวลาหนึ่งเป็นของจริง แต่ผู้วิจัยไปผิดเวลา หรือ อยู่ไม่ครบระยะเวลา หรือไปไม่ตรงกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ยังไม่สุกงอม เพราะบางทีอาจพบเหตุการณ์ "สร้างภาพ" จะได้ข้อมูลที่ไม่จริง

3.6 พร้อมจะช่วยเหลือเข้าไปมีส่วนร่วม จะต้อง

4. ขั้นเริ่มทำงาน

4.1 การทำแผนที่

4.1.1 แผนที่ทางกายภาพ (Physical Map)

4.1.2 แผนที่ทางประชากร (Demographic Map)

4.1.3 แผนที่สังคม (Social Map) คือการหาลำดับความสำคัญ ความสัมพันธ์ ทางสังคมของบุคคลในชุมชน เราไม่ควรให้ผู้ตอบวิจัยดู เก็บเป็นควาาลับ ไม่ควรให้คนในสนามดู อาจจะไม่ดีกับพวกเขา (แผนที่ประเภทนี้ จะไม่ให้ใครดูเลย) ทำไว้เพื่อเลือกตัวอย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการเลือกผู้ตอบวิจัย

ถ้าผู้ตอบวิจัย มีหลายกลุ่มที่ไม่ถูกกัน ควรเลือกฝ่ายละ สองสามคนก็พอ

4.2 การเลือกตัวอย่าง (Selective Sampling) ทำเป็นกรณีศึกษาเฉพาะที่ เฉพาะเหตุการณ์ หรือเฉพาะกลุ่ม

4.2.1 Extreme Cases ประโยชน์ให้รู้ความแตกต่างสุดโต่งสองขั้ว แต่ระวังความรู้สึกเด่น ด้อย ของผู้ตอบวิจัย อาจจะเลือกย่อยแต่ละชุมชนก็ได้

4.2.2 Critical Cases การเลือกเคสที่มีลักษณะวิกฤติ ให้ตามไป เวที หรือ สนาม เช่น สมาชิกที่ออกจากชุมชน เพราะสาเหตุใด ต้องย้ายสนามไปให้ถึงตัวบุคคลให้ได้

4.2.3 Typical Cases เคสที่เป็นปกติทั่วไป

4.2.4 Maximum Variation พยายามเลือกให้กระจายเห็นความหลากหลายสูงสุด เช่น คนที่ออกจากชุมชนมีหลายแบบ ก็เก็บให้ครบทุกสาเหตุ ทุกแบบ ควรทำDocument (Ethnographic Description) ให้ละเอียด เช่น วิถีของชุมชนอโศกเป็นอย่างไร Do & D'nt คืออะไรบ้าง

4.2.5 Snowball Cases ไม่จำเป็น เพราะจะทำแก่พวกที่ปกปิดตัวเอง เก็บข้อมูลเริ่มจากจุดหนึ่ง แล้วให้แนะนำว่าต่อไปจะเก็บที่ใคร ต่อๆไปเรื่อย เลือกตามใจเราไม่ได้

4.2.6 Homogenous Cases สนทนากลุ่ม แยกแยะกลุ่มให้ชัดเจน เสร็จแล้ว ศีล / อำนาจ / บารมี สัมพันธ์กันแค่ไหน เพียงใด

 

การสังเกต

 

"การเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฎขึ้นอย่างเอาใจใส่ และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธ เพื่อวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น"

ประเภทของการสังเกต

1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสังเกตชนิดที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษา มีการร่วมกระทำกิจกรรมด้วยกัน

2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non–Participant Observation) การสังเกตโดยตรง เป็นการสังเกตที่ผู้วิจัยเฝ้าสังเกตอยู่วงนอก

สิ่งที่ต้องสังเกต

1. การกระทำ (Acts)

2. แบบแผนการกระทำ (Activities)

3. ความหมาย (Meanings)

4. ความสัมพันธ์ (Relationship)

5. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชุมชน (Participation)

6. สภาพสังคม (Setting)

 

การจดบันทึกภาคสนาม (Fieldnotes) มี 2 แบบ

1. บันทึกย่อ

2. บันทึกภาคสนาม

 

รูปแบบการบันทึก

1. จดบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ตามเป็นจริง (Observation Note)

2. ตีความเบื้องต้น (Theoretical Note)

3. ระเบียบวิธีวิจัย (Nethodological Note)

 

การสัมภาษณ์

 

คือการสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็นหลัก เพื่อรวบรวมข้อมูล

ประเภทของการสัมภาษณ์

1. การสัมภาษร์แบบมีโครงสร้าง

2. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง

2.1 การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview)

2.2 การสัมภาษณ์แบบมีจุดสนใจเฉพาะ (Focus Interview)

2.3 การตะล่อมกล่อมเกลา (Probe) ถามซักเพื่อให้ได้ข้อมูลลึกๆ เช่น สร้างสถานการณ์สมมุติ แล้วถาม สังเกตปฏิกิริยา

2.4 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview)

2.5 การสนทนากลุ่ม

การสนทนากลุ่ม

–มุ่งถามทัศนคติมากกว่าข้อเท็จจริง

 

–กลุ่มละ 7–12 คน

–กลุ่มตัวอย่าง Homogenous

–เตรียม Questioning Route

–มี Facilitator และผู้ช่วย

 

–อัดเท็ป และถอดเท็ป

ข้อควรระวัง

1. การให้ความเคารพให้ศักดิ์ศรีของผู้ป่วย (Privacy, Strigmatization)

2. การเก็บรักษาข้อมูลของผู้ป่วย (Confidentiality, Anonymity)

3. การสร้างข้อสรุปจากการวิจัย (Hasty Conclusion, Over Generalization)

การเก็บ และ การนำเสนอ ข้อมูล

 

ต้องตรวจสอบข้อมูลว่าได้ครบถ้วนแล้ว

 

วิเคราะห์

 

ต้องเตรียมตัวในการย่อยคำถามของผู้วิจัยให้ดี เพราะบางคำถามที่เตรียมไว้แล้ว อาจมีคำถามแทรกบางคำถามที่น่าจะถามต่อ

 

เขียนรายงาน

 

ให้ข้อมูลพูดด้วยตัวของมันเอง ต้องรู้จักดูว่าข้อมูลใดเด่น ก็ชูให้เด่นขึ้นมา ที่ไม่เกี่ยวตัดทิ้งไป