ผู้ถาม จะต้องใช้เทคนิคอื่น ที่ขอข้อมูลมากกว่าการพูดก็ได้

อาจพบคำถามว่า ก็รู้อยู่แล้วมาถามทำไม

 

การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interivew)

อาจารย์ ดร.ชมพูนุข โสภาจารีย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

สัมภาษณ์เชิงลึกคืออะไร?

ลึกแค่ไหน?

ไม่มีใครบอกได้

1. เป็นเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณาพที่มีบุคคลอย่างน้อย 2 คน ได้แก่ ผู้สัมภาษณ์ และ ผู้ใช้ข้อมูล

2. ผู้สัมภาษณ์ และ ให้ข้อมูล สนทนาซักถามอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่ต้องการศึกษา

3. อาจสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ทางโทรศัพท์ หรือ ทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ มีข้อดีตรงที่ตัดปัญหาเรื่องระยะทาง

 

การสัมภาษณ์เชิงลึก มักเป็นแบบกึ่งมีโครงสร้างหรือมีโครงสร้างหลวมๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ให้ข้อมูลพูดในประเด็นที่ต้องการศึกษาให้มากที่สุด ในขณะที่ผู้สัมภาษณ์ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการสนทนา

 

การใช้การสัมภาษณ์เขิงลึก

1. ในการวิจัยยังไม่ทราบข้อมูลในประด็ฯที่ต้องการศึกษามากนัก (ผู้สัมภาษณ์รู้คำถาม แต่ไม่ทราบคำตอบหรือาดเดาคำตอบไม่ได้)

2. ในกรณีที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมจากข้อคำถาม

3. เพื่อประเมินผลลกระทบ หรือ ผลลัพธ์ของโปรแกรม หรือสถานการณ์ที่สนใจ

 

ขั้นตอนการสัมภาษณ์เชิงลึก

ขั้นที่ 1 วางแผนการสัมภาษณ์เชิงลึก

พิจารณาความจำเป็นในการที่มีที่ปรึกษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

–ประสบการณ์และความมั่นใขของผู้วิจัย

–ขนาดของงานวิจัย

–ความยากง่ายในการหาที่ปรึกษา

ขั้นที่ 2 พิจารณาผู้ใหข้อมูล

1. ข้อมูลที่ดีมาจากผู้ให้ข้อมูลที่ดี

การสัมภาษณ์เชิงลึกใช้เวลามาก และได้ข้อมูลที่ลุ่มลึก ดังนั้น จึงไม่นิยมใช้ให้ข้อมูลจำนวนมาก ส่วนมากประมาณ 7–12 คนไม่เกิน 20 คน หรือหากมีผู้ให้สัมภาษ์ที่มีลักษณะแตกต่างกัน เป็นกลุ่มย่อย อาจใช้ประมาณ 4 คนต่อกลุ่ม

2. ใช้วิธีการคัดเลือกผู้ข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดคุณสมบัติ

–ผู้ให้ข้อมูล ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรง / ผู้รู้ในประเด็นต้องารศึกษา

ตัวอย่าง

ศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแล

ศึกษาประสบการณ์การมีสุขภาพดี

3. ผู้ให้ข้อมูลมาจรกแต่ละกลุ่มย่อย เช่น กลุ่มอายุ เพศ ศาสนา ระยะเวลาของประสบการณ์

ตัวอย่าง ศึกษาประสบการณ์ช่วิตของผู้ดูแลในครอบครัว กลุ่มย่อยผู้ให้ข้อมูลอาจมาจาก ผู้ดูแลที่เป็นแม่ สามี ภรรยาย ลูก หรืออาจเป็นผู้ดูแลชาย ผู้ดูแลหญิง

4. ผู้ข้อมูลมีความสามารถในการให้ข้อมูลได้

5. หลักการเลือกผู้ให้ข้อมูล

5.1 ผู้ให้ข้อมูล และผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรรู้จักกันมาก่อน เพื่อลดความบำเอียงหรือการปิดบังข้อมูล ระวังจะพบปัญหา ก็รู้อยู่แล้ว ทำไมถามอีก ก็ควรบอกว่าต้องการจะนำไปวิเคราะห์เพิ่ม

5.2 ผู้ให้ข้อมูลไม่ควรเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ต้องการศึกษา แต่เป็นผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ตรง เพราะเราไม่ต้องการทฤษฎี แต่เราต้องการความจริง

5.3 เลือกผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาายที่มีความแตกต่างกัน เช่น กลุ่มอายุ การศึกษา เป็นต้น

 

ขั้นที่ 3 เตรียมแนวสัมภาษณ์

1. แนวสัมภาษณ์ หมายถึงคำถาม หรือประเด็นที่จะใช้ในการสนทนากับผู้ให้ข้อมูล

2. คุณภาพของข้อมูลที่ได้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพคำถามในแนวสัมภาษณ์

3. แนวสัมภาษณ์ที่ดี ควรเป็นคำถามกว้างๆ ไม่ชี้แนะคำตอบ ไม่สามารถตอบได้ด้วยคำตอบ ใช่ หรือ ไม่ใช่

4. ผู้วิจัยมีหน้าที่ค้นคว้า ประเด็นที่ต้องการศึกษาเพื่อสร้างแนวสัมภษณ์

ระยะการพัฒนาแนวสัมภาษณ์

1. สร้างกรอบคำถาม

เขียนคำถามหรือประเด็นที่สำคัญที่ต้องการศึกษา

ตัวอย่าง ศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแล

แยกแต่ละประเด็นออกเป็นประเด็นย่อย

ร่างแนวสัมภาษณ์ โดยเลือกเฉพาะประเด็น คำถามที่นำไปสู่คำตอบของปัญหาวิจัย

ตรวจสอบประเด็น คำถามทั้หงมดอีกครั้ง และตัดบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป

ลองตอบถาม

2. สร้างคำถามล้วงลึก (Probe)

คำถามล้วงบึกเป็นคำถามที่เช่วยให้ผู้ให้สัมภาาณ์พูดต่อ/?งงง

3. เรียงลำดับประเด็น คำถาม

ถึงแม้ในการสัมภาษณ์ จะไม่มีการเรียงลำดับคำถามก่อนหลัง แต่ในแนวคำถามต้องมีการวางลำดับ และจัดหมมวดหมู่

ต้วอย่างแนวสัมภาษณ์

–แนะนำต้นเงอและหน่วยงาน

–วัตตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์

–การสัมภาษณ์

 

ลักษณะแนวสัมภาษณ์ที่ดี

–ชัดเจน ไมี่กระอักระอ่วน ไม่มีมากกว่าหนึ่งความหมาย

–ง่ายต่อการเข้าใจ

–ไม่ใช่คำถามปลายปิด

–มีเหตุผลและตอบได้

–อาจมีแนวสัมภาษณ์มากกว่าหนึ่ง เพื่อความเหมาะสมในแต่ละกลุ่มย่อย

ขั้นที่ 4 คัดเลือกผู้สัมภาษณ์

ความสำเร็จของการสัมภาษณ์เชิงลึก ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้สัมภาษณ์ ซึ่งจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีทักษะการสื่อสารเป็นอย่างดี

หน้าที่ของผู้สัมภาษณ์คือ การทำให้การสนทนาดำเนินไป โดย การป้อนคำถามที่ดี จนกว่าจะได้รับคำตอบที่เหมาะสม .ระวังที่ปรึกษาขององค์กร

 

คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์

–ได้รับการฝึกหัดอย่างเป็นทางการในการสัมภาณ์ (ก็จะดี)

–เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย

–ทำให้ผู้อื่นมั่นใจ และกล้าเปิดเผยข้อมูล

–ทำให้ผู้อื่นมั่นใจ และกล้าเปิดเผยข้อมูล

–สุภาพ ไม่เวอร์

–มีความเข้าใจในบริบทที่ต้องการศึกษา

–เป็นผู้ฟังที่ดี

 

ขั้นที่ 5 ฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์

กรฝึกอบรมเป็นการเตรียมที่ดี สำหรับผู้สัมภาษณ์ในการทำงานภาคสนาม และผู้สัมภาษณ์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ต้องการศึกษา รู้ว่าจะไปเอาอะไรเพื่องานนี้

ระยะเวลาการอบรม

ขึ้นอยุ่กับขนาดและความซับซ้อนของงานวิจัย แต่ส่วนมาก สองถึงสามวัน

ผู้สัมภาษณ์ควรเข้ารัรบการตอบรมตลอดเวลาหลักสูตร

เนื้อหาการฝึกอบรม (ทฤษฎี)

–โครงการวิจัย เป้าหมายของการวิจัย

–การสัมภาษณ์เชชิงลึก แนวคิด วิธีการ การเริ่มต้น–สิ้นสุด การสัมภาษณ์

–วิธีการจดบันทึก

–ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และการแก้ปัญหา

–วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงาน

เนื้อหาฝึกอบรม (ปฏิบัติ)

การเล่นสมมุติเพื่อหาประสบการณ์

การทดสอบนำร่องในกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนผู้ให้ข้อมูล ในการวิจัยเพื่อประเมิน

 

เตียมตัวก่อนสัมภาษณ์

–ติดต่อนัดหมายผู้ให้ข้อมูล

–ผู้ให้ข้อมูลเลือกสถานที่สัมภาษณ์ แต่พยายามเลือกสถานที่ ที่ไม่ใช่ที่ทำงาน หรือที่บ้าน

–เตรียมการเดินทาง ไปให้ตรงเวลา

–เตรียมหลักฐานแสดงตัว แนวสัมภาษณ์ ปากกา กระดาษ บันทึก เทปบันทึกเสียง

 

ขั้นที่ 6 ลงมือสัมภาษณ์

เตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์

–ติดต่อนัดหมายผู้ให้ข้อมูล

–ให้ผู้ให้ข้อมูลเลือกสถานที่สัมภาษณ์ แต่พยายามเลือกสถานที่ที่ไม่ใช่ที่ทำงานหรือที่บ้าน

–เตรียมการเดินทาง ไปให้ตรงเวลา

–เตรียมหลักฐานแสดงตัว แนวสัมภาษณ์ ปากกา กระดาษ บันทึก เทปบันทึกเสียง มัวนเทป ถ่านไปฉาย

ลงมือสัมภาษณ์ตามลำดับ ดังนี้

1. ขั้นแนะนำ

–แนะนำตัวเอง และหน่วยงาน

–อธิบายวัตถุประสงค์ของการวิจัย

–แจ้งให้ผู้ให้ข้อมูลทราบว่า ความคิดหรือข้อมูลของผู้ให้ข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และอาจพูดซ้ำระหว่างการสัมภาษณ์

–แจ้งระยะเวลาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ และใช้เวลาในการสัมภาษณ์อย่างมีค่า

–ขอให้ผู้ข้อมูลแนะนำตนเอง

–ขออนุญาตบันทึกเสียง

–ทำตัวตามสบายเป็นธรรมชาติ ให้ความเขื่อมั่นแก่ผู้ให้ข้อมูล ว่าข้อมูลที่ให้จะถูกรักษาเป็นความลับ

2. ขั้นสัมภาษณ์ (ผู้ให้ข้อมูลพูดมากกว่าผู้ให้สัมภาษณ์)

–สัมภาษณ์แนวสัมภาษณ์ โดยเริ่มในประเด็น คำถามที่ Sensitive น้อยก่อน หรือประเด็นกว้างๆ ก่อนเจาะลึก

–อาจใจคำถามเดิมซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง

–เก็บข้อมูลที่เป็นคำพูด และไม่เป็นคำพูด เช่น อากัปกิริยในขณะพูดให้สัมภาณ์

–อยู่กับผู้ให้ข้อมูลตลอดเวลา ตั้งใจฟัง

–ใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด ใช้คำ เช่น ช่วยอธิบายเพิ่ม อะไรเกิดขึ้นต่อไป ต่อไปเป็นยังไง เมื่อไหร่ เมื่อสักครู่คุณบอกว่า เล่าเรื่องเกี่ยวกับ…หรือ ใช้เทคนิคการหยุดเงียบ

–หากจำเป็น อนุญาตให้ผู้ให้ข้อมูลพักระหว่างสัมภาษณ์ได้

–เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว สิ้นสุดการสัมภาษณ์ขอบคุณ พยายามใช้เวลาเาที่จอไว้ ขออภัย หากใข้เวลาเกิน และให้เวลาในการพูดคุยเพิ่มเติม

–จดบันทึกทันทีที่ทำได้ และหากใช้เทปให้เขียนชื่อม้วนเทป ก่อนออกจากที่สัมภาษณ์ แยกแยะสื่อที่เก็บให้ชัดเจน กรณีสัมภาษณ์หลายคน ต้องระวังจะสับสนในการจัดเก็บ

คำแนะนำในการลงมือสัมภาษณ์เชิงลึก

–เริ่มการสัมภาษณ์อย่างเป็นมิตรและอบอุ่น

–ฟังด้วยความตั้งใจและเก็บข้อมูลทั้งหมจากผู้ให้ข้อมูล (ไม่พึ่งเท็ปบันทึกเสียง)

–ถามหรือขอให้ผู้ให้ข้อมูลอธิบายศัพท์แสลง คำพูด หรือประโยคที่ไม่เข้าใจเพิ่มเติม ทันทีเมื่อมีช่องว่าง

–ฟังในสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลไม่ได้พูด หรือหลีกเลี่ยงที่จะพูด ให้อบธิบายเพิ่มเติม หรือใช้คำถามล้วงลึก

–นำการสนทนาให้ลื่นไหลเป็นธรรมชาติไม่กระโดดไปมา เพื่อให้คำตอบครบตามแนวสัมษณณ์เท่านั้น

–ใจเย็น ไม่เร่งผู้ให้ข้อมูล

–แกล้งโง่ หรือเงียบ เพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลพูดให้มากที่สุด แต่ยังอยู่ในประเด็น

–พร้อมที่จะให้ข้อมูลที่คาดไม่ถึง ไม่ต้องแปลกใจ

–หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นของผู้สัมภาษณ์ หรือใช้คำถามชักนำ

–หลีกเลี่ยงการหยุด หรือเบรคผู้ให้ข้อมูล

–หลีกเลี่ยงการทำตัวเป็นผู้รู้มากกว่าผู้ให้ข้อมูล ไม่พยายามแก้ไข แม้ผู้ให้ข้อมูลจะเข้าใจ หรือมีความคิดที่ผิด จนกระทั่งการสัมภาษณ์จบลง

–หลีกเลี่ยงการทำให้ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกเหมือนกำลังตอบข้อสอบ

3. ขั้นจัดการข้อมูลภาคสนาม

–หลังการสัมภาษณ์ทุกครั้ง ทบทวนบันทึกภาคสนาม บทสัมภาษณ์ และเพิ่ม comment หรือข้อสังเกต

–ผู้วิจัยควรพบกับผู้สัมภาษณ์ทุกวัน หลังการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินประสบการณ์ ปัญหา การแก้ไข และผลการวิจัย

–ถอดเท็ป ทุกคำพูด (ถ้าเป็นความเห็นของผู้ถาม ให้วงเล็บ และห้ามสรุป)

–จัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบ

 

ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ข้อมูล

1. จัดกลุ่มตามประเด็นย่อยด้วยการตัดปะ

2. ตั้งชื่อกลุ่ม

3. บรรยายและแปลผลที่ค้นพบ

ขั้นที่ 8 เขียนรายงาน

การจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์เชิงลึก

การถูกขัดจังหวะระหว่างสัมภาษณ์

–ให้จดต่อ ระวังจะเป็นการสรุปความ

–สัมภาษณ์ใหม่

ผู้ให้ข้อมูลบอกว่ากำลังวางแผนทำผิดกฎหมาย

–แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง

–เก็บรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล

ถูกขัดจังหวะระหว่างสัมภษณ์

–โทรศัพท์

–คนอื่น งาน

ตื่นเวที

–ผู้สัมภาษณ์

–ผู้ให้สัมภาษณ์ตื่นเท็ป อาจคุยเรื่องอื่นก่อน

–สับสนในการรียงลำดั้บของเหตุการณ์ เช่น ประวัติชีวิตพฤติกรรมบุตรแต่ละคน

–สันสนระหว่างบทยามผู้ถามกับผู้ตอบ

–ข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น เรารู้กันสองคน อย่าเขียนในรายงาน แต่ให้วงเล็บว่า (เป็นข้อมูลลับไม่สามารถเปิดเผยได้) เวลาถอดเทปต้องไม่ระบุชื่อจริงของพูด แต่ให้ใช้ชื่อสมมุติ (มีชื่อจริงในเท็ป แต่อย่าให้มีชื่อในรายงาน)

คุณภาพของงานวิจัยขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้วิจัย ในการเก็บรวบรวมขอมูล
ข้อมูลที่ดีมาจากผู้ให้ข้อมูลที่ดี

ความสำเร็จของการสัมภาษณ์เชิงลึก ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้สัมภาษณ์

 

แบบฝึกหัด

–แบ่งกลุ่ม 4–5 คน
–ระดมสมองประเด็นที่น่าสนใจ
–ลงมือทำแบบฝึกหัด

 

ศึกษาสุขภาพทางจิตวิญญาณของสมาชิกชุมชนชาวอโศก
–ความหมาย

ศึกษาแนวทางของชุมชนชาวอโศกในการสร้างเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณ
–การรักษาสุขภาพจิตวิญญาณ
–สิ่งที่ส่งเสริมวิถีชีวิต ความเชื่อม บรรทัดฐานทางสังคม
–สิ่งที่ขัดขวาง สิ่งแวดล้อมภายนอก