แนวคิดและเทคนิคการสนทนากลุ่ม
(Focus Group Discusstion: FGD)

แนวคิดและเทคนิคการสนทนากลุ่ม
(Focus Group Discussion _ FGD)

โดย… อาจารย์ ดร. เพ็ญพักตร์ อุทิศ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 5 พฤษภาคม 2547

ความเป็นมาและความหมายของการสนทนากลุ่ม (Background and Definition of Focus Group Discussion)

 

ชื่อเรียก

 การสนทนากลุ่ม/ การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion)

 การสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Interviews)

 การสำรวจความคิดของกลุ่ม (Exploratory Group Sessions)

 

ความหมาย

การสนทนากลุ่ม เป็นเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้การสนทนากลุ่มสมาชิกที่มีลักษณะเหมือนกัน ประมาณ 6 – 12 คน โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา เป็นผู้สร้างให้เกิดบรรยากาศของความเป็นกันเองในกลุ่ม จุดประเด็นคำถาม (ซึ่งนักวิจัยอยากหาคำตอบจากกลุ่ม) และคอยกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมสนทนาได้มีการพูดคุย ซักถาม และ โต้ตอบกันอย่างกว้างขวางและเป็นธรรมชาติ โดยทั่วไปอาจใช้เวลาสนทนานานประมาณ 45 นาที ถึง หนึ่งชั่วโมงครี่ง

 

ความเป็นมา

 ดัดแปลงมาจากลักษณะของการพูดคุยเสวนา หรือ การสนทนากลุ่มย่อย (Small group discussion) ที่เกิดขึ้นเองเป็นกิจวัตรในชุมชน (เช่น สภากาแฟ) เพื่อการปรับทุกข์ หรือ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และ ความรู้สึกนึกคิด ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นที่สนใจร่วมกัน

 ในระยะแรกๆ ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยการตลาด เพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

 พ.ศ. 2522 ถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลระดับลึกเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมด้านสุขภาพ

 

วิธีการสนทนากลุ่ม

การสนทนากลุ่มที่รู้จักกันแพร่หลายแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

 การสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Interviews) มีลักษณะคล้ายการสัมภาษณ์เชิงลึก ที่ต้องมีการซักถามเจาะจงเฉพาะเรื่อง

 การสนทนากลุ่มตามธรรมชาติ (Group Discussion) เป็นการสนทนากลุ่มที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วๆ ไปในการทำงานภาคสนาม เช่น สนทนาใต้ต้นไม้ หรือ สภากาแฟ เป็นการสนทนาที่ไม่มีโครงสร้างทั้งในแง่ประเด็นการสนทนาและผู้เข้าร่วมสนทนา

 

การจัดสนทนากลุ่ม

เป็นการนำการสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจง และ การสนทนากลุ่มตามธรรมชาติมาใช้ร่วมกัน เป็นการสนทนาเป็นกลุ่ม ซึ่งต้องมีประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจงในการสนทนาแต่ละครั้ง มีการใช้กระบวนการกลุ่ม (Group Dynamics) เข้ามาช่วย ในการกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวในกลุ่มผู้สนทนา เพื่อให้หันมาสนใจเรื่องเดียวกัน และ แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ผู้วิจัยจะสังเกตพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม (บันทึกเทป/จดบันทึก) เพื่อการวิเคราะห์ต่อไป

 

การสนทนากลุ่มมักใช้เพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายต่อไปนี้

 ใช้หาข้อมูลเพื่อการสร้างสมมติฐานใหม่ๆ

 ใช้สำรวจความคิดเห็น ทัศนคติ และ คุณลักษณะต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมาย

 ทดสอบแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือ บริการที่เกิดขึ้นใหม่ในชุมชน

 ประเมินผลโครงการ หรือ บริการด้านธุรกิจ

 เป็นแนวทางในการกำหนดคำถามในการสร้างแบบสอบถาม

 ค้นหาคำตอบที่ยังคลุมเครือ/ไม่แน่ชัด เพื่อช่วยทำให้งานวิจัยเชิงสำรวจมีความสมบูรณ์ขึ้น

 

องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดสนทนากลุ่ม (Components of Conducting Focus Group Session)

 บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง (Personnel)

– ผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator / Facilitator)

– ผู้จดบันทึกการสนทนา (Notetaker/ Recorder)

– ผู้ช่วยทั่วไป (Assistant/ Caretaker)

 แนวทางในการสนทนากลุ่ม (Group Discussion Guide)

 อุปกรณ์สนาม (Field Instruments)

 แบบฟอร์มคัดเลือกกลุ่มผู้ร่วมสนทนา (Screening Form)

 สิ่งเสริมสร้างบรรยากาศ (Refreshment & Snack)

 ของสมนาคุณแก่ผู้ที่ร่วมสนทนา (Remuneration)

 สถานที่และระยะเวลา (Location and Time)

 

คุณลักษณะ และ บทบาทหน้าที่ของบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง

คุณลักษณะของผู้ดำเนินการสนทนา (Characteristics of Moderator/Facilitator)

 ผู้ดำเนินการสนทนา ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้การสนทนาบรรลุเป้าหมาย จึงต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้

– รู้ถึงความต้องการ หรือ เป้าหมายของโครงการเป็นอย่างดี

– มีบุคลิกภาพดี

– มีมนุษย์สัมพันธ์ สุภาพ อ่อนโยน มีอารมณ์ขัน

– สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

– สามารถพูด หรือ ใช้ภาษาท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารได้ดี

บทบาทหน้าที่ของผู้ดำเนินการสนทนา

 สร้างบรรยากาศอย่างเป็นกันเอง

 ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดสนทนากลุ่ม

 ขอความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นและยินยอมให้มีการบันทึกข้อมูล

 ควบคุมประเด็น และ จังหวะของการสนทนา และ เวลา

 ทำตัวเสมือน ผู้เรียนรู้ (เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่แสดงความคิดตน) ให้ผู้สนทนาได้แสดงความคิดอย่างเสรี

 ยืดหยุ่น เปิดใจ อดทนต่อการรบกวน/ไม่ร่วมมือ

 ระมัดระวังน้ำเสียง และ ท่าที

 สังเกตพฤติกรรมของผู้ร่วมสนทนา

บทบาทหน้าที่ของผู้จดบันทึกการสนทนา

 วาดแผนผังการนั่งของผู้ร่วมสนทนาทุกคน พร้อมมีหมายเลขและชื่อกำกับไว้ เพื่อประโยชน์ในการจดบันทึก และ การสังเกตพฤติกรรม

 จดบันทึกการสนทนา โดยการสังเกต และตั้งใจฟัง พร้อมบันทึกตามความเป็นจริง (ถ้อยคำ ปฏิกิริยา)

 ถอดเทปการสนทนาด้วยตนเอง

 ข้อควรระวัง… ต้องไม่ร่วมสนทนาด้วย

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยทั่วไป

 จัดเตรียมอุปกรณ์สนามให้พร้อม

 จัดสถานที่และความพร้อมในการสนทนากลุ่ม

 คอยควบคุมเครื่องบันทึกเสียง และ เปลี่ยนเทปขณะที่ทำการสนทนา

 อำนวยความสะดวกแก่ผู้ดำเนินการสนทนา และ ผู้จดบันทึก

 ดูแลบริการเครื่องดี่มและของขบเคี้ยวแก่ผู้ร่วมสนทนา

 อำนวยความสะดวกทั่วๆ ไป

 

แนวทางในการสนทนากลุ่ม

(Group Discussion Guide)

 เป็นแนวคำถามที่ใช้ในการดำเนินการสนทนากลุ่ม ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย

 ควรมีประมาณ 6 – 10 คำถาม

 เป็นคำถามปลายเปิด เช่น

“คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของจิตวิญญาณ”

“คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ…”

“คุณได้ข้อมูลเกี่ยวกับ…มาอย่างไร”

 

อุปกรณ์สนาม (Field Instruments)

 เครื่องบันทึกเสียง และ อุปกรณ์ ควรมีสำรองเพื่อป้องกันการผิดพลาด

 สมุดบันทึก และ ดินสอ

 

แบบฟอร์มคัดเลือกกลุ่มผู้ร่วมสนทนา

ต้องคัดเลือกให้ได้ผู้เข้าร่วมสนทนาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Homogeneous) หรือ อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น เพศ อายุ อาชีพ เชื้อชาติ สถานภาพสมรส

 

แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม

 

วันที่…............. เวลาเริ่ม…. เวลาสิ้นสุด….. รวมเวลา…..

ชื่อชุมชน…..................

ลักษณะชุมชน….........................................................

สถานที่สนทนา…......................................................

ลักษณะสถานที่….....................................................

จำนวนผู้ร่วมสนทนา…..........คน (ชาย….......หญิง…..........)

ชื่อและข้อมูลส่วนบุคคล

1.............................................................

2.............................................................

ลักษณะพลวัตรของกลุ่ม…................................................................

 

การเตรียมตัวการจัดสนทนากลุ่ม

 คัดเลือกกลุ่มผู้ร่วมสนทนา

 ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษาแก่กลุ่ม

 นัดหมายวัน เวลา สถานที่

 แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของทีมวิจัย

– กำหนดวัตถุประสงค์และแนวคำถามร่วมกัน

– แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และ เตรียมตัวให้พร้อม

 เลือกและจัดเตรียมสถานที่สำหรับการสนทนากลุ่ม

 

ขั้นตอนในการสนทนากลุ่ม

 การเริ่มดำเนินการสนทนา

– ผู้ดำเนินการแนะนำตัว ชี้แจงวัตถุประสงค์

– ให้สมาชิกกลุ่มแนะนำตัว

– อธิบายให้เห็นความสำคัญของกลุ่ม กฎกติกา มารยาท

– เริ่มการสนทนาโดยพูดคุยเรื่องทั่วๆ ไปเพื่อสร้าง สัมพันธภาพละบรรยากาศที่ดี

 ดำเนินการสนทนา

 สิ้นสุดการสนทนา

 

ข้อดี และ ข้อจำกัดของการสนทนากลุ่ม

 ข้อดี

– ลดความเข้าใจไม่ถูกต้องในประเด็นที่พูดคุย

– สมาชิกกลุ่มมีความเท่าเทียมกัน

– เกิดการแสดงความคิดเห็น ถกเถียง สาระร่วมกัน

– บรรยากาศของกลุ่มกระตุ้นให้มีการให้ข้อมูลที่กว้างขวาง

 ข้อจำกัด

– ระวังการผูกขาดการสนทนา

– ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลบางลักษณะ (เรื่องส่วนตัว)