Policy & Vision
- Close


 

นโยบาย วิสัยทัศน์ ความคิดเห็น การประชาพิจารณ์

กิจการปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ (ปนท.)
บทวิเคราะห์ และ แผนงาน ปี 2548
(ก.) วิสัยทัศน์

นโยบาย (Policy)
นโยบาย 4E (Environment for construction, Exercise by facilitators, Expert with IT, Ethics in position หรือ Image of Ethics) : “จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจากครูปฏิบัติการ พัฒนาให้เชี่ยวชาญด้วยสื่อสารสนเทศ องอาจในขอบเขตจริยธรรม” ห้องปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ที่ได้รับมอบหมายผลิตชิ้นงานจากอาจารย์ผู้สอน เป็นแหล่งให้บริการในการผลิตสื่อต่างๆ ได้แก่ ภาพถ่าย สื่อวิทยุโทรทัศน์ (Video/Audio) สื่อผสม (Multimedia) และ แสง สี เสียง (Light and Sound) ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองทางด้านนิเทศศาสตร์ โดยผ่านครูปฏิบัติการ (Facilitator) และสื่อสารสนเทศ จนเชื่อได้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงที่วัดค่าได้

ปัจจัยนำเข้า (Input)

โดยพื้นฐานแล้ว ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7M คือ

1. บุคลากร (Man) ได้แก่ นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ จะให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนนักศึกษาคณะอื่นจะให้ความสนใจในลำดับรองลงไป โดยมีอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาต่างๆ คอยประสานงานกับครูปฏิบัติการ ในการจัดองค์ประกอบการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่นักศึกษา

2. อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ (Machine and Accessory) ที่ใช้สำหรับฝึกปฏิบัติเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ผลิตถ่ายภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ อุปกรณ์สำหรับห้องสตูดิโอ ห้องอัดขยายภาพ ห้องบันทึกเสียง ห้องนิทรรศการ เวทีแสดงผลงาน อุปกรณ์แสง สี เสียง และคอมพิวเตอร์

3. วัสดุประกอบกิจกรรม (Material) ได้แก่ วัสดุให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในวิชา (วัสดุสิ้นเปลือง) รวมทั้งอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น แผ่นป้ายป้ายนิทรรศการ แผ่นป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

4. งบประมาณ (Money) ที่สนับสนุนในการซ่อมแซม บำรุง พัฒนา และรักษาสภาพของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ซึ่งนำเสนอเป็นแผนงบประมาณประจำปีต่อคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่ออนุมัติ

5. สื่อ (Media and Message) ซึ่งมีความจำเป็นเพราะเป็นพาหนะในการสร้างการเรียนรู้ ระหว่างอาจารย์ผู้สอน หรือผู้ช่วยอาจารย์ (Sender) และผู้เรียน (Receiver) ซึ่งเป็นนักศึกษากลุ่มที่เข้ามาฝึกปฏิบัติ สื่อที่ใช้ในการปฏิบัติการทางนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน หรือผู้ช่วยอาจารย์ (สื่อบุคคล) เอกสารสิ่งพิมพ์ ตำราเรียน (สื่อสิ่งพิมพ์) วิดีโอ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต (สื่ออิเล็กทรอนิกส์) นิทรรศการ และการศึกษานอกสถานที่ (สื่อเหตุการณ์)

6. ระเบียบวิธี (Method) ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการเกิดการเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ ประกอบด้วย หลักการเสริมสร้างศักยภาพบุคคล สื่อ อุปกรณ์ หลักประกันด้านคุณภาพ และสุขภาพ ระเบียบวิธีการประเมินคุณภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง

7. การบริหารจัดการ (Management) บุคคล วัสดุ งบประมาณ และเวลา โดยบูรณาการด้วยระเบียบวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณค่าสูง เกิดประโยชน์และประหยัด ตรงเวลา

การดำเนินการ (Process)

เป็นการตัดสินใจเชิงเทคนิค ในการนำปัจจัยนำเข้าดังกล่าว มากำหนดรูปแบบองค์กร แผนงาน
กิจกรรม ให้เกิดความเหมาะสม และทันสมัย ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น การดำเนินการของการปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย

1. การตัดสินใจ (Technical Processing) มาจากองค์ประกอบหลัก 2 ประการ คือ

1.1 ปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆสะ) ได้แก่ ความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้ร่วมงาน อาจารย์ พนักงาน คนงาน ที่เกี่ยวข้อง 1.2 ปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ หลักของความเป็นกลาง “ความเป็นกลางต้องเข้าข้างคนดี” (คนดี คือ คนที่ไม่เห็นแก่ตัว) หลักความจริง 7 ประการ “ดี, ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, ทำให้พ้นทุกข์ได้ หรือแก้ปัญหาได้, มีความเป็นไปได้, รู้ได้สัมผัสได้จากรูปธรรมและนามธรรม, และท้าทายให้มาพิสูจน์ได้” หลักความจำเป็น 5 ประการ “ความถี่ของพฤติการณ์, ความรุนแรง, ผลกระทบ, ความยากง่ายในการแก้ไข, และ ประโยชน์สูง ประหยัดสุด”

2. แผนดำเนินการ (Planing) เริ่มจาก

(1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ กายภาพและ
จิตภาพของบุคคล กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ งบประมาณ

(2) กำหนดโครงสร้างของคณะทำงานผู้รับผิดชอบ ตลอดจนบทบาทและภาระหน้าที่

(3) จัดทำแผนกิจกรรม

(4) ลงมือปฏิบัติหน้าที่ตามแผนกิจกรรม

(5) การประชุมประเมินผลและติดตามงาน

3. กระบวนการกิจกรรม (Procedure) หรือ แผนกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม ระยะเวลาเริ่มต้น ระยะเวลาสิ้นสุด และผู้รับผิดชอบ

ผลที่ได้รับ (Output)
คาดหวังว่า หลังจากได้ดำเนินงานตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ต้องการผลที่เกิดขึ้นดังนี้1. องค์ความรู้ ที่เป็นสาระสำคัญ (Message) ที่นักศึกษาพึงได้รับ และสามารถนำไปสื่อสาร หรืออธิบาย (Presentation) หรือแสดง (Exhibition) ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ตลอดจนสามารถวัดผลประเมินคุณภาพของผลผลิต หรือชิ้นงานได้2. ทุนทางสังคม (Social Outputs) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นแก่สังคม ซึ่งจะสร้างความผาสุกให้แก่
ส่วนรวมในระยะยาว และสร้างความเป็นเอกภาพ หรือหนึ่งเดียวให้แก่องค์กร ได้แก่

2.1 การรับรองมาตรฐาน 5 ส. (ะสาง ะดวก ะอาด สุขลักษณะ ร้างนิสัย) 2.2 การรับรองมาตรฐานสุขภาวะ 5 อ. (าหาร ากาศ อกกำลังกาย ารมณ์ อิทธิบาท) 3. เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อวิถีแห่งพฤติการณ์ และการตัดสินใจของบุคลากรในองค์กร ตามลำดับขั้นของ 3 ล. คือ

(1) ลด ความสูญเสียอันเกิดจากความไร้ระเบียบ ซึ่งมีต้นตอมาจากการตอบสนองความต้องการส่วนเกิน (กิเลส ตัณหา อุปาทาน)

(2) ละ หน่าย คลาย ห่าง จากปัญหาหรือความขัดแย้งที่มีอยู่ก่อนซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ เพื่อมิให้ปัญหานั้นรุนแรง ลุกลาม มากกว่าเดิม โดยไม่สร้างหรือเป็นต้นเหตุให้ปัญหาหรือความขัดแย้งเหล่านั้นสัมฤทธิ์ผล

(3) เลิก สนับสนุนปัจจัย หรือสาเหตุที่จะทำให้เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งในองค์กร และสังคม

(ข.) สภาพปัจจุบันของกิจการปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ ขอบข่ายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนิเทศศาสตร์ ครอบคลุมเกี่ยวกับการสื่อสารทุกประเภท สื่อประเภทกายภาพ เช่น สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ สื่อประเภทจิตภาพ เช่น ภาพลักษณ์ของคณะนิเทศศาสตร์ (Image & Position) ในภาวะการแข่งการตลาดในการให้บริการการศึกษาในปัจจุบัน นับว่ามีความรุนแรงไม่แพ้การตลาดของสินค้าที่เป็นวัตถุ มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งเปิดตัวมากมาย ต่างก็ใช้กลยุทธ์ในเรื่องคุณภาพการให้บริการ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน คุณภาพของอาจารย์ผู้สอนก็มีการแข่งขัน และมีเครือข่าย มีลักษณะของการจัดสายการสอนคล้ายๆ การซื้อตัวของค่ายกีฬาฟุตบอล ทั้งนี้เพื่อสร้างและสนับภาพลักษณ์ให้แก่สถาบัน

ข้อดี (Strength)

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก ตั้งอยู่ในทำเลที่จัดอยู่ในย่านของกลุ่มมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีข้อ
แตกต่างที่เป็นข้อดีดังนี้

1. มีที่ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม คมนาคมสะดวก การจราจรไม่รบกวน ไม่เป็นอุปสรรคในการเดินทางมาเรียน มหาวิทยาลัย ได้จัดบริการหอพักนักศึกษา และหอพักผู้ปกครองไว้พอสมควร การออกแบบอาคารเหมาะสม สวยงาม ไม่ห่างจากอาคารเรียน

2. เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขนาดเล็ก นักศึกษามีจำนวนไม่มาก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษามีความใกล้ชิด มากกว่ามหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ ความใกล้ชิดทำให้มหาวิทยาลัยไม่ต้องลงทุนสร้างสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น MATV ซึ่งเหมาะสำหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ ในขณะที่มีจำนวนอาจารย์ผู้สอนจำกัด หรือเพิ่มขีดศักยภาพของผู้สอน

3. ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ที่มีประวัติความดีงามมายาวนาน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคม

4. มีความยึดหยุ่นในการจัดหลักสูตร ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และของตลาดในสังคม ไม่ติดอยู่กับระบบราชการ หรือวิชาการแบบเดิมๆ แต่เสริมประสบการณ์ที่ทันสมัย ผ่านอาจารย์ผู้สอนที่ได้รับการเลือกสรรแล้ว

5. ค่าบริการการศึกษา (ค่าหน่วยกิต) ไม่แพง เหมาะสมกับการอำนวยความสะดวก ในด้านธุรการ

6. นักศึกษาส่วนหนึ่ง นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีความเคร่งครัดในความประพฤติมากกว่า ทำให้ไม่มีปัญหาเบี่ยงเบนของนักศึกษา ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่มีเหตุของการความขัดแย้งระหว่างนักศึกษา

ข้อด้อย (Weakness)

1. มีพื้นที่ขนาดเล็ก ทำให้การขยายตัวในเรื่องอาคารสถานที่ในแนวระนาบทำได้จำกัด การขยายตัวของอาคารสถานที่ในแนวดิ่งจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงกว่า รวมทั้งทำให้จัดสภาพแวดล้อมที่ดีได้ยาก ห้องปฏิบัติการคณะนิเทศศาสตร์ ปัจจุบันมีขนาด 4 ห้องเรียน ถ้าจะจัดกิจกรรมให้หลากหลาย ต้องจำกัดในเรื่องของปริมาณกลุ่มนักศึกษา

2. คณะนิเทศศาสตร์ ขาดอัตรากำลังของผู้ช่วยอาจารย์ ในการทำหน้าที่เสริมทักษะปฏิบัติให้แก่
นักศึกษา ทำให้ไม่มีนักศึกษามาฝึกงานหรืออยู่ประจำการในห้อง ยิ่งทำให้ขาดบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างด้าน construction ให้แก่ผู้สอน

3. อุปกรณ์การสื่อสาร ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนล้าสมัย และไม่เพียงพอ แม้ว่าการให้บริการ
สวัสดิการพื้นฐาน เช่น ห้องเรียนปรับอากาศ ลิฟท์ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต แต่เครื่องมือสื่อการสอนของอาจารย์ ไม่เพียงพอ เช่น คอมพิวเตอร์ และโปรเจคเตอร์ประจำห้องเรียนไม่เพียงพอ ไม่มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด ทำให้มีข้อจำกัดในการดูแลนักศึกษาในระหว่างที่มีกิจกรรมการเรียน

4. การใช้สื่ออินเตอร์เน็ต ยังไม่คุ้มค่า ซึ่งอินเตอร์เน็ตสามารถนำไปใช้เป็นสื่อกลาง ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาได้ ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน การติดตามผลประเมินผล

โอกาส (Opportunities)

1. การเร่งรีบปรับปรุง ซ่อมแซม สภาพภูมิทัศน์ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการค้นคว้า และการเรียนให้แก่นักศึกษา เป็นสิ่งจำเป็น และเร่งด่วน2. การพัฒนาบุคลากร ห้องปฏิบัติการ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่มีอยู่เดิม เพื่อรองรับนักศึกษารุ่นใหม่ ที่คาดหวังว่าทางคณะนิเทศศาสตร์จะให้สิ่งที่ดีๆ เตรียมพร้อมสำหรับพวกเขา โดยเฉพาะวันเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2548 คือภารกิจที่จะต้องทำต่อเนื่อง3. ปริมาณนักศึกษาที่ไม่หนาแน่นเกินไป เป็นโอกาสที่ดีในการถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งอาจใช้วิธีแบ่งกลุ่มนักศึกษาในการจัดลำดับเข้าใช้บริการในห้องปฏิบัติการ

ปัญหา หรืออุปสรรค (Threats)

1. ระยะเวลาในการซ่อมแซม ปรับปรุง ตามที่กำหนดในแผน ค่อนข้างมีจำกัด เพราะเหตุบุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอกับสัดส่วนของปริมาณงาน แผนงาน และระยะเวลาที่เร่งรัด อาจทำให้การประเมินปริมาณงาน ไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

2. แม้ว่าด้านงบประมาณ จะยังไม่เป็นประเด็นสำคัญในเวลานี้ แต่ก็มีส่วนประกอบหนึ่ง ในการเอื้อให้การดำเนินงานตามแผนให้เสร็จทันตามเวลาในเป้าหมาย

(ค.) ภารกิจ (Responsibility) กิจการปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ มีภาระกิจ 3 ด้าน 3 แผนงาน หรือ D3D (Double three Dimension) ประกอบด้วย ด้านวิชาการ
1. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากสภาพแวดล้อมที่จัดไว้ ในรูปของสื่อต่างๆ
2. จัดและอำนวยความสะดวกในการสอนทักษะต่างๆ โดยครูปฏิบัติการ
3. มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะความชำนาญ ด้วยการจัดระบบสารสนเทศให้เพียงพอ

ด้านวิชาชีพ
1. ส่งเสริมให้นักศึกษาค้นคว้า และสร้างภาพลักษณ์ของผลผลิต หรือชิ้นงาน โดยอาศัยมาตรฐานจากตัวอย่างชิ้นงาน หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล
2. พัฒนาเอกลักษณ์ทางความคิด วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ ของนักศึกษา เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบของตนเอง (อัตลักษณ์)
3. นำเสนอผลงานเด่นของนักศึกษาในรูปแบบ ด้วยสื่อต่างๆ เพื่อเป็นต้นแบบในกรณีศึกษาต่อไป

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1. เผยแพร่ข้อมูล ข้อเท็จจริงทางสังคม เพื่อให้นักศึกษาเห็นผลกระทบจากการตอบสนองความต้องการส่วนเกิน (เพิ่ม supply ให้แก่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน) ด้วยวัตถุมากเกินไป (บริโภคนิยม) หรือ ผลกระทบจากการลดความต้องการส่วนเกิน (ลด demand) หรือการเสียสละ อุทิศตน (บุญนิยม) ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเลือกวิถีชีวิต ประสบการณ์ และวิชาชีพที่เหมาะสม เกิดประโยชน์คุณค่าต่อตนเองและสังคม2. ส่งเสริมความกล้าหาญทางจริยธรรม ในรูปแบบต่างๆ ด้วยการบูรณาการลงไปในวิชาการ และวิชาชีพ3. ประกาศเกียรติคุณ “ความรู้ทำให้องอาจ” แก่นักศึกษา โดยใช้วิธีการประเมินเชิงคุณภาพ (Quality Evaluation) จากภารกิจทั้ง 3 ด้านดังกล่าว จะเป็นรากฐานให้เกิดการบูรณาการแผนงาน 3 แผน คือ แผนงานซ่อมแซม ปรับปรุง (Restore action) แผนงานพัฒนา (Development action) และ แผนงานคงสภาพ หรือรักษาสภาพที่ดี (Freezing action)

(ง.) โครงสร้างองค์กร และขอบข่ายงาน (Structure)ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า ที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ ได้แก่ องค์ความรู้ (Knowledge) ภาพลักษณ์ (Image) และชิ้นงาน (Object) ของผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักขององค์กร ดังนั้นการกำหนดโครงสร้างองค์กร และขอบข่ายงาน จึงต้องให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ดังนี้ งานบริการสื่อและการบันทึก
ให้บริการอาจารย์ผู้สอน ในการยืมสื่ออุปกรณ์ และบันทึกภาพ บันทึกเสียง สำหรับรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนอำนวยความสะดวกเรื่องแสง สี เสียง ในการจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติของนักศึกษาในรายวิชานั้น งานผลิตสื่อ
ให้บริการการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ และเทคนิคที่เกี่ยวข้องแก่นักศึกษา ในการผลิตสื่อต่างๆ ดังนี้1. สื่อสิ่งพิมพ์ (Material Printing) ได้แก่ ป้ายฉลาก โปสเตอร์โฆษณา แผ่นประชาสัมพันธ์ วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม 2. สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia: Audio / Video) ได้แก่ สารคดี โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ละคร ภาพยนตร์ ซึ่งบันทึกลงบน เท็ปเสียง ซีดี วีซีดี เพื่อนำไปออกอากาศและแพร่ภาพ ทางวิทยุโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์3. สื่อสารสนเทศ (WebPages Design) ได้แก่ การออกแบบหน้าเว็บ การค้นคว้าแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูล การตอบรับข้อมูลระหว่าง ผู้ผลิตสื่อ (ผู้ส่งสาร) กับผู้อ่าน (ผู้รับสาร) ผ่านอินเตอร์เน็ต4. สื่อนิทรรศการและการประชุม (Exhibition & Organizing) ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การประชุมสัมมนา การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ งานพิธี การอภิปราย การปราศรัย การร้องเพลง ละครเวที เกมส์โชว์งานการสื่อสารและสารสนเทศ (Communication & IT)
จัดไว้สำหรับนักศึกษาฝึกงานที่อยู่ประจำการ ขอบข่ายงาน คือ การนำเสนอสื่อต่างๆ ที่ผลิตขึ้น ผ่านช่องทางต่างๆ (Channel) ตามแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย1. ปฏิบัติการวิทยุชุมชน มหาวิทยาลัยเกริก เป็นการนำเสนอความรู้ และประสบการณ์ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ของนักศึกษาฝึกหัดงานด้านวิทยุโทรทัศน์ ผ่านรายการวิทยุชุมชน โดยมีบุคลากรของปฏิบัติการนิเทศศาสตร์เป็นพี่เลี้ยงในด้านการผลิตรายการ เทคนิคการส่งรายการออกอากาศ2. เว็บไซต์ igoodmedia network เป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของคณะนิเทศศาสตร์ โดยอาศัยช่องทางการเผยแพร่ผ่านโฮสต์ http://www.krirk.ac.th/ca เพื่อให้บริการความรู้ ข่าวสารต่างๆ แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไป มีบริการสืบค้น กระทู้คำถาม การรับส่งไฟล์ ตลอดจนเป็นห้องเรียน
อิเลคทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารทางไกล ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา3. ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (MATV) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อการสอนของอาจารย์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา ในการวางระบบ การทำงาน และการควบคุม MATVผังโครงสร้างองค์กร
(โปรดดูรายละเอียด ภาคผนวกที่ 1)
คณะทำงานกิจการปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ ที่ปรึกษา
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ผู้อำนวยการ
อาจารย์พิสัณห์ ศิวายพราหมณ์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ผู้บริหารระบบ (Administrator)
ผศ.ปรีชา พันธุ์แน่น หัวหน้าสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน ตำแหน่งผู้บริหารระบบ
ทำหน้าที่ บริหารระบบการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การประเมินผล และการรายงานผลต่อคณะกรรมการคณะนิเทศศาสตร์ ครูปฏิบัติการ (Facilitator)
นายสู่ดิน ชาวหินฟ้า ตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ (ครูปฏิบัติการ)
ทำหน้าที่ (1) ปฏิบัติการสอนภาคปฏิบัติ เทคนิคการใช้เครื่องมือแก่นักศึกษา ตลอดจนช่วยเหลือให้คำแนะนำการผลิตชิ้นงาน และการนำเสนอ (2) จัดทำแผนงานการจัดซื้อ การใช้ การบำรุงดูแลรักษา เสนอต่อผู้บริหารระบบ (3) ทะเบียนวัสดุอุปกรณ์ของคณะนิเทศศาสตร์ ผู้ช่วยครูปฏิบัติการ
นายต่อศักดิ์ วงษ์ไกร ตำแหน่งผู้ช่วยครูปฏิบัติการ
ทำหน้าที่ (1) ให้บริการ การติดตั้ง การใช้ การควบคุม การจัดเก็บ บำรุงดูแล วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านแสง สี เสียง แก่อาจารย์ผู้สอน (2) ปฏิบัติตามปฏิทิน ตารางงาน ของอาจารย์ผู้สอน ตลอดจนช่วยเหลือครูปฏิบัติการ แผนกงาน (Staff)
มีอัตรากำลังของบุคลากร จำนวน 4 คน ได้แก่ ผศ.ปรีชา พันธุ์แน่น อ.สู่ดิน ชาวหินฟ้า อ.บดินทร์ ดุ๊ก และนายต่อศักดิ์ วงษ์ไกร แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 3 งานหลัก คือ 1. งานบริการสื่อและการบันทึก
นายต่อศักดิ์ วงษ์ไกร เป็นหัวหน้า 2. งานผลิตสื่อ
สื่อสิ่งพิมพ์ (Printing)
ผศ.ปรีชา พันธุ์แน่น เป็นหัวหน้า (ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา และ บรรณาธิการ)
อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า เป็นผู้ช่วย (ศิลปกรรม)
สื่อมัลติมีเดีย (Audio / Video)
ผศ.ปรีชา พันธุ์แน่น เป็นหัวหน้า (Creative Director, Art Director, Producer)
อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า เป็นผู้ช่วย (Copy Writer, Editor)
อาจารย์บดินทร์ ดุ๊ก เป็นผู้ช่วย (Director, Lighting, Sound Engineer)
นายต่อศักดิ์ วงษ์ไกร เป็นผู้ช่วย (Camera, Editor)
สื่อสารสนเทศ (WebPages Design)
อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า เป็นหัวหน้า (WebPages Designer)
สื่อนิทรรศการและการประชุม (Exhibition & Organizing)
อาจารย์บดินทร์ ดุ๊ก เป็นหัวหน้า (Director) 3. งานการสื่อสารและสารสนเทศ
ปฏิบัติการวิทยุชุมชน มหาวิทยาลัยเกริก
อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า เป็นหัวหน้า อาจารย์บดินทร์ ดุ๊ก เป็นผู้ช่วย
เว็บไซต์ igoodmedia network
อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า เป็นหัวหน้า (Webmaster, Programmer)
(จ.) แผนงาน (Program & Project)จากภารกิจที่ถูกกำหนดไว้ ให้รับผิดชอบด้านวิชาการ ด้านวิชาชีพ และด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถกำหนดแผนงานได้ ดังนี้ 1. แผนงานซ่อมแซม ปรับปรุง 1.1 จัดทำคู่มือและแผนกิจกรรมปฏิบัติการนิเทศศาสตร์
1.2 จัดสภาพภูมิทัศน์ของห้องสำนักงานและห้องปฏิบัติการ
1.3 จัดทำทะเบียนเครื่องมือ อุปกรณ์
1.4 ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์คณะนิเทศศาสตร์
1.5 จัดทำตู้แสดงนิทรรศการผลงาน แนวคิด และเทคโนโลยี2. แผนงานพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพ 2.1 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมืออุปกรณ์
2.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการประจำเดือน
2.3 จัดตั้งชมรมนักศึกษานิเทศศาสตร์
2.4 จัดตั้งสถานีทดลองปฏิบัติการวิทยุชุมชน มหาวิทยาลัยเกริก
2.5 วางระบบโทรทัศน์วงจรปิด (MATV)
2.6 จัดสร้างห้องปฏิบัติการ Digital Printing
2.7 จัดฝึกอบรมหลักสูตร WebPages Design3. แผนงานรักษาและคงสภาพ 3.1 จัดแสดงผลงานนักศึกษานิเทศศาสตร์
3.2 จัดประกวดลงประชามติคัดเลือกนักศึกษาเด่นดี ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
วิชาชีพ (ดีก่อนเก่ง)
(โปรดดูรายละเอียด ภาคผนวกที่ 2)
(ช.) การประเมินคุณภาพ การวัดผลประเมินผลองค์ความรู้ของนักศึกษา
แบ่งการวัดผลประเมินผลออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) ความสัมฤทธิ์ผลในการเรียนรู้ (2) ชิ้นงาน และ (3) วิสัยทัศน์และคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา1. ความสัมฤทธิ์ผลในการเรียนรู้ วัดจากสาระของความรู้ตามหลักสูตร ความคิดรวบยอด และการวิเคราะห์2. ชิ้นงาน ลักษณะของชิ้นงานที่จะนำไปวัดผล จะพิจารณาจากรูปทรง (Shape) บรรจุภัณฑ์ (Package) การกำหนดหรือจัดวางภาพลักษณ์ (Message หรือ Image) การนำเสนอ (Presentation หรือ Exhibition) โดยมีเกณฑ์ดังนี้ 2.1 คุณค่า (1) ประณีต (2) ประหยัดสุดประโยชน์สูง (3) สะอาด (4) สร้างสรร2.2 คุณภาพ 3 ระดับ (1) เด่น (2) ดี (3) เก่ง 2.3 ศิลปะ (เน้น กลมกลืน ขัดแย้ง จังหวะ สัดส่วน สมดุล และ เอกภาพ) เมื่อนำไปแสดงผ่านสื่อต่างๆ แล้ว ผู้ชมเกิดความสำนึกและเปลี่ยนพฤติกรรมจากมิติด้านลบไปสู่มิติด้านบวก 3. วิสัยทัศน์และคุณธรรมจริยธรรม วัดจากการประมวลประสบการณ์ที่นักศึกษาได้รับหลังเสร็จสิ้นการเรียนในวิชา ว่าเกิดความสำนึกและตัดสินใจด้านคุณธรรมหรือไม่ สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการประกันคุณภาพองค์กร
ปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ มีนโยบายในการประกันคุณภาพดังนี้ 1. ด้านกายภาพ ได้แก่ 1.1 ภูมิทัศน์ของสำนักงาน ห้องสตูดิโอ ห้องปฏิบัติการต่างๆ โต๊ะทำงาน สิ่งแวดล้อม และการแต่งกายของพนักงาน ให้ได้รับมาตรฐาน 5 ส.1.2 สุขภาวะของบุคลากร ให้ได้รับมาตรฐาน 5 อ. 2. ด้านจิตภาพ ได้แก่ 2.1 คุณสมบัติของการเป็นนักการสื่อสารที่ดี ตามหลักทฤษฎี MUSICALS คือ เด่นคุณธรรม () สำนึกองค์รวม (Unity)2.2 คุณสมบัติขององค์กรที่ได้รับมาตรฐานในการบูรณาการการสื่อสารสมัยใหม่ ตามองค์ประกอบ IAICI คือ รักองค์กรด้วยใจ (Incorporation), ทุ่มเทให้กับงาน (Action), พัฒนาสารสนเทศ (Information), ใช้กลเม็ดสื่อสาร (Communication), มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี (Interactive)