igood media
HOME   |  Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG |

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

บทความ:
ศาสตร์แห่งองค์รวม : องค์ประกอบ 6 ขององค์รวม
(6-enanglement of oneness)

โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า

ความเป็นหนึ่งเดียว (Oneness) ของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ทั้งที่ (1) มีขนาดใหญ่ที่สุด (univers) ที่ไม่อาจใช้หน่วยวัดบนโลกไปสามารถวัดค่าได้ (หน่วยวัดระยะใช้ ปีแสง) (2) ขนาดกลางๆ ที่สามารถวัดค่าได้ และมีอยู่ในโลกใบนี้ (3) ขนาดเล็กที่สุด (atom) ซึ่งสามารถวัดค่าได้เพียงการประมาณการเท่านั้น (approximation) และ (4) สิ่งที่ไม่มีขนาด ไม่มีรูปร่าง และไม่มีมวล ซึ่งเรียกว่า จิต หรือ วิญญาณ

สรรพสิ่งดังกล่าวทั้งหมด ความจริงแล้วมีลักษณะพื้นฐานที่สุดเหมือนกัน 6 ประการ และจำนวน 6 ประการ มีลักษณะที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน และเป็นพลวัตต่อกัน อันไม่อาจจะแยกออกจากกันได้ และเป็นต้นกำเนิดของ ปรัชญา ทุกแขนง

สิ่งเดียวกัน ที่มีองค์ประกอบ 6 คือ

(1) เวลา-อวกาศ-ความเร็วแสง (space-time-speed of light) คือ สิ่งเดียวกัน

speed of light แทนค่าด้วย ตัวอักษร c มาจากภาษาละติน คำว่า celeritas แปลว่า อัตราเร็ว เป็นค่าความเร็วของแสง ในสุญญากาศ มีความเร็ว เท่ากับ 299,792,458 เมตร ต่อวินาที ตามทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป (Theory of Relativity) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมัน: Albert Einstein, 1789-1955) (หลักของฟิสิกส์-กลศาสตร์ และ แรงโน้มถ่วง) กล่าวไว้ว่า แสงจะเดินทางไปในอวกาศ ด้วยอัตรเร็วคงที่เสมอ ด้วยความเร็ว 300,000 กม.ต่อชั่วโมง แต่ ตามทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ (Theory of Special Relativity) หรือหลักฟิสิกส์-ควันตัม กล่าวว่า แสงเดินทางตามความโค้งของอวกาศ และ เมื่อผ่านแรงโน้มถ่วงจาก หลุมดำ (black hole)

เวลา อวกาศ และ ความเร็วแสง เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นปริมาณพลวัต กับปัจจัยในข้ออื่นๆ ด้วยเสมอ ค่าต่างๆ ที่วัดได้ และเปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลให้ค่าในปัจจัยอื่นๆ เปลี่ยนไปด้วยเสมอ

(2) แรง-การเคลื่อนที่ (force-dynamic)

แรง ในจักรวาล เท่าที่ค้นพบได้มีอยู่ 4 ประเภท คือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน (แรงที่ยึดเหนี่ยว โปรตรอน และ นิวตรอน ให้เป็น นิวเคลียส) และ แรงนิวเคลียร์อย่างแข็ง (แรงสลายอะตอม) แต่แรงทั้งหมด ต่างมีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกัน ตอนเกิด Big Bang ไอสไตน์ พยายามจะรวมแรงทั้งหมดเข้าด้วยกัน แต่เขาเสียชีวิตก่อน ต่อมา ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น ฮอว์คิง (อังกฤษ: Stephen Hawking, 1492-ปัจจุบัน) ได้นำความคิดการรวมแรง และทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป ของ ไอสไตน์ ไว้เป็นทฤษฎีใหม่ คือ ทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) เพื่อจะค้นหาต้น กำเนิด และ จุดสิ้นสุด ของเอกภาพ

[กฏของนิวตัน ว่าด้วยเรื่องแรง
กฏข้อที่ 1 ของ นิวตัน (กฎของความเฉื่อย - inertia) : 
“วัตถุที่หยุดนิ่ง จะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่ จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ด้วยความเร็วคงที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน“ (First law : The velocity of a body remains constant unless the body is acted upon by an external force) หรือ F = 0 เมื่อ a = 0 
เมื่อ F = แรงลัพธ์ a = ความเร่ง

กฏข้อที่ 2 ของ นิวตัน (กฏของแรง - force) : 
“ความเร่งของวัตถุ จะแปรผันแปล ตามแรงที่กระทำต่อวัตถุ แต่จะแปรผกผัน กับมวลของวัตถุ”
หรือ ความเร่ง ของวัตถุ จะแปรผันตรง และมีทิศเดียวกับแรงลัพธ์ ที่กระทำต่อวัตถุ และแปรผกผัน กับมวลของวัตถุ เมื่อมี แรงลัพธ์ ขนาดไม่เป็นศูนย์ มากระทำกับวัตถุ (Second law : The acceleration a of a body is parallel and directly proportional to the net force F and inversely proportional to the mass m , ie, F = m a) หรือ F = ma 
เมื่อ F = แรงลัพธ์ (N), m = มวล (kg), a = ความเร่ง (m/s2)

เช่น แรงขับเคลื่อนของเครื่องยนต์จรวด จะทำให้จรวดมีความเร็วเพิ่มขึ้น ความเร่งจะเพิ่มเป็นสองเท่า เมื่อเร่งเครื่องยนต์ขึ้นสองเท่า 

กฏข้อที่ 3 ของ นิวตัน (กฏของแรงปฏิกิริยา - action = reaction) : 
“แรงที่วัตถุที่หนึ่ง กระทำต่อวัตถุที่สอง ย่อมเท่ากับ แรงที่วัตถุที่สอง กระทำต่อวัตถุที่หนึ่ง แต่กระทำกันในทิศทางตรงข้ามกัน” (Third law : The mutual forces of action and reaction between two bodies are equal, opposite and collinear)

วัตถุที่มีมวล จะส่งแรงดึงดูด และ แรงผลัก ซึ่งกันและกันเสมอ แต่ "แรงกระทำซึ่งกันและกัน ของวัตถุสองชิ้น ย่อมมีขนาดเท่ากัน และ กระทำกันในทิศทางตรงกันข้าม" นั่นคือ แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา

เช่น วัตถุ ก. ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ ข. วัตถุ ข. ก็จะส่งแรงที่เท่ากัน ตอบกลับมา ในทิศทางที่ตรงข้าม เสมอ

เซอร์ ไอแซค นิวตัน (อังกฤษ: Sir Isaac Newton, 1962-1727) เสนอกฎสามข้อทางฟิสิกค์ ไว้ในหนังสือ Philosophi? Naturalis Principia Mathematica , ตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี 1687]

แรง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความเร็วแสง และ ส่งผลต่อ เวลาและอวกาศ เมื่อแสงเดินทางผ่านอวกาศที่มีความโค้ง ทำให้วัตถุที่พลัดเข้าไปในหลุมดำ ถูกดึงดูดให้อยู่กับที่ เวลาก็หยุดกับที่ แรงใดๆ ก็จะมีค่าเท่ากับ 0

(3) อนุภาค-มวลสาร (particle-mass)

อนุภาค คือ ชิ้นส่วนย่อยของสสาร ในทางวิทยาศาสตร์ ใช้เรียกส่วน ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม ส่วน มวลสาร เป็นรูปของสสาร ที่สามารถวัดค่าได้ ในเชิงสามมิติ ทั้งอนุภาค และ มวลสาร สามารถ กำหนดคุณสมบัติทางกายภาพ ได้หลายแบบ เช่น ปริมาณ (volume) หรือ มวล (mass) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ "รูป" มวล เป็นได้ทั้ง สสาร และ พลังงาน

มวล ที่เป็น สสาร ก็คือ "รูป" หรือ รูปธรรม ส่วน มวล ที่เป็น พลังงาน ก็คือ "นาม" หรือ นามธรรม ซึ่งทั้ง สสาร และ พลังงาน ต่างก็เป็น อนุภาค

อนุภาคของจิต เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง

อนุภาค และ มวลสาร จะมีค่าของ ปริมาตร ขนาด ระยะทาง และ รูปทรง เปลี่ยนแปลงไป ตาม เวลา อวกาศ ความเร็วแสง และ แรงที่กระทำต่อมัน

ปริมาตร หนาแน่น - เบาบาง
ขนาด ใหญ่ - เล็ก
ระยะ ไกล - ใกล้
รูปทรง โค้ง - ตรง (ความโค้งมีค่าเป็นศูนย์ ทำให้มีขนาดคงที่ ความโค้งมีค่าเป็นบวก ทำให้ขนาดเล็กลง ความโค้งมีค่าเป็นลบ ทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น)

(4) อุณหภูมิ-คลื่น รังสี (temperature–electromagnetic waves)

แสดงสถานะ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับสลายไป ของ อนุภาค แสง แรง เวลา

อนุภาค กับ คลื่น จะเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้สิ่งต่อไปนี้ คือสิ่งเดียวกัน แรง-สสารวัตถุ (force-mass) 
อนุภาค-คลื่น (particle-wave) 
การเคลื่อนไหว-การหยุดนิ่ง (dynamic-balance)
การดำรงอยู่-การไม่ดำรงอยู่ (being-nothing)

คลื่นมี 6 ชนิด คือ -คลื่นน้ำ -คลื่นเสียง มีลักษณะเป็นสามมิติ และอาศัยพาหะทำให้เกิดคลื่น ส่วน -คลื่นแสง -คลื่นวิทยุ (รังสี) -คลื่นเวลา และ -คลื่นความคิด มีลักษณะเป็นสี่มิติ ไม่ต้องอาศัยพาหะ คลื่นทั้ง 6 ชนิด มีคุณสมบัติเหมือนกันตรงที่ ความหมุนวน ที่ไม่ได้เคลื่อนที่ (หมุนอยู่กับที่) แต่สิ่งที่เคลื่อนไปจากการหมุน เป็นเพียงสิ่งสมมุติขึ้นเท่านั้น สิ่งที่เคลื่อนไปจะอยู่ในรูปของ รังสี เช่น รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า จิต

ในที่สุดของการค้นพบในทางฟิสิกส์ควันตัม คือ ความมีอยู่ = ความไม่มีอยู่ ในความหมายของ นิพพาน กำลังพูดในสิ่งเดียวกันกับที่ ฟิสิกส์ควันตัม คิด

(5) จิต เจตสิก รูป นิพพาน (spirit-psyche-form-nothing)

จิต คิด (สมอง: รับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย)
เจตสิก รู้สึก (อารมณ์: ถ้ามีค่าเป็นศูนย์ คล้ายอุเบกขา ถ้ามีค่าเป็นบวก เป็นกิเลส (ภวตัณหา) ที่มีพลังดึงดูดสิ่งที่พึงปรารถนา ถ้ามีค่าเป็นลบ ก็เป็นกิเลส (วิภวตัณหา) ที่มีพลังผลักสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา) เจตสิก มี 52 ลักษณะ
รูป ลักษณะทางกายภาพ สามมิติ ที่สามารถวัดค่าได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ในทางศาสนาพุทธ รูป กับ นาม สามารถแปลงคุณสมบัติร่วมกันได้
นิพพาน คือ สิ่งที่อยู่เหนิอกฏทางธรรมชาติ เหนือกฏไตรลักษณ์

หลักวิชาที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับ สิ่งที่เล็กที่สุดในระดับอะตอม หรือเล็กกว่าอะตอม เรียกว่า "ฟิสิกส์ควันตัม" กล่าวไว้ว่า ภายในอนุภาคของอะตอม เคลื่อนไหวตลอดเวลา และช่องว่างภายใน/ระหว่าง อนุภาค ในอะตอม มีอยู่ แต่ก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะ แรงยึดระหว่าง แรงดึงดูดของนิวเคลียสที่กระทำต่ออิเล็กตรอน กับแรงหนีออกจากศูนย์กลางของการหมุนของอิเล็กตรอน มันมีพลังมากมายมหาศาล ยิ่งการหมุนของอิเล็กตรอนเร็วเท่าใด (เริ่มต้นที่ 600 ไมล์ ต่อวินาที) ก็จะทำให้อะตอมกลายเป็นวัตถุแท่ง ทำให้ช่องว่างภายในอะตอมที่มีอยู่ ดูเหมือนไม่มี

จิต และ เจตสิก จึงจัดเป็น อนุภาค ที่มีการเคลื่อนไหว (เกิด-ตั้งอยู่-ดับไป) อยู่ตลอดเวลา และเร็วกว่าการหมุนของอิเล็กตรอน ซึ่งมีความเร็วที่ infinity ไมล์ต่อวินาที

(6) มิติ และ ไตรลักษณ์ (dimension and 3-act phenomena)

มิติ เป็นมุมมองของมนุษย์ ที่มีต่อสิ่งรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะมองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า (กาย) หรือ ประสาทสัมผัสที่หก (ใจ) ก็ตาม แล้ว ก่อรูปขึ้น (กาย ก่อเป็น "รูป" ใจ ก่อเป็น "นาม") ผ่านคำอธิบาย เป็นนิยาม ความหมายต่างๆ ขึ้นมาสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน

ในเอกภพนี้ มีจำนวนมิติ เท่ากับ 11 มิติ หรืออาจมากกว่า แต่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ดีเพียง 1-3 มิติ เพราะจุดรับรู้เพียง 5 จุด (ตา-รูป หู-เสียง จมูก-กลิ่น ลิ้น-รส กาย-สัมผัส ใจ-อารมณ์) สามารถรับรู้ได้เพียงไม่เกิน 3 มิติเท่านั้น จะมีเพียงจุดสัมผัสที่ 6 (ใจ-อารมณ์) เพียงจุดเดียว ที่สามารถรับรู้และเข้าถึงในมิติที่มากกว่า 3 มิติ แต่ก็ยังทำได้ยาก

มิติที่ 1 - 3 เป็นมิติของโลกวิทยาศาสตร์ กลศาสตร์ สัมพันธภาพทั่วไป คนในมิตินี้ สามารถค้นพบความลี้ลับทางธรรมชาติได้ ในระดับกายภาพ (physical) เกิดกฏทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ มากมาย เช่น กฏของแรงของ นิวตัน ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป

มุมมองมิติเดียว (มิติที่ 1) เป็นมิติปัจจุบันขณะ ถ้าจิตว่าง (กิเลส มีค่าเป็นศูนย์) ดวงจิตปัจจุบัน จะสืบต่อ ไปยังดวงจิต ดวงต่อไป หรือ จุติจิต ไปยัง ปฏิสนธิจิต จะทำให้ข้ามไปยัง มิติที่ 11 ในทันที) แต่ถ้าจิตไม่ว่าง (กิเลส มีค่ามากกว่าศูนย์) ดวงจิตที่เกิดขึ้น จะเป็นดวงจิตในภพภูมิของ เดรัจฉาน มุ่งตอบสนอง เรื่องการเอาชีวิตรอด และการสืบต่อเผ่าพันธุ์ ถ้าได้ร่างเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนที่มีกิเลสครอบงำ อาจจัดเป็นบุคคลในเหล่าที่สี่ (ดอกบัวใต้ตม)

เอกภพ ในมิติที่ 1 เวลา จะมีค่าเริ่มที่ 0 วินาที แสง จะเริ่มจากจุดแรงระเบิดของ big bang ซึ่งเป็นจุดที่เอกภพเริ่มขยายตัว ตามกฏของแรงของนิวตัน และ ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป กำเนิดแรงแม่เหล็กแม่เหล็กไฟฟ้า มวลและอนุภาค เริ่มจาก 0

มุมมอง มิติที่ 2 (มิติแนวระนาบ) สัตว์เดรัจฉาน เริ่มเรียนรู้ เรื่องการปรับตัว ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน ตามธรรมชาติ ที่มีความหลากหลาย จิตในระดับมิติที่สอง ของสัตว์ จะรับรู้การเคลื่อนไหว ได้เพียงมิติที่ 2 เท่านั้น (มีลำตัว ขนานไปกับพื้น) เช่น มดบนเพดาน จะไต่ผนังลงมา ขนอาหารที่อยู่กลางพื้นห้อง แทนการโรยตัวลงทางตรง หรือ จับแมวหงายท้อง แล้วปล่อยลงพื้น แมวจะพลักตัวกลับ โดยอัตโนมัติ เพราะ แมวจะรับรู้ว่า ลำตัวของมัน จะต้องอยู่ขนานกับแนวระนาบ

มนุษย์ เริ่มค้นพบความเชื่อทางธรรมชาติ เชื่อว่าโลกแบน พระเจ้าสร้างโลก จากอำนาจลึกลับ ที่ไม่สามารถบอกที่มาได้ เกิดปรัชญาสาขาต่างๆ

มุมมอง มิติที่ 3 (มิติแนว ระนาบ และ แนวลึก) ปรัชญาสาขาต่างๆ ได้รับการปฏิรูปให้เป็นรูปธรรม และเข้ากันได้กับหลักวิทยาศาสตร์ เป็นมิติแห่งความเป็นจริงของโลก เกิดพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ไฟฟ้า จักรกล การสื่อสาร ภายใต้หลักแห่งเหตุผล เกิดทฤษฎีพื้นฐานสำคัญทางฟิสิก ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติอุตสาหกรรม นั่นคือ ทฤษฎีแรงของนิวตัน และทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป ทำให้โลกก้าวสู่สมัยใหม่ (modernization) และพัฒนาสังคมไปสู่ยุคทุนนิยม ความมั่งคั่ง และการบริโภคนิยม ก่อให้เกิดภาวะขาดสมดุลทางธรรมชาติ และความขัดแย้งทางสังคมมากมาย

มนุษย์ใน มิติที่ 3 แม้จะเป็นผู้ทรงพลังทั้งทางด้าน เทคโนโลยี การสื่อสาร แต่ก็อ่อนแอทางด้านจริยธรรม และ ความสุขสงบทางจิต วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จะถูกนำมาใช้ในสงคราม อย่างหลากหลาย

มุมมอง มิติที่ 4 (มิติของเวลา) เป็นผลต่อเนื่องมาจาก การค้นพบอนุภาคในระดับควันตั้ม เรียกว่า ควันตั้มฟิสิก ทฤษฎีสัมพันธภาพได้รับการพัฒนาเป็น ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ เปิดมิติมุมมอง ความรู้ ความก้าวหน้าของเอกภพ อย่างมากมาย พุทธศาสนา ได้ก่อกำเนิดขึ้นมา ตั้งแต่สมัยที่มนุษย์ส่วนใหญ่ มีมุมมองโลก ในระดับสามมิติ แต่เริ่มได้รับการยอมรับจากวิทยาศาสตร์ เมื่อวิทยาศาสตร์ เริ่มค้นพบความจริงในระดับ มิติที่ 4 ขึ้นไปฃ

มิติที่ 4 กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง จิต กับ เวลา ซึ่งแน่นอน ยังมีปริศนาอีกมากมาย ที่เกี่ยวกับ เวลา อวกาศ ความเร็วของแสง แรงต่างๆ ในเอกภพ รวมทั้งอนุภาคและมวลสาร ที่รอคำตอบจากวิทยาศาสตร์ว่า มนุษย์ล่องหน หายตัว ลอดภูเขา ย่นระยะทาง เดินบนอากาศ ได้อย่างไร เพราะปรากฏการณ์เหล่านี้ ได้ถูกบันทึกไว้ในโลกของมนุษยชาติ โดย พระพุทธเจ้า ว่า เป็นไปได้จริง

มุมมอง มิติที่ 5 (มิติของการเปลี่ยน มวลสาร-สถานที่-เวลา) เนื่องจากความก้าวหน้า และการตค้นพบมิติใหม่ๆ ทาง ควันตั้มฟิสิก อนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า ความเร็วของแสง ซึ่งวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ยังก้าวไปไม่ถึง เพียงแต่เชื่อว่ามีอยู่ แต่ยังอธิบาย หรือค้นหาทฤษฎีไม่พบ แต่ในทางพุทธศาสนา ความจริงแล้ว นี่คือมิติของจิตวิญญาณ การตาย การเกิด การเปลี่ยนภพชาติ นั่นเอง

มุมมอง มิติที่ 6 - 10 (มิติของ จิต กับ เจตสิก หรือ มิติการรับรู้ทางอารมณ์) เป็นมิติที่ไม่สามารถอธิบายด้วยภาษามนุษย์ หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้ (ในอนาคตไม่แน่) ในทางศาสนาพุทธ เป็นมิติของจิตวิญญาณ กล่าวคือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของจิต วิญญาณ การเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ (ภพ ชาติ ชรา มรณะ) ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องของจิตวิญญาณทั้งสิ้น มิใช่ เรื่องของร่างกายตัวตน แต่อย่างใด (แต่ก็เป็นไป และ เกิดขึ้นซ้อนทับกับ มิติที่ 3 มิติที่ 4 และ มิติที่ 5 ได้* เช่น ณ ปัจจุบัน รอบๆ ตัวเราในระยะ 1 เมตร อาจมีมิติอื่นๆ ที่มากกว่า มิติที่ 3 เกิดขึ้นซ้อนทับ แต่มนุษย์เราไม่สามารถรับรู้มิติเหล่านั้นได้ อาจเป็นเพราะ แต่ละมิติ มีความเร็วแสง มีเวลา ช่องว่าง มีมวล มีอนุภาค มีพลังงาน ที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถสื่อสารกันได้ เว้นแต่จะเกิด อุปทานของบุคคล ที่แกล้งบอกคนอื่นว่า สื่อสารในมิติอื่นๆ ได้)

รวมทั้ง เป็นมิติของภพภูมิของ เทพต่างๆ รวมทั้งภพภูมิของสัตว์โอปปาติกะทั้งหลาย เช่น คนธรรพ์ เปรต อสุรกาย สัตว์นรกต่างๆ

[*การซ้อนทับกันของมิติ ตรงกับ คำอธิบายของการเกิดปรากฏการณ์ของ big bang, big clunce, black hole, การลอดอุโมงค์มิติ, ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่สามารถหาจุดกำเนิด และ จุดสิ้นสุดได้]

มุมมอง มิติที่ 11 (มิติของนิพพาน) เป็นมิติที่อยู่เหนือกฏธรรมชาติทั้งปวง รวมทั้งกฏแห่งไตรลักษณ์ด้วย นิพพาน จึงเป็นเป็นความเที่ยงแท้อย่างหนึ่ง เป็นตัวตนอย่างหนึ่ง (ที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสี ไม่มีแสง (แต่ไม่มืด) ไม่มีอวกาศ ไม่มีอนุภาค มวลสารใดๆ ไม่มี จิต เจตสิก และ รูปใดๆ และจึงไม่มีการ เกิดหรืออุบัติขึ้นใดๆ ของสรรพสิ่ง

สรุป 
มิติที่ 1 - 3 เป็นมิติปรากฏการณ์ ของ "รูป" (physical pheanomena) (ภพภูมิของเดรัจฉาน
มิติที่ 4 - 5 เป็นมิติของ "จิต" และ "เจตสิก" (ภพภูมิของพระอริยะ ระดับ โสดาปัตติผล และ สกทาคามิผล)
มิติที่ 6 - 10 เป็นมิติของ "เจตสิก" ล้วนๆ (ภพภูมิของพระอริยะ ระดับ อนาคามิผล เป็นต้นไป)

แต่ทุกมิติดังกล่าว ยกเว้น มิติที่ 11 ล้วนอยู่ภายใต้ กฏแห่งไตรลักษณ์ (3-act pheanomena) ทั้งสิ้น

สรุป
ฟิสิกส์ ได้มองจักรวาลว่าเป็นข่ายใยแห่งความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของด้านกายภาพ และ ด้านจิตใจ เช่นเดียวกับศาสนา

.
9 มีนาคม 2555

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]

  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2016 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net