Article in 2020 | |
![]() |
|
|
HOME | ![]() |
บทความ: โดย อาจารย์สู่ดิน ชาวหินฟ้า
บทความนี้ เรียบเรียงจากทฤษฎี ที่เป็นส่วนผสมของ ฟิสิกส์-ดาราศาสตร์ และ พุทธศาสน์ (พุทธวจน). อ้างอิงจาก หนังสือสัมพัทธภาพ วิทยาศาสตร์-พุทธศาสน์ ชื่อ สรรพสิ่งสัมบูรณ์ ด้วยสัตตะธัมมะธาตุ: สัมพัทธภาพ ของ ความจริงสมมุติ กับ ความจริงปรมัตถ์ (The 7-Element: Absolute of Everything. The Theory explain Everything.) ซึ่งเป็นทฤษฎีเดียว ที่อธิบายทุกสรรพสิ่ง ของจักรวาล ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้อย่างสมบูรณ์. เขียนโดย ผู้เขียนคนเดียวกัน. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ (ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2019) ที่ - http://www.igoodmedia.net/index.html?#the-7-element
ก. บทนำ - ปฐมบท แห่งการก่อเกิด ในมุมมองของพระพุทธเจ้า (ซึ่งเป็นมุมมองที่กว้างที่สุด ไม่มีกว้างกว่านี้อีกแล้ว) ธรรมชาติ จักรวาล (universe - เอกภพ) เป็นสิ่งที่มีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง ที่ไม่สามารถวัดได้ และ ไร้ขอบเขต[ [
แสง อวกาศ เวลา พลังงาน-มวล
ธรรมชาติ-จักรกวาล แบ่งออกเป็น 2 ระบบมูลฐาน (ไม่สามารถแบ่งย่อยต่อไปได้อีก) คือ ระบบปรุงแต่ง (สังขตธรรม-conditioned) กับ ระบบไม่ปรุงแต่ง (อสัขตธรรม-unconditioned). ทั้งสองระบบ ต่างก็มีองค์ประกอบที่เป็น วัตถุธาตุ (ดิน น้ำ ไฟ ลม อวกาศ) และ องค์ประกอบที่เป็น จิตธาตุ (วิญญาณ สังขาร นามรูป) เป็นส่วนผสมร่วมกัน. ธัมมะธาตุ ในระดับอะตอม ประกอบขึ้นจาก อนุภาค (particle) และคลื่น (wave) ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกของวัตถุ. แต่ในโลกของจิตวิญญาณ ธัมมะธาตุที่เล็กที่สุด และเป็นธัมมะธาตุเริ่มต้น คือ อวิชชา ประกอบขึ้นจาก วัตถุ (matter) และ จิต (psychic).
ดังนั้น อวิชชา จึงเป็นธัมมะธาตุทวิ วัตถุ/จิต และส่งต่อคุณสมบัติทวินี้ ไปยังธัมมะธาตุถัดไป คือ "สังขารทั้งหลาย." คำว่า 'สังขาร' = กิริยา หรือ กระบวนการปรุงแต่ง, คำว่า 'สังขารทั้งหลาย' = วัตถุธาตุอย่างเดียว (วัตถุ สิ่งของ) และ วัตถุธาตุ+จิตธาตุ (สัตว์ต่างๆ). อนุภาคโฟตอน (แสง) บางครั้ง มันก็ประพฤติตัว เป็นอนุภาคบ้าง เป็นคลื่นบ้าง (มีคุณสมบัติ ทวิ คลื่น/อนุภาค). แต่ อวิชชา ทั้งส่วนที่เป็นวัตถุ และส่วนที่เป็นจิต กลับประพฤติตัวแบบเดียวกัน คือ "มันไม่รู้เรื่องอะไร" (โง่แท้ๆ). อวิชชา สามารถกำจัดออกไปได้ โดยคู่ปฏิยานุภาค[ [ กรณี อวิชชา, เหตุที่ต้องแยกคุณสมบัติวัตถุ/จิต ออกจากกัน เพื่อให้การกำจัด อวิชชา ทำได้อย่างถูกตัวถูกตน. กล่าวคือ อวิชชา ส่วนที่เป็นจิตธาตุ นี่่เอง ที่ถูกกำจัดออกไป โดยสิ่งที่เป็นคู่ ปฏิยานุภาคของมัน คือ "วิชชา" และเมื่อถูกกำจัดออกไปแล้ว ส่วนที่เป็นวัตถุ ก็ยังคงอยู่เช่นนั้น. ปล่อยให้มันอยู่โดดเดี่ยว ตามธรรมชาติของมัน. สาเหตุที่ อวิชชาส่วนที่เป็นจิต ถูกกำจัดออกไป เพราะ วิญญาณ ถูกกำจัดออกไปก่อนหน้านั้น นั่นเอง. ดังนั้น อวิชชา ถือว่าเป็นองค์ประกอบแรกสุด ของธัมมะธาตุ ที่เป็นกลไกชีวะ (alive mechanics) อยู่ในธรรมชาติของจักรวาล. กลไกชีวะเหล่านี้ จะถูกเรียกรวมๆ กันว่า "สัตว์" [
ข. อาณาจักรของสัตว์ ในมุมมองของ พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า แบ่งสัตว์ ออกเป็น 5 กลุ่ม (เรียงตามลำดับวรรณะสูง มาวรรณต่ำ) คือ สัตว์ทั้ง 5 กลุ่ม ยังแบ่งออกได้เป็น 3 สภาวะ ตาม การมองเห็นของมนุษย์โลก (มองในมุมสัมพัทธ์ หรือ 'มโนทัศน์สัมพัทธภาพ') คือ (1) สภาวะรูปทรง (2) สภาวะกึ่งรูปทรง (3) สภาวะไร้รูปทรง. สภาวะรูปทรง ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย (มนุษย์โลก - อาจเป็นโลกนี้ หรือ โลกในกาแล็กซี่อื่น ก็ได้) และ กำเนิดเดรัจฉาน หรือ สัตว์เดรัจฉาน. สัตว์ที่มีสภาวะรูปทรง ที่แปรเปลี่ยนสลับร่างได้ เรียกว่า สัตว์กึ่งมนุษย์ (ไม่ใช่มนุษย์) เช่น สัตว์จำพวก นาค[ [ สัตว์ที่มีสภาวะกึ่งรูปทรง ประเภท กึ่งเดรัจฉานกึ่งเทวดา ก็มี เช่น ครุฑ ยักษ์ วฬาหก (ครุฑ กับ วฬาหก = สัตว์อากาศ ของ โลกสวรรค์ (heaven land | heaven earth), ยักษ์ = สัตว์น้ำ ของโลกสวรรค์. บนสวรรค์ จะไม่มีสัตว์บก เพราะสวรรค์ ไม่มีแผ่นดินเหมือนบนโลกมนุษย์ แผ่นดินที่หยาบที่สุด เท่าที่เป็นไปได้บนโลกสวรรค์ คือ น้ำ, และก็เป็นสวรรค์ต่ำสุด รอยต่อ โลกมนุษย์ กับ สวรรค์จาตุมหาราชิกา) สภาวะกึ่งรูปทรง ได้แก่ เปรตวิสัย หรือที่เราเรียกว่า เปรต. ความจริง เปรต จัดเป็นสัตว์กึ่งมนุษย์กึ่งนรก. เปรต บางครั้งก็แสดงรูปทรง ให้ประสาทรับรูปทางตา (ตา+รูป) ของมนุษย์ธรรมดา ให้เห็นได้ (เป็นบางครั้งเท่านั้น - บางคนเห็น บางคนไม่เห็น). เทวดา พวกคนธรรพ์ หรือ รุกขเทวดา หรือ นางไม้ ก็สามารถสร้าง (create) สภาวะกึ่งรูปทรง ได้เช่นกัน. ในบรรดาสัตว์ ทั้ง 5 กลุ่ม คือ สามารถแบ่งประเภท ตามรูปกาย ที่แสดงให้มนุษย์ได้เห็น คือ ประเภทมีรูปทรง ประเภทกึ่งรูปทรง และ ประเภทไร้รูปทรง. สัตว์ไร้สภาวะรูปทรง มี 2 กลุ่ม คือ เทวดา และ นรก. ที่เรียกว่า ไร้รูปทรง (non-formal) ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีรูปทรงเสียเลยทีเดียว แต่เป็นรูปทรง ที่พัวพัน (entangle) กับ พลังงานทางจิต และ เวลา, ไม่ได้มีวัตถุธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย. แน่นอนว่า จะไม่มีมนุษย์คนใด สามารถมองเห็น สัตว์จำพวกเทวดา ได้เลย แต่สามารถรับรู้ได้ทาง จินตภาพ เท่านั้น. สัตว์จำพวกนรก ก็อธิบายแบบเดียวกันกับ สัตว์จำพวกเทวดา. เพียงแต่ต่างกันตรงที่ สัตว์นรก มีถิ่นพำนัก ซึ่งมีปัจจัยของ 'เวลา' และ 'แรงอันเกิดจากพลังงานแวดล้อม' ควบคุมให้มีการเคลื่อนไหวได้ ในพื้นที่จำกัด ทำให้เวลาในนรกนั้น ยาวนานกว่าสวรรค์เป็นล้านเท่า.
ค. คุณสมบัติของ เทวดา ในโลกของวิทยาศาสตร์, ไม่สามารถเข้าถึง หรือมองเห็น สัตว์จำพวกเทวดาได้ เพราะ วิทยาศาสตร์ มีข้อจำกัดในทางทฤษฎี ซึ่งจะอธิบายได้เฉพาะ สิ่งที่เป็นวัตถุธาตุเท่านั้น คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม และ อวกาศ (5 ธาตุ). นักวิทยาศาสตร์ ไปได้ไกลสุด เข้าถึงสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุด ก็แค่ระดับ "ควอนตัม" เท่านั้น. แต่โลกของเทวดา ไม่มีขนาดทางฟิสิกส์ แต่มีพื้นที่ (locality) ในมิติของเวลาและอวกาศ ที่อยู่กว้างไกลออกไป อย่างไร้ขอบเขต, ทะลุเลย ดิน น้ำ ไฟ ลม อวกาศ ไปจนถึง วิญญาณ (6 ธาตุ) และเลยออกไปอีก นับระยะอนันต์ (สังสารวัฏ - infinity).
โลกของเทวดา เป็นถิ่นที่อาศัยของ กลไกชีวะ หรือระบบชีวิต ที่ไม่มีมวล ไม่มีขนาด มีแต่กาลเวลา, อาศัยแรงทางจิต ในการดำเนินชีวิต. แม้กระทั่ง ระบบเวลา ของโลกวิทยาศาสตร์ (real world) และ ของโลกเทวดา (imagine world) ก็มีความแตกต่างกัน แบบสุดขั้ว. ดังนั้น มาตรวัดที่จะใช้กับทั้งสองโลก จึงต้องใช้กันคนละระบบ จะนำมาวัดสิ่งที่อยู่ต่างระบบกันไม่ได้. จะทำได้ก็แต่เพียง การอุปมา เทียบเคียงกัน เท่านั้น โดยอยู่ในกรอบอ้างอิงที่เป็น สัมพัทธภาพ ต่อกัน. [ สัตว์จำพวกเทวดา มีความพิเศษ มากกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ เพราะมีคุณสมบัติ ที่ทรงพลัง ทั้งด้านเวลา พลังงาน และสติปัญญา . พลังงาน ในที่นี้ หมายถึง พลังงานทางจิต (psychic-energy). พลังงานทางจิต ให้กำเนิด แรงทางจิต 4 ชนิด คือ (1) เจตนา-มนสิการ (2) ทิฐิ-ปัญญา (3) สมาธิ-ฌาน (4) กรรม-วิบาก. แรงทางจิต ถูกสร้างขึ้นมาโดย สัตว์ทุกประเภท และแรงเหล่านี้ ก็เป็นสมบัติเฉพาะตัว ของ สัตว์เหล่านั้นๆ จะส่งแรงนี้ไปให้สัตว์ บุคคลอื่น ไม่ได้.
เวลา ของ มนุษย์ และ สัตว์เดรัจฉาน กับ เวลาของ เทวดา และ นรก ประกอบด้วย 3 กาล (อดีต อนาคต ปัจจุบัน) เช่นเดียวกัน แต่มีแกนทิศทางการไหลของกาล แตกต่างกัน. กล่าวคือ เวลา ของ มนุษย์ และ สัตว์เดรัจฉาน มีการไหลของกาล ไปตามแกนนอนแนวระนาบ ตามกฎ entropy ซึ่งกล่าวว่า เวลาวิ่งไปตามทิศทาง จาก ความเป็นระเบียบ ไปสู่ ความยุ่งเหยิง (เรียกว่า เวลาจริง หรือ เวลา 3 มิติ). ส่วน เวลาของ เทวดา และ นรก จะมีแกนทิศทางการไหลของกาล ไปตามแกนแนวตั้งฉาก กับ แกนแนวนอน (เรียกว่า เวลาจินตภาพ หรือ เวลาสี่มิติ). ด้วยเหตุนี้, รูปแบบการนับปริมาณของเวลา ในสวรรค์-นรก กับ บนโลกมนุษย์ จึงมีความยาวนานแตกต่างกันมากมาย เมื่อมองในมุมสัมพัทธ์. แต่ถ้ามองในมุมของเทวดา, มนุษย์มีอายุสั้นพอดี เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม มากกว่าเทวดาด้วยซ้ำ เพราะการได้บรรลุธรรมเร็วเท่าใด ถือเป็นเรื่องดี. ดังนั้น ถ้าถามใจเทวดา, เทวดา ก็จะบอกว่า อยากเกิดมาเป็นมนุษย์ มากกว่าเป็นเทวดา. แต่ว่า จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ได้อีกนั้น ยากแสนยาก, คือ ถ้าจุติ (ตาย) ไปแล้ว โอกาสไปเกิดใน นรกภูมิ มีมากกว่ามาก เทียบได้กับ แผ่นดินทั้งผืน ส่วนโอกาสได้เป็นมนุษย์นั้น น้อยกว่า เทียบได้กับ ดินในปลายเล็บ. คิดดูให้ดีๆ ฟังเทวดาผู้เป็นบัณฑิตพูด, แล้วอย่างนี้ ยังจะเกิดเป็นเทวดาอีกหรือไม่? เป็นมนุษย์นั่นดีที่สุดแล้ว. อันที่จริง เทวดาก็ไม่ได้ประเสริฐไปกว่ามนุษย์หรอก. เทวดา แค่มีฤทธิ์ทางใจ แปลงกายวูบๆ วาบๆ ได้, แต่ตีหัวมนุษย์ไม่ได้ บังคับใจคนก็ไม่ได้ ดลบันดาลอะไร ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น. เรากับเทวดา ก็เป็นสัตว์ร่วมโลก เป็นเพื่อนกัน แค่นั้น. ในทัศนะของมนุษย์, เทวดา มีคุณสมบัติ-ลักษณะพื้นฐาน สรุปได้ ดังนี้, [บางกรณี อาจสอดแทรก อุปมา และจินตภาพของผู้เขียน เพื่อให้เข้าใจ รูปธรรมของเทวดา ได้ชัดเจนมากขึ้น]
การสวมใส่เสื้อผ้าของเทวดา เป็นแค่จินตนาการ ทางฝั่งมนุษย์ ซึ่งอธิบาย ตามภูมิศาสตร์ ที่พวกเทวดาอาศัยอยู่. เนื่องจากเทวดา เป็น นามขันธ์ ไม่มีมวล และไม่ใช่คลื่น, จึงดำรงอยู่ในภาวะใดๆ ของอวกาศก็ได้ แม้บริเวณนั้น จะมีอุณหภูมิ ใกล้ 0 kelvin (-273.15 องศาเซเลเซียส) หรือ ใกล้ 10,000 kelvin. หรือ จะมีคลื่นรังสีแบบใดๆ ก็ตาม.
พาหะที่พวกเทวดา นิยมใช้สัญจร คือ แสง และ กราวิตอน เพราะมีอยู่ทั่วไป. แสงที่ปรากฏแค่อณูเดียว เทวดาสามารถเข้าไปรวมอยู่ในที่เดียวกัน ได้มากถึงแสนองค์. เคยปรากฏหลักฐาน คราวที่พระพุทธเจ้า จะเสด็จปรินิพพาน เวลานั้น มีเทวดามาชุมนุมกัน มากมายนับจำนวนไม่ได้.
อสูร - เป็นสัตว์กึ่งเทวดา กึ่งนรก, พวกนิสัยดี ก็จะไปทำหน้าที่ เป็น ยมทูต ยมบาล ใน นรก, พวกนิสัยไม่ดี จะไปพำนักอยู่ในเขตสวรรค์ ชื่อ ปรนิมมิตวสวัสตี, พวกอสูร ชอบไประราน รังควาน ความสงบของเทวดา ชั้นอื่นๆ ที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกัน (อาณาจักรสวรรค์กามาวจร) นิสัยพาล เพราะเย่อหยิ่งในอำนาจนิมิต.
ประชากรเทวดา ไม่ว่าอาณาจักรใด เมื่อเอาคุณสมบัติในการบรรลุธรรม มาเป็นเกณฑ์ชี้วัด. โดยวัดกันที่ ใครมีกิเลส เหลือน้อยกว่ากัน, กิเลสเหลือน้อยกว่า ก็มีภูมิธรรมสูงกว่า. พระพุทธเจ้า แบ่งคุณภาพประชากรเทวดา ออกเป็น 4 ระดับคุณภาพ (จากต่ำไปสูง) ได้แก่ (1) เทวดาปุถุชน มีสภาวะผล ใกล้เคียงกับมนุษย์ปุถุชน ต่างกันตรงที่ เทวดาปุถุชน ไม่มีร่างกาย ไม่ตระหนี่ขี้เหนียว ในการให้ทาน เท่านั้นเอง. ส่วนผลของการลดละกิเลส ใกล้เคียงกับมนุษย์. (2) เทวดาอริยชน-โสดาบัน, เมื่อตายจากเทวดาแล้ว จะไม่ไปเกิดในนรกอีกแล้ว, และสามารถเลือกได้ว่า จะเกิดเป็น มนุษย์ หรือเทวดา ได้ไม่เกิน 7 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง หรือครั้งเดียว, แล้วแต่ว่า ขณะเป็นเทวดา ละกิเลสได้มากน้อยเท่าใด. (3) เทวดาอริยชน-สกทาคามี, เมื่อตายจากเทวดาแล้ว จะไม่ไปเกิดในนรกแน่นอน แต่จะไปเกิดเป็นเทวดา อีกหนเดียว แล้วบรรลุธรรมอรหัตตผล ในภพนั้น, ที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์นั้น น้อยมาก. (4) เทวดาอริยชน-อนาคามี เป็นเทวดาในอาณาจักรรูปพรหม, เมื่อตายจากเทวดาในชั้นนั้นแล้ว ย่อมไปเกิดในภพเดิมอีกหนเดียว ก็จะบรรลุอรหัตตผล. สรุป เราสามารถเทียบชั้น ปุถุชน - โสดาบัน - สกทาคามี - อนาคามี. ในภพภูมิ มนุษย์-สวรรค์-พรหม ได้ดังนี้. มนุษย์ปุถุชน
อาณาจักรชายขอบระหว่าง โลก-สวรรค์ และ โลก-นรก อยู่ในเขตพื้นที่ของมิติเวลา ที่ซับซ้อน มนุษย์เข้าใจได้ยาก, มักเป็นถิ่นที่พำนักอาศัยของสัตว์ ที่มีรูปกายแบบ "กึ่ง" ซึ่งมีความแปลกประปลาด ในความรู้สึกสัมผัส ของมนุษย์. มนุษย์บนโลก ที่มีความแตกต่างกัน ทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และความเชื่อ, อาจใช้นามเรียกขาน เทวดาที่มีฤทธิ์ และอสูรบางกลุ่ม ว่าเป็น แม่มดบ้าง พ่อมดบ้าง เอลป์บ้าง.
ง. อาณาจักร ของเทวดา คุณสมบัติทางกาย (รูป) ทางใจ (อำนาจของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่เป็นจิตธาตุ จะมีความซับซ้อนและหลากหลาย, ทำให้เกิดเขตพำนัก หรือ อาณาจักร ที่มีความแตกต่างกัน อย่างชัดเจน 4 เขต หรือ 4 อาณาจักร ใหญ่ๆ คือ (1) ชายขอบ แดนต่อ มนุษย์-เทวดา (โลก-สวรรค์) และ มนุษย์-วินิบาต (นรก). ในแต่ละอาณาจักร, จะมีการแบ่งเขตย่อยๆ อีกมากมาย ตามคุณสมบัติ และอิทธิฤทธิ์ ของประชากรในเขตนั้นๆ.
อาณาจักรชายขอบ เป็นเขตที่มนุษย์ เหล่าอสูร สัตว์นรกบางพวก เปรต พ่อมดแม่มด เทวดาอื่นๆ สามารถเข้ามาในเขตนี้ได้ บ้างก็อยู่ปะปนกัน เพราะมีความปรารถนาแบบเดีวกัน, บ้างก็แยกกันอยู่ เพราะรังเกียจ เหยียดหยาม ซึ่งกันและกัน. ทำให้อาณาจักรแห่งนี้ ไม่มีความสงบสักเท่าใด คล้ายแดนสนธยา เกิดความปั่นป่วนของเวลา และมิติ. มันเป็นความไร้ระเบียบ ยากที่จะหาทฤษฎีหรือกฏเกณฑ์ใดๆ มาอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรนี้ทั้งหมด ล้วนแต่เป็นสัตว์ที่ได้ร่างกาย หรือมีกาย แบบ 'กึ่ง' เช่น กึ่งมนุษย์กึ่งเทวดา กึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์นรก ส่วนสัตว์ กึ่งเทวดากึ่งสัตว์นรก (อสูร) จะรังเกียจบริเวณนี้มาก จะไม่ผ่านมาในแถบนี้ ด้วยเกรงว่าจะเสื่อมเสียเกียรติของตน.
ที่ได้เป็นเทวดาปุถุชน ในสวรรค์ เพราะในภพก่อน (ชาติก่อน) เคยเป็นมนุษย์ ทำบุญ รักษาศีล และ ให้ทาน บริจาค ทรัพย์สิน มากมาย. ที่ได้เป็นเทวดาโสดาบัน เพราะในภพก่อน ได้เป็นมนุษย์ และบรรลุธรรมได้ระดับหนึ่ง แต่ยังละกิเลสไม่หมด. และ ที่ได้เป็นเทวดาสกทาคามี เพราะในภพก่อน เป็นเทวดาอยู่แล้ว แต่บรรลุธรรมได้ระดับหนึ่ง (มากกว่าโสดาบัน) ยังละกิเลสไม่หมด, เมื่อตายไป เทวดาสกทาคามี ย่อมมาเกิดในภพสวรรค์นี้ อีกครั้งเดียว เพื่อบรรลุอรหัตตผล ในภพนี้เช่นกัน. อายุขัยของเทวดา ทั้ง 6 เขตชั้น เรียงลำดับ จากต่ำไปสูง ได้ดังนี้, -จาตุมหาราชิกา อายุ 9 ล้านปีมนุษย์. (500 ปีสวรรค์)[ [
เทวดาปุถุชน ในอาณาจักรสวรรค์ ถ้าตายแล้ว หวังจะไปเกิด ในภพมนุษย์ หรือภพเทวดาอีกครั้งนั้น ยากมากๆ, โดยเทียบสัดส่วน เท่ากับดินปลายเล็บ. เทวดาปุถุชน ที่ตายแล้ว มักเวียนกลับไปเกิดในภพนรก มากกว่า, โดยเทียบสัดส่วน เท่ากับแผ่นดินทั้งผืน.
[ ฌาน มีระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ 1, 2, 3, 4. การสร้างสมาธิระดับ ฌาน ต้องทำตนเอง (กาย) ให้นิ่ง (fixed) เสียก่อน โดยนั่งหลับตา, ส่วนการสร้างสมาธิ ทำได้ทั้งโดยการนั่ง หรือ เคลื่อนไหว อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เดิน. ทั้ง ฌาน และ สมาธิ เป็นเครื่องมือ ประหารกิเลส ได้พอๆ กัน. การบรรลุธรรม ด้วยฌาน เรียกว่า "เจโตวิมุตติ" บรรลุธรรมด้วย สมาธิ เรียกว่า "ปัญญาวิมุตติ." ทั้ง เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เมื่อได้แล้ว ได้เลย ติดตัวไปจนตาย. แต่จะได้สิ่งนี้มาง่ายๆ นั้น, อาจต้องใช้เวลา ข้ามภพข้ามชาติ กันหลายรอบ.] อาณาจักรรูปพรหม แบ่งออกเป็น 4.1 เขต ตามกำลังของ ฌาน ที่เทวดาแต่ละองค์ทำได้ (ทำได้ ในระหว่างเป็นมนุษย์ ในภพก่อนหน้า หรือทำได้ ในระหว่างเป็นเทวดา ในภพนี้) -เขต ฌานที่ 1 เทวดาในเขตนี้ จะมีอายุ 1 กัป. [ อีกหนึ่งเขตเป็นเศษ (.1), เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่าง อาณาจักรรูปพรหม กับ อาณาจักรอรูปพรหม เรียกว่า "สุทธาวาส." สุทธาวาส มีลักษณะ สมบัติ เช่นเดียวกับ อรูปพรหม ชั้นเนวสัญญานาสัญญายาตนะ หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อสัญญีสัตว์. เทวดาในเขตนี้ มีอายุขัยยาวนานมาก จนนับไม่ได้. เพราะทำสมาธิฌานเลย ฌานที่ 4 ไปมาก. และถ้าตายในภพนี้ (ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่) ก็จะเวียนเกิดอีกในภพนี้ก็มี ไปเกิดในภพอื่น (ที่ต่ำกว่า) ก็มี. [ตถาคต ถึงกับปรารภว่า สัตว์ที่ไปเกิดในภพ สุทธาวาส ถือเป็นคราวซวย (ตลอดชาติ) เพราะโอกาส ที่จะได้บรรลุอรหัตผลนั้น ยากมาก เพราะเหตุที่อายุยาวเกิน และโดดเดี่ยว โอกาสที่จะได้พบพระพุทธเจ้า เพื่อได้ฟังธรรมนั้น แทบจะ หรือไม่มีเลย. พระองค์ บอกแก่ภิกษุว่า พระองค์ก็ไม่เคยไปเกิดใน สุทธาวาสเลย ไม่ว่าจะเกิดตายกี่รอบก็ตาม.] เทวดา ที่ได้ฌานระดับใดๆ, เคยเป็นเทวดามาก่อน แต่ถ้าจุติ (ตาย) ในขณะมี สมาธิฌาน แล้วมาเกิดในภพเทวดาซ้ำอีกรอบ เรียกว่า 'อนาคามี.' หรือ เคยเป็นมนุษย์มาก่อน แต่ตายในขณะมี สมาธิฌาน (ซึ่งยังไม่บรรลุอรหัตตผล) ก็จะมาเกิดใน อรูปพรหม เป็นอนาคามี เช่นกัน. สรุปว่า สัตว์ ที่ทำสมาธิฌานได้แล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ รูปพรหม, ถ้าตายลงในระหว่างนั้น ก็จะได้ไปเกิดในภพสวรรค์ หรือ พรหม ที่ตรงกับ ฌานที่ตนทำได้. เทวดา อนาคามี ที่ยังมีเศษของกิเลสเหลือค้างอยู่ ย่อมมาเกิด ในภพนั้นอีกครั้งเดียว และจะปรินิพพาน ในภพนั้น. เทวดาไร้ร่าง วาร์ปไป-มา ได้อิสระ อย่างกับนั่งเครื่อง time machine, นี่แหละ เทวดาในอาณาจักร อรูปพรหม.
ความเบาบางของจิต ถ้าเทียบกับ อนุภาคทางฟิสิกส์ ก็คล้าย นิวตริโน (neutrino) หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า อนุภาคผี เพราะจับตัวตนของมันไม่ได้สักที - แม้ในปัจจุบัน ก็ยังจับไม่ได้ แต่รู้ว่ามันมีอยู่ในเอกภพนี้แหละ ที่ไหนสักแห่ง. อรูปพรหม แบ่งเป็น 4 เขตย่อย มีชื่อเรียกว่า 'อากาสานัญจายตนะ' 'วิญญานัญจายตนะ' 'อากิญจัญญายตนะ' และ 'เนวสัญญานาสัญญายาตนะ'. และในแต่ละเขต ก็สามารถย่อยชั้นได้อีก. (1) เขตอากาสานัญจายตนะ อยู่ในชั้นบรรยากาศของห้วงอวกาศอันไกลโพ้น แผ่ออกไปทุกทิศทาง 360 องศา คล้ายก้อนอากาศทรงกลม แต่ไร้ขนาด ไร้ขอบเขต ทะลุทะลวงไปในกาแล็กซี่ใดๆ ก็ได้. เทวดาชั้นนี้ สามารถรู้สึกรับรู้ ปริมาณพื้นที่ไปในอวกาศ ไม่มีที่สิ้นสุด. การท่องไปในอวกาศอันว่างเปล่า ด้วยพลังของจิตอันเบาบางนี้ ได้ข้อสรุปว่า 'อากาศ ไม่มีที่สุด.' พลังงานทางจิต ของเทวดา ในอาณาจักรนี้ จะไม่เรียกว่า ฌาน เพราะไม่มีคุณสมบัติ หรือพลังฤทธิ์ทางใจ แบบเทวดา รูปพรหม หรือเทวดาชั้นสวรรค์. เทวดาอากาสานัญจายตนะ มีอายุขัย 20,000 กัป. (2) เขตวิญญานัญจายตนะ, เทวดาในชั้นนี้ สถิตย์ 'แทรก' ซ้อนอยู่ในชั้นบรรยากาศแบบเดียวกับ อากาสานัญจายตนะ. โดยเกาะอาศัยจิตที่เป็น ธาตุรู้ (วิญญาณ) ท่องเที่ยวไปในที่ไหน เวลาใด ในห้วงอวกาศ และไปได้ไกลเท่าที่ตนอยากรู้. สรุปว่า เทวดาชั้นนี้ สามารถรับรู้ ปริมาณพื้นที่ในอวกาศ เท่าที่ตนเองอยากรู้ นั่นเอง, จึงไปได้ลึก ละเอียด และไกลกว่า เทวดาอากาสานัญจายตนะ ถึงกับได้ข้อสรุปว่า 'วิญญาณ ไม่มีที่สุด.' เทวดาวิญญาณัญจายตนะ มีอายุขัย 40,000 กัป. (3) เขตอากิญจัญญายตนะ มีขอบเขตราวหนึ่งจักรวาล รวมเอาทุกๆ กาแล็กซี่ (ทั้งกาแล็กซี่ว่างเปล่า ไม่ว่างเปล่า และหลุมดำ) ไว้ด้วยกัน. เทวดาในชั้นนี้ สถิตย์ 'แทรก' ซ้อนอยู่ในชั้นบรรยากาศแบบเดียวกับ อากาสานัญจายตนะ และเกาะอาศัย ธาตุรู้ หรือ วิญญาณ เช่นเดียวกับ เทวดาวิญญานัญจายตนะ. แต่มีพลังทางจิตอันแผ่วเบา ละเอียดกว่ามาก จึงมีโอกาสท่องเที่ยวไปได้จน สุดทาง สุดขอบ (ที่จริง ไม่มีขอบ), แล้วเห็นความจริงว่า ในจักรวาลนี้ ไม่มีอะไร มีแต่อวกาศว่างๆ. จึงได้ข้อสรุปว่า 'อะไร อะไร ก็ไม่มี'. เทวดาอากิญจัญญายตนะ มีอายุขัย 60,000 กัป. (4) เขตเนวสัญญานาสัญญายาตนะ เป็นเขตที่กินเนื้อที่อวกาศทั้งหมดทั้งมวล. เทวดาในชั้นนี้ สถิตย์ 'แทรก' ซ้อนอยู่ในชั้นบรรยากาศแบบเดียวกับ อากาสานัญจายตนะ และเกาะอาศัย ธาตุรู้ หรือ วิญญาณ เช่นเดียวกับ เทวดาวิญญานัญจายตนะ. และได้รู้แบบเดียวกันกับ ที่เทวดาอากิญจัญญายตนะรู้ซึ้งแล้ว (ว่าอะไร อะไร ก็ไม่มี), จึงปลงตก ทำใจ ถอดใจ ถอนพลังทางจิตของตน ที่มีอยู่ทั้งหมดออกไป เหลือไว้แค่ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ เท่านั้น ไม่มีสัญญาขันธ์ ไม่มีเวทนาขันธ์, ทำให้จิตรับรู้ที่มีอยู่ เบาบางสุดๆ (แบบสายป่าน ที่กำลังจะขาด) จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่รู้ ก็ไม่ใช่ จะว่ามี ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มี ก็ไม่ใช่. ผู้ที่ไปเกิดในภพนี้ เรียกว่า อสัญญีสัตว์. พระพุทธเจ้า เรียกภพของอสัญญีส้ตว์นี้ว่า สุทธาวาส. อสัญญีสัตว์ นับอายุขัยไม่ได้. ถ้าตายในภพนี้ (ซึ่งไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไหร่) และยังไม่บรรลุอรหัตตผล ก็จะเวียนกลับไปเกิดในภพเทวดาชั้นอื่น ที่ต่ำกว่า (แต่ไม่ใช่ภพมนุษย์) เช่น จาตุมหาราชิกา. เกิดเป็นเทวดาในชั้นนี้ ถือว่า ซวยสุดๆ คือ จะเอายังไง จะไปทางไหน จะตัดอาสวะกิเลส หรือ จะไปเกิดใหม่ หรือจะตายเสียโดยเร็ว ก็ทำไม่ได้ คือ ค้างเติ่งอยู่ในภพนั้นไป (เกือบจะ) ตลอดกาล. ด้วยเหตุนี้ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จึงไม่มีระบุอายุขัย ของเทวดาเนวสัญญานาสัญญายาตนะ ไว้เลย. สรุปว่า อาณาจักรรูปพรหม มีขอบเขต ตั้งแต่จักรวาล (universe) ที่นักฟิสิกส์-ดาราศาสตร์ บอกว่า เอกภพนี้ เกิดจาก Big bang เมื่อ 13,800 ล้านปี มาแล้ว และขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ด้วยอัตราเร็ว เท่ากับความเร็วแสง และไม่มีทีท่าว่า จะไปสิ้นสุดเมื่อใด. นี่คือ หนึ่งจักรวาล ที่มนุษย์เรารู้จัก. แต่อาณาจักรอรูปพรหม เลยออกไปไกลกว่านั้นอีกมากมาย. ดังนั้น อรูปพรหม จึงมีอายุยาวนานมาก มากกว่า การเกิดของหนึ่งมหาจักรวาล (คือ เกิดบิ๊กแบงหลายครั้ง - ถ้าบิ๊กแบงมีจริง). จึงทำให้เทวดาในอาณาจักรนี้ เข้าใจว่า ตนเป็นอมตะ. ศาสดา หรือ "พระเจ้า" ในศาสนาอื่น ลัทธิอื่น ก็จัดอยู่ในสัตว์อสัญญี ด้วยเช่นกัน.
จ. บทสรุป - จุดจบของเทวดา จุดจบของจักรวาล วัฏจักรการเกิด ของสัตว์ทุกชนิด ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น สัตว์นรก เดรัจฉาน เปรต โอปปาติกะ เทวดา มาร พรหม เทพเจ้า ไม่ว่าจะในศาสนาใดก็ตาม, ล้วนแต่อยู่ในกระบวนการ เกิด เสื่อม เสื่อมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งดับสลาย แล้วก็ไปเวียนเกิดใหม่ จนนับรอบไม่ถ้วน. พระเจ้าที่ว่า อมตะ (ในชั้นสุทธาวาส) ในที่สุดก็ตายเหมือนกัน. การเกิด คือ ต้นเหตุ ของความทุกข์ ของสัตว์ทุกผู้. เมื่อเกิดแล้ว ก็ต้อง แก่ เจ็บ ตาย, แก่ เจ็บ ตาย นี่แหละ ทุกข์ชัดๆ แต่สัตว์โดยทั่วไป ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และไม่รู้วิธีที่จะไปให้พ้นจาก แก่ เจ็บ ตาย. มีเพียง พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระองค์เดียวเท่านั้น ที่เกิดมาเพื่อตรัสรู้ว่า รากเหง้าของ แก่ และ ตาย นั้นมาจาก การเกิด. ดังนั้น พระองค์จึงมุ่งแสวงหา "วิธีแก้ปัญหาการเกิด" ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายแล้ว จะได้ไม่ต้องเกิดอีก ต้องทำอย่างไร ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่. พระองค์ เรียกวัฏจักรการเกิด-ดับ นี้ว่า "ปฏิจจสมุปบาท." พร้อมกล่าวเชิญชวน โน้มน้าว วิงวอน ขอร้อง สัตว์ทั้งหลาย ที่มีสัญญา อ่านข้อธรรมรู้ ดูข้อธรรมเป็น แลเห็นโทษภัยในวัฏฏสงสาร แล้วหันมาประพฤติปฏิบัติ ตามแนวทางที่พระองค์ตรัสรู้ ซึ่งได้นำมาผูกร้อยเรียงกัน เป็นระเบียบแห่งถ้อยคำ (พุทธวจน) ที่สวยงาม ชัดเจน แจ่มแจ้ง เหมือนการหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ชักของลึกให้ตื้น ทำที่มืดให้สว่าง อันเทวดา และมนุษย์ พึงจะศึกษาเรียนรู้ได้ ไม่ว่ากาลเวลาใด ย่อมได้บรรลุธรรมขั้นอรหัตผล ในชาติปัจจุบัน เท่ากับเป็นการตัดเส้นใยของการเกิด ในภพถัดไป. ระเบียบแห่งถ้อยคำที่ว่านี้ คือ "อิทัปปัจจยตา-ปฏิจจสมุปบาท-อริยสัจสี่." พระพุทธเจ้า แก้ปัญหา 'การเกิด' พ่อมด หมอผี แก้ปัญหา 'ทุคติ' หลังการตาย นักวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหา 'ทุกขภาพ' หลังการเกิด จบ. หมายเหตุ - (1) หากวันใด ที่นักฟิสิกส์ ค้นพบร่องรอย หรือมีสิ่งประหลาด ที่อธิบายไม่ได้ ด้วยกฎควอนตัมฟิสิกส์, ปรากฏอยู่รอบๆ อนุภาคดังกล่าว สิ่งนั้นคือ เทวดา (ชีวะ-เทวดา). และในลักษณะเดียวกัน อนุภาคความโน้มถ่วงยิ่งยวด ในหลุมดำ (gluon, quantum gravity) ก็คือที่อยู่อาศัย ของ สัตว์นรก (ชีวะ-นรก) ด้วยเช่นกัน. (2) สมการที่ 1 สมการที่ 2 โดยที่ - |O| หมายถึง ศูนย์สัมบูรณ์ทางคณิตศาสตร์ (absolute zero ไม่ใช่ 0 kelvin) และหมายถึง ภาวะความว่างเปล่า (สุญญตา - absolute nothing), e หมายถึง พลังงาน (energy) และรวมถึง มวล (mass) ที่ถูกแปลงเป็นพลังงาน (m.c^2) t หมายถึง เวลา (time) และรวมถึง อวกาศ (space) กับ ความเร็วแสง (c). สมการที่ 2 จะยังคงเป็นสมการในอุดมคติ แบบมานุษยนิยม ตราบเท่าที่การหาร ยังเหลือเศษ. ถ้าสมมุติฐานของผมถูกต้อง และมีนักวิทยาศาสตร์ พิสูจน์รับรองว่าจริง, ผมอาจจะได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์-พุทธศาสน์. แต่ผมอาจตายไปแล้ว 25 ปี หรือ 50 ปี. สู่ดิน ชาวหินฟ้า 10 กันยายน 2563 [กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]
|
|
![]() คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี |
|
|