หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 

ภาคที่ 2
ฝ่าอุปสรรค เพื่อรักและอิสรภาพ

บทที่ 16   เมืองกาญจนา

ตอนที่ 57

ธัมมะกับชีวิต

ตอนที่แล้ว ... ตอนที่ 56/105

 

“เอื้อย ... โสนน้อย เป็นอะไรรึเปล่า?”

 

เสียงพลายงาม ตะโกนเรียกมาจากใต้ถุนบ้าน จนเธอทั้งสองสะดุ้งตื่น.

“เอื้อย เราหลับเป็นตายเลยเหรอ กี่โมงแล้ว?” โสนน้อย ถาม มองลอดประตูห้องนอน ออกไปข้างนอก “ตายละ สายแล้ว”

 

เอื้อย โสนน้อย จัดแจงเก็บที่นอน ล้างหน้าลวกๆ รีบลงจากบ้าน, ขณะที่ชาวบ้านต่างพากันเดินขวักไขว่ ไปทำงานกัน. พอลงไปถึงใต้ถุนบ้าน ก็เห็น พลายงาม กำลังเอาหญ้าให้ม้ากินที่ริมรั้ว. ลุงสิน เจ้าของบ้านไม่อยู่แล้ว คงไปทำงานเหมือนกับคนอื่นๆ.

 

เนื่องจากเป็นแขกใหม่ ยังไม่รู้ธรรมเนียมของคนในหมู่บ้านดีนัก และเห็นว่า พวกเขาเดินทางมาไกล ลุงสิน เลยปล่อยให้เด็กๆ พักผ่อนกันตามสบาย และให้เวลาอิสระทำธุรกิจส่วนตัวให้เสร็จ. พลายงาม ให้อาหารม้า เอื้อย โสนน้อย ทำกิจส่วนตัวบนห้อง และนำผ้าออกซัก และผึ่งแดด. เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย จึงพากันออกไปดูเหตุการณ์ข้างนอก.

 

คนที่นี่ใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มักจะทำงานร่วมกัน ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ มีพระมาคอยให้กำลังใจ บางรูปก็ร่วมทำงานออกแรงด้วย ทั้งงานกลางแจ้งและงานในร่ม ทำแปลงผัก ขุดรอกคูน้ำ ทำห้องส้วม ถังแยกขยะ ทำน้ำหมักชีวภาพ ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอินทรีย์. คนที่นี่เขาไม่ใช้สารเคมี ทำลายชีวิตและสิ่งแวดล้อม อย่างมากก็เป็นยาไล่แมลง ทำจากพืชสมุนไพร.

 

ตลอดวันของวันนี้ พลายงาม เอื้อย และ โสนน้อย ไปช่วยชาวบ้านมุงหลังคาเรือนพัก เพราะพรุ่งนี้ จะมีงานอบรมธรรมะให้แก่พวกเด็กๆ. ถือเป็นการฆ่าเวลาไปด้วย ที่ต้องรอท่านสมภารบุญ ถึงเจ็ดวัน ถ้าไม่หาอะไรทำ ก็คงจะเหงาแน่ๆ.

 

“ที่นี่ มีงานเร่งอย่างนี้ทุกวันเลยหรือจ้ะ?” เอื้อย ถาม.

“พรุ่งนี้จะมีคนมากันเยอะ ต้องเร่งมือกันหน่อย ประเดี๋ยวจะไม่ทัน” ป้าคนหนึ่งบอก.

“พวกเขามาจากไหนกันเหรอจ้ะ? แล้วที่ว่าเยอะน่ะ สักเท่าไรกัน” โสนน้อย ถาม.

“ก็มากันหลายที่หลายทาง คราวนี้เป็นเด็กนักเรียน เห็นท่านสมภารบอกว่า ให้เตรียมต้อนรับคนเกือบสองร้อยคน”

“เด็กโตขนาดใหนเล่าจ้ะ?”

“ก็ราวๆ รุ่นเดียวกับพวกคุณนี่แหละ แต่เล็กกว่านั้นก็มี”

“เขาเรียนอะไรกันมั่งจ้ะป้า” เอื้อย ซักต่อ.

 

ป้าอธิบายเสียยืดยาวว่า

“เรียนหลายอย่าง มีสวดมนต์และฟังธรรมะตอนก่อนรุ่ง แล้วไปออกกำลังกาย เสร็จแล้วก็กินข้าวต้ม อิ่มแล้วก็แยกย้ายกันไปตักน้ำ รดน้ำผัก ล้างส้วม เก็บผัก แยกขยะ จนถึงเก้าโมง ก็ขึ้นศาลาใหญ่ ฟังพระเทศน์ จบแล้วก็กินข้าวพร้อมกัน จนถึงเที่ยงวัน”

 

ระหว่างสนทนา มีเด็กหนุ่ม 2 คน ยกแผ่นป้ายมาส่งให้. ป้ายมีข้อความว่า “งาน ก็คือ เรียน เรียน ก็คือ งาน ” เสร็จแล้วก็เดินจากไป. ครู่ต่อมา เสียงระฆังบอกพักเที่ยงดังขึ้น แต่งานมุงหลังคา ยังไม่เสร็จ.

 

“ทำงานกับกิน ก็หมดไปครึ่งวันแล้ว” โสนน้อย ถาม “แล้วพวกเด็กๆ จะได้เรียนกันตอนไหนล่ะจ้ะ”

“กินข้าวเสร็จ ราวๆ บ่ายโมง ก็เข้าเรียนตามฐาน เลือกเอาว่าชอบฐานไหน เพาะเห็ด ทำปุ๋ย งานช่าง จักสาน ปลูกผัก ทำนา ทำอาหาร งานฝีมือก็มี เรียนไปจนถึงสี่โมงห้าโมง ก็เลิก ไปอาบน้ำกินข้าวเย็น ตอนค่ำก็ขึ้นศาลาใหญ่ นั่งวิปัสสนาจอแก้ว”

 

“คืออะไรครับ วิปัสสนาจอแก้ว?” พลายงาม ถาม เพราะไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน.

 

“วิปัสสนาของที่นี่ ก็คือวิชาเรียนภาคค่ำนะแหละ. พระท่านพาทำ พวกเราไม่ได้นั่งเองหรอก เรียนจากดูวิดีโอที่พระเลือกไว้แล้ว พวกเด็กๆ และชาวบ้าน ก็จะได้ผ่อนคลายกันไปด้วย ได้รู้ได้สนุกตามประสาเด็ก สองทุ่มก็สวดมนต์ เข้านอน”

“พวกเด็กนักเรียน อยู่ที่นี่หลายวัน คงคิดถึงบ้านแย่”

“ไม่รู้สิ ก็อยู่กันสี่คืนกับอีกห้าวันจ้ะ”

 

เอื้อย โสนน้อย รู้สึกตื่นเต้น พรุ่งนี้จะได้พบผู้คนเยอะๆ โดยเฉพาะเป็นเด็กเหมือนกับเธอ. นานหลายปีแล้ว ที่พวกเธอไม่เคยพบเจอผู้คนและเพื่อนในวัยเดียวกัน คราวละหลายๆ วัน. ถ้าพลาดจากพรุ่งนี้ไป ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะได้เจอโอกาสดีๆ แบบนี้อีกหรือไม่.

 

“พวกหนู ขอเข้าเรียนด้วยได้ไหมจ้ะ?” เอื้อย กระตือรืนล้นถาม.

“ได้ซี จะเรียนกี่รอบก็ได้ เรียนจนกว่าจะเบื่อนั่นแหละ”

 

รุ่งขึ้น พลายงาม เอื้อย โสนน้อย มีโอกาสต้อนรับนักเรียนต่างถิ่น ร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งมีจำนวนเกือบ 200 คน.

สถานที่แรกรับเด็ก 200 คน ใช้แปลงนาข้าวสวนผสม ของลุงสิน ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านไปแค่ 200 เมตร. ถือเป็นการเรียกความสนใจของเด็ก และปูพื้นฐานทัศนคติว่า การพึ่งพาตนเองเรื่องอยู่เรื่องกิน เป็นสิ่งสำคัญ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ความยากจน. ที่ด้านหน้าของแปรงนาข้าว มีข้อความ

 

สวรรค์บนดิน
ถิ่นเรียนรู้
เส้นทางกู้หนี้
วิถีชาวธรรม
น้อมนำพุทธวจนะ
ศาสตร์พระราชา

 

เด็กๆ รู้สึกตื่นเ้ต้น ที่ได้เห็นทั้งนาข้าว ที่มีข้าวเขียว สระน้ำ ทางเดินรอบสระ ศาลากลางสระน้ำ ปลาในสระ สวนผัก, มีฝรั่ง มะละกอ ชมพู่ ให้เด็กๆ เก็บกินได้ด้วย. ลุงสิน บอกว่า ข้อความที่เห็นนั่น นี่คือภาพรวมที่เป็นอุคมคติของ ไร่นาสวนผสม ที่ลุงสินทำขึ้น. เด็กๆ ทั้งหมดและชาวบ้านพี่เลี้ยง อยู่ที่นาของลุงสินได้ประมาณชั่วโมงเศษ จึงพากันย้ายไปเข้าหลักสูตรเรียน ที่ศาลาใหญ่.

 

ที่ศาลาใหญ่ ชาวบ้านพี่เลี้ยง จัดนักเรียนเข้ากลุ่ม และแนะนำตัวเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ก็พากันแยกย้ายเอาของไปเก็บตามบ้านพัก. ลุงสินจัดให้ เอื้อย โสนน้อย และ พลายงาม ได้อยู่กลุ่มเดียวกัน เพราะเห็นเป็นแขกพิเศษ. จากนั้นก็แนะนำกฎระเบียบพื้นฐาน การกินอยู่ที่นี่ ระหว่างฝึกอบรม 4 คืน 5 วัน.

 

“พวกเรามาฝึกหัดเรียนรู้ กินอยู่หลับนอนกันที่นี่ ต้องรักษากฏ ถือศีลห้าให้ได้ กิจกรรมที่นี่จะไม่เหมือนที่โรงเรียน แต่จะมีกิจกรรมฝึกหัดเรียนรู้งานอาชีพต่างๆ ที่พวกเธอสนใจ โดยป้าๆ และลุงๆ จะทำหน้าที่เป็นครูสอนให้พวกเรา”

“ใครทำได้ก็จะได้บุญ ใครทำไม่ได้ก็จะไม่ได้บุญ นักเรียนที่เคยอยู่สบายๆ ที่บ้านจนเคยตัว เมื่อมาอยู่ที่นี่ก็จะรู้สึกอึดอัดนิดหน่อย แต่ขอให้อดทน จนถึงวันสุดท้าย แล้วพวกเธอก็จะได้เห็นตัวบุญที่แท้”

“เราจะเรียนกันเป็นฐาน และอยู่เป็นกลุ่ม รวมทั้งเวลากินข้าวที่ศาลาใหญ่นี้ด้วย ก็ทำกันเป็นกลุ่ม พิจารณาอาหารก่อนกินทุกมื้อ เสร็จแล้วเวลานอน เราจะแยกเรือนนอนกัน ผู้ชายกับผู้หญิง คนละหลัง ไม่ต้องกลัว จะมีพวกลุงป้าน้าอา มานอนเป็นเพื่อน รวมทั้งคุณครูของพวกเธอด้วย”

 

“ที่นี่มีผีหรือเปล่าครับ”

นักเรียนคนหนึ่ง ร่างอ้วนตุ้ยนุ้ย ยกมือถาม. เด็กคนอื่นๆ ต่างหันไปมองคนถาม ราวกับรู้ใจ เพราะมีนักเรียนหลายคน ไม่กล้าถาม.

 

“ผีจริงน่ะรึ ไม่มี มีแต่ผีหลอก”

ลุงสิน ตอบและยิ้มเล็กน้อย นักเรียนหลายคน เริ่มนั่งนิ่ง ไม่ขยับตัว ไม่แน่ใจว่าผีจริงกับผีหลอก ต่างกันอย่างไร และ อะไรน่ากลัวกว่ากัน.

“ไม่ต้องกลัว ผีจริงๆ ไม่มี จะมีก็แต่ผีหลอก” ลุงสินย้ำ และถาม “ใครกลัวผีมั่ง?”

พรึ่บ!

พวกเด็กเกือบทั้งหมด ยกมือ, ลุงสิน อธิบายต่อ,

“ก็พวกเธอนั่นแหละ เป็นคนพาผีมาในวัด นักเรียนที่มาใหม่ทุกคน มักจะพกผีจากที่บ้านติดมาด้วยเสมอ บางคนก็เอามาตัวหนึ่ง บางคนก็เอามาหลายตัว”

 

นักเรียนคนเดิม แสดงสีหน้างุนงงสงสัย. เด็กๆ จะพกผีเข้ามาในวัดได้อย่างไร เพราะส่วนใหญ่ ก็กลัวผีกันทุกคนอยู่แล้ว.

 

“สงสัยใช่ไหมล่ะ ผีจริงผีหลอก คืออะไร?” ลุงสิน สาธยาย “อยากรู้ ฟังต่อ ... ผีจริง ก็คือผีพนัน ผีเกม ผีเหล้า ผีบุหรี่ เอ่อ! พวกเราไม่มีใครสูบบุหรี่ใช่ไหม๊ ... ถ้าไม่มีใครสูบ มันก็ไม่มา เกมจากคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกัน ตอนมันหลอก มันจะบังคับให้นึกถึง และทำตามที่มันสั่ง พ่อแม่พูดอะไรก็ไม่ฟัง จริงไหม๊? ... ถ้ามาอยู่ที่วัด พวกเธอก็จะไม่สนใจฟังธรรมะ ไม่สนใจเรียน พวกเธอจะดูทุรนทุราย เหมือนผีเข้า ใช่ไหม๊ … สรุปว่าเข้าใจตรงกันแล้วนะ เรื่องผีๆ”

“แล้วผีหลอก ล่ะครับ?”

“ผีหลอก ก็คือผีที่เป็นเพื่อนกับผีจริงนั่นแหละ มันมาด้วยกัน มันหลอกทั้งกลางวันและกลางคืน เราจึงเรียกวันว่าผีหลอกไงล่ะ”

 

แม้ว่าเด็กบางคนฟังแล้ว จะรู้สึกงงๆ อยู่ แต่ก็ไม่กล้าถามซักไซ้, เกรงว่า จะยิ่งได้รับคำตอบที่งุนงงเพิ่มขึ้น.

 

วันที่ 4 ของการฝึกอบรม, เป็นกิจกรรมเข้าเรียนฐานอาชีพต่างๆ ทางวัดจัดให้ มีทั้งหมด 4 ฐานวิชา. เรียนกันทั้งวัน จนกว่าจะทำเป็น หรือชำนาญมากขึ้น.

ลุงสินแจ้งให้นักเรียนทราบว่า ในฐานเรียนวิชาทำอาหาร จะมีคุณยายที่อยู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง ชื่อทองศรี มาเป็นวิทยากร สอนวิชาทำอาหารไทย และการถนอมอาหาร. ใครที่ชอบด้านอาหาร ก็เลือกเข้าฐานนี้ ส่วนใครที่ไม่ชอบ ก็จะไปเรียนฐานวิชาช่าง. ฐานทำบ้านดิน เป็นฐานเรียนที่นักเรียนผู้ชาย สนใจกันหลายคน, ฐานนี้จะมีลุงสินเป็นคนสอนให้.

 

พลายงามเลือกเรียนฐานทำบ้านดิน แต่ก็มีนักเรียนหญิง 2-3 คน ที่ชอบฐานนี้ มาร่วมเรียนด้วย. ฐานสมุนไพร กับ ฐานถักทอ มีนักเรียนจำนวนไม่มากนัก. ส่วนฐานสุดท้าย คือฐานทำอาหาร, เอื้อย โสนน้อย สมัครใจเรียนฐานนี้.

 

คุณยายทองศรี เป็นวิทยากรพิเศษ ที่ทางวัดเชิญมา. ท่านมีอายุราว 60 ปี รูปร่างค่อนข้างท้วม ท่าทางเป็นคนใจดี, ไม่ว่าใครก็ตาม ถ้าเจอยายทองศรีครั้งแรก ก็จะพูดตรงกันว่า สมัยยังสาว คุณยายต้องสวยกว่าสาวๆ คนอื่นๆ แน่. พวกเด็กๆ สนใจ ที่จะเรียนฐานนี้กันมาก. ส่วนใหญ่ที่ชอบด้านอาหาร มักเป็นนักเรียนหญิง. ฐานเรียนรู้ทำอาหาร ใช้โรงครัวในหมู่บ้านเป็นห้องเรียน. เพราะที่โรงครัว มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัตถุดิบ ครบเกือบทุกอย่าง. คุณยายเริ่มสอนการถนอมอาหารก่อน เพราะมีเด็กๆ สนใจกันมาก ทั้งเด็กเล็กเด็กโต คุณยายเลือกบวชฟักทอง เพราะง่ายที่สุดสำหรับเด็กเล็กๆ ไปจนถึงเด็กโต. เอื้อย กับ โสนน้อย รู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อย.

 

“พวกหนูสองคน ตัวโตกว่าเพื่อน เป็นนักเรียนมาจากที่ไหนกันรึ ไม่เห็นเหมือนคนอื่นๆ เลย” ยาย เอ่ยถาม.

“พวกหนูมากันไกล แค่ผ่านมา ขอเรียนด้วยได้ไหม๊จ้ะยาย” เอื้อย ตอบ และถือโอกาสขออนุญาต ด้วยกิริยาอ่อนหวาน.

“ได้ซี ขอให้ตั้งใจ ยายสอนให้หมดแหละ ... มา มา มาช่วยยายแกะฟักทอง”

 

คุณยาย ชวนนักเรียนคนอื่นๆ ในกลุ่ม เข้าบทเรียน. เอื้อย กับ โสนน้อย มีความกระตือรือร้นเป็นพิเศษ จนคุณยายแอบชื่นชมในใจ.

 

ถัดจากบวชฟักทอง คุณยายสอนทำแกงเขียวหวาน เพราะเห็นว่าเป็นอาหารที่ดัดแปลง หรือพลิกแพลงใส่เนื้อ ใส่ผักอย่างอื่นได้หลายชนิด, และถือว่าเป็นอาหารพื้นฐานของคนไทย ที่ปรุงง่าย และอร่อยไม่แพ้อาหารชนิดอื่น.

คุณยายพูดอธิบาย ขณะที่โสนน้อย กำลังคั้นกะทิ.

 

“เสน่ห์ของแกงเขียวหวาน อยู่ที่น้ำพริกแกง มันสำคัญมาก ควรตำเองจะได้มีกลิ่นหอม พริกที่ใช้จะเป็นพริกชี้ฟ้าหรือพริกขี้หนูก็ได้ แต่ต้องเขียวสดนะจ้ะ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ซอยให้เรียบร้อย ก่อนใส่ลงครก ทั้งหมดใส่อย่างละเท่าๆ กัน แล้วก็อย่าลืมรากผักชี ข่า พริกไท แล้วนี่ก็ลูกผักชี อย่างละนิดหน่อย”

“ถ้าไม่จด สงสัยจะลืม” นักเรียนหญิงคนหนึ่ง รำพึงกับตัวเอง.

“ต้องหัดทำบ่อยๆ จะจำได้เอง ตั้งแต่เป็นสาวๆ จนแก่ ยายก็ไม่ได้จดหรอก ให้มันอยู่ในหัว อ้าว! แต่ถ้าจำไม่ได้ก็จดไว้ก่อน” ยาย บอกนักเรียน “ไหนล่ะกะทิ คั้นเสร็จรึยังหนู?” คุณยาย หันไปถาม. โสนน้อย คั้นกะทิเสร็จพอดี.

“มีเท่านี้หรือจ้ะ ที่จะทำให้แกงเขียวหวานอร่อย?” โสนน้อย ถาม.

“เคล็ดมันอยู่ที่กะทิ ต้องคั้นสดๆ ใหม่ๆ กะทิควรแบ่งออกเป็นหัวกะทิ กับหางกะทิ เตรียมไว้”

 

คุณยาย ใส่หัวกะทิ ลงกะทะ เคี่ยวจนแตกมัน แล้วใส่น้ำพริกที่ตำเสร็จแล้ว ผัดจนสุกหอม.

 

“ที่นี้ใครที่ชอบเนื้อปลา ก็ใส่เนื้อปลาลงไป ใครที่ชอบเนื้อโปรตีนเกษตร ก็ใส่ลงไป ... ถ้าเป็นโปรตีนเกษตร ต้องแช่ให้นิ่มก่อน ส่วนผักนี่ ก็ใช้ผักพื้นบ้านจากสวนครัว อย่างคราวนี้ มีมะเขือพวงกับมะเขือม่วง”

“คราวนี้ พวกเธอทำต่อจากยายบ้าง”

 

โสนน้อย กับ เอื้อย เรียนทำอาหารกับคุณยายตลอดทั้งวัน, ได้เรียนรู้วิธีทำอาหารคนละ 2 อย่าง และทำขนมอีก 1 อย่าง. ตอนบ่ายมีเวลาเหลือ คุณยายสอนมารยาทไทยแถมให้. เรื่องนี้โสนน้อย เรียนได้ไม่ยาก ปฏิบัติได้สวยงาม แต่สำหรับเอื้อยแล้ว ค่อนข้างลำบาก เพราะนิสัยเดิมของเอื้อย เป็นเด็กที่ดูเก้งก้าง คล้ายเด็กผู้ชาย.

 

เด็กหนุ่มสาวทั้งสาม รู้สึกสนุกกับการเรียนที่นี่. เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับพวกเขา. เอื้อย โสนน้อย ผ่านการเผชิญชีวิตในป่า ทะเล และความโหดร้ายต่างๆ พวกเธอต้องพึ่งตัวเองในการเอาตัวรอด, การได้ร่วมกิจกรรมกับคนที่นี่ ทำให้ชีวิตเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่า ความเอื้ออาทร. ความสุขกับความรู้ที่ได้รับ กลายเป็นสิ่งเดียวกัน จนแยกไม่ออก.

 

วันสรุปงานออกค่ายการฝึกอบรม พวกเด็กนักเรียนกลับกันไปหมดแล้ว. หลวงพี่รูปหนึ่ง ที่เป็นรองท่านสมภาร เรียกประชุมชาวบ้า่น เพื่อร่วมกันหาข้อบกพร่อง ที่ต้องแก้ไข และหาข้อดี ที่จะต้องรักษาต่อไป. พลายงาม โสนน้อย และ เอื้อย มีโอกาสได้เข้าฟัง ตามคำเชิญของ ลุงสิน เพราะเห็นว่า เด็กหนุ่มสาวทั้งสามคน โตเกือบเป็นผู้ใหญ่แล้ว และมีลักษณะพิเศษ ที่น่าจะได้ฟังธรรมะขั้นสูง. ท้ายที่สุด พระท่านสรุปหัวข้อธรรม ไว้อย่างน่าฟัง.

 

ทุกข์ มีไว้ให้ เห็น มิใช่มีไว้ให้ เป็น,
สุข มีไว้สำหรับ เป็น แม้จะ ไม่เห็น.

ทุกข์ คือ ต้นทุน ในการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหา,
สุข คือ กำไร ที่ได้รับจาก การแก้ปัญหา.

ทั้ง ทุกข์ และ สุข เป็นเพียง ความรู้สึก
ที่เห็นได้ และ เป็นจริง.

แต่ ความรู้สึก เป็น อารมณ์ที่แปรปรวน.
การกำจัด อารมณ์แปรปรวน เสียได้ คือ สมาธิ.

ดังนั้น สมาธิ จึงปราศจาก ทั้ง สุข และ ทุกข์.

 

ระยะเวลาสั้นๆ ที่วัดส้ม ทำให้เอื้อยและโสนน้อย ลืมวันเวลาและเป้าหมาย ที่จะออกตามหาแม่ ไปชั่วขณะ.

 

อ่านต่อ ... ตอนที่ 58/105

 

สารบัญ / ตอนที่

ปฐมบท -

แสงแรกของเรื่องราว


ภาคที่ 1: ตามหารัก อุปสรรคไม่ท้อ


บทที่ 1   ต้นเหตุของเรื่องราว

(1) ละครชีวิตแห่งนครวิชัยยศ (ตอนที่ 1/105)
(2) รัก ริษยา อาฆาต อำนาจมัวเมา (ตอนที่ 2/105)
(3) อำลาที่ขมขื่น (ตอนที่ 3/105)

บทที่ 2   สังข์ เอื้อย โสนน้อย

(1) อดีตที่เติบโต (ตอนที่ 4/105)
(2) เพื่อนใหม่ผู้น่าสงสาร (ตอนที่ 5/105)
(3) จินตนาการ นิทาน ความฝัน (ตอนที่ 6/105)

บทที่ 3   วันสังหาร

(1) ชีวิตที่โหยหา (ตอนที่ 7/105)
(2) พินัยกรรมริษยา (ตอนที่ 8/105)
(3) คำสั่งลับ (ตอนที่ 9/105)

บทที่ 4   ชีวิตใหม่กลางภูผา

(1) ภาระใหม่ของนาเคนทร์ (ตอนที่ 10/105)
(2) ความลี้ลับของป่า (ตอนที่ 11/105)
(3) บทเรียนชีวิต (ตอนที่ 12/105)
(4) เวทกล มนตร์สู้ปีศาจ (ตอนที่ 13/105)
(5) ส่งเด็กกลับบ้าน (ตอนที่ 14/105)

บทที่ 5   ภูติร้ายในป่ามรณะ

(1) ประตูมายาแห่งป่า (ตอนที่ 15/105)
(2) ภาพลวงตา (ตอนที่ 16/105)
(3) กลลวงปีศาจ (ตอนที่ 17/105)
(4) หุบผาหมอก (ตอนที่ 18/105)

บทที่ 6   ประตูเวลาที่เรือนปีศาจ

(1) การมาเยือน ของมนุษย์นอกจักรวาล (ตอนที่ 19/105)
(2) ประตูเวลา ของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 20/105)

บทที่ 7   หนอนทะเลทราย

(1) สู่ทะเลทราย (ตอนที่ 21/105)
(2) หนอนยักษ์ มฤตยูใต้ดิน (ตอนที่ 22/105)

บทที่ 8   หลุมดำดูดเวลา และการตามล่าของมนุษย์นอกจักรวาล

(1) หมู่บ้านไร้เวลา (ตอนที่ 23/105)
(2) จุดจบของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 24/105)

บทที่ 9   พบเพื่อนใหม่

(1) สองพี่น้องชาวเล (ตอนที่ 25/105)
(2) ปริศนาเฒ่าทะเล (ตอนที่ 26/105)
(3) ความลับ (ตอนที่ 27/105)
(4) แผนเดินทาง (ตอนที่ 28/105)
(5) บทเรียนบนเรือรบ (ตอนที่ 29/105)

บทที่ 10    ผจญภัยกลางมหาสมุทร

(1) เขตย้อนเวลา (ตอนที่ 30/105)
(2) บนเรือโจรสลัด (ตอนที่ 31/105)
(3) ผีเสื้อสมุทร และหมึกยักษ์ (ตอนที่ 32/105)
(4) เกาะร้าง (ตอนที่ 33/105)
(5) นิมิตแห่งตำนานสายฟ้าอสูร (ตอนที่ 34/105)

บทที่ 11   ปาฏิหาริย์ของเทพแห่งลิง

(1) อาวุธมีเจ้าของ (ตอนที่ 35/105)
(2) ปาฏิหาริย์ลิงเผือก (ตอนที่ 36/105)
(3) ปริศนาคำทำนาย (ตอนที่ 37/105)
(4) อากาศยานช่วยชีพ (ตอนที่ 38/105)
(5) อวสานเกาะร้าง (ตอนที่ 39/105)

 

ภาคที่ 2: ฝ่าอุปสรรค เพื่อรักและอิสรภาพ


บทที่ 12   นครพันธุรัฐ เมืองคนทาส

(1) เชลย (ตอนที่ 40/105)
(2) ทาสใหม่ (ตอนที่ 41/105)
(3) นายหญิง เจ้าแห่งนครพันธุรัฐ (ตอนที่ 42/105)
(4) สถานภาพใหม่ของสังข์ (ตอนที่ 43/105)
(5) ความลับของนาเคนทร์ (ตอนที่ 44/105)

บทที่ 13   เทคโนโลยีล่องหน

(1) ห้องลับของนายหญิง (ตอนที่ 45/105)
(2) นวัตกรรมการอำพราง (ตอนที่ 46/105)
(3) เสน่ห์แห่งอำนาจ (ตอนที่ 47/105)
(4) ความลับที่ต่อรองกันได้ (ตอนที่ 48/105)

บทที่ 14   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 1)

(1) แผนหลบหนี (ตอนที่ 49/105)
(2) ประตูแห่งอิสรภาพ (ตอนที่ 50/105)
(3) หนี (ตอนที่ 51/105)

บทที่ 15   เส้นทางที่พลัดพราก

(1) หมู่บ้านมนุษย์กินคน (ตอนที่ 52/105)
(2) พลายงาม เพื่อนร่วมทางคนใหม่ (ตอนที่ 53/105)
(3) นางพิม (ตอนที่ 54/105)
(4) เปลี่ยนร่างอำพรางหนี (ตอนที่ 55/105)

บทที่ 16   เมืองกาญจนา

(1) วัดส้ม เมืองกาญจนา (ตอนที่ 56/105)
(2) ธัมมะกับชีวิต (ตอนที่ 57/105)
(3) ไปพบย่าทอง (ตอนที่ 58/105)

บทที่ 17   บ้านของย่าทอง

(1) สายสัมพันธ์ย่าหลาน (ตอนที่ 59/105)
(2) ความสุขในเรือนทอง (ตอนที่ 60/105)
(3) ความสุข ความพอเพียง (ตอนที่ 61/105)

บทที่ 18   วัยรุ่น วัยรัก วัยเรียน

(1) วัยรัก วัยเรียน (ตอนที่ 62/105)
(2) ความรักที่ก่อตัว (ตอนที่ 63/105)
(3) แสงสีแห่งชนบทยามค่ำคืน (ตอนที่ 64/105)
(4) เรื่องวุ่นวาย ของวัยรุ่น (ตอนที่ 65/105)

บทที่ 19   ความรัก ความหวัง ยังไม่สิ้น

(1) เส้นทางรัก โสนน้อย สร้อยมณี (ตอนที่ 66/105)
(2) บวชพลายงาม (ตอนที่ 67/105)
(3) ลางบอกเหตุ (ตอนที่ 68/105)
(4) ทางรัก ทางธรรม (ตอนที่ 69/105)

บทที่ 20   ตามหาเพื่อน

(1) ก้าวใหม่ของ นครพันธุรัฐ (ตอนที่ 70/105)
(2) รหัสสื่อสาร 213 ที่ยังจำกันได้ (ตอนที่ 71/105)
(3) นักบินฝึกหัด (ตอนที่ 72/105)

บทที่ 21   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 2)

(1) เปิดฉากหนี (ตอนที่ 73/105)
(2) ปิดฉากทาสนรก (ตอนที่ 74/105)

 

ภาคที่ 3:   รักนิรันดร์ ฝันเป็นจริง


บทที่ 22   เดินทางไกล ไปตามฝัน

(1) สิงห์ดำ (ตอนที่ 75/105)
(2) เมืองแห่งความฝัน (ตอนที่ 76/105)

บทที่ 23   นครรัฐเทพนารา

(1) นรกบนเมืองสวรรค์ (ตอนที่ 77/105)
(2) สวรรค์ในเมืองนรก (ตอนที่ 78/105)
(3) บทเรียนของแพรวา (ตอนที่ 79/105)
(4) งานเลี้ยงที่มีวันเลิกลา (ตอนที่ 80/105)

บทที่ 24   ชีวิตใหม่ ใจกลางมหานคร

(1) แดนคนเถื่อน (ตอนที่ 81/105)
(2) เพื่อนรัก (ตอนที่ 82/105)
(3) แดนคนดี (ตอนที่ 83/105)

บทที่ 25   ชีวิตจัดสรร ณ สันติอรุณ

(1) สวรรค์ลิขิต (ตอนที่ 84/105)
(2) ชีวิตจัดสรร (ตอนที่ 85/105)
(3) วิถีชีวิต วิถีชุมชน (ตอนที่ 86/105)
(4) คุณครูมือใหม่ (ตอนที่ 87/105)

บทที่ 26   สัมผัสแรก สัมผัสรัก

(1) เบื้องหลังของหญิงสาว (ตอนที่ 88/105)
(2) ประสบการณ์ที่มีค่า ของรจนารินี (ตอนที่ 89/105)
(3) ของสำคัญ ที่ต้องหาให้เจอ (ตอนที่ 90/105)

บทที่ 27   สังข์ทอง รจนา

(1) คืนร่างเดิม (ตอนที่ 91/105)
(2) ชีวิตใหม่ (ตอนที่ 92/105)
(3) ความหลัง ความรัก (ตอนที่ 93/105)

บทที่ 28   วิกฤตของนครรัฐ

(1) ปัญหาที่ยังตีบตัน (ตอนที่ 94/105)
(2) ตามหาคำตอบ (ตอนที่ 95/105)
(3) นักเล่านิทาน (ตอนที่ 96/105)

บทที่ 29   กู้วิกฤต

(1) สันติอรุณโมเดล (ตอนที่ 97/105)
(2) แผนกู้วิกฤต (ตอนที่ 98/105)
(3) วิกฤตรัก (ตอนที่ 99/105)

บทที่ 30   ฝันที่เป็นจริง

(1) แต่งกับงาน (ตอนที่ 100/105)
(2) การสังหารท่านผู้นำ (ตอนที่ 101/105)
(3) อำนาจใหม่ (ตอนที่ 102/105)
(4) พ่อแม่บุญธรรม (ตอนที่ 103/105)
(5) ฝันเป็นจริง (ตอนที่ 104/105)

 

ปัจฉิมบท -
งานเลี้ยง ย่อมมีวันเลิกลา (ตอนที่ 105/105 ปัจฉิมบท)

 

เพลง ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
เฝ้าใฝ่ฝัน ขอให้เป็นจริง
ความรัก ความกตัญญู เหนือกว่าทุกสิ่ง
แนบอกแม่อิง อุ่น ไอ รัก

ฝ่าอันตราย สิ่งเลวร้ายนานา
สู้อาสา แม้ยากยิ่งนัก
ความโหดร้าย ริษยา อ่อนล้าเหนื่อยหนัก
ต้องกล้าหาญหัก อุปสรรค สู้ทน

ภูติป่า อสูรร้าย เหตุการณ์ท้าทายให้สู้
ต้องยืนหยัดอยู่ กอบกู้ หมู่ประชาชน
เพื่อแม่ เพื่อรัก เพื่อความภักดี ต้องทน
ข้าขอผจญ มารร้าย พ่ายแพ้ไป

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
คืนฝันวันหวัง ยังอยู่ในใจ
ความรัก ความหวัง คือพลังยิ่งใหญ่
โอ้แม่จ๋า แม่อยู่ไหน ลูกเหนื่อยเหลือเกิน.


 

focused thinking

หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 


igood media copyright
 SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net