หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 

ภาคที่ 2
ฝ่าอุปสรรค เพื่อรักและอิสรภาพ

บทที่ 16   เมืองกาญจนา

ตอนที่ 58

ไปพบย่าทอง

ตอนที่แล้ว ... ตอนที่ 57/105

 

งานค่ายฝึกอบรมที่วัดส้มผ่านไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อวาน. ก่อนค่ำ พลายงาม เอื้อย โสนน้อย ชวนกันไปหาตัดหญ้าให้ม้า ที่ข้างรั้วบ้านของชาวบ้านแถบนั้น. เห็นรถบรรทุกเล็กเก่าๆ คันหนึ่งวิ่งมาจอดส่งพระรูปหนึ่งที่ประตูทางเข้า แล้วก็แล่นออกไป. ลุงสิน ลงมาจากบ้าน บอกกับ พลายงาม.

 

“ท่านสมภารกลับมาแล้ว ถ้าพวกคุณมีธุระด่วน จะไปพบท่านเลยก็ได้นะ”

“ท่านเพิ่งมาถึง ให้ท่านได้พักสักหน่อย ประเดี๋ยวค่อยไปพบท่าน” พลายงาม ออกความเห็น.

“จะเอายังงั้นเหรอ?”

 

รอจนกระทั่งทุ่มครึ่ง, คืนนี้ พระจันทร์เต็มดวง ลอยเหนือหลังคาบ้าน ท้องฟ้าแจ่มใส มองเห็นดาวระยิบระยับ. ลุงสิน คว้าไฟฉาย เดินนำหน้าเด็กหนุ่มสาวทั้งสามคน ไปที่กุฏิของท่านสมภาร ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากศาลาใหญ่. กุฏิของท่านตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใต้ต้นจิกต้นใหญ่. แสงสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ถูกเปิดทิ้งไว้ ก่อนที่ลุงสิน และพวกเด็กๆ จะมาถึง. ลุงสิน พาเด็กทั้งสาม นั่งรอท่านสมภาร ที่ม้านั่งข้างกุฏิ. โดยปกติ ญาติโยม ที่มาพบท่านสมภารบุญ ก็มักจะมานั่งที่ตรงนี้.

 

ท่านสมภารบุญ เป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติสมถะ เรียบง่าย กุฏิของท่านไม่ใหญ่นัก แค่นอนก็น่าจะเหลือส่วนหัวและเท้า ประมาณศอกหนึ่ง. แค่คนขึ้นไปนั่ง 3 คน ก็เต็มแล้ว. พื้นกุฏิยกสูงจากพื้นดินแค่เอว มีฝาเปิดแบบกระทุ้งด้วยไม้ค้ำยัน, เปิดออกได้ 3 ด้าน, มีเพียงด้านที่อยู่เหนือศีรษะเท่านั้น ที่ถูกปิดกันฝน. ด้านหัวนอน มีหิ้งเล็กๆ สำหรับเขียนหนังสือ และวางหนังสือได้ไม่กี่เล่ม. บาตรของท่าน ใบใหญ่วางอยู่ ตรงกลางกุฏิ ระหว่างช่องว่างของหลังคาทรงจั่ว ซึ่งมีกลดแขวนอยู่.

 

“โธ่! หลังเล็กแค่นี้ เก็บข้าวของได้ไม่เท่าไหร่ซิครับ?” พลายงาม พูดตามจริง.

 

ลุงสิน อธิบายว่า “เป็นพระสงฆ์ ท่านจะไม่สะสมเครื่องใช้ที่เกินจำเป็น พระทุกรูปรู้วินัยข้อนี้ดี โดยเฉพาะท่านสมภาร ท่านจะถือเคร่งเรื่องนี้”

“แล้วถ้ามีคน เอาเงินมาถวาย หรือเอาของมาถวายเยอะๆ ท่านจะเก็บไว้ที่ไหนล่ะครับ?”

 

ก่อนที่ลุงสิน จะตอบ ท่านสมภารก็เดินขึ้นมาจากฝั่งแม่น้ำ. ท่านสรงน้ำเสร็จพอดี.

 

“ไงล่ะ โยมสิน” ท่านสมภาร เป็นฝ่ายปฏิสันถารก่อน ขณะขึ้นไปนั่งบนกุฏิ “งานอบรมมีปัญหาอะไรไหม๊?”

“ไม่มีปัญหาอะไรหรอกครับ ก็เราเตรียมกันมาตั้งหลายวัน และก็เคยทำกันมาหลายหนแล้ว ทุกคนรู้หน้าที่ดี ... วันปิดงาน ท่านรองสมภาร ก็รับนิมนต์ได้ดีอยู่แล้วครับ”

“ที่จริง อาตมาว่าจะกลับก่อนหน้านี้ ให้มาทันวันปิดงาน แต่ไม่ทันจริงๆ ท่านสมภารปุ่น ขอร้องให้อาตมาอยู่ต่อ เป็นเพื่อน คอยต้อนรับท่านเจ้าคุณหนเหนือด้วยกัน แล้วก็ปรึกษาเรื่องการสร้างศาลาเรียนหลังใหม่ด้วย ... อ้าว! นั่น พาใครมาด้วยล่ะ?”

“นมัสการครับ ท่านสมภาร” พลายงาม กราบท่านสมภาร “ผมชื่อ พลายงาม เป็นลูกของแม่พิม บ้านสุวรรณวารี ผมมาตามหาย่าครับ ย่าผมชื่อทอง แม่บอกว่า ให้มาถามสมภารบุญ ที่วัดส้มว่าย่าอยู่ที่ไหน”

 

ยังไม่ทันที่ พลายงาม จะพูด จะถามธุระกับท่านสมภาร, ลุงสิน ชิงเล่าที่มาที่ไปของเด็กให้รับทราบก่อน.

 

“คือว่า ทั้งสามคนนี่ มาได้หลายวันแล้วครับ ตั้งแต่พระคุณท่าน ออกเดินทางไปกิจนิมนต์ ก็เลยให้พักที่บ้านผมก่อน รอจนกว่าจะได้พบท่านน่ะครับ”

“อ้อ! หรอกเรอะ ...” สมภารบุญ หันไปพิจารณา เด็กชื่อ พลายงาม “อืม!... เธอเป็นลูกของนางพิมจริงๆ เรอะนี่ อายุเท่าไหร่แล้วล่ะ?”

“สิบสองปี ครับ”

“อืม...! จะว่าไปอาตมาก็จำแทบไม่ได้ วันที่อาตมาเห็นนางพิม ตัวเค้ายังเล็กมาก น่าจะซักขวบสองขวบนี่แหละ เจอกันอีกที ก็ตอนเริ่มรู้จักกะเจ้าแผน นั่นละ เจอครั้งนั้นครั้งเดียว แล้วไม่เจออีกแล้ว แต่ก็ได้ข่าวคราวอยู่นะ ก็เกี่ยวกะเรื่องยุ่งๆ ของพวกเขาสามคน นั่นแหละ ... อาตมาไม่อยากยุ่งทางโลก ก็ไม่ค่อยได้ใส่ใจ”

 

ท่านสมภาร ถอนหายใจ ก่อนสาธยายต่อ,

 

“ก็พ่อกับแม่ของเธอนั่นแหละ ยื้อกันไปแล้วก็แย่งกันมา ที่จริงแม่ของเธอเค้าเป็นคนตัดสินใจเอง ว่าจะเลือกอยู่กับใคร มันเป็นเรื่องทางโลก อาตมาจำได้แค่นี้แหละ ... เออ ดูๆ ไป เค้าหน้าก็เหมือนพ่อนะ แต่อีกสองคนนั่น ไม่เหมือน รึว่าเป็นคนละพ่อกัน”

“ไม่ใช่หรอกจ้ะ” เอื้อย ตอบปฏิเสธ เกรงว่าพระจะเข้าใจผิด “หนูชื่อ เอื้อย ส่วนนี่ชื่อ โสนน้อย มาเป็นเพื่อน พลายงามจ้ะ”

“อ้าว! แล้วทำไมต้องพากันมาถึงที่นี่ล่ะ ระยะทางมันไม่ใช่ใกล้ๆ นา แต่ก็เก่งนะ เป็นผู้หญิงด้วย”

 

เมื่อถามถึงสาเหตุที่ต้องมาที่นี่ พลายงาม รู้สึกเศร้าใจขึ้นมาทันที แต่เขาจำเป็นต้องอธิบาย เหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกิดขึ้น ให้สมภารบุญฟัง.

 

“แม่คงกลัวผมจะถูกพ่อเลี้ยงทำร้ายเอา ก็เลยให้มาอยู่กับย่า ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยเห็นหน้าย่ามาก่อน ว่าหน้าตาเป็นยังไง และถ้าเจอกัน ย่าก็คงจะไม่รู้จักผมอยู่ดี ท่านสมภาร พาพวกเราไปหาย่าได้รึเปล่าครับ?”

 

สมภารบุญ รู้กิตติศัพท์ของความไม่ลงรอยกันดี ระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง ก็รู้สึกเห็นใจ ที่เด็กๆ พากันมาขอเป็นที่พึ่ง.

 

“ที่จริง ย่าของเธอ ก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี่นักหรอก อาตมาเคยเดินบิณฑบาตไปที่นั่นบ่อยๆ”

“จริงหรือครับ!” พลายงาม อุทาน ด้วยความดีใจ.

 

...

 

เช้าวันรุ่งขึ้น พระฉันอาหารที่บนศาลาใหญ่เสร็จ, ทีแรกท่านสมภาร ว่าจะให้นั่งรถไปบ้านย่าทองพร้อมๆ กัน. แต่พวกเด็กๆ ต้องเอาม้าไปด้วย เกรงว่าจะไม่สะดวก. ท่านสมภารเลยบอกคนวัดผู้ชาย ที่จะไปด้วยว่า ให้เดินด้วยเท้าไปพร้อมๆ กัน จะได้มีเวลาคุยกับพวกเด็กๆ ในระหว่างเดินทางด้วย.

 

พลายงาม เอื้อย โสนน้อย เตรียมสัมภาระไว้บนหลังม้า. ก่อนออกเดินทาง มีชาวบ้านมายืนคุยด้วยกลุ่มหนึ่ง. สมภารบุญ พร้อมด้วยคนวัดชายอีก 2 คน จะเป็นผู้ติดตามสมภารไปด้วย. เด็กทั้งสาม กล่าวลาลุงสิน รวมทั้ง พี่ ป้า น้า อา ในหมู่บ้าน และไม่ลืมกล่าวขอบคุณ ในความเอื้อเฟื้อทั้งอาหารและที่พักพิง.

 

สมภารเดินนำหน้า พลายงามเดินจูงม้าของตัวเอง คนวัดชาย 2 คน ช่วยกันจูงม้าของ เอื้อย กับ ม้าของโสนน้อย คนละตัว. เดินเลาะไปตามทางดินเลียบฝั่งคลอง ซึ่งแยกสาขาจากแม่น้ำใหญ่ ผ่านต้นไม้ กอไผ่ ที่ขึ้นอยู่เต็มริมคลอง. วันนี้ไม่มีแดด ช่วยสร้างความรื่นรมย์ ในระหว่างเดินทาง ให้ไม่น้อย.

 

“ที่นี่ อยู่ไกลจากเมืองกาญจนา แค่ไหนครับ?” พลายงาม ถาม.

“ประมาณ หกสิบกิโล”

 

เพื่อไม่ให้เบื่อหน่าย ระหว่างการเดินทาง ท่านสมภารบุญ ไต่ถามความเป็นมา ของเด็กทั้งสามคน. โดยเฉพาะ เรื่องราวการผจญภัยของ เอื้อย กับ โสนน้อย, ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านสมภาร ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ. ดูเหมือนว่า ท่านจะเป็นฝ่ายรับฟังมากกว่า. ท่านต้องการให้ใครเล่า ท่านก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถามคนนั้น, จนเป็นที่พอใจ.

 

“พลายงาม เธอโชคดีนะ ที่ไม่เจอเรื่องแปลกๆ เหมือนแม่หนูสองคนนี่”

“ไม่เจอน่ะดีแล้ว ถ้าเจอจริงๆ ผมก็คงสู้ไม่ไหว”

“ที่จริง ถ้าพ่อของเธอสอนให้ ก็ดีซินะ เอ่อ! ... เราหมายถึงพ่อแท้ๆ ของเธอนะ” เอื้อย บอก “ถ้าเจอพวกปีศาจระหว่างทาง จะได้มีวิชาไว้ป้องกันตัว เหมือนที่เคนเคยสอนเราสองคน ตอนอยู่ที่หมู่บ้านป่าปีศาจนั่นไง”

 

เมื่อพูดถึงเรื่องพ่อของพลายงาม สมภารบุญ ถือโอกาสหักเหเรื่อง เพื่อให้ พลายงาม รู้จักอีกแง่มุมหนึ่ง ของพ่อของเขา ที่นางพิม อาจจะยังไม่ได้เล่าให้ลูกฟัง.

 

“โยมพ่อของเธอน่ะ เค้าเป็นคนหนุ่มที่ห้าวหาญ มีความเชื่อเรื่องอำนาจภูติ ผี วิญญาณ”

“ท่านสมภารรู้ได้ยังไงครับ?”

“เรื่องพวกนี้ อาตมาเรียนมาก่อน ... จะว่าไป พ่อของเธอ ก็มีศักดิ์เป็นหลานของอาตมา แม้ว่าอายุจะห่างกันไม่กี่ปี”

“พ่อของผมมีคาถา เรียกพวกวิญญาณ คนที่ตายแล้ว ให้มารับใช้ ทำได้จริงหรือครับ?”

“แล้วมีคนอื่นเห็นเป็นพยานหรือเปล่าล่ะ? ถ้ามีมันก็เป็นเรื่องจริง แต่ถ้าไม่มี เราจะไปตัดสินว่าเป็นเรื่องหลอกก็ไม่ได้ มันอาจจะจริง สำหรับคนคนนั้นก็ได้ เพียงแต่ไม่มีคนยืนยัน”

 

เป็นคำตอบ ที่สร้างความฉงนให้ พลายงาม ไม่น้อย.

“ตกลงมันจริง หรือไม่จริงครับ?”

 

ท่านสมภาร จำเป็นต้องพูดอธิบายกันยาว.

“อำนาจและพลังลี้ลับพวกนี้ มันเป็นเรื่องซับซ้อน มนุษย์ธรรมดา มักคาดเดากันเอาเอง คิดปรุงแต่งเป็นเรื่องราวต่างๆ นานา เธอคิดดูซิ หมามันเห็นและได้ยินบางสิ่ง ที่คนเราไม่เห็นและไม่ได้ยิน แล้วมันก็เห่าหอน เธอคิดว่ามันเห็นหรือได้ยินอะไรล่ะ มันโกหกเราหรือเปล่า แม้เราจะถามมันว่า แกเห็นอะไร ได้ยินอะไร มันจะบอกเราไหม๊ล่ะ ถึงบอกมันก็พูดภาษาคนไม่ได้ แล้วเธอจะเชื่อในสิ่งที่หมามันเห็น และมันได้ยินหรือเปล่าล่ะ ฉันใดก็ฉันนั้น เรื่องราวในธรรมชาติ มันลี้ลับ มันมีสิ่งที่เรารับรู้ไม่ได้ อีกตั้งมากมาย”

 

“คนที่จะรู้เรื่องลี้ลับพวกนี้ ได้ทั้งหมด มีหรือเปล่าจ้ะ?” เอื้อย ถาม.

“ประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส รวมทั้งความรู้สึกของคนเรา มันรับรู้อะไรได้ก็นิดๆ หน่อยๆ ถ้าเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในจักรวาล ที่คนยังไม่รู้ไม่เห็น คนที่จะรู้เรื่องลี้ลับได้หมด ก็เห็นจะมีแต่พระพุทธเจ้าองค์เดียว พระองค์เป็นพระสัพพัญญู รู้ทุกเรื่อง”

 

เมื่อท่านสมภารเอ่ยถึงสิ่งลี้ลับในจักรวาล เอื้อยก็ยิ่งสงสัยหนักขึ้นไปอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ตลอดระยะทางที่ผจญภัยมา ทั้งในป่า บ้านผีสิง หมู่บ้านดูดเวลา ในทะเลหมอก และในเกาะร้างกลางมหาสมุทร เป็นอำนาจของพวกปีศาจ หรืออะไรกันแน่.

บางเรื่องก็ตอบยาก เพราะคนถามอาจมีภูมิปัญญาไม่ถึง ท่านสมภารบุญ ท่านก็จะไม่ตอบตรงๆ แต่ใช้วิธีเปรียบเทียบ.

 

“ถ้าพวกเธอขึ้นไปบนท้องฟ้าให้สูงที่สุด เท่าที่เธอมีอากาศหายใจนะ แล้วทำเครื่องหมายไว้ แล้วก็ดิ่งหัวลงมายังพื้นโลก ลงไปในหุบเหว ให้ลึกที่สุด เท่าที่เธอมีอากาศหายใจ และหูไม่อื้อ สมองไม่ระเบิดตายไปเสียก่อน แล้วก็ทำเครื่องหมายไว้ วัดระยะทางดู จากนั้นเธอก็ดึงเส้นผมมาเส้นหนึ่ง แล้วจับปลายทั้งสองข้างกางออกในแนวนอน เธอลองวัดความหนาของเส้นผมดูซิ แล้วเทียบกับระยะที่อยู่สูงสุดกับต่ำสุด ว่ามันห่างกันแค่ไหน ... คงไม่ต้องบอกหรอก แค่เปรียบเทียบให้เห็นว่า สิ่งลี้ลับในจักรวาล มันมีมากเท่ากับระยะสูงสุดกับต่ำสุด ที่เธอวัดครั้งแรก ส่วนสิ่งที่มนุษย์จะรับรู้ได้ ด้วยประสาทสัมผัสน่ะ มีแค่เส้นผม เท่านั้นเอง”

 

“โอ้โห” พลายงาม อุทาน “ในโลกนี้ ยังมีเรื่องมหัศจรรย์กว่านี้อีก แล้วเราจะเรียนหมดเหรอครับ?”

 

ท่านสมภารบุญ อธิบายสรุป เพื่อไม่ให้พวกเด็กงุนงงไปมากกว่านี้.

 

“มนุษย์จะเรียนรู้สิ่งลี้ลับ ทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ ผ่านประสาทสัมผัสตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้จำกัด มีเพียงอวัยวะเดียว ที่มนุษย์จะหยั่งรู้สิ่งลี้ลับพวกนั้นได้ ก็คือจิตวิญญาณ เพราะมันเล็กละเอียดอ่อน ชอนไชไปได้ทุกสถานที่ทุกเวลา ไม่จำกัด”

“จิตวิญญาณ มันมีตัวตนด้วยหรือครับ?”

“ข้อนี้ อาตมาไม่ขอตอบ เอาไว้เธอบวชเรียน แล้วเธอจะเข้าใจไปเอง รู้เพียงแต่ว่า คนเราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง เอาเป็นว่ารู้แค่พอให้ตัวเองหายโง่ก็พอ อย่าไปอยากรู้ เพื่อให้ตัวเองฉลาด เดี๋ยวมันจะบ้าเสียก่อน ... แม้แต่หลักศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้านำมาสอน ก็แค่ใบไม้เพียงกำมือเดียว เมื่อเทียบกับสิ่งที่พระองค์ท่านรู้มากมาย เท่ากับต้นไม้ทั้งป่า แค่ใบไม้ในกำมือเดียวนี่แหละ พวกเราเรียนจนตายก็ยังไม่จบเลย”

 

สนทนากันมาเพลินๆ ก็มาถึงสะพานข้ามคลอง มีเสียงดังขัดจังหวะการสนทนา ขลุกขลักๆ! สวบๆ! อิ๋งๆ! อยู่ใต้สะพาน.

 

“ถ้าอย่างนั้น”

สมภารบุญ หันไปถาม เอื้อย กับ โสนน้อย ราวกับจะรู้ว่า เธอสองคน ก็สงสัยในเสียงใต้สะพานนั้นเช่นกัน,

“เธอสองคน คงไม่มีคำถามซินะ ว่าสิ่งที่พบเห็นมา อะไรมันจริงอะไรมันไม่จริง ... แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ มีอะไรอยู่ใต้สะพาน”

 

คณะเดินทาง หยุดตรงคอสะพาน เพื่อค้นหาที่มาของเสียง. ม้าทั้ง 3 ตัว สะดุดหยุดเดินอยู่กับที่ แสดงอาการตอบสนองเสียงใต้สะพาน. โสนน้อย เดินนำหน้า เอื้อย ลงไปที่ใต้สะพาน พลายงาม ตามลงไป. เสียงร้องครางอิ๋งๆ ดังชัดเจนขึ้น.

 

“ตัวอะไรน่ะ?” เอื้อย ถาม.

“ลูกหมา” โสนน้อย บอกด้วยความตื่นเต้น.

 

มันคือลูกสุนัขพันธุ์ไทยตัวหนึ่ง ลำตัวลายด่าง สีดำสลับขาว อายุราว 2 สัปดาห์. นอนอยู่ในพงหญ้า ใกล้โคนเสาสะพาน. มันกำลังตะเกียกตะกายหนีมดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกำลังรุมกัดแทะ. โสนน้อย ยื่นมือลงไป อุ้มมันขึ้นมา และลูบมดออกจากลำตัวของมัน.

 

“น่าสงสารจัง มันคงเจ็บแย่ ดูซิมันคงหิวแล้วละ” โสนน้อย ส่งลูกหมาให้ เอื้อย แล้วชะโงกหาบางสิ่ง.

“แม่มันหายไปไหนล่ะ?”

“สงสัย มันจะถูกนำมาปล่อยน่ะ” พลายงาม คาดเดา ตามสถานการณ์ที่เห็น.

“เราจะเอามันไปด้วย” เอื้อย บอก.

“จะตั้งชื่อมันว่าอะไรดี?” พลายงาม ถาม.

“ดูก่อนนะ ว่ามันเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย” โสนน้อย ถาม, เอื้อย ชูมันขึ้นดูที่บริเวณใต้ท้อง.

“ตัวผู้”

“เจ้าด่าง ... มันเป็นตัวผู้ ให้มันชื่อนี้ดีแล้ว” พลายงาม สรุป.

 

ในโลกนี้ ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เกิดมาแล้วก็ต้อง ประสบกับความเจ็บ ความตาย เพราะเมื่อมีเกิด ก็ต้องมีตาย ถ้าไม่ต้องการให้ เจ็บและตาย ก็ต้องหาวิธีที่จะไม่ต้องเกิด. สัจธรรม ข้อนี้ ยากนักที่ผู้คนจะยอมรับกันได้. สมภารบุญ แอบชื่นชม ในความมีเมตตาของพวกเด็กๆ ขณะที่พวกเขา พากันอุ้มลูกสุนัขอย่างทะนุถนอม เดินขึ้นมาข้างบน. ก็คงเหมือนชีวิตของพวกเขานั่นแหละ ที่ถูกทอดทิ้งเหมือนลูกสุนัขตัวนี้. เด็กพวกนี้ คิดถูกแล้ว ที่นำมันไปด้วย เพราะถ้าปล่อยมันไว้คงไม่รอดชีวิตแน่.

 

ท่านสมภารบุญ นึกถึงบทร้อยกรอง วฏจักรแห่งสังขาร ที่ท่านบรรจงแต่งขึ้นไว้ เมื่อหลายปีก่อน.

ห้วงแห่ง มโนมนสิการ
ฤจต้าน ตะวันจร
หมู่ผึ้ง มิอาจจะละภมร
นรชน มิต่างกัน

ดวงจินต์ ถวิลปรภวังค์
สติตั้ง ณ วิญญาณ
มวลก้อน กิเลสมิจะประหาร
ชิรชาติ มิพ้นพา

ก็ราคะ นันทิวินิบาต
ภวชาติ เกาะสังขาร์
เหตุแห่ง อิทัปปจยตา
วฏจักร นิรันดร์กาล.

 

อ่านต่อ ... ตอนที่ 59/105

 

สารบัญ / ตอนที่

ปฐมบท -

แสงแรกของเรื่องราว


ภาคที่ 1: ตามหารัก อุปสรรคไม่ท้อ


บทที่ 1   ต้นเหตุของเรื่องราว

(1) ละครชีวิตแห่งนครวิชัยยศ (ตอนที่ 1/105)
(2) รัก ริษยา อาฆาต อำนาจมัวเมา (ตอนที่ 2/105)
(3) อำลาที่ขมขื่น (ตอนที่ 3/105)

บทที่ 2   สังข์ เอื้อย โสนน้อย

(1) อดีตที่เติบโต (ตอนที่ 4/105)
(2) เพื่อนใหม่ผู้น่าสงสาร (ตอนที่ 5/105)
(3) จินตนาการ นิทาน ความฝัน (ตอนที่ 6/105)

บทที่ 3   วันสังหาร

(1) ชีวิตที่โหยหา (ตอนที่ 7/105)
(2) พินัยกรรมริษยา (ตอนที่ 8/105)
(3) คำสั่งลับ (ตอนที่ 9/105)

บทที่ 4   ชีวิตใหม่กลางภูผา

(1) ภาระใหม่ของนาเคนทร์ (ตอนที่ 10/105)
(2) ความลี้ลับของป่า (ตอนที่ 11/105)
(3) บทเรียนชีวิต (ตอนที่ 12/105)
(4) เวทกล มนตร์สู้ปีศาจ (ตอนที่ 13/105)
(5) ส่งเด็กกลับบ้าน (ตอนที่ 14/105)

บทที่ 5   ภูติร้ายในป่ามรณะ

(1) ประตูมายาแห่งป่า (ตอนที่ 15/105)
(2) ภาพลวงตา (ตอนที่ 16/105)
(3) กลลวงปีศาจ (ตอนที่ 17/105)
(4) หุบผาหมอก (ตอนที่ 18/105)

บทที่ 6   ประตูเวลาที่เรือนปีศาจ

(1) การมาเยือน ของมนุษย์นอกจักรวาล (ตอนที่ 19/105)
(2) ประตูเวลา ของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 20/105)

บทที่ 7   หนอนทะเลทราย

(1) สู่ทะเลทราย (ตอนที่ 21/105)
(2) หนอนยักษ์ มฤตยูใต้ดิน (ตอนที่ 22/105)

บทที่ 8   หลุมดำดูดเวลา และการตามล่าของมนุษย์นอกจักรวาล

(1) หมู่บ้านไร้เวลา (ตอนที่ 23/105)
(2) จุดจบของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 24/105)

บทที่ 9   พบเพื่อนใหม่

(1) สองพี่น้องชาวเล (ตอนที่ 25/105)
(2) ปริศนาเฒ่าทะเล (ตอนที่ 26/105)
(3) ความลับ (ตอนที่ 27/105)
(4) แผนเดินทาง (ตอนที่ 28/105)
(5) บทเรียนบนเรือรบ (ตอนที่ 29/105)

บทที่ 10    ผจญภัยกลางมหาสมุทร

(1) เขตย้อนเวลา (ตอนที่ 30/105)
(2) บนเรือโจรสลัด (ตอนที่ 31/105)
(3) ผีเสื้อสมุทร และหมึกยักษ์ (ตอนที่ 32/105)
(4) เกาะร้าง (ตอนที่ 33/105)
(5) นิมิตแห่งตำนานสายฟ้าอสูร (ตอนที่ 34/105)

บทที่ 11   ปาฏิหาริย์ของเทพแห่งลิง

(1) อาวุธมีเจ้าของ (ตอนที่ 35/105)
(2) ปาฏิหาริย์ลิงเผือก (ตอนที่ 36/105)
(3) ปริศนาคำทำนาย (ตอนที่ 37/105)
(4) อากาศยานช่วยชีพ (ตอนที่ 38/105)
(5) อวสานเกาะร้าง (ตอนที่ 39/105)

 

ภาคที่ 2: ฝ่าอุปสรรค เพื่อรักและอิสรภาพ


บทที่ 12   นครพันธุรัฐ เมืองคนทาส

(1) เชลย (ตอนที่ 40/105)
(2) ทาสใหม่ (ตอนที่ 41/105)
(3) นายหญิง เจ้าแห่งนครพันธุรัฐ (ตอนที่ 42/105)
(4) สถานภาพใหม่ของสังข์ (ตอนที่ 43/105)
(5) ความลับของนาเคนทร์ (ตอนที่ 44/105)

บทที่ 13   เทคโนโลยีล่องหน

(1) ห้องลับของนายหญิง (ตอนที่ 45/105)
(2) นวัตกรรมการอำพราง (ตอนที่ 46/105)
(3) เสน่ห์แห่งอำนาจ (ตอนที่ 47/105)
(4) ความลับที่ต่อรองกันได้ (ตอนที่ 48/105)

บทที่ 14   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 1)

(1) แผนหลบหนี (ตอนที่ 49/105)
(2) ประตูแห่งอิสรภาพ (ตอนที่ 50/105)
(3) หนี (ตอนที่ 51/105)

บทที่ 15   เส้นทางที่พลัดพราก

(1) หมู่บ้านมนุษย์กินคน (ตอนที่ 52/105)
(2) พลายงาม เพื่อนร่วมทางคนใหม่ (ตอนที่ 53/105)
(3) นางพิม (ตอนที่ 54/105)
(4) เปลี่ยนร่างอำพรางหนี (ตอนที่ 55/105)

บทที่ 16   เมืองกาญจนา

(1) วัดส้ม เมืองกาญจนา (ตอนที่ 56/105)
(2) ธัมมะกับชีวิต (ตอนที่ 57/105)
(3) ไปพบย่าทอง (ตอนที่ 58/105)

บทที่ 17   บ้านของย่าทอง

(1) สายสัมพันธ์ย่าหลาน (ตอนที่ 59/105)
(2) ความสุขในเรือนทอง (ตอนที่ 60/105)
(3) ความสุข ความพอเพียง (ตอนที่ 61/105)

บทที่ 18   วัยรุ่น วัยรัก วัยเรียน

(1) วัยรัก วัยเรียน (ตอนที่ 62/105)
(2) ความรักที่ก่อตัว (ตอนที่ 63/105)
(3) แสงสีแห่งชนบทยามค่ำคืน (ตอนที่ 64/105)
(4) เรื่องวุ่นวาย ของวัยรุ่น (ตอนที่ 65/105)

บทที่ 19   ความรัก ความหวัง ยังไม่สิ้น

(1) เส้นทางรัก โสนน้อย สร้อยมณี (ตอนที่ 66/105)
(2) บวชพลายงาม (ตอนที่ 67/105)
(3) ลางบอกเหตุ (ตอนที่ 68/105)
(4) ทางรัก ทางธรรม (ตอนที่ 69/105)

บทที่ 20   ตามหาเพื่อน

(1) ก้าวใหม่ของ นครพันธุรัฐ (ตอนที่ 70/105)
(2) รหัสสื่อสาร 213 ที่ยังจำกันได้ (ตอนที่ 71/105)
(3) นักบินฝึกหัด (ตอนที่ 72/105)

บทที่ 21   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 2)

(1) เปิดฉากหนี (ตอนที่ 73/105)
(2) ปิดฉากทาสนรก (ตอนที่ 74/105)

 

ภาคที่ 3:   รักนิรันดร์ ฝันเป็นจริง


บทที่ 22   เดินทางไกล ไปตามฝัน

(1) สิงห์ดำ (ตอนที่ 75/105)
(2) เมืองแห่งความฝัน (ตอนที่ 76/105)

บทที่ 23   นครรัฐเทพนารา

(1) นรกบนเมืองสวรรค์ (ตอนที่ 77/105)
(2) สวรรค์ในเมืองนรก (ตอนที่ 78/105)
(3) บทเรียนของแพรวา (ตอนที่ 79/105)
(4) งานเลี้ยงที่มีวันเลิกลา (ตอนที่ 80/105)

บทที่ 24   ชีวิตใหม่ ใจกลางมหานคร

(1) แดนคนเถื่อน (ตอนที่ 81/105)
(2) เพื่อนรัก (ตอนที่ 82/105)
(3) แดนคนดี (ตอนที่ 83/105)

บทที่ 25   ชีวิตจัดสรร ณ สันติอรุณ

(1) สวรรค์ลิขิต (ตอนที่ 84/105)
(2) ชีวิตจัดสรร (ตอนที่ 85/105)
(3) วิถีชีวิต วิถีชุมชน (ตอนที่ 86/105)
(4) คุณครูมือใหม่ (ตอนที่ 87/105)

บทที่ 26   สัมผัสแรก สัมผัสรัก

(1) เบื้องหลังของหญิงสาว (ตอนที่ 88/105)
(2) ประสบการณ์ที่มีค่า ของรจนารินี (ตอนที่ 89/105)
(3) ของสำคัญ ที่ต้องหาให้เจอ (ตอนที่ 90/105)

บทที่ 27   สังข์ทอง รจนา

(1) คืนร่างเดิม (ตอนที่ 91/105)
(2) ชีวิตใหม่ (ตอนที่ 92/105)
(3) ความหลัง ความรัก (ตอนที่ 93/105)

บทที่ 28   วิกฤตของนครรัฐ

(1) ปัญหาที่ยังตีบตัน (ตอนที่ 94/105)
(2) ตามหาคำตอบ (ตอนที่ 95/105)
(3) นักเล่านิทาน (ตอนที่ 96/105)

บทที่ 29   กู้วิกฤต

(1) สันติอรุณโมเดล (ตอนที่ 97/105)
(2) แผนกู้วิกฤต (ตอนที่ 98/105)
(3) วิกฤตรัก (ตอนที่ 99/105)

บทที่ 30   ฝันที่เป็นจริง

(1) แต่งกับงาน (ตอนที่ 100/105)
(2) การสังหารท่านผู้นำ (ตอนที่ 101/105)
(3) อำนาจใหม่ (ตอนที่ 102/105)
(4) พ่อแม่บุญธรรม (ตอนที่ 103/105)
(5) ฝันเป็นจริง (ตอนที่ 104/105)

 

ปัจฉิมบท -
งานเลี้ยง ย่อมมีวันเลิกลา (ตอนที่ 105/105 ปัจฉิมบท)

 

เพลง ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
เฝ้าใฝ่ฝัน ขอให้เป็นจริง
ความรัก ความกตัญญู เหนือกว่าทุกสิ่ง
แนบอกแม่อิง อุ่น ไอ รัก

ฝ่าอันตราย สิ่งเลวร้ายนานา
สู้อาสา แม้ยากยิ่งนัก
ความโหดร้าย ริษยา อ่อนล้าเหนื่อยหนัก
ต้องกล้าหาญหัก อุปสรรค สู้ทน

ภูติป่า อสูรร้าย เหตุการณ์ท้าทายให้สู้
ต้องยืนหยัดอยู่ กอบกู้ หมู่ประชาชน
เพื่อแม่ เพื่อรัก เพื่อความภักดี ต้องทน
ข้าขอผจญ มารร้าย พ่ายแพ้ไป

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
คืนฝันวันหวัง ยังอยู่ในใจ
ความรัก ความหวัง คือพลังยิ่งใหญ่
โอ้แม่จ๋า แม่อยู่ไหน ลูกเหนื่อยเหลือเกิน.


 

focused thinking

หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 


igood media copyright
 SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net