หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 

ภาคที่ 3
รักนิรันดร์ ฝันเป็นจริง

บทที่ 25  ชีวิตจัดสรร ณ สันติอรุณ

ตอนที่ 85

ชีวิตจัดสรร

ตอนที่แล้ว ... ตอนที่ 84/105

 

ช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้น, แพงดิน กับ ใบพุทธ หญิงสาวสองคนในชุมชน ซึ่ง เอื้อย เคยเห็นแล้ว เมื่อตอนเช้าของวันแรก ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนสันติอรุณ, มาบอกว่า จะพาไปอยู่บ้านว่างอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ถัดไป. พวกเธอจึงมาชวน เอื้อย โสนน้อย ไปช่วยกันเก็บกวาด ก่อนเข้าไปอยู่. บ้านหลังนี้ เจ้าของบ้านปล่อยทิ้งไว้นานแล้ว.

 

สิงห์ดำ กับ สังข์ ช่วยกันซ่อมแซมบ้านของตัวเอง.

 

วันนี้ เป็นวันเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่. จากคนพเนจรไร้ที่อยู่ มาอยู่เป็นหลักแหล่งในชุมชน แม้จะอยู่อย่างชั่วคราวไปก่อน.

 

ระหว่างเก็บกวาดบ้าน โสนน้อย สังเกตเห็นแผ่นป้าย ระเบียบการเข้าอยู่ในชุมชน ที่ติดอยู่บนฝาผนังด้านหนึ่งภายในบ้าน. เธอตั้งใจอ่านข้อความ.

บุคคลที่จะเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชน จะต้องได้รับมติอนุมัติ จากคณะกรรมการชุมชนก่อน. ถ้ายังไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นแขกมาอาศัยชั่วคราว. สิทธิต่างๆ ก็จะไม่ได้รับเหมือนคนอื่นๆ และอยู่ได้ติดต่อกัน คราวละไม่เกิน 7 วัน.

 

ผู้ที่มาอยู่จะต้องรักษาศีล 5 เป็นอย่างน้อย. และถ้าเคยเสพติด ยา การพนัน และอบายมุขอื่นๆ จะต้องเลิกให้ได้. ข้อนี้ถือว่าร้ายแรง. เพราะถ้าจับได้หรือยังทำไม่ได้ ก็จะไม่อนุญาตให้เข้ามาในชุมชน แม้แต่วันเดียว. ถ้าใครพาคนนั้นเข้ามา ก็ถือว่าละเมิดกฎของหมู่บ้าน.

 

นอกจากนี้ ทุกคนที่มาอาศัย จะต้องเอาภาระงานประจำของชุมชน, ซึ่งถือว่า เป็นงานของส่วนกลาง. แล้วแต่ว่าใครจะรับงานใด และงานที่รับทำ จะต้องมีชั่วโมงทำงาน ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง. ถ้าเกินนั้น ถือว่าเป็นงานจิตอาสา.

 

หลังเลิกงานประจำในชุมชน และมีเวลาเหลือ ก็อนุญาตให้ออกไปทำงานข้างนอกชุมชนได้. ผู้ที่มีชั่วโมงงานจิตอาสา เก็บสะสมไว้มากระดับหนึ่ง จะได้รับโหวด ให้เป็นคณะกรรมการชุมชน, ซึ่งมีสิทธิ์มีเสียงเต็ม ในการออกความเห็นต่างๆ ในที่ประชุม.

 

วิถีวัฒนธรรมพื้นฐาน ที่สมาชิกชุมชนควรปฏิบัติร่วมกัน คือ การเข้าฟังธรรมทุกเช้า ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ใน 1 สัปดาห์.

 

“เป็นไงจ้ะ โสนน้อย” ใบพุทธ เอ่ยขึ้น “เธอคิดว่าจะอยู่ที่ที่ได้ไหม๊?”

“ได้ซีจ้ะ”

“ตอนที่ฉันเข้ามาอยู่ใหม่ๆ รู้สึกว่าเหมือนไม่มีอิสระ แต่พออยู่ไปนานเข้า ระเบียบพวกนี้ ก็ดูเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา”

“พวกพี่ ไม่ออกไปทำงานข้างนอกกันหรือจ้ะ?” เอื้อย ถาม.

“ไม่หรอกจ้ะ พวกเรามีงานประจำที่นี่แล้ว และอยากตอบแทนคนอื่นๆ ที่ทำงานหนักกว่า รับผิดชอบงานมากกว่า รายได้จากกองกลางของชุมชน จะเอามาเป็นภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับทุกคนในนี้จ้ะ”

“ทุกอย่างเลยหรือจ้ะ?”

“อืม! จะว่าทุกอย่างก็ได้ ตั้งแต่ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์สาธารณะ แล้วอาหารการกินที่นี่ ก็มาจากโรงครัวกลาง”

“แล้วบ้านนี่ล่ะ?”

“เจ้าของบ้านต้องปลูกเอง แต่ต้องได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการหมู่บ้านก่อน ไม่ว่าจะปลูกใหม่ หรือต่อเติม”

“เจ้าของบ้านหลังนี้ เขาไปไหนเสียล่ะจ้ะ?”

“เค้าคงไม่อยู่แล้ว”

“เอ้า! แล้วเจ้าของไม่มารื้อเอาไปหรือจ้ะ?” โสนน้อย ถาม.

“ไม่หรอกจ้ะ มันเป็นข้อตกลงตั้งแต่แรก ว่าปลูกแล้ว ห้ามรื้อเอาไปเป็นของตัวเองทีหลัง คณะกรรมการเขาคงคิดรอบคอบแล้วน่ะ ว่าถ้ามีคนอื่นที่ต้องการเข้ามาอยู่ใหม่ จะได้มีที่พักอาศัย เหมือนพวกเธอไง แล้วอีกอย่างนะ ที่ดินที่นี่มีน้อย จะปลูกตามใจตัวเองไม่ได้ เห็นหรือเปล่าล่ะ แต่ละหลังเล็กๆ ทุกหลังเลย”

 

“พี่ใบพุทธ ถามอะไรหน่อยได้ไหม๊?”

โสนน้อย กระซิบถามแบบเกรงใจ แต่อยากรู้จริงๆ.

“ทำไมคนที่นี่ เรียกพระว่า สมณะ และตรงที่ท่านอยู่ ใช่วัดหรือเปล่า?”

“ท่านก็เป็นพระในศาสนาพุทธนี่แหละ แต่พวกเราชอบที่จะเรียกว่า สมณะ มากกว่า จะได้ไม่เหมือนกับพระทั่วไป ท่านก็เลยให้ญาติโยมเรียกวัดว่า พุทธสถาน ไปด้วย”

“พระ กับ สมณะ ต่างกันยังไง?”

“ก็เป็นนักบวชเหมือนกันแหละจ้ะ แต่ไม่เหมือนกัน สมณะ แปลว่า ผู้ลอยบาป ท่านปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้ๆ หลักปฏิบัติต่างๆ ก็มาจาก พุทธวจนะ บทสวด ศีล ก็ต่างจากพระข้างนอกมาก เหมือนกับว่าบาป ได้ลอยออกจากตัวไปแล้ว จนเหลือแต่ความบริสุทธิ์ และท่านก็ไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง แม้แต่ตำแหน่งสมภาร ท่านก็ยังไม่ให้ใช้คำว่า เจ้าอาวาส เพราะดูเหมือนเป็นเจ้าของบ้าน พุทธสถาน ก็คือวัดนั่นแหละจ้ะ แต่ที่เรียกว่าพุทธสถาน ก็เพราะไม่อยากให้ซ้ำกับคำว่าวัด เหมือนคำว่าสมณะนั่นแหละจ้ะ”

“แปลกนะ คนที่นี่ เขาไม่สวมรองเท้ากัน” เอื้อย พูดขึ้นมาลอยๆ.

 

“การถอดรองเท้าเดิน ได้สัมผัสกับแม่ธรณีโดยตรง จะช่วยให้เรารักแผ่นดิน และจะได้ช่วยกันเก็บกวาดรักษา ไม่ให้ที่ตรงนั้นสกปรก หรือเอาสิ่งที่เป็นพิษไปกองสุมไว้ พวกเราถือว่า แม่ธรณีก็เป็นแม่อีกผู้หนึ่ง ที่เราควรเคารพ การเดินเท้าเปล่า ยังช่วยรักษาสุขภาพด้วยนะะจ้ะ เห็นทางเดินนั่นไหม๊ ปูด้วยก้อนหินกลมๆ นั่นแหละจะใช้เป็นทางเท้า นวดฝ่าเท้าไปในตัว”

“จริงด้วย ถ้าเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ มันจะขี้สกปรกไปทั่ว ประเดี๋ยวคนก็จะเดินไปเหยียบ” เอื้อย กระซิบกับ โสนน้อย แล้วแสดงสีหน้ารังเกียจ.

 

“ที่จริงนะ” ใบพุธ เล่าต่อ “ตอนมาอยู่วันแรกๆ พี่ว่าจะเลี้ยงหมูสักคอก เพราะที่บ้านนอกเพื่อนบ้านเขาก็เลี้ยงกัน พอเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง พวกเขาก็แอบยิ้มๆ เหมือนกับว่า เราพูดอะไรขำๆ ออกไป แต่มารู้ตอนหลังว่า คนที่นี่เขาจะไม่เลี้ยงสัตว์กัน”

“ทำไมล่ะจ้ะ?”

“เลี้ยงมันไว้ดีๆ แล้วเอาไปฆ่า มันผิดศีลข้อหนึ่งชัดเจน อย่าว่าแต่เลี้ยงเลย พวกเราไม่กินเนื้อหมู รวมถึงเนื้อสัตว์ทุกชนิดด้วย การกินเนื้อสัตว์เป็นสาเหตุ ที่ทำให้มันถูกฆ่า เธอว่าจริงหรือเปล่าล่ะ?”

 

“แล้วหมากับแมวล่ะ เลี้ยงได้ไหม๊?”

 

โสนน้อย ถาม, เมื่อนึกถึงเจ้าด่าง ลูกหมาตัวลายด่างดำสลับขาว. หมาที่เธอพบมันอยู่ที่ใต้สะพาน ก่อนเดินทางไปบ้านย่าทอง ที่เมืองกาญจนา.

 

“ถ้ามันพลัดหลงมา หรือเจ็บป่วย เราก็รักษาให้ แล้วก็ปล่อยมันไป เลี้ยงไว้จะเป็นภาระ ทั้งเรื่องกินเรื่องอึเหม็นเลอะเทอะ พี่ว่านะ ถ้าสอนพวกมันให้รู้จักเข้าห้องส้วมได้ พี่ก็จะเลี้ยง แต่มันเป็นสัตว์ มันคงฟังเราบอกไม่รู้เรื่องหรอก”

“ใช่ จริงด้วย” เอื้อย รับ ยิ้มๆ.

“แล้วพวกพี่ไม่สงสารพวกมันเหรอ?” โสนน้อย ยังซักต่อ.

“สงสาร กับ ปล่อยวาง มันเป็นของคู่กัน สมณะท่านสอนไว้ว่า ทุกชีวิตเกิดมาเพื่อใช้กรรม เหมือนใช้หนี้ ถ้าเราไปยุ่งกับชีวิตของมัน ก็เหมือนกับไปยุ่งกับกรรมของพวกมัน เท่ากับว่าเราไม่ได้ช่วยให้มันได้ใช้หนี้ สมณะท่านยังบอกอีกว่า พวกเราต้องแยกแยะให้ออก ระหว่างสงสาร กับการปล่อยวาง ไม่อย่างนั้น ในชุมชนของพวกเราก็จะมีแต่ สัตว์พเนจรมาอาศัย หรือมีคนพิการที่น่าสงสาร รวมทั้งคนป่วย มาให้เรารับภาระดูแล แทนที่พวกเราจะเอาเวลาแรงงาน ไปสร้างไปช่วยเหลือคนอื่น ที่สมควรช่วยมากกว่า แต่ต้องมารับภาระเลี้ยงดูพวกมัน เธอคิดดูซิ ถ้าเราช่วยคนแข็งแรง ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนมา พวกเขาจะได้เอาแรง ไปช่วยคนอื่นต่อยังไงล่ะจ้ะ”

 

ใบพุทธ หยุดมองหน้า เอื้อย กับ โสนน้อย นิดหนึ่ง หลังพูดสาธยายเสียยืดยาว ตามภูมิรู้ เหตุผล และความรู้สึกที่เป็นจริงเท่าที่เธอมี. เธอตอบข้อสงสัยของ เอื้อย กับ โสนน้อย ราวกับจะบอกว่า พวกเธอและเพื่อน จัดอยู่ในกลุ่มคนแข็งแรง ที่ชาวชุมชนยินดีจะให้อยู่ร่วมชายคาด้วย.

 

เอื้อย กับ โสนน้อย ฟังใบพุทธสาธยายอย่างตั้งใจ. ดูเหมือนว่าคนที่นี่ กินอยู่อาศัยและทำงาน เป็นระบบอัตโนมัติ, ไม่ต้องบอกอะไรกันมาก เหมือนรู้หน้าที่กันดี. นั่นสำหรับคนที่อยู่จนชินแล้ว แต่สำหรับคนที่มาอยู่ใหม่ หรือคนที่อ่อนแอ และปฏิบัติตามกฎไม่ได้ จะทำอย่างไร.

 

“คนไหนแข็งแรง คนไหนอ่อนแอ ดูได้ไม่ยากหรอกจ้ะ คนที่แข็งแรง จะมีจิตสำนึกที่ดี และถูกปลูกฝังมาตั้งแต่แรก ซึ่งคนรุ่นก่อนวางไว้ต่อๆ กันมา”

“แล้วถ้ามีคนไม่ทำตามล่ะ หมายถึงพวกที่อ่อนแอน่ะ?”

“คนอ่อนแอ พวกเราก็จะช่วยเขาก่อน แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่จริงใจ แอบแฝงเข้ามา พวกนี้จะละเมิดกฎอยู่เรื่อยๆ เขาคนนั้นก็จะอยู่ที่นี่ยาก เพราะสายตาของคนที่นี่จะจับตามอง เหมือนเขาเป็นตัวประหลาดเลยละ ... ก็บอกแล้วไงว่า อยู่ที่นี่มันไม่ง่าย ไม่สามารถทำอะไรตามใจตัวเองได้”

 

ก็คงจะจริงตามที่ ใบพุทธ พูด. คนที่จะอยู่ที่นี่ได้ ต้องอดทนต่อการฝืนใจตัวเอง. โชคดี ที่เธอกับ โสนน้อย ผ่านอุปสรรคความยากลำบากมามาก สะสมความอดทนมาตลอดชีวิต ในการตามหาพ่อแม่และเพื่อนรัก. พวกเธอต้องเปลี่ยนที่อยู่ย้ายที่อาศัย จนกลายเป็นเป็นคนพเนจร. แต่พวกเธอไม่ใช่คนสิ้นหนทาง มาขออาศัยอยู่ในชุมชนสินติอรุณ แบบอยู่กินไปวันๆ, พวกเธอมีเป้าหมาย.

 

โสนน้อย รู้สึกว่า ถ้าจะใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จริงละก็ ก็ไม่ใช่เรื่องยากลำบาก. เธอกับเพื่อนๆ ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้วิถีชีวิตแบบนี้มาแล้ว ที่วัดส้มเมืองกาญจนา. เท่ากับมีพื้นฐานเป็นอย่างดี ในการกินอยู่แบบสังคมสันติอรุณ.

 

วันนี้ เป็นวันพุธ เอื้อย กับ โสนน้อย รีบตื่นแต่เช้า ไปช่วยงานที่โรงครัว. สิงห์ กับ เงาะดำ ไปช่วยงานที่สวนผัก. วันพุธ ถือเป็นวันหยุดงานของชาวชุมชน แต่งานโรงครัวและงานสวนผักจะไม่หยุด.

 

หลังอาหารเช้า พ่อกับแม่ของ เด็กหญิงพิมพ์ กับ เด็กหญิงพิศ ติดภาระกิจตรวจนับสินค้าที่ร้านค้าของชุมชน ร่วมกับคนอื่นๆ. พวกเขา จึงปล่อยให้ลูกสาวทั้งสองคน มาเล่นกัน ที่บ้านพักของ เอื้อยกับโสนน้อย.

เด็กพิมพ์กับพิศ ชวน โสนน้อย ไปที่โรงเรียนของพวกเธอ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ. โรงเรียนนี้ เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก ที่ชุมชนสันติอรุณสร้างกันขึ้นมาเอง ไว้สำหรับสมาชิกชุมชนเท่านั้น ไม่รับเด็กจากข้างนอก.

 

เครื่องเล่นสำหรับเด็กบางชนิด ดูเก่าทรุดโทรม. กระดานหก ชิงช้า พอใช้ได้, ม้าหมุนในจำนวน 6 ตัว ใช้การได้ 3 ตัว. พิมพ์กับพิศ เลือกเล่นม้าหมุน แต่โสนน้อย เห็นว่ามันเก่า และเกรงจะเป็นอันตราย จึงชวนไปเล่นของเล่นอย่างอื่น.

 

เด็กๆ เล่นไปได้สักพัก ผู้เป็นพ่อก็ตามมารับลูก. ผ่านหน้าบ้านของ เอื้อย.

“สวัสดีจ้ะ พี่ลำภู” เอื้อย กล่าวทัก “เลิกงานไวจัง พวกเด็กๆ สนุกกันใหญ่เลย”

 

ลำภู กับ เอื้อย พากันเดินไปหาลูกสาว ที่สนามเด็กเล่น.

“คุณพ่อขา” พิมพ์ กับ พิศ วิ่งเข้าหาพ่อ.

“เป็นไงลูก ดื้อกับพี่ๆ เค้าหรือเปล่าล่ะ?”

 

เด็กน้อยส่ายหน้าพร้อมกัน. เอื้อย มองหน้า ลำภู.

“เค้าเป็นเด็กน่ารักทั้งสองคนเลยจ้ะ ... อ้าว! แล้วนี่พี่เนียนไม่มาด้วยเหรอ?”

“มาไม่ได้ กำลังเตรียมของ ไว้ต้อนรับแขกที่บ้าน”

“ใครจะมากันหรือจ้ะ?” โสนน้อย ถาม.

“ก็พวกคุณไง ... ประเดี๋ยวเราไปที่บ้านกันเลยนะ ก่อนจะมานี่ ฉันแวะบอก สิงห์ กับ เงาะแล้วละ”

 

เอื้อย กับ โสนน้อย ถือโอกาสซักถามลำภู ในสิ่งที่อยากรู้ ระหว่างเดินลัดเลาะลำธาร ไปที่บ้านของ ลำภู.

 

“พี่ลำภู ... พ่อใหญ่รักพูน เขาเป็นใครกันจ้ะ” โสนน้อย ถามขึ้น.

“พ่อใหญ่รักพูน เป็นคนดีเสียสละ ที่ทุกคนในชุมชน ให้ความเคารพนับถือ ท่านกับท่านสมภารเคยบวชเรียนมาด้วยกัน ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรเป็นพระ แต่พ่อใหญ่สึกเสียก่อน เพราะไปเป็นครูประชาบาล แล้วแต่งงาน แต่ไม่มีลูกด้วยกัน ต่อมาภรรยาของท่านป่วย ท่านก็เลยลาออกมาดูแลภรรยา แต่ในที่สุดภรรยาของท่านก็จากไปอีก ตอนอายุท่านได้ 45 ปี จากนั้น ท่านก็ครองตัวเป็นโสดมาตลอด”

“แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับ ชุมชนสันติอรุณล่ะจ้ะ?”

 

“พ่อใหญ่น่ะ เขาเป็นคนบุกเบิกที่ดินในชุมชนมาแต่แรก ตอนนั้น ฉันอายุแค่สิบขวบ ก็เป็นเด็กวิ่งเล่นอยู่แถวๆ นี้นี่แหละ นั่นมันก็ยี่สิบปีมาแล้ว เมื่อก่อนนะ ที่ตรงนี้ไม่ได้สวย ร่มรื่น เหมือนอย่างทุกวันนี้หรอก เป็นสวนผลไม้เก่าที่ทิ้งร้าง ปล่อยให้หญ้าขึ้นรก และมีโรงท้อผ้าเก่าๆ อยู่สองสามโรง พวกชาวบ้านต่างก็ทยอยมาสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว จนเป็นชุมชนเล็กๆ ประธานนครรัฐเทพนาราสมัยนั้น เห็นว่าที่ตรงนี้เจ้าของไม่อยู่แล้ว ก็เลยเอาขยะมาทิ้ง เหมือนแย่งที่กัน จำนวนบ้านก็เพิ่มขึ้น ขยะก็กองโตขึ้น หนักเข้า ส่งกลิ่นเหม็นไปรอบๆ ตอนนั้น พ่อใหญ่ยังเป็นครูประชาบาล ท่านยังมีแรง ก็ไปเจรจากับเจ้าของที่และขอซื้อไว้”

 

“พ่อใหญ่ ซื้อไว้ทั้งหมดเลยเหรอ?”

 

“ไม่รู้ ตอนนั้นฉันยังเป็นเด็ก ก็ไม่ได้ใส่ใจว่า พ่อใหญ่ไปเจรจาอย่างไร กับใครบ้าง เทศบาลเทพนารา เขาก็ไม่เอาขยะมาทิ้งแล้ว พวกชาวบ้าน ก็ถือโอกาสพากันมาสร้างบ้านเรือนกันยกใหญ่ ที่นิสัยดีก็มี นิสัยไม่ดีก็มี ทะเลาะกันบ่อยๆ พ่อใหญ่ห้ามก็ไม่ได้ ท่านสมภารรัตน์ห้ามก็ไม่ฟัง คนเยอะเรื่องก็เยอะ”

 

“ตอนนั้นมีกี่หลังคาเรือนจ้ะ?”

“ไม่ได้นับหรอก แต่มีเป็นร้อย อีกไม่กี่วันก็เกิดไฟไหม้ ดีนะวันนั้น พวกพ่อแม่พาเด็กๆ ไปงานวันเด็กกัน ก็เลยรอดถูกไฟครอก”

“น่ากลัวจัง! ไหม้หมดทั้งหมู่บ้านเลยเหรอ?”

“เกือบหมด ศาลาวัดก็โดนไปด้วย เหลือบ้านอยู่สักสิบหลังมั๊ง เทศบาลเอาน้ำมาดับทัน ไม่งั้นก็วอดทั้งหมด ตั้งแต่นั้นมา พ่อใหญ่กับท่านสมภารรัตน์ ก็ประชุมกับชาวบ้านที่เหลือ จัดระเบียบของบ้านเรือนเสียใหม่ ว่าใครจะปลูกบ้านของตัวเองอยู่ตรงไหน และจะอยู่กันยังไง เขียนเป็นกฎของหมู่บ้าน แปะไว้ที่กลางถนนกันเลย และก็ยึดถือตามมกันมาจนทุกวันนี้”

 

“แล้วคนที่ยังทะเลาะกันล่ะ ยังอยู่ไหม๊?”

“ไม่อยู่แล้ว หลังไฟไหม้ จำนวนคนก็น้อยลงมากไปกว่าครึ่ง เขาไปอยู่ที่อื่นกันหมด ตั้งแต่มีกฎของหมู่บ้าน พวกคนไม่ดีก็อยู่ไม่ได้”

 

“ถามจริงๆ เถอะ ถ้าลูกของพี่โตไป พี่กับพี่เนียนและลูกๆ ไม่คิดจะออกไปอยู่ข้างนอกกันบ้างเหรอ?”

โสนน้อย ถามเป็นคำถามสุดท้าย ก่อนจะถึงประตูหน้าบ้านของ ลำภู.

“ไม่หรอก ฉันกับเนียนอยู่ที่นี่จนชินแล้ว ที่นี่เราอยู่กันเหมือนญาติ”

 

ที่บ้านของลำภู มีเพื่อนบ้านมารวมกันราว 10 คน. สิงห์ดำ กับ เงาะ ก็อยู่ที่นั่นด้วย. เนียน เจ้าของบ้าน ถือโอกาสแนะนำแขกที่มาชุมชนกัน ให้สมาชิกใหม่รู้จัก.

 

แพงดิน ใบพุทธ รู้จักกันแล้ว. แดนธรรม กับ แดนทอง หนุ่มน้อยสองคน ทำงานอยู่ที่โรงงานของชุมชน. เด็กชายเจตน์ กับ เด็กหญิงเพียงใจ ลูกของคนงานก่อสร้าง ที่มาช่วยงานในชุมชน.

เงาะดำ กับ สิงห์ ก็เลยถือโอกาสพาผู้ชายที่แข็งแรง ช่วยเก็บกวาดบริเวณหลังบ้าน ที่ติดกับลำธารน้ำ ให้ดูโปร่งโล่งสายตา. ยกก้อนหิน ม้าหิน มาจัดวางให้ใหม่. ปล่อยให้พวกเด็กๆ ก็พากันเล่นอีกมุมหนึ่งของบ้าน.

 

แม้จะเป็นงานชุมนุมระดับครอบครัว และบริเวณบ้านที่มีจำกัดอยู่แล้ว ดูคับแคบลง. แต่ก็สร้างความรู้สึกอบอุ่นให้แก่ทุกคน เหมือนงานเลี้ยงต้อนรับญาติ. ช่วงสุดท้ายของงาน เนียน แจ้งข่าวสำคัญให้ทุกคนทราบ.

 

“กรรมการหมู่บ้านประชุมกันเมื่อเย็นวาน ตกลงรับพวกคุณสามคน เป็นสมาชิกใหม่ของชุมชนแล้วนะ”

 

อ่านต่อ ... ตอนที่ 86/105

 

สารบัญ / ตอนที่

ปฐมบท -

แสงแรกของเรื่องราว


ภาคที่ 1: ตามหารัก อุปสรรคไม่ท้อ


บทที่ 1   ต้นเหตุของเรื่องราว

(1) ละครชีวิตแห่งนครวิชัยยศ (ตอนที่ 1/105)
(2) รัก ริษยา อาฆาต อำนาจมัวเมา (ตอนที่ 2/105)
(3) อำลาที่ขมขื่น (ตอนที่ 3/105)

บทที่ 2   สังข์ เอื้อย โสนน้อย

(1) อดีตที่เติบโต (ตอนที่ 4/105)
(2) เพื่อนใหม่ผู้น่าสงสาร (ตอนที่ 5/105)
(3) จินตนาการ นิทาน ความฝัน (ตอนที่ 6/105)

บทที่ 3   วันสังหาร

(1) ชีวิตที่โหยหา (ตอนที่ 7/105)
(2) พินัยกรรมริษยา (ตอนที่ 8/105)
(3) คำสั่งลับ (ตอนที่ 9/105)

บทที่ 4   ชีวิตใหม่กลางภูผา

(1) ภาระใหม่ของนาเคนทร์ (ตอนที่ 10/105)
(2) ความลี้ลับของป่า (ตอนที่ 11/105)
(3) บทเรียนชีวิต (ตอนที่ 12/105)
(4) เวทกล มนตร์สู้ปีศาจ (ตอนที่ 13/105)
(5) ส่งเด็กกลับบ้าน (ตอนที่ 14/105)

บทที่ 5   ภูติร้ายในป่ามรณะ

(1) ประตูมายาแห่งป่า (ตอนที่ 15/105)
(2) ภาพลวงตา (ตอนที่ 16/105)
(3) กลลวงปีศาจ (ตอนที่ 17/105)
(4) หุบผาหมอก (ตอนที่ 18/105)

บทที่ 6   ประตูเวลาที่เรือนปีศาจ

(1) การมาเยือน ของมนุษย์นอกจักรวาล (ตอนที่ 19/105)
(2) ประตูเวลา ของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 20/105)

บทที่ 7   หนอนทะเลทราย

(1) สู่ทะเลทราย (ตอนที่ 21/105)
(2) หนอนยักษ์ มฤตยูใต้ดิน (ตอนที่ 22/105)

บทที่ 8   หลุมดำดูดเวลา และการตามล่าของมนุษย์นอกจักรวาล

(1) หมู่บ้านไร้เวลา (ตอนที่ 23/105)
(2) จุดจบของพวกเอเลี่ยน (ตอนที่ 24/105)

บทที่ 9   พบเพื่อนใหม่

(1) สองพี่น้องชาวเล (ตอนที่ 25/105)
(2) ปริศนาเฒ่าทะเล (ตอนที่ 26/105)
(3) ความลับ (ตอนที่ 27/105)
(4) แผนเดินทาง (ตอนที่ 28/105)
(5) บทเรียนบนเรือรบ (ตอนที่ 29/105)

บทที่ 10    ผจญภัยกลางมหาสมุทร

(1) เขตย้อนเวลา (ตอนที่ 30/105)
(2) บนเรือโจรสลัด (ตอนที่ 31/105)
(3) ผีเสื้อสมุทร และหมึกยักษ์ (ตอนที่ 32/105)
(4) เกาะร้าง (ตอนที่ 33/105)
(5) นิมิตแห่งตำนานสายฟ้าอสูร (ตอนที่ 34/105)

บทที่ 11   ปาฏิหาริย์ของเทพแห่งลิง

(1) อาวุธมีเจ้าของ (ตอนที่ 35/105)
(2) ปาฏิหาริย์ลิงเผือก (ตอนที่ 36/105)
(3) ปริศนาคำทำนาย (ตอนที่ 37/105)
(4) อากาศยานช่วยชีพ (ตอนที่ 38/105)
(5) อวสานเกาะร้าง (ตอนที่ 39/105)

 

ภาคที่ 2: ฝ่าอุปสรรค เพื่อรักและอิสรภาพ


บทที่ 12   นครพันธุรัฐ เมืองคนทาส

(1) เชลย (ตอนที่ 40/105)
(2) ทาสใหม่ (ตอนที่ 41/105)
(3) นายหญิง เจ้าแห่งนครพันธุรัฐ (ตอนที่ 42/105)
(4) สถานภาพใหม่ของสังข์ (ตอนที่ 43/105)
(5) ความลับของนาเคนทร์ (ตอนที่ 44/105)

บทที่ 13   เทคโนโลยีล่องหน

(1) ห้องลับของนายหญิง (ตอนที่ 45/105)
(2) นวัตกรรมการอำพราง (ตอนที่ 46/105)
(3) เสน่ห์แห่งอำนาจ (ตอนที่ 47/105)
(4) ความลับที่ต่อรองกันได้ (ตอนที่ 48/105)

บทที่ 14   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 1)

(1) แผนหลบหนี (ตอนที่ 49/105)
(2) ประตูแห่งอิสรภาพ (ตอนที่ 50/105)
(3) หนี (ตอนที่ 51/105)

บทที่ 15   เส้นทางที่พลัดพราก

(1) หมู่บ้านมนุษย์กินคน (ตอนที่ 52/105)
(2) พลายงาม เพื่อนร่วมทางคนใหม่ (ตอนที่ 53/105)
(3) นางพิม (ตอนที่ 54/105)
(4) เปลี่ยนร่างอำพรางหนี (ตอนที่ 55/105)

บทที่ 16   เมืองกาญจนา

(1) วัดส้ม เมืองกาญจนา (ตอนที่ 56/105)
(2) ธัมมะกับชีวิต (ตอนที่ 57/105)
(3) ไปพบย่าทอง (ตอนที่ 58/105)

บทที่ 17   บ้านของย่าทอง

(1) สายสัมพันธ์ย่าหลาน (ตอนที่ 59/105)
(2) ความสุขในเรือนทอง (ตอนที่ 60/105)
(3) ความสุข ความพอเพียง (ตอนที่ 61/105)

บทที่ 18   วัยรุ่น วัยรัก วัยเรียน

(1) วัยรัก วัยเรียน (ตอนที่ 62/105)
(2) ความรักที่ก่อตัว (ตอนที่ 63/105)
(3) แสงสีแห่งชนบทยามค่ำคืน (ตอนที่ 64/105)
(4) เรื่องวุ่นวาย ของวัยรุ่น (ตอนที่ 65/105)

บทที่ 19   ความรัก ความหวัง ยังไม่สิ้น

(1) เส้นทางรัก โสนน้อย สร้อยมณี (ตอนที่ 66/105)
(2) บวชพลายงาม (ตอนที่ 67/105)
(3) ลางบอกเหตุ (ตอนที่ 68/105)
(4) ทางรัก ทางธรรม (ตอนที่ 69/105)

บทที่ 20   ตามหาเพื่อน

(1) ก้าวใหม่ของ นครพันธุรัฐ (ตอนที่ 70/105)
(2) รหัสสื่อสาร 213 ที่ยังจำกันได้ (ตอนที่ 71/105)
(3) นักบินฝึกหัด (ตอนที่ 72/105)

บทที่ 21   แหกคุกนรก นครพันธุรัฐ (ครั้งที่ 2)

(1) เปิดฉากหนี (ตอนที่ 73/105)
(2) ปิดฉากทาสนรก (ตอนที่ 74/105)

 

ภาคที่ 3:   รักนิรันดร์ ฝันเป็นจริง


บทที่ 22   เดินทางไกล ไปตามฝัน

(1) สิงห์ดำ (ตอนที่ 75/105)
(2) เมืองแห่งความฝัน (ตอนที่ 76/105)

บทที่ 23   นครรัฐเทพนารา

(1) นรกบนเมืองสวรรค์ (ตอนที่ 77/105)
(2) สวรรค์ในเมืองนรก (ตอนที่ 78/105)
(3) บทเรียนของแพรวา (ตอนที่ 79/105)
(4) งานเลี้ยงที่มีวันเลิกลา (ตอนที่ 80/105)

บทที่ 24   ชีวิตใหม่ ใจกลางมหานคร

(1) แดนคนเถื่อน (ตอนที่ 81/105)
(2) เพื่อนรัก (ตอนที่ 82/105)
(3) แดนคนดี (ตอนที่ 83/105)

บทที่ 25   ชีวิตจัดสรร ณ สันติอรุณ

(1) สวรรค์ลิขิต (ตอนที่ 84/105)
(2) ชีวิตจัดสรร (ตอนที่ 85/105)
(3) วิถีชีวิต วิถีชุมชน (ตอนที่ 86/105)
(4) คุณครูมือใหม่ (ตอนที่ 87/105)

บทที่ 26   สัมผัสแรก สัมผัสรัก

(1) เบื้องหลังของหญิงสาว (ตอนที่ 88/105)
(2) ประสบการณ์ที่มีค่า ของรจนารินี (ตอนที่ 89/105)
(3) ของสำคัญ ที่ต้องหาให้เจอ (ตอนที่ 90/105)

บทที่ 27   สังข์ทอง รจนา

(1) คืนร่างเดิม (ตอนที่ 91/105)
(2) ชีวิตใหม่ (ตอนที่ 92/105)
(3) ความหลัง ความรัก (ตอนที่ 93/105)

บทที่ 28   วิกฤตของนครรัฐ

(1) ปัญหาที่ยังตีบตัน (ตอนที่ 94/105)
(2) ตามหาคำตอบ (ตอนที่ 95/105)
(3) นักเล่านิทาน (ตอนที่ 96/105)

บทที่ 29   กู้วิกฤต

(1) สันติอรุณโมเดล (ตอนที่ 97/105)
(2) แผนกู้วิกฤต (ตอนที่ 98/105)
(3) วิกฤตรัก (ตอนที่ 99/105)

บทที่ 30   ฝันที่เป็นจริง

(1) แต่งกับงาน (ตอนที่ 100/105)
(2) การสังหารท่านผู้นำ (ตอนที่ 101/105)
(3) อำนาจใหม่ (ตอนที่ 102/105)
(4) พ่อแม่บุญธรรม (ตอนที่ 103/105)
(5) ฝันเป็นจริง (ตอนที่ 104/105)

 

ปัจฉิมบท -
งานเลี้ยง ย่อมมีวันเลิกลา (ตอนที่ 105/105 ปัจฉิมบท)

 

เพลง ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
เฝ้าใฝ่ฝัน ขอให้เป็นจริง
ความรัก ความกตัญญู เหนือกว่าทุกสิ่ง
แนบอกแม่อิง อุ่น ไอ รัก

ฝ่าอันตราย สิ่งเลวร้ายนานา
สู้อาสา แม้ยากยิ่งนัก
ความโหดร้าย ริษยา อ่อนล้าเหนื่อยหนัก
ต้องกล้าหาญหัก อุปสรรค สู้ทน

ภูติป่า อสูรร้าย เหตุการณ์ท้าทายให้สู้
ต้องยืนหยัดอยู่ กอบกู้ หมู่ประชาชน
เพื่อแม่ เพื่อรัก เพื่อความภักดี ต้องทน
ข้าขอผจญ มารร้าย พ่ายแพ้ไป

ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์
คืนฝันวันหวัง ยังอยู่ในใจ
ความรัก ความหวัง คือพลังยิ่งใหญ่
โอ้แม่จ๋า แม่อยู่ไหน ลูกเหนื่อยเหลือเกิน.


 

focused thinking

หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 


igood media copyright
 SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net