igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียน นิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

 

บทที่ 7
ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง

 

 

TOPIC

ปรากฎการณ์ร่วม พุทธศาสน์ – วิทยาศาสตร์
สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์ - พุทธศาสน์

[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]

 

สัตตะธัมมะธาตุ (The 7-Element) เป็นทฤษฎีเดียว ที่อธิบายทุกสรรพสิ่ง เพราะสรรพสิ่งได้ถูกจัดเข้าไปอยู่ในลักษณะ – สมบัติของ ธัมมะธาตุทั้ง 7 ข้อ ซึ่งรวมเอาศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ และพุทธศาสน์ เข้าไว้ด้วยกัน. ด้านวิทยาศาสตร์ จะศึกษาส่วนที่เป็นวัตถุธาตุเท่านั้น, ด้านพุทธศาสน์ จะศึกษาส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ เพียงเล็กน้อย แต่จะศึกษาส่วนที่เป็นจิตธาตุ เป็นส่วนใหญ่.

ซึ่งอันที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้า ได้กล่าวเกี่ยวกับ วัตถุธาตุ ไว้แค่ ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม. ต่อมาภายหลัง นักวิทยาศาสตร์ พยายามศึกษาความจริง และสร้างกฎทางฟิสกส์ไว้มากมาย ซึ่งพอจะจำแนกออกได้เป็น 3 หมวด คือ กลศาสตร์ (กลศาสตร์ของนิวตัน กลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์สัมพัทธภาพ) สัมพัทธภาพ (สัมพัทธภาพคลาสสิก ของกาลิเลโอ สัมพัทธภาพพิเศษ สัมพัทธภาพทั่วไป) และ อุณหพลศาสตร์ ว่าด้วยเรื่อง พลังงานและความร้อน. กฎทางฟิสิกส์ทั้งสามหมวด ก็คือคำอธิบาย ดิน น้ำ ไฟ ลม ในความหมายและนิยาม ของพระพุทธเจ้า นั่นเอง.

 

ดังนั้น จุดร่วมในการอธิบายสรรพสิ่ง จึงมีเพียงเรื่องของวัตถุธาตุเท่านั้น. เมื่อนำหลักทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ มาเชื่อมกับหลักธรรมทางพุทธศาสน์ ก็จะมองเห็นความสัมบูรณ์ ของทุกปรากฎการณ์. นี่คือทฤษฎีเดียว (สัตตะธัมมะธาตุ) ที่อธิบายทุกสรรพสิ่ง.

 

 

7.1
ปรากฎการณ์ร่วม พุทธศาสน์
– วิทยาศาสตร์

 

7.1.1
กลศาสตร์ควอนตัม กับ กฎแห่งกรรมของมนุษย์

 

ในภาพรวมของธัมมะธาตุทั้งหมด จะมีลักษณะ – สมบัติ 7 ข้อ คอยควบคุมไว้ (สัตตะธัมมะธาตุ). แต่เมื่อมองลึกเข้าไป ในระดับอนุภาค, กลศาสตร์ควอนตัม ได้กำหนดให้อนุภาคทุกตัว ต้องมีสมบัติมูลฐานอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตำแหน่ง และ ความเร็ว (การเคลื่อน หรือการหมุน) เพื่อบอกสถานะตัวตนที่มีอยู่จริงของอนุภาค. สัตว์บุคคล ก็เช่นกัน มีกฎแห่งกรรมคอยควบคุมอยู่. กฎแห่งกรรม กำหนดให้มนุษย์ สัตว์ บุคคล ต้องมีสมบัติมูลฐานอย่างน้อย 3 ข้อ คือ เวลา ตำแหน่งพิกัด และ เหตุการณ์ (กรรม). สมบัติมูลฐานสามสิ่งนี้ ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งไป ก็ไม่อาจยืนยัน สถานะตัวตนของบุคคลนั้นได้.

 

(1) พฤติการณ์ของอนุภาคสสาร ที่มีต่อ “ตำแหน่ง – ความเร็ว”

 

ความเล็ก ละเอียด ของอนุภาคมูลฐาน (ควาร์ก นิวตรอน โปรตรอน อิเล็กตรอน) และ จิตวิญญาณ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นสิ่งที่เล็กเกินกว่าจะมีเครื่องมือใดๆ ตรวจจับและมองเห็นได้. แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งจิตวิญญาณ และอนุภาค ก็ยังไม่มีมนุษย์ผู้ใด เห็นรูปร่างตัวตนที่แท้จริง ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม. มนุษย์จึงต้องอาศัยจินตนาการเท่านั้น ที่จะวาดภาพมันขึ้นมาในสมอง. โปรดเข้าใจก่อนว่า กลศาสตร์ควอนตัม อนุญาตให้อนุภาคสสารทุกตัว มีคุณสมบัติมูลฐาน ได้เพียง 2 ข้อ คือ ตำแหน่ง กับ ความเร็ว.

 

หลักแห่งความไม่แน่นอน ของไฮน์เซนเบิร์ก กล่าวไว้ว่า เราไม่สามารถวัด ตำแหน่ง กับ ความเร็ว (โมเมนตัม | สปิน) ของอนุภาคสสาร ในสภาวะล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ ในเวลาเดียวกัน. ยิ่งเรารู้ถึงคุณสมบัติ ข้อใดข้อหนึ่งอย่างละเอียด ก็ยิ่งทำนาย คุณสมบัติอีกข้อหนึ่ง ได้ยากยิ่งขึ้น.

 

หลักแห่งความไม่แน่นอน ของไฮน์เซนเบิร์ก ถือเป็นสมบัติมูลฐานของธรรมชาติ. ความเร็ว หมายถึง โมเมนตัมของอนุภาคโฟตอน หรือรังสีเอ็กซ์ ซึ่งถูกปล่อยออกมาเป็นห้วงๆ ด้วยอัตราความเร็วขนาดหนึ่ง. และการสปินของอนุภาค ทำให้ตำแหน่งของมัน เปลี่ยนไปทุกครั้ง. ตามหลักความไม่แน่นอน เราไม่สารมารถระบุได้ว่า อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียส อยู่ในตำแหน่งใดได้แน่นอน.

ปัญหาที่ติดตามมากับอนุภาค คือ ตำแหน่งและความเร็วของมัน สำหรับอนุภาคเกิน 2 ตัว ที่อยู่ใกล้ๆ กัน มันประพฤติตัวต่อกันอย่างไร. ตามหลักการกีดกันของเพาลี (Pauli's exclusion principle) ในปี ค.ศ. 1925 โดย โวล์ฟกัง เพาลี (Wolfgang Pauli: 1900-1958 A.D.) กล่าวไว้ว่า อนุภาคที่เหมือนกัน 2 ตัว ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ในสถานะเดียวกัน นั่นคือ พวกมันไม่สามารถมีทั้ง ตำแหน่งเดียวกัน และความเร็วเดียวกัน ภายในช่วงค่าที่ยินยอม โดยหลักความไม่แน่นอนได้.

 

ถ้าอนุภาคสสาร 'เกือบจะ' อยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันแล้ว พวกมันจะต้องมีความเร็วต่างกัน ซึ่งหมายความว่า มันจะไม่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน 'ต่อไปนานนัก'.

 

สังเกตว่า หลักแห่งความไม่แน่นอน กับ หลักการกีดกันของเพาลี จะมีห้วงเวลาที่เป็น 'ช่องว่าง' อยู่ขนาดหนึ่งซึ่งเล็กน้อยมาก. แต่ไม่เล็กเกินกว่า 10 -43(ยกกำลัง -43) วินาที ตาม กฎความยาว พื้นที่ และเวลาของแพลงก์-วีลเลอร์. กฎนี้ให้เหตุผลว่า ถ้าเหตุการณ์สองเหตุการณ์ เกิดขึ้นแยกจากกันในช่วงเวลาที่สั้นกว่านี้ เราจะบอกไม่ได้ว่า สิ่งใดเกิดก่อน สิ่งใดเกิดหลัง. ช่องว่างแคบๆ ของห้วงเวลา จะมีพลังอย่างยิ่งยวด คอยผลักอนุภาค ให้รีบสลับตำแหน่งกัน หรือรีบสลับความเร็วกัน ในทันที.

 

(2) พฤติการณ์ของมนุษย์ ที่กระทำต่อ “เวลา – ตำแหน่งพิกัด – เหตุการณ์” ของแต่ละบุคคล.

 

มนุษย์ทุกคน มีสมบัติมูลฐาน 3 ประการ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด คือ เวลา ตำแหน่งพิกัด และ เหตุการณ์ (กรรม). มนุษย์ทุกคน มีนาฬิกาเวลาเป็นของตัวเอง. เวลา หมายถึง เวลาที่เป็นตัวเลขจำนวน นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี, เวลาที่เป็นตำแหน่งพิกัด นาฬิกา เช่น 08.00 น. และเวลาที่เป็นกาลอดีต ปัจจุบัน อนาคต. ตำแหน่งพิกัด เช่น จุด ตำแหน่ง ที่ยืน ที่นั่ง ที่เดิน ที่นอน ที่ตาย. เหตุการณ์ของแต่ละคน ก็คือ กรรม ที่เกิดจากการกระทำของบุคคลผู้นั้น.

การที่มนุษย์คนหนึ่ง จะมีเวลาของตัวเอง ตำแหน่งพิกัดของตัวเอง และเหตุการณ์ (กรรม) ของตัวเอง ซ้ำแบบเดิม เป็นสิ่งที่เป็นได้ยากมาก. เพราะบุคคลผู้นั้น จะมีการเคลื่อนทางกาย ขณะที่เวลาเคลื่อนไป (เช่น การหายใจ การเดิน การทำการงาน). ถ้าเวลาเคลื่อนไป และบุคคลคนนั้น จะมีตำแหน่งหยุดนิ่ง ได้กรณีเดียว คือ บุคคลนั้นตายแล้ว. มนุษย์ทุกคน มีกรรม หรือมีการกระทำ เป็นเหตุการณ์ของตนเอง ในขณะที่เวลาของแต่ละคนเคลื่อนไป.

 

คุณสมบัติมูลฐานในความเป็นมนุษย์นั้น ไม่มีความเที่ยงแท้เลย ทั้งเวลา ตำแหน่ง และเหตุการณ์ของแต่ละคน. “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (อนิจฺจ) สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน (อธุว) สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ (อนสฺสาสิก).”  (บาลี - สตฺตก. อํ. 23/102/63.) เพราะเมื่อเวลาผ่านไปแค่วินาทีเดียว ทุกอย่างก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว. นี่คือ หลักแห่งความไม่แน่นอนข้อที่หนึ่ง ที่ติดตัวมากับมนุษย์ทุกคน.

 

บุคคลเพียงคนเดียว จะกระทำซ้ำในเวลา ตำแหน่ง และเหตุการณ์ ของตัวเอง เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากอยู่แล้ว แต่จะยากยิ่งขึ้นไปอีก หรือเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าจะให้คนสองคน มีเวลา ตำแหน่งพิกัด และเหตุการณ์ ที่เหมือนกันและพร้อมกัน. เช่น ถ้าคนหนึ่ง ยืนอยู่ ณ ตำแหน่งหนึ่ง ในเวลาหนึ่ง และกระทำเหตุการณ์หนึ่ง จะไม่มีบุคคลที่สอง ที่สามารถยืนอยู่ ณ ตำแหน่ง เวลา เดียวกันกับ บุคคลที่หนึ่ง. นี่คือ หลักแห่งการกีดกันที่ใช้กับมนุษย์ แบบเดียวกับหลักแห่งการกีดกันของเพาลี ซึ่งใช้อธิบายในอนุภาคสสาร ที่มันบังเอิญมีตำแหน่ง หรือมีโมเมนตัมเดียวกัน.

คุณสมบัติมูลฐานที่เป็น เวลา ตำแหน่งพิกัด และ เหตุการณ์ ของมนุษย์แต่ละคน มีผลกระทบต่อกัน 2 เรื่อง คือ การซ้อนทับกันในมิติกาลเวลา และ การไม่ส่งผลของเหตุการณ์ไปยังอีกคนหนึ่ง. [ เท่ากับว่า กรรม (ดี-เลว, บาป-บุญ ของแต่ละคน ไม่อาจแบ่งให้แก่กันได้ - หลักการของพุทธศาสน์ ]

 

(ก) การซ้อนทับกันในมิติของเวลา

 

มนุษย์ทุกคน จะมีตำแหน่งพิกัด และเหตุการณ์ ซ้อนทับกันได้ ในมิติของกาลเวลา (อดีต ปัจจุบัน อนาคต). เช่น คนเดินสวนกันไปมาในบ้าน หรือในห้างสรรพสินค้า ซึ่งอาจยืนในตำแหน่งใกล้เคียงกัน หรือในตำแหน่งเดียวกัน (แม้จะเป็นไปได้ยาก แต่ก็มีความเป็นไปได้) แต่ต่างเวลากัน หรือ บุคคลสองคน อาจกระทำกรรม (เหตุการณ์) เดียวกัน ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน หรือในตำแหน่งเดียวกัน (แม้จะเป็นไปได้ยาก แต่ก็มีความเป็นไปได้) แต่ต่างเวลากัน.

ปรากฎการณ์เช่นนี้ เรียกว่า การซ้อนทับกันของ มิติที่ 4 (เวลา - อดีต ปัจจุบัน อนาคต) ของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป. ความเป็นจริง มนุษย์ไม่ได้เกิดมาในภพชาตินี้ เพียงครั้งเดียว แต่เคยเกิดมา และมีความสัมพันธ์ต่อกันมา หลายครั้ง, นั่นคือการมีภพชาติในอดีต ที่มีตำแหน่ง และเหตุการณ์ ซ้อนทับกันกับภพชาติในปัจจุบัน.

 

เหตุการณ์ที่เรียกว่า กรรม สุข ทุกข์ ที่มนุษย์แต่ละคนกระทำ และได้ประสบมาแล้ว ก็คือ การซ้อนทับกันของมิติกาลอวกาศ ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของบุคคลนั้นเองด้วย และ ซ้อนทับกับบุคคลอื่นด้วย. ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ภพชาติการเกิดของมนุษย์ จะวนเวียนอยู่ในภพ นรก เดรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา นับจำนวนเป็น อนันต์ครั้ง. จึงมีความเป็นไปได้ว่า จะมีการซ้อนทับกันของมิติเวลาทั้งสามกาล.

 

ตถาคต บอกเล่าเรื่องภพชาติอันยาวนานนี้ว่า “สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฎ ... สัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นมารดา, สัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นบิดา, สัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นพี่ชายน้องชาย, สัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นพี่สาวน้องสาว, สัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นบุตร, สัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นธิดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย.”  (บาลี - นิทาน. สํ. 16/221/443.)

 

และปรากฎการณ์ซ้อนทับกัน ของมิติเวลาทั้งสามกาลนี้ ก็หาความแน่นอนไม่ได้ เหตุเพราะ 'สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้' นั่นเอง ทำให้การได้ร่างใหม่ (อัตภาพ) มีความไม่แน่นอน เช่นกัน. นี่คือ หลักแห่งความไม่แน่นอนข้อที่สอง ที่ติดตัวมากับมนุษย์ทุกคน. หรืออาจกล่าวว่า หลักแห่งความไม่แน่นอน คือกรรมเก่าของมนุษย์ทุกคน “ ... เปรียบเหมือนท่อนไม้ อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด, สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ... ”  (บาลี - นิทาน. สํ. 16/219/438.)

 

หลักการกีดกันของเพาลี ไม่อนุญาตให้อนุภาคสองตัว มีตำแหน่งและเวลาเดียวกัน. หลักการนี้ใช้ได้กับสัตว์จำพวกมนุษย์ และสัตว์จำพวกเดรัจฉานเท่านั้น แต่ไม่ใช่สามารถใช้ได้กับ สัตว์จำพวกเทวดา. เพราะเหตุที่เทวดาเป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่ต้องมีร่างแบบฟิสิกส์อาศัย ดังนั้น จิตของเทวดาจึงอยู่ซ้อนทับกัน ในตำแหน่งและเวลาเดียวกันได้. แต่ทั้งสัตว์จำพวกมนุษย์และเทวดา ต่างก็มีคุณสมบัติมูลฐานเดียวกัน ตำแหน่ง เวลา และเหตุการณ์ หรือกรรม เป็นของตนเอง. ดังนั้น พวกเทวดาตั้งแต่สององค์ขึ้นไป จะอยู่ซ้อนทับกันได้ ในตำแหน่งและเวลาเดียวกัน แต่จะไม่มีเหตุการณ์ หรือกรรมที่เป็นของตนเอง ซ้อนทับกัน (เหมือนกัน) ได้เลย. มนุษย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปจะมี ตำแหน่ง เวลา เหตุการณ์ ที่เหมือนกันหรือซ้อนทับกัน ไม่ได้เลย แม้แต่ข้อเดียว.

 

(ข) การไม่ส่งผลของเหตุการณ์ของคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่ง

 

เวลา ตำแหน่งพิกัด และ เหตุการณ์ ของมนุษย์ผู้หนึ่ง จะไม่สามารถส่งผลแห่งการกระทำ ตำแหน่ง และเวลา ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง. เช่น พ่อแม่เป็นโจร ลูกก็เป็นโจร แต่เมื่อถูกตำรวจจับ อาจได้รับโทษไม่เท่ากัน หรือ พ่อแม่เป็นโจรมาสิบปี ลูกก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโจรสิบปีเท่ากัน. ผลแห่งการกระทำ (เหตุการณ์) ในเวลา ในตำแหน่ง ของบุคคลคนนั้น ก็ย่อมเป็นของบุคคลผู้นั้น.

ข้อนี้ตรงกับหลักแห่งกรรม ที่ตถาคตกำหนดไว้ “กมฺมสฺสโกมฺหิ (กรรมเป็นของตน) กมฺมทายาโท (กรรมเป็นทายาท) กมฺมโยนิ (กรรมเป็นแดนเกิด) กมฺมพนฺธุ (กรรมเป็นเผ่าพันธุ์) กมฺมปฏิสรโณ (กรรมเป็นที่พึ่ง).”  (พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 24. หน้า 92.)

 

เกี่ยวกับเรื่องกรรม ตถาคต ได้แบ่ง กรรม ออกเป็น 5 ประเภท คือ

(1) นิทานสัมภวะกรรม คือ ผัสสะ (การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ).

(2) เวมัตตตากรรม คือ กรรมที่ทำให้สัตว์ทุกผู้ ต้องดิ้นรน แสวงหา ปกป้องภัย (เสวยเวทนา) ในภพชาติต่างๆ ที่เกิด ทั้งในนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์โลก และแม้กระทั่ง เทวโลก. หมายความว่า ทุกชีวิตเกิดมา ก็เพราะ มีกรรมเป็นเหตุ และมีกรรมเป็นผล.

(3) วิบากกรรม (ผลแห่งการกระทำ) คือ ผล (ทั้งในทางดี และทางร้าย) ที่ให้ผลในทันที ในเวลาต่อมา และในเวลาต่อมาอีก.

(4) กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) คือ การตัดวงจร ผัสสะ ในปฏิจจสมุปบาท.

(5) กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) คือ การปฏิบัติ อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ. (บาลี - ฉกฺก. อํ. 22/458/334.)

 

กรรม ข้อ (1) กับ (2) คือสาเหตุที่ทำให้ ตำแหน่งพิกัด และเหตุการณ์ของแต่ละคน เกิดการซ้อนทับกันในมิติเวลาทั้งสามกาล. กรรม ข้อ (3) จะไม่ทำให้ เหตุการณ์ของมนุษย์แต่ละคน ส่งผลแก่กัน. กรรม ข้อ (4) กับ (5) คือ วิธีแก้กรรม ดับกรรม ที่สัตว์จะต้องไม่รับผลของกรรมอีกต่อไป.

น่าสังเกตว่า การแก้กรรมของชาวพุทธ ที่กระทำตามวิธีที่แตกต่างจาก ข้อ (4) ข้อ (5) นั้น เป็นเรื่องเหลวใหล. การไม่ส่งผลของเหตุการณ์ของคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่ง สอดคล้องกับหลักความจริงว่า กรรม (การกระทำ) และ วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) นั้น เป็นเอกสิทธิ์ส่วนบุคคล จะโอนหรือแบ่งส่วนให้แก่ผู้อื่นไม่ได้ ... “เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำดีก็ตามทำชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.”  (บาลี - พระพุทธภาษิต ทสก. อํ. 24/91/48.)

 

 

7.1.2
ความจริงแท้ กับ ความจริงสมมุติ

 

(1) ภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์ 'ปัญญาประดิษฐ์' – ภูมิปัญญาพุทธศาสน์ 'ประดิษฐ์ปัญญา'

 

ความจริงแท้ (absolute) และ ความจริงสมมุติ (assuming) เป็นปรากฎการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นในเอกภพ ได้ถูกบรรยายไว้โดยละเอียดใน สัตตะธัมมะธาตุ และ กฎมูลฐานของธรรมชาติ.

 

นักวิทยาศาสตร์ มุ่งค้นหาความจริงทางธรรมชาติ แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็น ความจริงสมมุติ ด้านวัตถุธาตุด้านเดียว. ทำให้พวกเขา ไม่อาจเข้าถึงความจริงสัมบูรณ์ได้เลย. วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดยุคเฟื่องฟู ของปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนอง ปัญหาและความต้องการของมนุษย์ ได้จบสิ้นไปได้.

ยิ่งวิทยาศาสตร์ก้าวล้ำไปมากเท่าใด ปัญหาของมนุษย์ก็ยิ่งเพิ่มทวีขึ้น, ทั้งนี้เป็นผลมาจาก ความไม่รู้จริง ในธรรมชาติของ จิตวิญญาณของมนุษย์. พุทธศาสน์ มองปัญหาและความต้องการของมนุษย์ ได้ถึงระดับรากเหง้า. แต่ด้วยภูมิปัญญาอันมีจำกัดของมนุษย์ ทำให้เข้าใจ เข้าถึง ทางหลุดพ้นของปัญหา และความต้องการของตนเอง เป็นไปได้ค่อนข้างยาก.

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็นผู้พบทางออกนี้ และได้บัญญัติเหตุของปัญหา ความหมดสิ้นไปของปัญหา และวิธีเข้าถึงความหมดสิ้นไปของปัญหา (อริยสัจสี่) เมื่อกว่า 2,500 ปีที่ผ่านมา. เท่ากับเป็นการ “ประดิษฐ์ปัญญา” (Procreate Intelligence: PI) ให้เป็นพุทธวจน (Bhudda's Words) มอบไว้ให้แก่มนุษยชาติ โดยไม่เลือกชนชาติ เผ่าพันธุ์ วรรณะ.

 

การค้นพบความจริงในครั้งนั้น ก็ยังเป็นความจริงในปัจจุบัน และจะยังคงเป็นความจริงต่อไปในอนาคต. กล่าวได้ว่า นี่คือ นิเทศศาสตร์นวัตกรรม (Innovation Communication) โดยแท้.

 

คำว่า “ประดิษฐ์ปัญญา” (Procreate Intelligence: PI) เป็นนามบัญญัติ ที่ผู้เขียนล้อคำว่า ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเสนอว่า ยังมีปัญญาอีกด้านหนึ่ง คือ ปัญญาพุทธศาสน์ ว่ามีความแตกต่างกับ ปัญญาด้านวิทยาศาสตร์อย่างไร. ปัญญาด้านพุทธศาสน์ คือการเรียนรู้คุณสมบัติ อาการ และผลสืบเนื่อง ของจิตวิญญาณโดยตรง, เรียนรู้ภาวะความมีอยู่ ความเป็นไปของสัตว์แบบโลก (สัตว์เดรัจฉาน) มนุษย์แบบโลก (มนุษย์) และสัตว์ที่ไม่ใช่แบบโลก (สัตว์นรก) มนุษย์ที่ไม่ใช่แบบโลก (เทวดา) ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ที่ไม่ใช่แบบโลก (เปรต อสูร โอปปาติกะ). เรื่องเกี่ยวกับ จิตวิญญาณ และชีวิตที่ไม่ใช่แบบโลก หรือแบบที่วิทยาศาสตร์เข้าใจ เป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง เป็นความรู้ ความจริงด้านนามธรรม ซึ่งบางครั้ง อธิบายด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ไม่ได้ แต่พิสูจน์ได้ด้วย เหตุผล ของ หลักอิทัปปจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท การอุปมา ตามหลัก สังขตลักษณะ หรือหลักความจริงประจักษ์ ที่เกิดปรากฎ และ การจินตนาการ ด้วย โยนิโสมนสิการ ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ หรือ อริยสัจ-4.

 

ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence – AI) มาจากคำว่า artificial แปลว่า เทียม, intelligence แปลว่า ฉลาด หรือ ปัญญา. มนุษย์จะมีปัญญา ก็ต่อเมื่อมีสมองเป็นเครื่องอาศัย, แต่ ถ้าจะให้จักรกล มีปัญญาแบบมนุษย์ (ปัญญาเทียม) จะต้องมีวัตถุอาศัย ซึ่งก็คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์. กล่าวได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ เป็นวิทยาการล้ำสมัย ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ ทำงาน หรือคิดได้ใกล้เคียงกับมนุษย์. ปัญญาประดิษฐ์ เกี่ยวข้องกับการวิจัยหลายเรื่อง เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system), ฐานความรู้ (knowledge base), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning), การประมวลภาษาธรรมชาติ (natural language processing), การรู้จำจดจำรูปแบบ (pattern recognition), วิทยาการหุ่นยนต์ (robotics).

 

 

การศึกษาเรียนรู้ พุทธศาสน์ ต้องอาศัย เหตุผล (อิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท) เพื่อนเรียนรู้อารมณ์.

การศึกษาเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ต้องอาศัย เหตุผล และการพิสูจน์หลักฐาน.

การศึกษาเรียนรู้ ฟิสิกส์ – จักรวาล ต้องอาศัย เหตุผล ร่วมกับ จินตนาการ.

 

 

ปัญญาประดิษฐ์ จึงผูกติดกับเทคโนโลยี อย่างแยกกันไม่ออก เป็นการใช้ปัญญา ความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ให้แก่มนุษย์ เช่น ปัญหาความเสื่อมของร่างกาย ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อน การขัดข้องของระบบต่างๆ ตลอดจนอำนวยความสะดวก หรือตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น การควบคุมเครื่องจักรกล.

ปัญญาประดิษฐ์ เป็นปัญญาทางด้านวิทยาศาสตร์ มีพัฒนาการที่ไม่อาจหาจุดสิ้นสุดได้ เพราะ สิ่งที่อยากรู้ มีลักษณะของการปรุงแต่ง ตลอดเวลา คือ การเกิด เสื่อม แปรปรวน ดับสลาย ต่อเนื่องนิรันดร์. ส่วน ปัญญาพุทธศาสน์ (อนุศาสนีย์) มาจากการหยั่งรู้ (ตรัสรู้) ของสรรพัญญูบุคคล คือ ตถาคต. พระองค์รู้สิ่งใดแล้ว ก็บัญญัตติสิ่งนั้นเป็นศาสนา มีคุณลักษณะสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องมีการปรุงแต่งใดๆ อีก. เป็นความจริงสัมบูรณ์ ที่ไม่ต้องประดิษฐ์ ไม่ต้องสร้างใหม่ ไม่ต้องแก้ไข ตัดต่อ แต่งเติม.

 

ปัญญาพุทธศาสน์ ประกอบด้วย คุณลักษณะเฉพาะ 3 กับคุณสมบัติเฉพาะ 3 ประการ คือ.

สังขารทั้งหลาย (สรรพสิ่ง) ไม่เที่ยง (สัพเพ สังขารา อนิจจา),
สังขารทั้งหลาย ไม่อาจทนสภาพเดิมอยู่ได้ตลอดไป (สัพเพ สังขารา ทุกขา),
ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน (สัพเพ ธัมมา อนัตตา).


ดั้งนั้น สิ่งนั้นๆ ...
นั่นไม่ใช่ ของเรา (เนตัง มะมะ)
นั่นไม่ใช่ เป็นเรา (เนโสหมัสมิ)
นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา (น เมโสอัตตา).

 

ดังนั้น ความรู้ใดๆ ที่มีในโลกนี้ ซึ่งเรียกว่า 'ความรู้ ในความรู้' และความรู้เหล่านั้น ถูกค้นพบโดยมนุษย์ (นักวิทยาศาสตร์ พระพุทธเจ้า), ถ้าเป็นสิ่งที่อธิบายได้ มีเหตุผล มีทฤษฎีรับรอง ความรู้นั้น ก็คือ ความจริง อย่างน้อยก็ระดับ 'ความจริง ในความรู้' (ความรู้นั้น จริง ไม่ผิด), นั่นคือความรู้ ความจริง แบบวิทยาศาสตร์. ส่วนความจริงระดับ 'ความจริง ในความจริง' (ความจริงแท้) เป็นความจริงแบบพุทธศาสน์. ความจริงแท้ จะปรากฎขึ้นมาได้ ต้องผ่านการสร้าง 'ความรู้ ในความจริง' มาก่อน (ความจริงนั้น มีจริง แต่อาจจะยังไม่รู้).

 

ตถาคต กล่าวว่า ความรู้และความจริงใด ที่ไม่ก่อประโยชน์ ไม่พาคนพ้นทุกข์ได้จริง และไม่ใช่คำพูดของพระองค์ จัดเป็นเรื่อง “นอกแนว

 

เหตุที่ ตถาคต ไม่บัญญัติความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ให้ศาสน์ของพระองค์ เพราะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องของวัตถุธาตุเท่านั้น แม้ว่าจะช่วย “บรรเทา” ความแก่ ความเจ็บ ได้บ้าง แต่ก็ไม่อาจรอดพ้นจากความตายได้เลย. ดังนั้น ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการพิสูจน์ความจริงด้านวัตถุธาตุ ซึ่งต้องใช้วิธีการนำเสนอให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ตรวจสอบได้ มีมาตรวัดที่แน่นอน เชื่อถือ จับต้องได้ มีความเที่ยงตรง (validity) และ มีความเชื่อมั่น (reliability).

นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่อง “นอกแนว” เสียทั้งหมด แม้จะเป็นความจริงแท้ด้านวัตถุ เพียงด้านเดียวก็ตาม. ตถาคต ยอมรับในหลักสังขตลักษณะว่า เป็นความจริงที่มีอยู่แล้วเช่นนั้นเอง ตามธรรมชาติ เช่น มหาภูตรูป (ดิน น้ำ ไฟ ลม) ก็คือความจริงแท้ของด้านวัตถุธาตุนั่นเอง.

 

 

ต้องการศึกษาแก่นแท้ของพุทธศาสน์

ขั้นแรก “ปิดธรรมที่ปลอมปน” คือ การแยก สิ่งปลอมปน (สาวกภาษิต) ออกไป, และเมื่อแยกสิ่งปลอมปน ออกไปได้มากสุดเท่าใด ก็จะปรากฎ ความจริงแท้ (พุทธวจน หรือ ตถาคตภาษิต) ได้ชัดเจน มากเท่านั้น.

ขั้นต่อไป “เปิดธรรมที่ถูกปิด” คือ การเชื่อมโยงพระสูตรต่างๆ ที่เป็น พุทธวจน ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

 

 

(2) เรียนรู้ความจริงสมมุติ เพื่อเข้าถึงความจริงแท้ ผ่านคำพูดของพระศาสดา

 

ในแผ่นสีเทา ย่อมเห็นสีดำ ได้ง่ายกว่าสีขาว ฉันใด, ความเลว ย่อมเห็นง่ายกว่า ความดี ก็ฉันนั้น. การปรากฎของ ความเท็จ จะทำให้การเข้าถึง ความจริง เป็นเรื่องง่ายขึ้น. หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ถ้ากำจัดความเท็จ ออกไปได้มากเท่าใด ความจริงย่อมปรากฎชัดขึ้น โดยไม่ต้องไปเสียเวลา ค้นหาความจริงเลยก็ได้.

เพราะ ความเท็จ ความเลว หรือ สีดำ โดยธรรมชาติ มันจะแสดงตัวตน ให้เห็นเด่นชัดอยู่แล้ว. หลักการเดียวกันนี้, เราสามารถเรียนรู้ เข้าถึง และสัมผัส สิ่งสมมุติ หรือ ของปลอมเหล่านั้น (สังขตลักษณะ) ได้ดีเพียงใด ก็ต่อเมื่อเราได้เรียนรู้ความจริงของ ของปลอม ได้ลึกซึ้งเท่านั้น. และความจริงแท้ (อสังขตลักษณะ) ก็จะปรากฎให้เห็นเองในที่สุด.

 

การทำให้สิ่งหนึ่งจริง อีกสิ่งหนึ่งต้องไม่จริง จะเห็นได้ง่ายกว่า การทำสองสิ่ง ซึ่งเป็นจริงทั้งคู่ ให้ปรากฎ เพราะมองไม่เห็นความแตกต่าง.

 

อุปมาเหมือนการศึกษาและปฏิบัติให้เข้าถึง แก่นแท้พุทธศาสน์, มิใช่ การแสวงหาตัวตนของ นิพพาน หรือ มุ่งปฏิบัติเพื่อให้ได้ นิพพาน โดยเร็ว. แต่การเรียนรู้ และการกำจัด อวิชชา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งบดบัง นิพพาน ออกไปนั่นต่างหาก ที่จะทำให้มองเห็นนิพพานได้ง่าย และชัดเจนกว่า.

 

หลักทฤษฎีพื้นฐาน อันเป็นเครื่องมือ ในการศึกษาเรียนรู้ความจริง ของตถาคต มีเพียง 3 กลุ่ม คือ

(1) กลุ่มอิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท – อริยสัจสี่,
(2) กลุ่มสังขตลักษณะ – ธรรมนิยาม และ
(3) อสังขตลักษณะ.

 

ผู้ศึกษาจะต้องเรียนรู้ว่า ตถาคต นำหลักทฤษฎีเหล่านี้ มาอธิบายให้สอดคล้อง สัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อให้มองเห็นวิธีกำจัด อวิชชา สังขาร วิญญาณ ได้ถูกตัวถูกตน ไม่เกิดความผิดพลาด.

ปัจจัยการเกิดของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ มีอยู่มากมายและซับซ้อน ยากที่จะกำจัดให้หมดไปได้ง่ายๆ ต้องใช้ปัญญา สมาธิ ในการแยกแยะ ลักษณะ คุณสมบัติ และอาการ ของอวิชชา สังขาร วิญญาณ ออกเป็นส่วนๆ ให้ชัดเจน เพื่อกำจัดทำลาย ในส่วนที่ต้องกำจัดทำลาย (ไม่ใช่กำจัดทำลายทั้งหมด).

 

 

เมื่อขจัด อวิชชา ความมืดบอดทาง ปัญญา ก็ค่อยๆ สลายไป.
เมื่อขจัด ตัณหา อุปาทาน ออกจาก ศีล และ
เมื่อขจัด นันทิ ราคะ ออกจาก สมาธิ, สิ่งกีดขวางเหล่านี้ จะถูกกำจัดออกไป.

นิพพาน ซึ่งถูกบดบังอยู่ ก็ย่อมปรากฎ.

 

 

การบัญญัติ ความจริงสัมบูรณ์ (อสังขตธรรม – นิพพาน) เป็นสิทธิเฉพาะของตถาคตเท่านั้น ในฐานะผู้เป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) และเป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). เพราะเหตุที่ ได้ทำมรรค (ระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงนิพพาน) ที่ยังไม่เกิดให้เกิด ได้ทำมรรคที่ยังไม่ มีใครรู้ ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว. (บาลี - ขนฺธ. สํ. 17/81/ 125.)

ส่วนผู้เป็นสาวกทั้งหลาย เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตาม) แม้จะรู้ถึงขั้น เป็นผู้ปัญญาวิมุตติก็ตาม, ก็จะไม่บังอาจทำการตัดต่อ ดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ธรรมวินัย (ความจริงสัมบูรณ์) ที่ตถาคตประกาศแล้ว. เพราะธรรมวินัยทั้งหมดทั้งมวล ที่ตถาคตบัญญัตติแล้ว ประกาศแล้ว คือความจริงแท้ (ปรมัตถสัจจะ).

 

หากให้สิทธิแก่คนรุ่นหลัง สามารถปรับแต่ง แก้ไข เพิ่มเติม ในสิ่งที่ตรัสรู้โดยรอบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว จะเรียกสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งสัมบูรณ์ได้อย่างไร. หากทำไปก็จะเป็นเหตุให้ คำของตถาคต อันตรธานสูญหายไป เมื่อกาลเวลาผ่านไป.

 

ข้อสังเกตที่หนึ่ง, คำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นเรื่องของสุญญตา และการหลุดพ้น. นับว่าเป็นคำที่ใช้ภาษาเรียบเรียง เป็นระเบียบ มีแบบแผน. คำคำหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนที่เป็นข้อมูลหลัก มีคำอธิบายน้อย (อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจสี่) แต่ซ่อนด้วยความ หมายลึกซึ้ง และประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำอธิบาย เชื่อมโยง ซึ่งแตกแยกย่อยออกมา เป็นพระสูตรต่างๆ มากมาย. แต่ละพระสูตร ต่างเชื่อมโยงหัวข้อธรรม (ข้อมูลหลัก) เป็นเนื้อเดียวกัน.

 

ข้อสังเกตที่สอง, ตถาคต จะไม่บัญญัติธรรมวินัย ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่ 'ถูกต้อง' โดยตรงเป็นอย่างไร. แต่จะหยิบยกสิ่งที่ 'ไม่ใช่' ขึ้นมาอุปมาเปรียบเทียบก่อน เพื่อจะบอกภายหลังว่า สิ่งที่ถูกต้องนั้น ไม่ใช่สิ่งที่กำลังอธิบาย เช่น.

ตัวอย่างที่ 1, พวกพราหมณ์กลุ่มหนึ่ง ถามตถาคตว่าท่านเป็นใคร, พระองค์ไม่ตอบคำถามโดยทันที แต่บอกว่า พระองค์ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่มาร ไม่ใช่พรหม และ ให้เรียกพระองค์ว่า “ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ”.

ตัวอย่างที่ 2, พระองค์ไม่ทรงบัญญัติสีของจีวร ที่อนุญาตให้ภิกษุใช้นุ่งห่ม แต่จะบัญญัติสีต้องห้าม คือ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดงสด สีแสด สีแดงเข้ม สีดำ สีชมพู. จากนั้น ก็บอกวิธีการได้มาของสีจีวรที่ถูกต้อง โดยการเทียบเคียงสีจาก ราก ลำต้น เปลือก ใบ ดอก ผล ของต้นไม้.

ตัวอย่างที่ 3, มีสิกขาบทจำนวนมาก ที่ทรงห้ามภิกษุประพฤติ, เมื่อสิ่งต้องห้ามถูกปิดกั้น มิให้ประพฤติ ความประพฤติที่ถูกต้อง ก็จะปรากฎขึ้นมาเอง.

ตัวอย่างที่ 4, พระองค์ ไม่ใด้บัญญัติเรื่อง “สุข” แต่จะสาธายายเรื่อง “ทุกข์” (ทุกขอริยสัจ) ให้เกิดความกระจ่างชัดเสียก่อน. เมื่อความทุกข์สลายไป สิ่งสิ่งหนึ่ง (อุเบกขา สุญญตา) ก็จะปรากฎขึ้นมาแทนที่ และเรียกสิ่งที่ปรากฎขึ้นมาแทนที่นั้นว่า “สุข” (สมมุติว่าสุข). แท้จริงแล้ว สิ่งที่ปรากฎขึ้นมา แทนที่ความทุกข์ที่หายไป ไม่ใช่สุข แต่เป็นสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่คนหลงไปยึด และปรุงแต่งเป็นรสชาติต่างๆ.

 

 

“ทุกข์” มีไว้ให้ “เห็น” มิใช่มีไว้ให้ “เป็น”
“สุข” มีไว้สำหรับ “เป็น” แม้จะ ไม่เห็น
“ทุกข์” คือ ต้นทุน ในการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหา
“สุข” คือ กำไร ที่ได้รับจาก การแก้ปัญหา
ทั้ง ทุกข์ และ สุข เป็นเพียง “ความรู้สึก” ที่เห็นได้ และ เป็นจริง
แต่ “ความรู้สึก” เป็น อารมณ์ที่ แปรปรวน
การกำจัด “อารมณ์แปรปรวน” เสียได้ คือ “สมาธิ”
ดังนั้น “สมาธิ” จึงปราศจาก ทั้ง สุข และ ทุกข์.

 

 

(3) ที่สุดของทั้งสองฝั่ง คือความจริง ซึ่งมีอยู่ในจักรวาลนี้

 

ที่สุดของทั้งสองฝั่ง หมายถึง ความสัมบูรณ์ ณ บริเวณใดๆ ในเอกภพ (ถ้าสมมุติว่า เอกภพมีขอบเขต) ที่สุดของขอบเขต ย่อมมีสองฝั่งเป็นอย่างน้อย คือ ฝั่งปัจจุบัน และฝั่งตรงข้าม. ความสัมบูรณ์ของเอกภพ จะเป็นจริงได้เพียงใด ขึ้นอยู่กับว่า เรารวมเอาทุกสรรพสิ่ง ทั้งทางด้านรูปธรรมและนามธรรม เข้าไว้ด้วยกันได้ครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใด. นั่นหมายถึงว่า แต่ละทฤษฎี จะอธิบายความเป็นธาตุและอาการ ในแง่มุมต่างๆ (ไม่มีทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีเดียว สามารถอธิบายทุกๆ สิ่ง ได้ครบถ้วน) และจะต้องไม่ละเมิด ขอบเขตของความสัมบูรณ์ คือ “ความจริง.”

 

ความจริง จึงเป็นส่วนที่สุด ของทั้งสองฝั่งในจักรวาล.

ความจริงประจักษ์  อาจไม่ต้องการบทพิสูจน์ใดๆ เพราะมนุษย์สามารถสัมผัสได้ ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้งหก เช่น รูปวัตถุ ในมิติที่ 1, 2, 3. หรืออาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่พิสูจน์แล้ว ยอมรับกันแล้ว ล้วนแต่เป็นความจริงประจักษ์ทั้งสิ้น.

ความจริงสมมุติ  (สมมุติสัจจะ) เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ (ธัมมฏฺฐิตา, ธมฺมนิยามตา, อิทปฺปจฺจยตา) ที่มนุษย์อาจต้องเรียนรู้ ในลักษณะ สมบัติ และอาการของมัน. ได้แก่ ความจริงเกี่ยวกับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ทั้งในส่วนวัตถุธาตุและจิตธาตุ. เป็นความจริงที่ต้องมีการบอกชี้ (อาจิกฺขติ) การอธิบาย หรือแสดง (เทเสติ) การบัญญัติ (ปญฺญเปติ) การกระกาศตั้ง (ปฐฺฐเปติ) การเปิดเผย ประชาสัมพันธ์ (วิวรติ) การจำแนกแจกแจง (วิภชติ) และการสาธยายโดยละเอียด (อุตฺตานีกโรติ).

ความจริงสมมุติฐาน  เป็นความจริงที่ถูกสมมุติขึ้นก่อน ในปัจจุบัน (ว่าจะเป็นจริงในอนาคต), ไม่ว่าสิ่งใดๆ ที่เป็นข้อสงสัยของมนุษย์ โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาธรรมชาติ ล้วนเป็นจุดเริ่มต้น ของความจริงประเภทนี้ทั้งสิ้น.

ความจริงแท้  (ปรมัตถสัจจะ) เป็นความจริงจัดอยู่ประเภทเดียวกับ ความจริงประจักษ์ แต่ต่างกันที่ สิ่งที่เป็นความจริงแท้นั้น มีอยู่ในธรรมชาติ ที่มนุษย์ปุถุชน หรือผู้ที่ไม่ศึกษาเล่าเรียน ไม่สามารถเข้าใจได้. เพราะเป็นความจริง ที่มีระดับความลึกซึ้งสูง (คมฺภีรา) เห็นตามได้ยาก (ทุทฺทสา) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา) มีความสงบภายในอย่างยิ่ง แม้แวดล้อมด้วยความวุ่นวาย (สนฺตา) มีความประณีต (ปณีตา) ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตรรก หรือการคาดเดาใดๆ (อตกฺกาวจรา) ละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ ถึงขั้นนิพพาน (นิปุณา) และ เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต (ปณฺฑิตาเวทนียา).

ผู้ที่จะรู้ จะเห็น จะถึง ความจริงแท้นี้ จะต้องปฏิบัติตรงตาม วิถีทางที่ถูกกำหนดไว้แล้ว (ธรรมและวินัย) โดยผู้รู้ ซึ่งก็คือ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และผู้ที่แสดงธรรมวินัย (วิถีทางที่ถูกกำหนดไว้แล้ว – revelatory methodology) อันตถาคตประกาศแล้ว.

 

ตัวอย่างของที่สุด ของทั้งสองฝั่งในเอกภพ ที่ค้นพบได้ในขณะนี้ โดยนักวิทยาศาสตร์ เช่น

หน่วยวัดความยาว พื้นที่ และเวลา ของแพล็งก์ – วีลเลอร์ (Plank-Wheeler length, area and time) ซึ่งใช้วัดสิ่งที่มีขนาด พื้นที่ ระยะ ได้สูงสุดถึงต่ำสุด ที่ยอมรับกันได้ (ถ้าสูงกว่าหรือต่ำกว่านี้ สิ่งนั้นไม่จริง ในสายตาของนักวิทยาศาสตร์). ธาตุที่มีความเบาที่สุด คือ ฮีเลียม เกิดในยุคเริ่มแรกของเอกภพ มาจนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนธาตุหนักได้แก่ธาตุที่ประกอบเป็นวัตถุ สสารต่างๆ เช่น ยูเรเนียม.

สถานที่สว่างจ้ามากที่สุด เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ คือ ความสว่างของแสงวาบ ก่อนการระเบิดของซูปเปอร์โนวา ของดาวฤกษ์ยักษ์ (ดาวฤกษ์ ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 4 เท่าขึ้นไป) ชื่อ KSN 2011a และ KSN 2011d เท่ากับ 130 ล้านเท่า ของความสว่าง ของดวงอาทิตย์ ซึ่งกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ จับภาพไว้ได้.

วัตถุดำมืดที่สุด ที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ Vantablack โดยคณะนักวิจัยชาวอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2014. มันสามารถดูดซับแสงที่ตกกระทบ ได้ถึงร้อยละ 99.96 และมันได้รับการพัฒนาจนถึงขีดสูงสุด โดยนักวิจัยของ บริษัทเซอร์เรย์ นาโนซิสเต็มส์. การวัดแสงสะท้อน ของวัตถุแวนตาแบล็ค ไม่สามารถวัด เป็นตัวเลขได้เลย เพราะมันมีโครงสร้างผิว ประกอบด้วยแท่งนาโน (nanotubes) ขนาดเล็กจำนวนมาก เรียงกันหนาแน่น.

แสงที่ตกกระทบผิวของแวนตาแบล็ค จะสะท้อนกลับไปมา ระหว่างนาโนทิวบ์ ไม่สามารถสะท้อนกลับ ออกไปข้างนอกได้เลย. แสงจะถูกดูดซับ และเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน (วัตถุชนิดนี้ ถูกนำมาใช้ใน โครงการสำรวจอวกาศ). ที่จริง ในห้วงอวกาศ ไม่ใช่สถานที่ที่มืดสนิทเสียทีเดียว. เพราะมีแสงเดินทางผ่านตลอดเวลา ที่เห็นมืดสนิท ก็เพราะไม่มีวัตถุใดๆ มาเป็นฉากให้แสงตกกระทบนั่นเอง. แต่ถ้ามีวัตถุเป็นฉากมารองรับ ก็จะปรากฎแสงสว่างขึ้น.

[ ความจริงของธรรมชาติข้อนี้ ตถาคต รู้มาก่อน พระองค์จึงนำมาใช้อธิบายเปรียบเทียบ วิญญาณ เหมือน แสง ดิน น้ำ เหมือนฉาก ในกระบวนการเกิดปรากฏของ จิต มโน วิญญาณ ].

 

ในเอกภพ มีดาราจักร จํานวนมากมาย มากกว่า 219,375,000,000 ดาราจักร หรือมีค่าเป็นอนันต์. มีทั้งที่อยู่ห่างไกลกันมาก และใกล้กันมาก. ระยะทางจากโลก ถึงดาราจักร COSMOS 1908 เท่ากับ 13,100,000,000 ปีแสง ซึ่งเป็นดาราจักรที่ห่างไกลที่สุด เท่าที่ค้นพบ.[01]  นักดาราศาสตร์ พบสัญญาณร่องรอยของออกซิเจน ซึ่งหมายถึงว่า อาจมีสิ่งที่เป็นสัญญาณชีพอยู่ที่นั่น.

 


[01]
 อาจเป็นสิ่งที่ ตถาคต เรียกว่า “โลกอื่น” ดู SCIENCE ILLUSTRATED. ฉบับที่ 67. January 2017, หน้า 18.

 

ขณะที่เอกภพกําลังยืดขยายตัว ยิ่งห่าง ก็ยิ่งมีความเร็วออกจากกันมาก. ภาพถ่ายอวกาศ จากกล้องที่สร้างด้วยเทคโนโลยีล่าสุด คือ The Hubble Ultra-Deep Field (HUDF) สามารถส่องได้ไกล 13.8 พันล้านปีแสง ถ้าถ่ายภาพด้วยรังสี ที่มีความถี่ย่านไมโครเวฟ ก็สามารถถ่ายไปได้ไกลสุดที่ระยะ 45 พันล้านปีแสง. แรงดึงดูดอนุภาคของควาร์ก ซึ่งเป็นแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม จัดว่าเป็น แรงดึงดูดมากที่สุดเท่าที่ค้นพบ และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แรงระเบิดของบิ๊กแบง ก่อเกิดแรงผลักดัน จากศูนย์กลางสูงที่สุด จนทำให้เอกภพขยายตัวมาจนถึงทุกวันนี้.

สถานที่ที่ร้อนที่สุด น่าจะเป็นจุดศูนย์กลาง การระเบิดของบิ๊กแบง. ส่วนสถานที่ที่เย็นที่สุด ที่คาดว่าจะค้นพบในเร็วๆ นี้ คือความเย็นของ หมอกอะตอม ในห้องทดลองอะตอมเย็น (Cold Atom Laboratory: CAL) บนสถานีอาวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งจะมีความเย็นได้ถึง 100 ในพันล้านองศา เหนือจุดองศาศูนย์สัมบูรณ์ (-273.15 องศาเซลเซียส).

สิ่งที่เคลื่อนที่เร็วที่สุด คือจิตวิญญาณ (เร็วกว่าความเร็วแสง) [ คำว่า 'เคลื่อนที่' มีความหมาย 3 นัย คือ เคลื่อนจากตำแหน่งเดิม การหมุนรอบแกนสมมุติ การส่ายไปมา ลักษณะเดียวกับคลื่น ]. เพราะวิญณาณ เมื่อเกิดปรากฎ ยังไม่ทันได้เคลื่อนที่ ก็ดับไปเสียแล้ว. สิ่งที่เคลื่อนที่ช้าที่สุด ก็คือเวลาในใจกลางของหลุมดำ. เวลา เป็นเพียงสิ่งเดียว ที่มีอายุยืนยาวที่สุดก็ได้ สั้นที่สุดก็ได้. เกิดเป็นมนุษย์ยากที่สุด แต่เกิดเป็นสัตว์นรก เดรัจฉาน เปรตวิสัย นั้นง่ายที่สุด.

 

ส่วนสุดของทั้งสองฝั่ง ทั้งที่เป็นวัตถุธาตุและจิตธาตุ รวมถึงอาการและผลที่เกิดต่อเนื่อง มีอยู่ในเอกภพนี้ สรุปได้ดังนี้

– สิ่งที่เล็กที่สุด กับ สิ่งที่ใหญ่ที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่เบาที่สุด กับ สิ่งที่หนักที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่หนาแน่นที่สุด กับ สิ่งที่เบาบางที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่เข้มข้นที่สุด กับ สิ่งที่เจือจางมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สถานที่ที่สว่างจ้ามากที่สุด กับ สถานที่ที่มืดมิดที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด กับ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– แรงดึงดูดมากที่สุด กับ แรงผลักมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งหรือสถานที่ที่ร้อนที่สุด กับ สิ่งหรือสถานที่ที่เย็นที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่แข็งที่สุด กับ สิ่งที่อ่อนนุ่มที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่มีความหนามากที่สุด กับ สิ่งที่มีความบางมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สถานที่โกลาหล อึกทึกที่สุด กับ สถานที่เงียบสงัดที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่เคลื่อนที่เร็วที่สุด กับ สิ่งที่เคลื่อนที่ช้าที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่มีอายุยืนยาวที่สุด กับ สิ่งที่มีอายุสั้นที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– สิ่งที่ โง่ที่สุด กับ สิ่งที่ฉลาดที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– ความทุกข์ กับ ความสุข ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– นรก โลก สวรรค์ ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– อัตตา กับ นัตถิตา ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

– นิพพาน หาได้ในกายนี้ ซึ่งอยู่ในจักรวาลนี้

– จักรวาลนี้ คือ วัฏจักรของ อดีต ปัจจุบัน อนาคต.

 

 

สามสิ่งต่อไปนี้ ไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใดๆ ที่มนุษย์รู้จัก
หรือที่มนุษย์กำหนดขึ้น คือ
(1) กรรม – วิบากกรรม
(2) นิพพาน – วิสัยพระพุทธเจ้า
(3) เอกภพ – วัฏฏะสงสาร

 

 
[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

 

7.2
สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์
- พุทธศาสน์

 

เหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ยิ่งมีปัจจัยปรุงแต่งมากเท่าใด ก็จะทำให้เหตุการณ์นั้น ยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น. ความซับซ้อน ก่อความยุ่งยาก สำหรับการรายงานเหตุการณ์ ของบุคคลเพียงคนเดียว หรือมุมมองเพียงด้านเดียวของบุคคล (แม้จะมีหลายคน). การมองเห็นเพียงด้านเดียว อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย โดยเฉพาะมุมมองต่างเวลากัน. ถ้าเหตุการณ์นั้น มีปัจจัยปรุงแต่ง หลายปัจจัย มีขนาดและบริเวณ เล็กหรือใหญ่เกินกว่า ประสาทสัมผัสมนุษย์ธรรม จะรับได้ ก็ยิ่งจะทำให้มุมมองนั้น เกิดข้อโต้เถียงไม่มีวันจบสิ้น.

 

เพื่อไม่ให้ข้อโต้แย้งเหล่านี้ เป็นอุปสรรค ในการหาข้อสรุปในสิ่งเดียวกัน แต่ต่างเวลากัน ของทั้งสองฝ่าย, ควรนำหลักสัมพัทธภาพ มาเป็นเกณฑ์พื้นฐานร่วมกัน. เพื่อให้เกิดการยอมรับกันได้ในระดับหนึ่ง ภายใต้หลักของเหตุผล และหลักการทางฟิสิกส์.

 

 

7.2.1
มุมมองของนักวิทยาศาสตร์ และพระพุทธเจ้า ที่มีต่อวัตถุธาตุและจิตธาตุ

 

(1) การวัดค่าความยาว พื้นที่ และเวลา

 

ขีดจำกัดในการวัดค่าความยาว พื้นที่ และเวลา ทางด้านฟิสิกส์ คือการยอมรับว่า จะต้องไม่มีการละเมิดกฎ การไม่ทำลายเชิงควอนตัม (quantum nondemolition). กล่าวคือ วิธีการวัด ถ้าอยู่รอบขอบนอก ขีดจำกัดควอนตัมมาตรฐานแล้ว, ขีดจำกัดข้อนี้ จะทำให้มาตรวัด ขนาดความยาว ขนาดพื้นที่ และขนาดเวลา แบบวิทยาศาสตร์ กับแบบพุทธศาสน์ ไม่อาจแปรงค่ากลับข้างกันได้เลย.

เพราะวิทยาศาสตร์ ยึดจำนวนเชิงตรรกะ และ จำนวนที่เป็นคณิตศาสตร์ แต่พุทธศาสน์ ยึดจำนวนเชิงอนุมาน และการอุปมา. ทำให้การเปรียบเทียบ ค่าความจริงที่เท่ากัน ทำได้อย่างมาก ทำได้ดีที่สุดคือ จะได้ค่าประมาณ ที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น. หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การระบุขนาดของ ความยาว พื้นที่ เวลา ของสิ่งที่เป็นนามธาตุ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความระรึกได้ และจินตนาการ ไม่อาจใช้หลักตรรกะ และคณิตศาสตร์ได้เลย.

 

สิ่งที่มีขนาดเล็กมากๆ ระดับอะตอม ตถาคต เรียกว่า อณู แต่ในคำกล่าวของสาวกรุ่นหลัง (อรรถกถา) ได้นำมาเรียบเรียงใหม่ จัดลำดับขนาด จากที่สังเกตได้ ไปจนถึงเล็กที่สุด จนสังเกตไม่ได้ คือ จาก ธัญญามาส (เมล็ดข้าวเปลือก) อูกา (ตัวเหา) ลิกขา (ไข่เหา) รถเรณู ตัชชารี อณู ปรมาณู กลาป. ลำดับขนาดเหล่านี้ ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้แต่อย่างใด จึงไม่อาจประมาณค่าของ อณู กับมาตรวัดแบบวิทยาศาสตร์ได้.

 

ตถาคต กล่าวว่า ในโลกธาตุหนึ่ง จะมีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว. คำว่าโลกธาตุ พระองค์ก็ไม่ได้บอกขนาดไว้, พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา เพื่อบอกวิธีปฏิบัติ ให้ถึงขั้นการหลุดพ้น แก่มนุษย์และเทวดา. พระองค์บอกจำนวน รอบการเวียนเกิด ของมนุษย์แต่ละผู้ มีจำนวนนับไม่ได้ และบอกขนาด อายุของเทวดาว่า ยืนยาวกว่ามนุษย์เป็นล้านเท่า. เพียงเท่านี้ ก็ทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่า อายุของโลกธาตุนั้น ยาวนานกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดไว้แน่นอน.

ยุคกำเนิดของมนุษย์ เท่าที่มีหลักฐาน ให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ย้อนหลังไปได้ไม่ถึงล้านปี ซึ่งเทียบกับอายุของดาวเคราะห์ไม่ได้เลย. ตถาคตบอกว่า มนุษย์สามารถพัฒนาอายุขัย จากต่ำสุด 10 ปี ขึ้นไปจนถึง 80,000 ปี ได้หลายรอบ. จำนวนอายุขัยของมนุษย์ แบบที่ตถาคตบอกไว้นี้ แม้จะเป็นค่าประมาณ ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจยอมรับได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า ช่วงเวลาพัฒนาการ ของมนุษย์บนโลกที่แท้จริง คือเท่าไรกันแน่.

 

ดาวเคราะห์โลกดวงนี้ มีพัฒนาการยาวนานมาก สามารถรองรับรอบพัฒนาการของสัตว์ มนุษย์ ได้ไม่จำกัด. หลักฐานการพัฒนา ของสัตว์และมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยา. แต่การค้นพบความจริงใหม่ๆ เกี่ยวกับธรณีโลก นับวันเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ นักวิทยาศาสตร์อาจได้ข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มขึ้น.

เพื่อสนับสนุนว่า แท้จริงแล้ว ยุคกำเนิดมนุษย์ ไม่ใช่มีแค่รอบล้านปีเท่านั้น แต่ยาวนานกว่านั้นมาก. ขณะที่โลกใบนี้ ผ่านห้วงการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยา มาหลายครั้ง, อาจมียุคสมัยของมนุษย์ ที่ไม่ใช่รูปแบบปัจจุบัน เกิดขึ้นก็ได้. เพียงแต่ว่ายังไม่มีหลักฐาน ปรากฎเท่านั้นเอง. นอกจากมนุษย์แบบโลกแล้ว ยังมีมนุษย์รูปแบบอื่น เช่น เทวดา พรหม โอปปาติกะ เปรต. และมีความเป็นไปได้ว่า อาจมีดาวเคราะห์ดวงอื่น ในกาแล็กซี่ข้างเคียง ที่เอื้อต่อการกำเนิดชีวิต แบบมนุษย์โลก หรือต่างจากโลกก็อาจเป็นได้ เช่น มนุษย์ก๊าซ มนุษย์สองมิติ.

 

ดังนั้น คำว่าโลกธาตุหนึ่งของพระพุทธเจ้า จึงตีความขนาดขอบเขตได้ไกลและกว้างกว่า แบบที่นักวิทยาศาสตร์ คิดคำนวณ ในสัดส่วนที่เกือบจะเทียบเคียงกันไม่ได้. กล่าวคือ หนึ่งโลกธาตุ อาจหมายถึง ช่วงอายุของดาวเคราะห์โลก หรือช่วงอายุของดวงอาทิตย์ (ดาวฤกษ์) หรือช่วงอายุของกาแล็กซี่ ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น.

เทวดาบางพวก มีอายุเทียบเท่า การเกิดดับของดวงอาทิตย์หนึ่งดวง หรือแม้กระทั่งการเกิดดับ ของหนึ่งกาแล็กซี่. อาจเป็นไปได้ว่า มนุษย์และเทวดา ต่างก็มีพัฒนาการหลายช่วง ทั้งแบบโลกมนุษย์และแบบโลกอื่น เพียงแต่พระพุทธเจ้าจะเลือกมาอุบัติเกิด ในช่วงที่มีมนุษย์ผู้ทรงปัญญา (เวไนยสัตว์) สามารถสั่งสอนธรรมะอันลึกซึ้งได้.

 

หนึ่งโลกธาตุ กับ หนึ่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ จึงมีความหมายได้สองนัย คือ ถ้าไม่ใช่หนึ่งช่วงอายุขัย ของดาวเคราะห์แบบโลก ก็หนึ่งช่วงอายุขัย ของดวงอาทิตย์ หรืออายุขัย ของกาแล็กซี่.

 

ตถาคต ใช้คำว่า สังสารวัฏ แทนเวลาอายุขัยของเอกภพ. สังสารวัฏ จึงมีความหมายเดียวกันกับ ค่าอนันต์ เพราะเอกภพไม่มีขอบเขต ไม่สามารถระบุตัวเลข ที่แน่ชัดลงไปได้.

ดังนั้น ตถาคต จึงไม่ได้ใช้มาตรวัดระยะทาง สำหรับขอบเขตของเอกภพ แต่ใช้มาตรวัดเวลาเป็นหลัก ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ พยายามจะใช้มาตรวัดระยะทาง โดยให้ระยะทางนั้น มีความสัมพันธ์กับความเร็วของแสง (หน่วยปีแสง = แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปี).

นอกจากนี้ สังสารวัฏ ยังนำไปใช้กับห้วงเวลา ของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ในภพภูมิต่างๆ ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ ได้อีกด้วย. เนื่องจากสัตว์เดรัจฉาน และมนุษย์ มีช่วงพัฒนาการ ที่ยาวนานและซับซ้อน. การพัฒนาการทางกาย ได้รับอิทธิพลจากการปรุงแต่งของจิตวิญญาณ และมีส่วนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม.

 

การเกิด-ตายทางร่างกาย มีจำนวนรอบเป็นอนันต์, การเกิดแต่ละรอบ ก็มีภพภูมิที่ต่างกันมากมาย. นักวิทยาศาสตร์ แบ่งสัตว์ ออกเป็นอาณาจักร (kingdom) ไฟลัม (phylum) คลาส (class) อันดับ (order) วงศ์ (family) สกุล (genus) และ ชนิด (species). แต่ตถาคต จำแนกสัตว์ ตามปัจจัยการปรุงแต่งจิต กรรม และวิบากกรรม. พระองค์เรียกสิ่งมีชีวิตทุกระบบกว่า “สัตว์” (สัตตา) เหมือนกันหมด ไม่ว่าชีวิตนั้นจะเป็น สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก เปรต มนุษย์ หรือเทวดา. สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ มีรอบการเกิด-ตายทางจิตวิญญาณ ยาวนานกว่าทางร่างกายหลายล้านเท่า.

 

 

(2) อนุภาค ควาร์ก อะตอม – อวิชชา สังขาร วิญญาณ

 

มีอยู่ 3 สิ่ง ที่นักวิทยาศาสตร์ ไม่อาจพิสูจน์อัตลักษณ์การมีอยู่ ตลอดจนการกำหนดพิกัด ตำแหน่ง ขนาด ปริมาณ ขอบเขต ของมันได้ 3 สิ่งนั้นคือ อวิชชา สังขาร และ วิญญาณ. และ 3 สิ่งนี้ มีบทบาทสำคัญ ต่อการอุบัติเกิดของวัตถุ สสาร พลังงาน และปรากฎการณ์ต่างๆ ในเอกภพ อย่างมากมาย.

 

อริสโตเติล เชื่อว่าสสารมีความต่อเนื่อง. ความต่อเนื่องของเนื้อสสาร สามารถแบ่งให้เล็กลงได้เรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด และเราจะไม่มีวันพบเจอเม็ดของสสาร ที่ไม่สามารถแบ่งต่อไปได้. นักปรัญชากรีก ชื่อ เดโมคริตุส เชื่อว่าสสารมีความเป็นเม็ดโดยธรรมชาติ และทุกๆ สิ่งประกอบมาจาก อะตอม ชนิดต่างๆ หลากหลายจำนวนมากมาย (คำว่า อะตอม ในภาษากรีก มีความหมายว่า “แบ่งแยกไม่ได้”).

เป็นเวลานับร้อยนับพันปี ที่มีการถกเถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีข้อพิสูจน์แน่ชัด ต่อแนวคิดทั้งสองนี้. แต่ในที่สุด แนวคิดเรื่องการมีอยู่ของอะตอม ก็ได้รับการยอมรับ. มีข้อน่าสังเกตว่า ในยุคนั้น แนวคิดของพุทธศาสน์ เกี่ยวกับสิ่งเล็กๆ แบบอะตอม มีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ไม่มีการเชื่อมโยงแนวคิดกัน.

การนำแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์มาเชื่อมโยงกับ 'พุทธศาสตร์' มีมานานแล้ว แต่ยังมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน. เพราะเหตุว่า หลักการของพุทธศาสตร์นั้น (พุทธอนุรักษ์นิยม) ได้นำศาสตร์แขนงอื่น ที่ปะปนความเชื่อในลัทธิต่างๆ เข้ามาปะปน โดยเฉพาะลัทธิคุณไสย์. ทำให้เนื้อแท้ของหลักการ “พุทธ” ผิดเพี้ยนไปมาก. แท้จริงแล้ว 'พุทธศาสน์' มีหลักการสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ มาตั้งแต่เริ่มต้น. แต่ความเชื่อในลัทธิคุณไสย์ มักขัดแย้งและชอบวางตัวเหนือกว่าวิทยาศาสตร์.

อริสโตเติล พูดเกี่ยวกับสสารไว้ถูกต้องแล้ว ที่ว่าสสารมีความต่อเนื่อง. แม้ว่า นักฟิสิกส์จะได้ข้อยุติว่า ควาร์ก (quarks) เป็นส่วนย่อยสุดของอะตอม ไม่อาจแบ่งได้อีกต่อไป. แต่ควาร์ก ก็ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว มันดำรงสถานะเป็นแท่งทึบ (solide) ก็ได้ หรืออาจโปร่งใส (transparency) ก็เป็นไปได้ ทั้ง 2 นัย. ถ้าเป็นเช่นนั้น มันจะต้องมีองค์ประกอบอื่นอีก ที่แทรกสอดอยู่ใน ควาร์ก จนทำให้มันดำรงสถานะ อยู่ร่วมกับควาร์กชนิดอื่นๆ และ รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ของนิวเคลียสอะตอมได้.

 

องค์ประกอบที่ว่านี้ ก็คือความโน้มถ่วงอย่างยิ่งยวด. สิ่งที่แทรกสอดอยู่ในควาร์ก ไม่ใช่ธาตุ สสาร วัตถุ ไม่ใช่อนุภาค แต่อาจมี คุณสมบัติความเป็นคลื่นแบบหนึ่ง อย่างแน่นอน. ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมที่ว่า ควาร์กจะดำรงสถานะอยู่ได้จะต้องมี แรงโน้มถ่วงอย่างยิ่งยวด (แรงโน้มถ่วงควอนตัม) เป็นตัวยึด. แรงโน้มถ่วงอย่างยิ่งยวดนี้ มีอะไรเป็นสื่อนำ (แรงทุกชนิด จะต้องมีอนุภาคสื่อแรงคอยควบคุมอยู่) ในขณะที่ยังไม่มีคำตอบ หรือข้อยุติที่ชัดเจน ก็น่าจะหันมารับฟัง ทฤษฎีทางฝั่งพุทธศาสน์ดูกันบ้าง.

 

ภายในควาร์ก มีสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ธาตุ สสาร วัตถุ อนุภาค แต่อาจมีคุณสมบัติคลื่นแบบหนึ่ง ซ้อนทับอยู่, สิ่งนั้นคือ อวิชชา เมื่อ อวิชชา เปรียบเสมือนคู่แฝดของ ควาร์ก, อวิชชา ก็ มีจุดเริ่มต้นพร้อมกับควาร์ก. การประกอบควาร์ก เป็นนิวเคลียส และนิวเคลียสส่งแรงโน้มถ่วงไปยัง กลุ่มเมฆ อิเล็กตรอน ประกอบเป็นอะตอม อะตอมหลายๆ อะตอม ประกอบกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลประกอบ กันเป็นเซลล์, พฤติการณ์เช่นนี้ ตถาคต เรียกว่า “สังขาร” (การปรุงแต่ง). ดังนั้น สสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย ก็เพราะมีการปรุงแต่ง โดยเริ่มจาก ควาร์ก นิวเคลียส อะตอม.

เพราะมีอวิชชา จึงมีสังขาร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เพราะมีควาร์ก จึงมีอะตอม โมเลกุล เซลล์. เมื่อมาถึงจุดนี้ ก็เกิดคำถามว่า เรารู้ได้อย่างไรว่า สิ่งนี้ คืออวิชชา สิ่งนั้น คือควาร์ก นิวเคลียส อะตอม. คำตอบก็คือ เพราะมี วิญญาณ เป็นผู้บอก. เป็นอันได้ข้อยุติประการหนึ่งว่า อวิชชา สังขาร วิญญาณ นั้น แท้จริงแล้ว เป็นธัมมะธาตุ ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ.

นักวิทยาศาสตร์ บอกไม่ได้เช่นกันว่า ภาวะเอกฐาน หรือ singurality อันเป็นต้นกำเนิดของ บิ๊กแบงและต้นกำเนิดควาร์ก เกิดขึ้นมาได้อย่างไร. ตถาคต ก็ไม่ได้บอกไว้ว่า อวิชชา เกิดมาจากที่ใด เกิดเมื่อใด, บอกเพียงว่า อวิชชา หาที่เกิดหาที่สุดของมันไม่ได้ ที่มันดำรงอยู่ได้เพราะมี “อาหาร” คอยหล่อเลี้ยงมันอยู่.

 

เราสามารถวิเคราะห์ อวิชชา ให้ลึกกว่านี้ โดยเริ่มกันที่กำเนิดบิ๊กแบงก่อน. บิ๊กแบงเกิดจากจุดเล็กๆ (ภาวะเอกฐาน) ที่อัดแน่นด้วยมวลและความร้อน มันใช้เวลาเพียง 10 -12(ยกกำลัง -12) วินาที ถึง 10 -6(ยกกำลัง -6) วินาที. หลังการระเบิด. อุณหภูมิของเอกภพยังคงสูงมาก สมดุลสสารและปฏิสสารสูญเสียไป ภายใต้อุณหภูมิสูงยิ่งยวด, ควาร์ก และ เลปตอน ก็กำเนิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ นี้ พร้อมกับแรงพื้นฐานทั้ง 4. จากนั้น วัตถุต่างๆ ก็ถูกปรุงแต่งขึ้นมา ในห้วงการขยายตัวอันรวดเร็วของเอกภพ.

 

อวิชชาดำรงอยู่เพราะมีอาหาร. อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์. จุดนี้วิเคราะห์ได้ว่า อาหารของอวิชชา มี 2 นัยยะ. อาหาร ที่ปรุงแต่งให้อวิชชาเกิดขึ้น หมายความว่า แต่เดิมนั้น อวิชชา ต้องมีคุณสมบัติ 2 สถานะ คือ สถานะวัตถุธาตุ และสถานะจิตธาตุ. อาหารที่ปรุงแต่งอวิชชาให้ดำรงอยู่ได้ ก็คือ สสารและปฏิสาร ที่ทำอันตรกิริยาต่อกัน ให้อวิชชาเกิดขึ้นมา เช่นเดียวกับควาร์ก. ในขั้นตอนนี้ อวิชชา เป็นผู้กระทำ สังขาร เป็นกิริยา และวิญญาณ เป็นผู้ถูกกระทำ. ก่อเกิด อวิชชา สังขาร วิญญาณ ขึ้นมาเกือบจะพร้อมๆ กัน อาจจะในเสี้ยวของ 10 -12(ยกกำลัง -12) วินาที ถึง 10 -6(ยกกำลัง -6) วินาที.

อวิชชาในสถานะจิตธาตุ เกิดขึ้นเมื่อวิญญาณปรากฏ (ในฐานะธาตุรู้) เพื่อบอกว่า นิวรณ์ เป็นอาหารของ อวิชชา. ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีนิวรณ์ อวิชชา ก็จะยังคงสถานะภาพเป็นวัตถุธาตุต่อไป. [02]  จากหลักการข้อนี้ อธิบายเกี่ยวกับการเกิด การวิวัฒน์ของเอกภพได้ว่า สรรพสิ่งในเอกภพ ย่อมมีจุดกำเนิด และการเสื่อมตลอดเวลา. ปัจจัยที่ก่อให้มีการเกิด การเสื่อม ก็คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ และการเสื่อมนั้น ยากที่จะหาจุดสิ้นสุดได้. จากเหตุผลข้อนี้ ทำให้เกิดข้อยุติที่ว่า เอกภพมีพัฒนาการ ตรงกับแบบจำลอง การเกิดเอกภพ แบบแบน ราบ (flat) ที่นำเสนอโดยฟรีดแมน.

 


[02] อวิชชา ส่วนที่เป็น ธาตุ วัตถุ สสาร ดำรงอยู่ได้ ในสถานะกลไกชีวะ-ฟิสิกส์ และกลไกชีวะ-จักรวาล (ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร หลุมดำ) ไม่ต้องมี นิวรณ์ เป็นอาหาร ถ้ามี จะส่งผลให้สัตว์นั้น ยึดอวิชชาเป็นตัวตน ดำรงอยู่ต่อไป.

 

 

(3) อะตอม ธาตุ วัตถุ สุริยะ ดาราจักร คือ เอกภพ ของนักวิทยาศาสตร์ – อวิชชา สังขาร วิญญาณ คือ จักรวาล ของพระพุทธเจ้า.

 

เมื่อรวมวิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์เข้าด้วยกัน จะทำให้มองเห็นภาพรวม ของปรากฏการณ์ร่วม ระหว่างวัตถุธาตุกับจิตธาตุ ที่รวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีส่วนผสมของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ กับ อวกาศ แสง และเวลา เป็นจุดเชื่อม.

 

 

ภาพที่ 7.01 ส่วนผสม อวิชชา สังขาร – แสง อวกาศ เวลา

 

เพื่อให้การเชื่อมโยงของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ กับหลักการทางฟิสิกส์ มีความเป็นไปได้มากที่สุด. จำเป็นต้องมีการ นิยามความหมาย ที่เข้ากันได้กับทั้งสองฝั่ง.

“ ... อวิชชา คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุ ที่เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความไม่รู้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ... ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ. ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ.” [03]

“อาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ... อาสวะ 3 อย่างนี้ มีอยู่ คือ กามาสวะ (ความไม่รู้ในกาม) ภวาสวะ (ความไม่รู้ในภพ) อวิชชาสวะ (ความไม่รู้ในอวิชชา). ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา. ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะ ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา.”

 


[03]
 “เกี่ยวกับ อวิชชา.”  พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ 2. [ ซอฟต์แวร์ ].  E-Tipitaka v3.0.6, หน้า 206. | บาลี - มู. ม. 12/85/110.

 

อวิชชา กับ อาสวะ จึงเปรียบเหมือนเหรียญเดียวกัน แต่มีสองด้าน. ด้านหนึ่งคือความไม่รู้ (อวิชชา) อีกด้านหนึ่งก็คือ ผลความไม่รู้ (อาสวะ). การกำหนดนิยามของ อวิชชา จึงต้องอิงกับเหตุหรือปัจจัย ที่ทำให้มันเกิด และผลสืบเนื่องที่ทำให้มันมีอยู่.

 

เพื่อให้การพูดจาเรื่อง อวิชชา เข้าใจกันได้ ทั้งในฝั่งวิทยาศาสตร์ และฝั่งพุทธศาสน์ จึงวิเคราะห์ได้ดังนี้ว่า

อวิชชา ในส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ ถูกหล่อเลี้ยงด้วย แรงและพลังงาน ที่ไปกระทำต่อมันตามหลักฟิสิกส์.

อวิชชา ในส่วนที่เป็นจิตธาตุ ถูกหล่อเลี้ยงด้วย นิวรณ์ 5 ให้มันดำรงอยู่ได้.

จากนั้น อวิชชา ก็จะถูกปรุงแต่ง (สังขาร) โดยการผสม ผสานวัตถุธาตุและจิตธาตุ แล้วจะวิวัฒน์ตัวเอง เป็นตัวเป็นตนที่ชัดเจนขึ้น เรียกว่า สังขารทั้งหลาย (มี ขันธ์-5 เป็นคุณสมบัติ มี ทุกข์ เป็นอาการ).

 

ทันทีที่มีสังขาร, วิญญาณที่ซ่อนตัวอยู่ ก็ปรากฏ. วิญญาณ จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ เป็นเหตุให้สังขารเกิดการวิวัฒน์สืบเนื่อง ไปเป็น นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ เป็นลำดับๆ ไป ซึ่งล้วนแต่เป็นธัมมะธาตุ ที่มีคุณสมบัติหนึบเหนียว ยากแก่การย่อยสลาย.

 

 

ภาพที่ 7.01 การวิวัฒน์ในจุดร่วม ฟิสิกส์กับจิต

 

 

ตารางที่ 7.01 การวิวัฒน์ของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ใน สัตตะธัมมะธาตุ.

คุณสมบัติ / สถานะ

อวิชชา

สังขาร

วิญญาณ

วัตถุธาตุ (รูป)

มวล-อนุภาค, แรง-คลื่น,
อุณหภูมิ-พลังงาน
เป็นไปตามกฎ
กลศาสตร์ฟิสิกส์ และ
กลศาสตร์ควอนตัม

(รูปสังขาร)
มิติ กาลอวกาศ-รูปทรง
เช่น มหาภูติรูป
อุปาทายรูป

(จิต)
จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ
มโนวิญญาณ

จิตธาตุ (นาม)

นิวรณ์ : กามฉันทะ,
พยายาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ,
วจิกิจฉา.

(การปรุงแต่ง)
วัฏจักร-อนันต์
เช่น เกิด เสื่อม เสื่อมต่อเนื่อง

(เจตสิก)
เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์

 

ตารางที่ 7.02 คุณสมบัติสิ่งที่เป็นอาหารของ อวิชชา

คุณสมบัติ / สถานะ

คุณสมบัติการผลัก หนีจากศูนย์กลาง

คุณสมบัติการดูด เข้าสู่ศูนย์กลาง

คุณสมบัติซ้อนสถานะ ดูด-ผลัก

อวิชชา ส่วนที่เป็น
วัตถุธาตุ (รูป) -
มิติรูปทรงของ สสาร แรง พลังงาน

แรงนิวเคลียร์
อย่างเข้ม
แรงนิวเคลียร์
อย่างอ่อน
แรงคลื่น-
กระแสลม
คลื่น

แรงโน้มถ่วง
แรงโน้มถ่วง
ควอนตัม
แรงดึงดูดกัน
ของโมเลกุล
มิติ รูปทรง มวล

แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
แรงเสียดทาน
แรงเฉื่อย
อุณหภูมิ
พลังงาน

อวิชชา ส่วนที่เป็น
จิตธาตุ (นาม) -
นิวรณ์

พยาบาท (โกรธ เกลียด)
อุทธัจจกุกกุจจะ
(ฟุ้งซ่าน ไม่มีขอบเขต)

กามฉันทะ
(รัก ชอบ พอใจ) ถีนมิทธะ
(ง่วง เศร้า หลบ หรี่ ซึม ไม่ตอบสนอง

วจิกิจฉา (ลังเล สงสัย หาข้อสรุปไม่ได้)

 

สังขารทั้งหลาย จึงเป็นทั้งเหตุ (อดีต) และผลสืบเนื่อง (อนาคต) ของการเกิด อวิชชา และ 'ความไม่รู้' เป็นผลปัจจุบันของ อวิชชา. แต่ทั้งอวิชชา สังขาร และ วิญญาณ เป็นธัมมะธาตุ ที่อยู่ภายใต้กฎของสังขตธรรม. ด้วยเหตุนี้ อวิชชา สังขาร วิญญาณ (ส่วนที่มีสมบัติเป็นวัตถุธาตุ) จึงเป็นธัมมะธาตุ ที่มีอยู่แล้วเช่นนั้น ควบคู่กับเอกภพ เป็นเนื้อเดียวกันกับเอกภพ มีปริมาณนับจำนวนเป็นอนันต์ ไม่มีหมด ไม่มีตาย หาที่สุดของมันไม่ได้.

 

อวิชชา  ในส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ จะมีคุณสมบัติของสัตตะธัมมะธาตุ ในข้อที่ 1, 2, 3 คือ มวล-อนุภาค, แรง-คลื่น, อุณหภูมิ-พลังงาน. อวิชชา ในส่วนที่เป็นจิตธาตุ มีคุณสมบัติของสัตตะธัมมะธาตุ ข้อที่ 6 คือ นามรูป-วิญญาณ-สังขาร. ตถาคต กล่าวถึงอวิชชา และ อาสวะ ไว้ว่า “ความก่อขึ้นพร้อม แห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ”  และ “ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา”  

ดังนั้น อวิชชา กับ อาสวะ ก็คือสิ่งเดียวกัน อันอาศัยกันและกันเกิด. ลักษณะในความไม่รู้ของอวิชชา คือไม่รู้ในอดีต (เหตุ) และไม่รู้ในอนาคต (ผล) ไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยและกันเกิดขึ้น ตามหลักอิทัปปัจจยตา. ความจริงแล้ว อวิชชา มีคุณสมบัติเป็นวัตถุธาตุ 'มันไม่รู้เรื่องอะไร'  คือ แม้กระทั่งตัวมันก็ไม่รู้ว่า มันคืออะไร (ก็เพราะมันเป็นวัตถุธาตุนี่เอง มันจึงไม่รู้ในกาม ไม่รู้ในภพ). แต่อวิชชากับตัณหา ผู้เป็นสหายของมัน ได้กลายเป็นเชื้อโรคเข้ารุมโจมตี สัตว์ทั้งหลาย ให้มีชีวิตติดกับระบบวงจร เกิด แก่ ตาย ไม่รู้จบสิ้น. “สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ.”

 

สังขาร  เป็นธัมมะธาตุสืบเนื่องมาจาก อวิชชา (เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย). สังขารได้ก่อตัวขึ้นแล้วในอดีต และจะก่อตัวขึ้นอีกในอนาคต ส่วนปัจจุบัน สังขารก็กำลังปรุงแต่งตัวมันเองให้เป็นวัตถุ รูปนาม เป็นนั่นเป็นนี่. สังขารสืบเนื่องมาจากอวิชา ทำให้มีคุณสมบัติร่วมระหว่าง วัตถุธาตุและจิตธาตุ คือ มีคุณสมบัติของสัตตะธัมมะธาตุ ข้อที่ 4, 5 คือ มิติ กาลอวกาศ-รูปทรง และวัฏจักร-อนันต์.

สังขารในส่วนที่เป็นจิตธาตุ จะทำหน้าที่ 'ปรุงแต่ง' เหตุปัจจัยที่พร้อมสมมูล ให้สังขารในส่วนที่เป็นวัตถุธาตุ ปรากฎเป็นตัวเป็นตนชัดขึ้น เพื่อให้วิญญาณได้เข้าไปตั้งอยู่อาศัยได้ (เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ). ถ้านับเนื่องกับเวลา กล่าวได้ว่า สังขารเป็นทั้งอดีตและอนาคต.

 

วิญญาณ นับเป็นส่วนหนึ่งของ สัตตะธัมมะธาตุ ในข้อที่ 6 คือ นามรูป – วิญญาณ – สังขาร. วิญญาณ เป็นธัมมะธาตุที่มีบทบาทมากที่สุด เพราะเป็นสิ่งเดียวที่รู้ไปหมดทุกเรื่อง. รูป เวทนา สัญญา สังขาร จะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับ วิญญาณ จะเป็นผู้ตัวกำหนดมันขึ้น เพื่อให้ธัมมะธาตุอีกตัวหนึ่ง คือ สัตตา (สัตว์) เข้าไปควบคุม และครอบครองสิทธิ์. วิญญาณ ไม่มีคุณสมบัติแบบวัตถุอยู่เลย.

 

สรุปว่า นักวิทยาศาสตร์ ไม่อาจค้นพบความจริง บนเส้นเวลา ของประวัติศาสตร์เอกภพ ได้ทั้งหมด. เพราะว่าสรรพสิ่งในเอกภพนั้น มีลักษณะ – สมบัติ ข้อที่ 6 (นามรูป – วิญญาณ – สังขาร) ของธัมมะธาตุ อยู่ในนั้นด้วย ซึ่งเป็นนามธาตุ ที่ด้านวิทยาศาสตร์มองไม่เห็น. ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึง นามธาตุที่มีลักษณะสมบัติที่ 7 อันมีลักษณะพิเศษอย่างยิ่งยวด นั่นคือ วิมมุติ – นิพพาน ที่ไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใดๆ ของธัมมะธาตุที่กล่าวมาทั้งหมด.

 

นี่คือเหตุผลว่า วัตถุมืดและความลี้ลับอีกมากมาย ก็จะยังคงเป็นสิ่งมืดดำ ในโลกของวิทยาศาสตร์ต่อไป. แต่อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังมีเวลาและแสง ปรากฏอยู่ให้เห็น นักวิทยาศาสตร์ ก็จะไม่หยุด ในการค้นคว้าหาความจริง ที่ซุกซ่อนอยู่ในเอกภพ.

 

เป็นอันยุติได้ว่า อวิชชา สังขาร วิญญาณ 'ไม่มีที่สุด' เช่นเดียวกับเอกภพ ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาอยู่. แต่ตถาคต เป็นผู้พบความจริงของ 'ที่สุดโลก' แล้ว ดังคำตรัสที่ว่า “ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวว่าใครๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึงที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป ... ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทไม่เหลือของโลก และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่ เหลือของโลกไว้ดังนี้แล.”  (บาลี - จตุกฺก. อํ. 21/62/45.)

ดังนั้น 'ที่สุดโลก' ก็คือบริเวณที่ไม่มี อวิชชา สังขาร และวิญญาณ สถิตอยู่นั่นเอง. ตราบใดที่ เอกภพ มี ตราบนั้น อวิชชา สังขาร วิญญาณ ก็ยังมีอยู่ และ 'ไม่มีที่สุด.' การกำจัดหรือทำลาย อวิชชา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่การไปไล่ทำลาย อวิชชา สังขาร วิญญาณ ที่มันมีอยู่แล้วในเอกภพ แต่หมายถึง ให้ไปกำจัด ทำลาย อวิชชา สังขาร วิญญาณ (ส่วนที่มีสมบัติเป็นจิตธาตุ) ที่มันมีอยู่ 'ในร่างกายมนุษย์ ที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจ ' นี้นั่นเอง. สัตว์ผู้ใดทำได้เช่นนี้ ก็กล่าวได้ว่า ใครๆ (สัตว์) ก็รู้ ก็เห็น ก็ถึง 'ที่สุดแห่งโลก' นั้นได้ ด้วยการปฏิบัติตามวิถี อริยมรรค มีองค์ 8 ประการ.

 

อวิชชา มีคุณสมบัติวัตถุธาตุและจิตธาตุ จึงต้องถูกกำจัดให้ถูกตัวถูกตน. เนื่องจาก อวิชชา มีคุณสมบัติ 2 ด้าน, ด้านที่ต้องถูกกำจัด คือ ด้านจิตธาตุ ส่วนด้านที่เป็นวัตถุธาตุ ไม่อาจกำจัดให้หายไปได้ เพราะปัจจัยปรุงแต่งอวิชชา ด้านวัตถุธาตุ เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ตามธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้น. มีเพียง อวิชชาด้านจิตธาตุ เท่านั้น ที่กำจัดได้ เพราะหลักอิทัปปัจจยตา – ปฏิจจสมุปบาท บอกไว้เช่นนั้น. เพราะ “อวิชชา เป็นธรรมที่มีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่., เป็นคำที่ใครๆ ก็ควรกล่าวว่า 'อวิชชา ย่อมปรากฎ เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย' (อิทปฺปจฺจยา อวิชฺชา).” หากไล่ตามลำดับปัจจัยเกิด (อาหาร) ต่อไปนี้ ก็จะสามารถกำจัดอวิชชา ได้ไม่ยากนัก ด้วยการงดให้อาหารแก่สิ่งนั้น.

 

'อโยนิโสมนสิการ' เป็นอาหารของ ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ.

'ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ' เป็นอาหารของ การไม่สำรวมอินทรีย์.

'การไม่สำรวมอินทรีย์' เป็นอาหารของ ทุจริต 3.

'ทุจริต 3' เป็นอาหารของ นิวรณ์ 5.

'นิวรณ์ 5' เป็นอาหารของ อวิชชา.

 

เมื่อ อวิชชา ถูกเปิดเผย และถูกกำจัด วิชชา ก็ปรากฎขึ้นมาแทนวิญญาณ และผู้บอกแก่เราว่า อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ ในฐานะ'ผู้รู้' ใหม่ แทนผู้รู้เก่า (วิญญาณ).

 

 

7.2.2
ขนาดและขอบเขต ของจักรวาล นิพพาน

 

(1) ถ้าจักรวาลมีขนาดและขอบเขต จักรวาลก็ย่อมมีศูนย์กลาง

 

ตลอดห้วงเวลา ของการศึกษาค้นคว้า ทางด้านดาราศาสตร์ กว่า 20 ศตวรรษ เกิดข้อโต้แย้งมากมาย เกี่ยวกับอดีต (กำเนิด) อนาคต (ที่สุด หรือ จุดจบ) และปัจจุบัน (ขนาด และ ขอบเขต) ของเอกภพ. ความจริงคืออะไรกันแน่ ศูนย์กลางเอกภพ อยู่ที่ไหน? ในโลกของวัตถุธาตุ สสาร พลังงาน โลกเป็นเพียงเศษฝุ่นละออง ในกาแล็กซี่เท่านั้น ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของอะไร. เพราะเอกภพที่เราอยู่นี้ ไม่มีขอบเขต (แม้ว่ามันจะมีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง) จึงไม่สามารถกำหนดพิกัด ศูนย์กลางของเอกภพได้เลย.

แต่ในมุมมอง ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้หยั่งรู้แจ้งด้วยญาณปัญญาอันยิ่ง กลับมองเรื่องเอกภพ เป็นสิ่งไร้สาระ เป็นความรู้ที่มนุษย์ ไม่ควรคิดด้วยซ้ำไปว่า เอกภพจะมีอดีตเป็นมาอย่างไร มีอนาคตเป็นไปอย่างไร และแม้กระทั่งปัจจุบัน มันเป็นอยู่อย่างไร เพราะความรู้เหล่านี้ ไม่ได้ช่วยให้มนุษย์ หลีกพ้นวัฏจักรของการเกิด การตายไปได้เลย. สัตว์และมนุษย์ทุกผู้ รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์เอง ก็ต้องแก่ ต้องตาย และประสบทุกข์ภัย อันมีสาเหตุเดียวคือ การเกิด.

นี่คือเหตุผลที่ว่า พระองค์ไม่ใส่ใจ ในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ กำลังค้นคว้าอยู่ เพราะพระองค์รู้ชัดแล้วว่า สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ยืนยันแล้ว และสิ่งที่ยังไม่ยืนยันนั้น ล้วนเป็นสมมุติมายาทั้งสิ้น.

 

หากนิยามเอกภพ ว่าเป็นเพียงวัตถุธาตุ ที่มีแรง พลังงาน สสาร เป็นองค์ประกอบ ก็ดูไม่เป็นธรรม และพูดไม่หมด เพราะวัตถุธาตุต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์รู้จัก รวมกันแล้ว ยังไม่ถึงร้อยละ 5 ของเอกภพทั้งหมด แล้วที่เหลืออีกตั้งมากมาย คืออะไร.

ตถาคต เรียกเอกภพและกาแล็กซี่ (ดาราจักร) ในชื่อต่างๆ หลายชื่อ เช่น โลก, โลกธาตุ, จักรวาล, อวิชชา, อากาสานัญจายตนะ. เอกภพในความหมายของตถาคต มีความลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่องค์ประกอบของวัตถุธาตุเท่านั้น แต่รวมถึงจิตธาตุด้วย. ภายใต้ข้อสมมุติฐานที่ว่า เอกภพมีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง แต่ไม่มีขอบเขต ทำให้เกิดข้อถกเถียงมากมายว่า ศูนย์กลางของเอกภพ อยู่ที่ใด และมีจุดเริ่มต้น เมื่อใด. เพราะถ้าไม่มีขอบเขต ก็จะหาศูนย์กลางไม่ได้.

ในอดีต ณ บริเวณที่เป็นโลกของเรา (earth) อาจเคยเป็นศูนย์กลางจักรวาลก็ได้ เพราะในความกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต ของจักรวาล ไม่อาจกำหนดจุดใด ที่เป็นศูนย์กลางใดได้. ดังนั้นใครจะกล่าวว่า อะไรเป็นศูนย์กลางจักรวาล ก็ถูกต้องทั้งหมด เพราะนั่นคือ การพูดถึงอดีตของจักรวาล ซึ่งมีความเป็นได้ ที่ครั้งหนึ่ง จักรวาลเคยมีขนาดขนาดหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุผล ที่สมมูลกับข้อสันนิษฐานนั้น.

ในประเด็นเรื่อง ศูนย์กลางของเอกภพ อยู่ที่ใดนั้น มีคำตอบอยู่แล้ว ในสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้. ถ้าหากไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ก็เป็นเรื่องที่สมมูลกัน ที่ พโตเลมี กล่าวว่า โลกคือศูนย์กลางของจักรวาลนั้น ตรงกับสิ่งที่ตถาคตกล่าวยืนยันไว้ หากแต่ต้องนิยามคำว่า โลก ให้ตรงกันก่อนว่า โลก โลกที่ว่านี้คืออะไร. โลก ในความหมายของตถาคต หมายถึง ร่างกายของมนุษย์แบบ โลก (human).

 

“สิ่งสิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฎการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่. ในสิ่งนั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ในสิ่งนั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้. ในสิ่งนั้นแหละ นามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ นามรูปดับสนิทในสิ่งนี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้.”  (บาลี - สี. ที. 9/277/343.)

เมื่อสิ่งสิ่งหนึ่ง ไม่มีปรากฎการณ์ ไม่มีที่สุด ไม่มีวัตถุธาตุ ไม่มีมิติ แสง เงา สิ่งสิ่งนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องมีขอบเขต ไม่จำเป็นต้องอาศัยพื้นที่ เป็นศูนย์กลางตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องมีเวลา เป็นศูนย์กลางกำเนิด.

 

“ที่สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวว่า ใครใครอาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดโลกนั้น ด้วยการไป ... ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ประกอบด้วยสัญญาและใจนี้นี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก การดับสนิทไม่เหลือของโลก และทางดำเนินไปให้ถึงการดับสนิทไม่เหลือของโลกไว้ ดังนี้.”  (บาลี - จตุกฺก. อํ. 21/62/45.)

 

คำว่า 'ที่สุดโลก' ไม่ได้หมายถึง พื้นที่ และไม่ได้หมายถึง ระยะทาง แต่หมายถึง เวลา. ทำให้ที่สุดโลกที่กล่าวนี้ ไม่มีขอบเขต (ตามคุณสมบัติของ เวลา) แต่มีขนาดอยู่ขนาดหนึ่ง (เพราะเมื่อเอกภพมี 'ขนาด' ก็ย่อมมี 'ที่สุดโลก'). สิ่งใดไม่มีขอบเขต สิ่งนั้นเรียกว่าเอกภพ หรือจักรวาล. ดังนั้น คุณสมบัติพื้นฐานของเอกภพ คือ ไม่มีขอบเขตนั่นเอง. เมื่อพูดถึงเอกภพ จะละเว้นเรื่องเวลาไม่ได้.

 

“สิ่งสิ่งนั้นมีอยู่ เป็นสิ่งซึ่งในนั้นไม่มีดิน ไม่มีนํ้า ไม่มีไฟ ไม่มีลม (ไม่มีวัตถุธาตุ) ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ไม่ใช่ไม่มีจิตธาตุ) ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง (ไม่ใช่ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ หรือ กาแล็กซี่) ... สิ่งสิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา ไม่กล่าวว่ามีการไป ไม่กล่าวว่ามีการหยุด ไม่กล่าวว่ามีการจุติ ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น. (ไม่เกิด ไม่เสื่อม ไม่แปรปรวน ไม่ตาย) สิ่งนั้นมิได้ตั้งอยู่ สิ่งนั้นมิได้เป็นไป และสิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์.”  (บาลี - อุ. ขุ. 25/206/148.)

สิ่งสิ่งนั้น รวมแล้วก็คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นั่นเอง. เมื่อมนุษย์ 'ละวาง' อวิชชา สังขาร วิญญาณ ลงได้ ภาวะของโลกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า 'นิพพาน' ก็เกิดขึ้นมาแทนที่. เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขต (ไม่มีที่สุด) ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย ไม่มีสิ่งใดที่จะบอกได้ว่า ที่นั่นที่นี่. ไม่มีเวลาที่เป็นอดีต เพื่อ ใช้เป็นข้ออ้างในการหาจุดเริ่มต้น ไม่มีเวลาที่เป็นอนาคต เพื่อ ใช้เป็นข้ออ้างในการหาจุดสิ้นสุด.

นิพพาน จึงมีคุณสมบัติของ กาลปัจจุบัน เท่านั้นชั่วนิรันดร์. ดังนั้น ปัจจุบัน จึงเป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง และเป็นศูนย์กลางของโลก (โลก ซึ่งอยู่ในร่างมนุษย์นี้นี่เอง).

 

(2) นิพพาน ไม่มีขนาด ไม่มีขอบเขต แต่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติ.

 

สิ่งที่มีการเกิดปรากฎเท่านั้น เราจึงจะสัมผัส (ผัสสะ) รู้ได้, เมื่อสัมผัสรู้ได้ ก็กำหนดคำนิยามให้แก่สิ่งนั้นๆ ได้. แต่นิพพาน เป็นสิ่งที่ไม่มีการเกิดปรากฎ จึงสัมผัสรู้ไม่ได้ และไม่สามารถกำหนดคำนิยาม ว่านิพพานคืออะไร อย่างไร. สำหรับคนนอก (ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงนิพพาน) ตถาคต บอกได้แค่ว่า “สิ่งสิ่งหนึ่ง.” เช่นเดียวกับกรณีที่ นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจให้คำนิยามแก่ วัตถุมืด พลังงานมืด อนุภาคสื่อแรงโน้มถ่วง หรือ แม้กระทั่ง ปฏิสสาร เพราะสิ่งเหล่านั้น ยังตรวจจับไม่ได้ เท่ากับว่าไม่มีการเกิดปรากฎให้เห็น เป็นแต่เพียงข้อ “สันนิษฐาน” ของการมีอยู่ของมันเท่านั้น.

แต่นิพพาน เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบแล้ว และก็สามารถบอกสอน ให้ผู้ศึกษาและปฏิบัติ ค้นพบนิพพานได้ด้วยตนเอง. และเมื่อผู้ศึกษาและปฏิบัติคนใด เข้าถึงได้แล้ว ก็ย่อมจะรู้ เข้าใจ ในนิยามความหมายของนิพพานได้เอง. เพราะการเข้าถึงนิพพานของผู้นั้น ไม่ได้เกิดจาก ผัสสะ แต่เกิดจากการหยั่งรู้ด้วยตนเอง เพราะการหยั่งรู้นี้ ไม่สามารถอธิบายให้ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึง สามารถเข้าใจภาวะนิพพานได้. นี่คือเหตุผลที่พระองค์กล่าวว่า นิพพาน เป็นสิ่งที่ต้องรู้ด้วยตนเอง (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ).

 

 

7.2.3
นวัตกรรมการสื่อสาร เพื่อการแสวงหา หรือการรู้แจ้งเห็นจริง

 

(1) ผู้ศึกษาและปฏิบัติ ตามแนวพุทธศาสน์ เพื่อหลุดพ้นจากสังโยชน์ (สิ่งร้อยรัด) ส่วน นักวิทยาศาสตร์ ศึกษาข้อสมมุติฐานต่างๆ อันเสมือนเครื่องร้อยรัด (พันธะ)

 

คำของพระศาสดาทุกคำ ทุกบท มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง และเป็นเหตุเป็นผลกันเสมอ. เหมือนการวางสัจพจน์ ให้แก่โปรแกรมหลัก หรือสมการหลัก เช่น อิทัปปัจจยตา-ปฏิจจสมุปบาท-อริยสัจสี่, ทุกส่วนของโปรแกรม จะมีตัวแปรอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง, ทุกคำเป็นตัวแปรได้หมด. เมื่อแทนค่าตัวแปรเหล่านั้น ด้วยธรรมหมวดอื่น ก็จะทำให้โปรแกรมหลัก และโปรแกรมย่อย ทำงานได้สอดคล้อง ราบรื่น, ไม่ขัดกัน ไมมี error ไม่มี bug.

คำของพระองค์เป็น อาลิโก ตรงเป็นอันเดียวกันหมด ไม่จำกัดกาล “นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออกซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย. ... ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น.”  (บาลี - อิติวุ. ขุ. 25/321/293.)

แต่ปัจจุบัน สาวกรุ่นหลังบางคน ก็ใส่ตัวแปรเพิ่ม บางคนก็ตัดตัวแปรบางอันออก บางคงก็ แก้ไขตัวแปร บางคนเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ แต่ที่เสียหายมากที่สุดคือ ตัดบางโปรแกรมทั้งโปรแกรม ทิ้งไปเลย. ทำให้คนรุ่นหลัง เข้าใจระบบพุทธศาสน์ผิดเพี้ยนไปจากของเดิม พุทธกลายเป็นลัทธิเทว
นิยม ไม่ก่อประโยชน์ต่อมนุษยชาติที่แท้จริง.

ตถาคต รอบรู้และเข้าใจพฤติกรรมของสัตว์โลกได้ลึกซึ้งมากที่สุด. ทรงเห็นว่า พฤติการณ์ของวัตถุ ชีวิต จิต ทั้งที่อยู่ในลักษณะเสื่อม แปรปรวน สุขใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ) สรุปลงที่ 'ความทุกข์' (ทุกขัง) ทั้งสิ้น. ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมี 'เหตุ' (สมุทัย) และความทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น สามารถทำให้สิ้นสลาย (นิโรธ) ไปได้ ตามวิถีทางที่พระองค์บัญญัติ (อริยมรรค).

 

ดังนั้น สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ และสั่งสอน ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่จะต้องใช้อำนาจบังคับ ให้ต้องกระทำ. แต่กลับเป็นการให้อิสรเสรีภาพ แก่ผู้ต้องการศึกษาและปฏิบัติ. เมื่อผู้ใดต้องการศึกษาและปฏิบัติ ในวิถีทางที่พระองค์บัญญัติ ก็จะต้องเคร่งครัดในหลักการและกฎระเบียบ (ธรรมและวินัย) เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาศึกษานั้น ได้บรรลุธรรม หลุดพ้นได้อย่างแท้จริง.

 

มีเหตุผลหลายประการที่ยืนยันว่า ตถาคตมีเป้าหมายที่ชัดเจน ต่อมนุษยชาติ เช่น

พระองค์ไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้เขานับถือ หรือหวังในรางวัล เกียรติยศ อำนาจ “พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใดให้ล้มลงไป และมิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้.”  (บาลี - จตุกฺก. อํ. 21/33/25.) พระองค์เกิดมา เพื่อแก้ 'ทุกข์' ปัญหา ให้แก่มนุษย์ “ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.”  (บาลี - จตุกฺก. อํ. 21/33/25.)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การเกิดขึ้น ของปรากฎการณ์ในธรรมชาติ ไม่ใช่ อำนาจดลบันดาลของพระเจ้า แน่นอน. พวกเขาจะต้องพิสูจน์ ประวัติความเป็นมาให้ได้ ด้วยหลักการทฤษฎี หรือสมการที่คำนวณหาคำตอบได้. สิ่งนี้ กลายเป็นเป็นพันธะสัญญา ที่นักวิทยาศาสตร์ จะต้องดำเนินการสานต่อไม่มีวันยุติ. ซึ่งต่างจากพันธะสัญญา ของตถาคตที่ตั้งไว้ว่า พระองค์จะไม่ปรินิพพาน (ตาย) ถ้ายังไม่สามารถบรรลุธรรม และทำให้มนุษย์หลุดพ้นได้ตามสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้. และเมื่อพระองค์ ประกาศศาสนา พิสูจน์ให้เห็นจริงได้ว่า มนุษย์โลก สามารถบรรลุเหนือ หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้ ความลังเลสงสัย แบบที่นักวิทยาศาสตร์เป็น ก็ไม่จำเป็นอีกแล้ว ก็เป็นอันจบพันธะสัญญาเพียงเท่านี้ ไม่ต้องศึกษาค้นคว้า วิจัยอะไรอีกแล้ว.

 

นักวิทยาศาสตร์ ได้ขีดวงจำกัด ในการศึกษาธรรมชาติอันลึกซึ้งไว้ที่ สสาร แรงพื้นฐานทั้งสี่ และกาลเวลา. ส่วนปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับจิต พวกเขาศึกษาได้ไกลสุด แค่การทำงานของสมอง และไฟฟ้าในสมอง. แล้วอธิบายออกมาเป็นปรากฎการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต เรียกชื่อศาสตร์แขนงนี้ว่า จิตวิทยา (Psycology). จิตวิทยา แตกแขนงแยกย่อย ไปตามสาขาวิทยาการต่างๆ มากมาย เช่น จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม จิตวิทยาการสื่อสาร ฯลฯ. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theories) ของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1856 – 1938 A.D.) เป็นทฤษฎีหนึ่ง ที่ถูกนำไปอ้างอิงมากที่สุด (น่าเชื่อถือที่สุด) จนกลายเป็นหลักการแม่บท สำหรับการอธิบาย พฤติกรรมของมนุษย์บนโลกนี้.

 

ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพมนุษย์ ประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego), อิด ก็เหมือนสัญชาติญาณดั้งเดิม ในความเป็นสัตว์ทั่วไป (เทียบได้กับ อวิชชา ตัณหา ราคะ). ซูเปอร์อีโก้ เป็นจิตฝ่ายบวก ที่ต้องผ่านการฝึกอบรม สามารถอยู่เหนืออำนาจ สัญชาติญาณแบบอิดได้. อีโก้ เป็นตัวควบคุมพฤติกรรม ที่มาจากสัญชาติญาณดั้งเดิม ให้อยู่ในกรอบของความถูกต้อง ชอบธรรม. ฟรอยด์ มองว่า คุณค่าและเป้าหมายสูงสุด ของพฤติกรรมมนุษย์ คือ การได้รับความสุข อำนาจ และอาหาร. เขาแบ่งจิตออกเป็น จิตสำนึก จิตใต้สำนึก แต่ตถาคต ไม่ได้เรียกเช่นนั้น.

พระองค์อธิบายเรื่องจิต ในลักษณะของกระบวนการ ที่ลึกซึ้งกว่า เพื่อพิสูจน์ว่า พฤติกรรมของมนุษย์ ที่มีคุณค่าสูงสุดนั้น ไม่ได้อยู่ที่การได้รับ ความสุข อำนาจ หรือแม้กระทั่งอาหารแบบมนุษย์โลก.

 

(2) นวัตกรรมการสื่อสาร สู่ความเป็นพุทธะ : เทคนิคการสอนของตถาคต

 

องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ของนวัตกรรมการสื่อสาร คือ วิธีการ เนื้อหาสาระ และ ผู้ส่งสาร – ผู้รับสาร (อาจเป็นคน สัตว์ วัตถุ จิต). การขยายขอบเขต คำนิยาม ให้แก่องค์ประกอบทั้งสามประการ สามารถสร้าง นิเทศศาสตร์นวัตกรรม (Innovation communication) ขึ้นมาได้.

 

ถ้าการอธิบายปรากฎการณ์ ทุกปรากฏการณ์ได้ ภายใต้ทฤษฎีเดียว นั่นก็คือ นิเทศศาสตร์นวัตกรรม. แท้จริงแล้ว สัตตะธัมมะธาตุ จัดเป็นทฤษฎีหนึ่ง ในนิเทศศาสตร์นวัตกรรม. เพราะมีขอบเขตของเนื้อหา ครอบคลุม ทั้งทางด้านวัตถุธาตุและจิตธาตุ.

ฝ่ายส่งสารและรับสาร ไม่จำกัดแค่มนุษย์เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตด้วย คือ ชีวิตจักรวาล-ควอนตัม ชีวิตจักรกล ชีวิตแบบโลก ชีวิตระบบขันธ์-5 ซึ่งเรียกว่า กลไกชีวะ-ชีวิต และ กลไกชีวะ-ฟิสิกส์ (กล่าวไว้แล้วใน บทนำ).

 

ส่วนวิธีการสื่อสาร เพื่อสร้างการยอมรับกันได้ ระหว่างวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสน์ มาจากการเปรียบเทียบ การอนุมาณ และการจินตนาการ ภายใต้หลักเหตุผล ด้านวิทยาศาสตร์ และพุทธศาสน์ร่วมกัน และ มโนทัศน์สัมพัทธภาพ. มโนทัศน์สัมพัทธภาพ เป็นได้ทั้งสื่อ (media) ช่องทางการสื่อสาร (channel) และวิธีการ ในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับสาร ที่มีองค์ประกอบ แตกต่างกันแบบสุดขั้วได้.

โดยเฉพาะ เนื้อหาสาร (message) ที่มีลักษณะ สสาร พลังงาน แรง คลื่น จิตวิญญาณ. เนื้อหาสารเหล่านี้ มีลักษณะและคุณสมบัติ แตกต่างกันมาก ทำให้การอ้างอิง เปรียบเทียบทำได้ยาก. เนื้อหาสาร ที่มีขนาดเล็กมากๆ ระดับอะตอม และที่มีขนาดใหญ่มากๆ ระดับดาราจักร, มันมีขนาดและขอบเขตเล็กหรือใหญ่ เกินกว่า ประสาทรับสัมผัสของมนุษย์ จะรับรู้ได้. การอธิบายเนื้อหาสาร ที่มีความแตกต่างกันมากๆ ต้องใช้กรอบอ้างอิง ขนาดที่เหมาะสม และต้องใช้จินตนาการร่วม ในการสื่อความหมายด้วย. (ดูบทที่ 6 มาตรวัดสัมบูรณ์ 4 กรอบอ้างอิง).

 

เพื่อป้องกัน ความคลาดเคลื่อนของหลักธรรม, ตถาคต กำหนด มาตรฐาน “พยัญชนะ” และ “อรรถ” ให้เป็นสื่อ (media) เผยแพร่ สืบต่อ หลักธรรม ผ่านช่องทาง (channel) ทุกประเภท ที่มนุษย์แต่ละยุคสมัยมีใช้กัน ตั้งแต่ คำพูด (คำสอน – บทสวด) อักขระ (ไตรปิฎก – สิ่งพิมพ์) แฟ้ม ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ (ไฟล์มัลติมีเดีย – เว็บไซต์).

ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์. กล่าวได้ว่า ตถาคต เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ที่พูดไม่ผิดเลย ตลอดระยะเวลา 45 ปี หลังการตรัสรู้. เพราะพระองค์ กำหนดสติก่อนพูดเสมอ ทำให้พุทธวจน (อนุสาสนีย์) เป็นอกาลิโก ที่ไม่มีทฤษฎีใดขัดแย้งได้เลยตลอดกาล. พระองค์ร้อยเรียงคำสอน ด้วยความระมัดระวัง. คำพูดทุกคำ (พยัญชนะ) ความหมายทุกบท (อรรถะ) จะต้องไม่ผิดเลย และความหมาย ที่ซ่อนอยู่ในพยัญชนะ ก็จะต้องไม่ผิดเพี้ยนเช่นกัน. การถ่ายทอด บอกสอนธรรมและวินัย แก่คนต่างเชื้อชาติ ต่างเผ่าพันธุ์ พยัญชนะหรือข้อความ ที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว อาจถูกแก้ไข แต่งเติม (พยัญชนะมีการปฏิรูป) ในการแปลไปเป็นภาษาต่างๆ ได้. แต่เพื่อให้การสืบทอดธรรมของพระองค์ มีความถูกต้องมากที่สุด จึงจำเป็นต้องเคร่งครัด ในการอธิบายความหมาย ของพยัญชนะนั้น (อรรถะ) แม้ว่าตัวพยัญชนะจะถูกปฏิรูปไป ก็ยังคงสืบทอดสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้ ต่อไปได้อีกยาวไกล.

แต่หากยุคสมัยใดทั้ง พยัญชนะ และ อรรถ เกิดการปฏิรูปในคราวเดียวกัน, ยุคสมัยนั้น ก็จะเกิดสัทธรรมปฏิรูป คือ เนื้อแท้ของธรรมและวินัยบางส่วน จะสูญหายไป. เช่น การตีความหมายของคำว่า รูปสัญญา กับ รูปฌาน เป็นสิ่งเดียวกัน, แท้จริงแล้ว รูปสัญญา คือ การหมายรู้ ในรูป ส่วน รูปฌาน คือ การเพ่งจิตในรูป สัญญา กับ ฌาน จึงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เป็นต้น.

 

ตถาคต จึงสั่งกำชับแก่สาวกไว้ว่า เมื่อกาลเวลาผ่านไป ให้สาวกจดจำเฉพาะคำพูด ที่เป็นของพระองค์ไว้เท่านั้น และถ่ายทอดต่อๆ กันไป. ถ้าธรรมข้อใดเป็นของสาวก ก็จะต้องให้พระองค์ รับรองก่อนว่าถูกต้องแล้ว. ทรงสั่งห้ามตัด เติม แก้ไข คำของพระองค์ แม้ผู้ทำจะเป็นพระสาวกก็ตาม. ข้อนี้ รวมถึงการยกพุทธวจนขึ้นแสดง โดยวิธี 'ฉันทโส' (พุทฺธวจน ? ฉนฺทโส) คือ การแสดงธรรม โดยการใส่ทำนอง ร้อยกรอง กาพย์กลอน ทุกประเภท พระองค์ก็ห้ามทำ. และรวมถึงข้อห้ามที่ว่า “ ... จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานศึกษา ในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด ...” ทั้งนี้เพื่อป้องกัน ความคลาดเคลื่อน คำสอนของพระองค์ ที่เกิดจากบุคคลภายนอก ที่ไม่ใช่อริยบุคคล. เหตุนี้ พระองค์จึงเปิดทางให้ภิกขุสอบถามเรียนรู้ อยู่แต่เฉพาะ ในกลุ่มผู้เป็นอริยบุคคลด้วยกันเอง และปิดทางไม่ให้บุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่อริยบุคคล ทำตนเป็นผู้บอกสอนเสียเอง (ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โน อุกฺกาจิตวินีตา).

 

สุตตันตะ ที่ตถาคตสั่งห้ามภิกขุ และที่สั่งให้ภิกขุ ศึกษาเรียนรู้ มีขอบเขตครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง? ข้อนี้ วินิจฉัยได้ว่า

 

หากผู้ศึกษา ต้องการเข้าถึงขั้นหลุดพ้น ตั้งแต่ระดับสกทาคามีบุคคลขึ้นไป และรวมถึงนักบวชทุกชั้นทุกฐานะ, สุตตันตะ ที่กล่าวถึงนี้ ไม่ใช่องค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ แต่จะมุ่งเฉพาะเรื่องสุญญตา ซึ่งเป็นความรู้ในขั้น “ความจริง ในความจริง” (เข้าถึงความจริงได้สมบูรณ์ สิ้นสงสัย) หรืออย่างน้อยก็ขั้น “ความจริง ในความรู้” (เข้าถึงความจริงได้ด้วยตนเอง ตามที่รู้ หรือเท่าที่ตนรู้) เช่น สังขตธรรม อสังขตธรรม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ-4 โพชฌงค์-7 เป็นต้น.

 

แต่ถ้าหากว่า ผู้นั้นต้องการศึกษาและปฏิบัติ ในระดับโสดาบันบุคคล เป็นผู้อยู่ครองเรือน (ฆราวาส) ไม่ถึงกับเป็นนักบวช, สุตตันตะ เหล่านั้น ก็หมายรวมถึง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และปรัชญา ซึ่งเป็นความรู้ สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ของมนุษย์ปกติ. ได้แก่ ความรู้ในขั้น “ความรู้ ในความจริง” (รู้จริง ตามหลักเหตุผล ไม่ใช่รู้ ตามความเชื่อ) หรืออย่างน้อย ก็ความรู้ในขั้น “ความรู้ ในความรู้” (รู้จริง ตามหลักทฤษฎี ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าจริง).

 

สุตตันตะ อย่างหลังนี้ จะต้องไม่ละเมิดกฎ 3 ข้อ คือ 1) ต้องไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ และเดรัจฉานวิชชา 2) ต้องไม่ผิดศีล และวินัย ที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว 3) เลื่อมใส ศรัทธา ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมที่ตถาคตประกาศแล้ว ในสงฆ์สาวกที่ประพฤติธรรมและวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว.

 

(3) ขอบเขตของปรัชญาใหม่ ในการศึกษาสัตตะธัมมะธาตุ

 

ปรัชญา คือ “ความรัก” ที่จะ “เรียนรู้” เกี่ยวกับ “ความจริง.” เนื่องจากความจริงของธัมมะธาตุ มีความแตกต่างหลากหลาย แบบสุดขั้ว และมีความซับซ้อนซ่อนอยู่ในหลายมิติ. เช่น

 

ความรู้กับความจริง 4 มิติ ได้แก่

มิติที่ 1 'ความรู้ ในความรู้'
มิติที่ 2 'ความรู้ ในความจริง'
มิติที่ 3 'ความจริง ในความรู้'
มิติที่ 4 'ความจริง ในความจริง.'

 

ดังนั้น ขอบเขตของการเรียนรู้ สัตตะธัมมะธาตุ จึงครอบคลุมถึงทุกสรรพสิ่งในเอกภพ คือ

(1) การเรียนรู้ ที่จะต้องพิสูจน์ได้ด้วย หลักการทฤษฎี (วิธีวิทยาศาสตร์)

(2) การเรียนรู้ ที่มาจาก “จินตนาการ” ถ้าสิ่งที่เรียนรู้นั้น เกี่ยวกับ เวลา อวกาศ มิติ และ

(3) การเรียนรู้ ที่รับรองยืนยันด้วย “การรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง” (ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ).

 

ธัมมะธาตุทั้งหลาย แบ่งลำดับความสำคัญ (Hierarchy of state of Everything) ออกเป็น 3 ลำดับชั้น คือ

 

ลำดับชั้นที่ 1 วิมุตติ – นิพพาน หรือ อสังขตธรรม. ที่จริง วิมุตติ – นิพพาน มิได้อยู่บนสุด หรืออยู่รอบนอกสุด แต่มีลักษณะพิเศษ มีชุดคำอธิบายเฉพาะ. เราไม่สามารถ นำกฎเกณฑ์ของธัมมะธาตุอื่นๆ ไปอธิบายได้. แต่ที่จัดให้ไว้เป็นลำดับสำคัญ ไว้แรกสุด หรือบนสุด ก็เป็นเพียงการสมมุต ิเพื่ออธิบายเทียบเคียงกับ สถานะของธัมมะธาตุในลำดับถัดไป.

 

ลำดับชั้นที่ 2 เวลา. เวลา เป็นธัมมะธาตุเพียงสิ่งเดียว ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตน และส่งผลต่อทุกธัมมะธาตุ. เวลา จะเป็นเขตหรือเส้นแบ่งระหว่าง สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม. ไม่มีธัมมะธาตุใด ที่จะไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของเวลา (ยกเว้น วิมุตติ-นิพพาน). เวลา มีคุณสมบัติตามนัยยะ ที่ตถาคตบัญญัติไว้ คือ “เวลา ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ไม่มีอุบัติ. เวลา มีอยู่ ตั้งอยู่แล้วเช่นนั้นเป็นธรรมดา (ธัมมัฏฐิตา) เป็นกฎตายตัวของธรรมชาติ (ธัมมนิยามตา). เวลา ก็เป็นเช่นนั้นของมันเอง (ตถตา) ไม่ผิดไปจากที่มันเป็น (อวิตถตา) ไม่แปรปรวนไปเป็นอย่างอื่น (อนัญญถตา). เวลา เป็นเส้นทางหรือท่อนำทาง (timeline) ให้สังขารทั้งหลาย และปรากฎการณ์ต่างๆ อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นและดำเนินไป (อิทัปปัจจยตา).”

 

ลำดับชั้นที่ 3 สังขตธรรม. ธัมมะธาตุที่อาศัยการปรุงแต่ง เพื่อเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และการดับสลาย. ธัมมะธาตุที่จัดอยู่ในลำดับชั้นนี้ ได้แก่ สัตตะธัมมะธาตุ ทั้งหมด ยกเว้น วิมุตติ-นิพพาน.

นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งลำดับชั้น ของปรากฎการณ์ของธัมมะธาตุ ตามคุณลักษณะ “ความสัมบูรณ์” ได้อีก 3 ลำดับชั้น คือ

ลำดับชั้นที่เป็น โลกธาตุ  หมายถึง วัตถุธาตุที่ก่อตัวขึ้นในเอกภพ ในระยะทาง ในระยะเวลา และในมิติ ซึ่งการพิสูจน์ความมีอยู่ของโลกธาตุ ยังไม่ยุติ, เพราะโลกธาตุ ยังมีวัฏฏะ (เกิด เสื่อม ดับ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังขตธรรม.

ลำดับชั้นที่เป็น ธัมมะธาตุ  หมายถึง ลำดับชั้นที่เป็นองค์ประกอบของ วัตถุธาตุและจิตธาตุ ซึ่งมีความละเอียดกว่า โลกธาตุ. แต่ก็ยังอยู่ภายใต้กฎของสังขตธรรม.

ลำดับชั้นที่เป็น นิพพานธาตุ  เป็นลำดับการดำรงอยู่ ของกายและจิตที่บริสุทธ์ มีความสัมบูรณ์ทั้งในด้านรูปและนาม คือ เมื่อเกิดนิพพานธาตุ สังสารวัฏ ก็ดับลง และเป็นอมตะ.

 

ข้อสรุปที่ได้จาก 4 มิติ ของความรู้กับความจริง และลำดับชั้น การศึกษาสัตตะธัมมะธาตุ ทำให้เกิดปรัชญาอันยิ่งใหญ่ 3 ด้าน คือ ปรัชญาศาสนา ปรัชญาสังคม และ ปรัชญาฟิสิกส์ กลายเป็นปรัชญามูลฐาน ที่สอดแทรกไปใน วิทยาการสาขาต่างๆ ทุกสาขา ที่จำเป็นสำหรับมนุษย์.

 

ปรัชญาศาสนา (Religion philosophy) คือ การศึกษาความจริง เกี่ยวกับ ชีวิต การเกิด การตาย และ กรรมวิบาก พื้นฐานความจริง ที่ต้องศึกษา คือ กฎสังขตลักษณะ กฎอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปปบาท อริยสัจ-4 สติปัฎฐาน-4 อริยมรรค-8 และ โพชฌงค์-7.

 

ปรัชญาสังคม (Social philosophy) คือ การศึกษาความจริง เกี่ยวกับ การดำรงชีวิต ของมนุษย์ ของสังคมมนุษย์ ของสิ่งแวดล้อม และ ระบบ (system) ที่ก่อให้เกิดการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้ชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม เกิดสุข (wellness lifestyle) ตายสุข (go to heaven) และ ได้รับวิบากดี (perfectly effect). ปรัชญาสังคม ก่อเกิดวิทยาการมากมาย หลายสาขา เป็นต้นกำเนิด ของศาสตร์หลากหลายสาขา โดยเฉพาะ สังคมศาสตร์.

 

ปรัชญาฟิสิกส์ (Physical philosophy) คือ การศึกษาความจริง เกี่ยวกับ การเกิด การตาย และสถานะ ของ มวล สสาร แรง พลังงาน เช่น Big Bang, galaxy, graviton, atom, etc. ปรัชญาฟิสิกส์ มีอิทธิพลต่อวิทยาการด้านเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้นำ ไปใช้ จะนำไปใช้ในทางสันติหรือไม่.

 

(4) มโนทัศน์สัมพัทธภาพ ช่วยลดช่องว่าง ความแตกต่างทางความคิด

 

ปรัชญาอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 ด้านนี้ จะทำให้มนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจ (perceptions) ธรรมชาติ ได้อย่างลึกซึ้ง, เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ (reality) ทุกแง่มุม และ เกิดการกระทำ (practice) ในเชิงบวก. ปัจจัยกำหนด พฤติกรรมของมนุษย์ ที่มีพลังอำนาจและอิทธิพล ในการเปลี่ยนความคิดคน มี 3 ระดับ คือ วิสัยทัศน์ มโนทัศน์ กระบวนทัศน์.

 

ระดับ วิสัยทัศน์ (vision) เป็นการมองภาพเหตุการณ์ บุคคล ในปัจจุบัน เพื่อทำนายเหตุการณ์ในอนาคต. สื่อ สิ่งแวดล้อม คนรอบข้าง คือปัจจัยในการสร้างวิสัยทัศน์ ของบุคคลแต่ละคน และ วิสัยทัศน์ที่เกิดขึ้นนี้ อาจมีส่วนผสมของ ความถูก – ความผิด ความจริง – ความเท็จ ปะปนอยู่ในนั้น.

ความคิดระดับ มโนทัศน์ (concept) เป็นการมองเห็นภาพ (ในปัจจุบัน) ของหลายๆ สิ่ง ภายในใจ ซึ่งมีลักษณะ ร่วมบางอย่าง (ลักษณะในอดีต และลักษณะในอนาคต) คล้ายกัน หรือเหมือนกัน มโนทัศน์ จะมี ค่านิยม (values) รวมอยู่ในนั้นด้วย.

กระบวนทัศน์ (paradigm) คือ “ชุดความคิด” ที่มีความลึกซึ้ง มากกว่ามโนทัศน์ และวิสัยทัศน์. ชุดความคิดเหล่านั้น ประกอบด้วยทฤษฎีและหลักการที่ยอมรับกันใน “คาบเวลา” หนึ่ง. กระบวนทัศน์ เป็นปรากฏการณ์ ที่มีคาบเวลา ที่ค่อนข้างยาวนานและแน่นอน. เมื่อ ปัจจัยอิทธิพล เปลี่ยนไป ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี ตลอดจนสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ, ส่งผลให้กระบวนทัศน์แบบเดิม เปลี่ยนไปเช่นกัน (shift paradigm).

 

คนสองคนหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง อาจมีกระบวนทัศน์ ที่เหมือนกันได้. ปัญหาของกระบวนทัศน์ คือ ขณะที่ปัจจัยอิทธิพลเปลี่ยนไป แต่คนผู้นั้นหรือกลุ่มนั้น ยังยึดชุดความคิดเดิม. ส่งผลต่อการบริหารจัดการ แนวปฏิบัติ และ การปฏิสัมพันธ์กัน ของคนในองค์กร ในชุมชน. แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ากระบวนทัศน์แบบใด ยุคสมัยใด, เราไม่สามารถเร่งรัด หรือกำหนดวิถีทาง หรือ แบบของกระบวนทัศน์ ตามที่ต้องการได้เลย เพราะ ปัจจัยอิทธิพล มีพลัง มีความหลากหลาย และมีความซับซ้อนสูง. แต่เราสามารถ 'ปรับเปลี่ยน' บุคคล ให้มีความเข้าใจ (understanding) หรือโน้มน้าวใจ ให้เขาเปลี่ยนแนวปฏิบัติ (practice) ค่านิยมต่างๆ ตลอดจนแบบแผนชีวิต ให้เข้ากับยุคแห่งกระบวนทัศน์ได้.

เช่น นับแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นไป โลกเข้าสู่ยุค กระบวนทัศน์หลังสมัยใหม่ (postmodernism) แต่จะเห็นผลของรอยต่อ ระหว่างกระบวนทัศน์ก่อนหน้า กับกระบวนทัศน์ postmodernism ได้ชัดเจน ในปี ค.ศ. 2030. ซึ่งในปีนี้ มนุษย์โลกและสังคมโลก จะเต็มไปด้วย ศรัทธาแรงกล้าต่อความ ก้าวหน้า (idea of progress) ภูมิปัญญา (enlightenment) แนวคิดเสรีนิยม (liberalism). สังคมมีความแตกต่างหลากหลาย (diversity) ภายใต้เจตจำนงเสรี.

 

ฟรีดริช นิทซ์เซอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche: 1844-1900 A.D.) นักคิดยุคกระบวนทัศน์ postmodernism ผู้ยึดมั่นวัตถุนิยม และการแสวงอำนาจ (life is the will to power, ...) อย่างสุดขั้ว, เขากล่าวว่า ยุคสมัยใหม่ จะยอมรับความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เป็นจริง (real) กับ สิ่งที่ปรากฏ (apparent). นิทซ์เชอ เป็นเจ้าของวลีที่ว่า “พระเจ้าตายแล้ว” (Gott ist tot). เขามองว่า ศีลธรรมก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น, สังคมยุคใหม่ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยหลักธรรม คำสอนอีกแล้ว แต่เป็นวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม.

แนวคิด เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (will to power) ของนิทซ์เซอ ส่งอิทธิพลต่อวิธีคิด และวิถีชีวิตของคนในยุค 5G อย่างชัดเจน. เขามองว่า อำนาจ (power) ไม่ใช่การกระทำ ไม่ใช่การปกครอง กดขี่ผู้อื่น แต่เป็น อำนาจสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงาม สิ่งที่ดีงาม, โดยเริ่มจาก การรู้จักควบคุมกิเลส ที่มีอยู่ในตัวเรา. คนที่สามารถควบคุมกิเลสได้ ก็จะกลายเป็น ผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง.

คนที่ต้องการเป็น superman นั้นจะต้องไม่เชื่อพระเจ้า และไม่เชื่อชีวิต หลังความตายด้วย. (เพราะ 'พระเจ้าตายแล้ว'). นิทซ์เซอ เชื่อว่า ชีวิตหลังความตายนั้น ไม่มีอยู่จริง ส่งที่มีอยู่จริงนั้นก็คือ ชีวิตนี้ ต้องอยู่กับปัจจุบัน และมุ่งไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่. จะเห็นว่า แนวคิดสุดขั้วของนิทซ์เซอ นั้น มีทั้งส่วนใกล้เคียงมาก (อำนาจสร้างสรรค์ อำนาจที่มาจากการควบคุมกิเลส) และส่วนแตกต่างอย่างมาก กับแนวคิดของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ (อุจเฉททิฐิ ความเห็นว่าตายแล้วสูญ). เพราะการไม่เชื่อพระเจ้าอย่างตกขอบ อาจทำให้พลาด ในการเข้าถึงความจริง ด้านจิตวิญญาณไป อย่างน่าเสียดาย.

 

มนุษย์จะทำตัวยิ่งใหญ่อย่างไรก็ตาม แต่ก็ไม่อาจยิ่งใหญ่ไปกว่า “ความตาย.” จนเกิดวลีเปรียบเทียบไว้ว่า “แม้คุณจะยิ่งใหญ่คับฟ้า แต่คุณก็จะเล็กกว่าโลง (โลงศพ) เมื่อตายแล้ว.”  ดังนั้น ชีวิตหลังความตาย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่มนุษย์จะต้องรู้ และทำความเข้าใจ ประวัติศาสตร์ของมัน.

 

กลุ่มบุคคล ในองค์กร ชุมชน สังคม ไม่ว่าระดับใดๆ ย่อมมีแนวคิด ขัดแย้งอยู่เป็นธรรมดา ไม่มากก็น้อย. เพียงแต่ว่า ความขัดแย้งนั้น ถูกเก็บซ่อนไว้ภายในจิตใจ และทำให้บุคคลผู้นั้น “ทนได้” กับภาวะความขัดแย้งนั้น. ความอดทนอดกลั้น ของแต่ละคนนั้น มีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอุปนิสัย การอบรมเลี้ยงดู ความเชื่อ และ สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม. การสลายความขัดแย้ง ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ โดยเฉพาะ ความขัดแย้ง ระดับกระบวนทัศน์. ประเทศไทยในยุคปี พ.ศ. 2545 - 2557 คนไทย มีความขัดแย้งทางการเมือง อย่างรุนแรง ต่อเนื่องมาตลอด.

ฝ่ายหนึ่ง (รัฐบาล) ถูกกล่าวหาว่า กระทำการทุจริต และประพฤติมิชอบ อย่างกว้างขวาง และมีมวลชน ที่มีแนวคิดแบบเดียวกันสนับสนุน, อีกฝ่ายหนึ่ง คือกลุ่มมวลชนจำนวนมาก ที่ต่อต้านการบริหารประเทศ.

ภาวะความขัดแย้ง ของกลุ่มมวลชนทั้งสองฝ่าย พัฒนาความรุนแรง มาเป็นระยะและต่อเนื่องมาตลอด. ส่วนใหญ่กลุ่มอนุรักษ์นิยม จะถูกกลุ่มก้าวหน้า ตอบโต้ด้วยการใช้อาวุธ และความรุนแรงหลายครั้ง เกิดบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก. เหตุการณ์ยุติลงเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมสถานการณ์ กระทำการรัฐประหาร ในช่วงเวลาวิกฤตนั้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557.

 

แนวคิดของกลุ่มคนไทยตั้งแต่นั้นมา จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) แบ่งแนวคิดออกเป็น 3 กลุ่มแนวคิด คือ

(1) กลุ่มอนุรักษ์นิยม เชิดชูสถาบันหลักของชาติ

(2) กลุ่มก้าวหน้าประชาธิปไตย – ต่อต้านเผด็จการ

(3) กลุ่มคนรุ่นใหม่ ฝักใฝ่อัตลักษณ์ของตนเอง.

 

แต่ละกลุ่มแนวคิด มีความแตกต่างกัน ในระดับกระบวนทัศน์ ซึ่งยากแก่การสร้าง “สมานฉันท์” ที่จะตกลงยอมความกันได้. กลุ่มอนุรักษ์นิยม มุ่งรักษาสถานะของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภายใต้หลักเหตุผล และประวัติศาสตร์, กลุ่มก้าวหน้า มุ่งผลประโยชน์เฉพาะหน้า และผลประโยชน์ จากการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทน มีชนชั้นนำคอยควบคุมมวลชน, กลุ่มคนรุ่นใหม่ ประกอบด้วยเยาวชน ที่ขาดการเชื่อมโยง ทางด้านการเมือง ปรัชญา ศาสนา เกือบจะสิ้นเชิง. กลุ่มนี้จึงมีโลกทัศน์ที่คับแคบ มีโลกส่วนตัวสูง คิดวิเคราะห์ภายใต้ อารมณ์ มากกว่าเหตุผล ขาดการสืบสานต่อ ในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. ส่งผลให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ ถูกชักจูงได้ง่าย จากการสร้างอารมณ์ร่วม จนเกิดการยอมรับ.

 

แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนไทยทั้งสามกลุ่ม ต่างก็มีกระบวนทัศน์และตรรกะ ของอีกกลุ่มหนึ่ง มาเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง ปะปนกันไป. ดังนั้น การสลายขั้วแนวคิดของทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ใช่จะทำได้สำเร็จ ในเวลาอันรวดเร็ว อาจใช้เวลาต่อจากนี้ไปอีก 1 ทศวรรษ. ที่กล่าวเช่นนี้ มิใช่ว่าการสร้างความสมานฉันท์ ในสังคมไทย จะทำไม่ได้เสียทีเดียว. มนุษย์ เป็นสัตว์เพียงชนิดเดียว ที่พูดสื่อสารเรื่องซับซ้อน ลึกซึ้งได้รู้เรื่อง ผ่านสื่อกลาง หลายๆ อย่าง (หลายช่องทาง) เช่น ภาษาเขียน คำพูด และสัญลักษณ์.

 

คุณสมบัติอันโดดเด่นข้อนี้ สามารถนำมาแก้ไข ปัญหาอุปสรรค แนวคิดที่แตกต่างกันได้. โดยอาศัย มโนทัศน์สัมพัทธภาพ (conceptual relativity) ในการเสนอประเด็นปัญหา แนวคิด (ทั้งโครงสร้าง และเนื้อหา) ที่แตกต่างกัน ให้เกิดความเข้าใจตรงกันว่า มุมมองของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกัน เมื่อมองในห้วงเวลาที่ต่างกัน และบริเวณที่ต่างกัน. “เรายอมรับในความเห็นต่างของท่าน, ในขณะเดียวกัน ท่านก็ไม่สามารถ นำไม้บรรทัดของท่าน มาวัดความเห็นต่างของเรา.”  

 

ในบริบทของสังคมไทย ไม่อาจละเว้น ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบต่อกันมายาวนาน เพราะเหตุที่ สังคมไทย มีช่องว่างของความแตกต่าง เชิงโครงสร้างและเนื้อหา ของกลุ่มคน (วัตถุ-บุคคล) ค่อนข้างมาก. จำนวนผู้สูงอายุ (กลุ่มอนุรักษ์นิยม) มีจำนวนเพิ่มขึ้น และยังมีพลังชี้นำทางสังคมอยู่ไม่น้อย. จำนวนของเยาวชน ที่ฝักใฝ่โลกส่วนตัวสูง (กลุ่มคนรุ่นใหม่) มีจำนวนเพิ่มขึ้น. กลุ่มคนที่ยังยึดตรรกะเอาประชาธิปไตย ปฏิเสธเผด็จการ ก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย และยังมีพลังอำนาจต่อรองสูง. แต่ละกลุ่ม ก็ยังยืนอยู่ในมุม (ตำแหน่งพิกัด) ของตัวเอง, มองคนอื่น ณ จุดเวลาที่ตรึงไว้ ไม่ในอดีต ก็ในอนาคต.

ลำพังการใช้ระเบียบวิธีตามแบบจำลอง มโนทัศน์สัมพัทธภาพ บูรณาการลงไปในบทเรียน การถอดบทเรียน (lesson learned) ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ อาจไม่เพียงพอ สำหรับการสร้างเสริมสมรรถนะการตัดสินใจ (faculty of decision) ของบุคคล ที่จะให้เกิดการยอมรับเจตจำนง (the will) ของฝ่ายตรงข้าม. ต้องใช้มาตรการอื่นๆ ร่วมด้วย คือการฝึกอบรม เช่น ค่ายฝึกอบรมพัฒนา คุณภาพและศักยภาพมนุษย์ การประณาม การสาปแช่ง การลงโทษด้วยกฎหมาย เป็นต้น. มาตรการเหล่านี้ พอคาดหวังได้ว่า ช่องว่างทางความคิดเหล่านั้น จะแคบลง จนปรากฏ ภาวะความสมานฉันท์ ที่สัมผัสได้ แม้จะต้องใช้เวลา ที่ยาวนานก็ตาม.

 

บทสรุป – สัตตะธัมมะธาตุ : ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง

 


[กลับไป สารบัญ]   [ปก สัตตะธัมมะธาตุ]   [ประมวลคำศัพท์]   [TOP]

บทนำ – สัตตะธัมมะธาตุ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน

บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ : นวัตกรรมทางปัญญา ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

1.1 พันธกิจของ วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
1.2 สิ่งที่พุทธศาสน์ ค้นพบ อาจเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ กำลังค้นหา
1.3 ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
แต่ความจริงที่พระตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ตลอดกาล

บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มวลสาร พลังงาน 

2.1 มวล – อนุภาค
2.2 แรง – คลื่น
2.3 อุณหภูมิ – พลังงาน

บทที่ 3 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ

3.1 มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง
3.2 วัฎจักร – อนันต์

บทที่ 4 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : จิตธาตุ

4.1 นามรูป – วิญญาณ – สังขาร
4.2 วิมุตติ – นิพพาน

บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ

5.1 กายภาพของจิตวิญญาณ
5.2 กระบวนการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
5.3 การหลุดพ้น การบรรลุธรรม

บทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ

6.1 ความจริงสัมบูรณ์ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
6.2 กฎของเวลา
6.3 กฎแห่งนิรันดร์
6.4 กฎสมดุล
6.5 สัมพัทธภาพ (Relativity)
6.6 กฎการอนุรักษ์ (Conservation law)
6.7 มาตรวัด กรอบอ้างอิง

บทที่ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง

7.1 ปรากฏการณ์ร่วม วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์
7.2 สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์

บทสรุป – สัตตะธัมมะธาตุ : ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง

ประมวลศัพท์และคำสำคัญ

บทความ (สรุปจากหนังสือทั้งเล่ม)

 

 

 

  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net