igood media
HOME   | Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG


Blog Film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด]


เวทีความคิด - สัมมาทิฐิ เรื่อง กาม สวรรค์ นรก ศิลปะ อนาจาร

โดย
สู่ดิน ชาวหินฟ้า - igoodmedia.net
27 พฤศจิกายน 2560

โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ และโลกอบาย (นรก) ก่อตัว ดำรงอยู่ เพราะมีกาม พยาบาท เบียดเบียน เป็นปัจจัยหนึ่ง (ในอีกหลายปัจจัย) คอยผลักดัน ให้โลกทั้งสาม ดำเนินต่อไปใน วัฏฏะอันยาวไกล

(ก) กาม และ กามคุณ คืออะไร ทำไมสำคัญนัก?

กามคุณ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์) ไม่ใช่ กาม แต่เป็นเครื่องไต่ต่อ (เป็นต้นเหตุ) ให้เกิด กาม. กามคุณ เป็นสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ. ตัวมันไม่รู้สึกว่า สวย ขี้เหร่ แต่อย่างใด. "สัตตา" (สัตว์) รับรู้ว่า สิ่งสิ่งนั้น คือ กามคุณ เพราะมี วิญญาณ อุบัติขึ้น แล้วบอกชี้ว่า โน่น นั่น นี่ คือ กามคุณ บอกเสร็จ วิญญาณ ก็ดับสลายไป (วิญญาณ ทำหน้าที่แค่ 'ชี้เบาะแส' เท่านั้น). จากนั้น สัตว์ต่างๆ ก็จะเข้าไปยึด กามคุณ เหล่านั้น มาปรุงแต่งให้เป็น "รส" (กาม ราคะ ตัณหา อุปาทาน) เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ โศกเศร้า กังวล ทุกข์ระทม ไม่สิ้นสุด. ปรากฏการณ์นี้ บังเกิดขึ้น ทั้งใน โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ และโลกอบาย. สัตว์ทั้งหลายจึง เวียนเกิด เวียนตาย ทั้งต่อเนื่อง และสลับหมุนเวียนกัน ในโลกทั้งสาม นานนับครั้งไม่ถ้วน เป็นจำนวนอนันต์ (สังสารวัฏฏ์).

(ข) สัตตา หรือ สัตว์ทั้งหลาย หมายถึง ใคร? อะไร?

สัพเพ สัตตา (สัตตานัง) สัตว์ทั้งหลาย เป็นคำเรียกขานรวมๆ ของสังขารธรรม ที่มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหา เป็นเครื่องผูก ยึดขันธ์-5 เป็นที่ตั้งอาศัย บริโภค ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) เป็นอาหาร เพื่อนำไปสู่ การเวียนเกิด เวียนตาย ในสังสารวัฏฏ์.

สามารถจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ตามภพภูมิ ได้ดังนี้.

(1) สัตว์ (=สัตว์โลก | สัตว์เดรัจฉาน) ทุกสปีชีส์ อาศัยอยู่ในภพภูมิโลกมนุษย์ (worldlyland).

(2) มนุษย์ (=มนุษย์โลก) ทุกเผ่าพันธ์ ในภพภูมิโลกมนุษย์ (worldlyland). ภพภูมิมนุษย์ มี 3 ชั้น คือ

2.1) เดรัจฉาน

2.2) มนุษย์

2.3) ทวิภพ (everland) หรือภพภูมิที่อาศัยชั่วคราว ของสัตว์สวรรค์ หรือสัตว์นรก บางพวก ที่มีฤทธิ์ แสดงกายให้มนุษย์เห็น (เช่น นาค รุขเทวดา เปรต)

(3) เทวดา (=มนุษย์สวรรค์) สัตว์ที่ต้องอาศัยร่าง หรือ ไม่ต้องอาศัยร่างก็ได้, ถ้าอาศัยร่าง ก็สามารถอาศัยอยู่ในภพภูมิโลกมนุษย์ได้ เป็นเทวดาอายุสั้น, ถ้าไม่อาศัยร่าง ก็อาศัยอยู่ในภพภูมิโลกสวรรค์ ชึ่งเป็นภพภูมิของเทวดา (everland) (ภพภูมิในมิติที่ 4) เป็นเทวดา อายุยาว. อายุจะยาวแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่า อาศัยอยู่ในสวรรค์ ชั้นใด เทวดาในสวรรค์ชั้นสูง อายุจะยาวกว่า เทวดาในสวรรค์ชั้นต่ำกว่า (ภพภูมิสวรรค์ มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตตี). พระโสดาบัน ที่ตายแล้ว จะมาเกิดในภพภูมิของเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ขึ้นไป.

(4) สัตว์สวรรค์ และ มาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภพภูมิเดียวกับพวก เทวดา (everland) คือสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา ได้แก่ คนธรรพ์ (รุขเทวดา ที่อาศัยในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม) กุมภัณฑ์ หรือ ยักษ์ (สัตว์บก ในดินแดนสวรรค์) นาค (สัตว์นำ ในดินแดนสวรรค์) ครุฑ (สัตว์อากาศ ในดินแดนสวรรค์) อสูร (สัตว์นรก ในดินแดนสวรรค์) แต่ก็มีสัตว์สวรรค์บางพวก ที่มีพลังพิเศษ (มีฤทธิ์) สามารถอาศัยร่วมกับมนุษย์โลกก็ได้ เช่น นาค (เคยปลอมเป็นมนุษย์ มาขอบวชเป็นภิกษุ) คนธรรพ์ (ผีตานี นางไม้) รากษส (ยักษ์เฝ้าสถานที่ต่างๆ บนโลกมนุษย์) ยมบาล (ยักษ์ที่อาศัยในนรกภูมิ).

(5) พรหม สัตว์ชั้นพรหม (=เทวดาสวรรค์) อาศัยอยู่ในภพภูมิของจิตวิญญาณ (neverland) เท่านั้น เพราะไม่มี และไม่ต้องการร่างอาศัย มีแต่จิต. จึงทำให้มีอายุยาวมากๆ อาจยาวเท่ากับอายุขัยของดาวฤกษ์ หรืออายุขัยของหนึ่งดาราจักรก็ได้. โดยเฉพาะ พรหมชั้น สุทธาวาส มีอายุยาวที่สุด อาจเท่ากับ ภาวะเอกฐาน (singurality) ของหลุมดำ (black hole) หรือเท่ากับอายุขัยของเอกภพ จนเกิดความเข้าใจผิดว่า พรหม มีชีวิตเป็นอมตะ. ที่อาศัยของพรหม มี 4 ชั้น คือ

5.1) อากาสานัญจายตนะ
5.2) อากิญจัญญายตนะ
5.3) วิญญาณัญจายตนะ
5.4) เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

ภพภูมิชั้นพรหม ยังเป็นที่ปฏิสนธิ (เกิด) ของ พระสกทาคามี และ พระอนาคามีอีกด้วย.

(6) สัตว์นรก ทุกชั้นขุม อาศัยอยู่ในภพภูมิจิตวิญญาณ (neverland) คล้ายกับ เทวดา มาร พรหม แต่เสวยทุกขเวทนา ตลอดเวลาอายุขัย (สัตว์นรก ที่มีอายุขัยเท่ากับ พรหมชั้นสุทธาวาส คือ สัตว์อเวจีนรก) ได้แก่ เปรต 21 จำพวก ทั้งมีร่างอาศัย และไม่มีร่างอาศัย พวกที่ไม่มีร่างอาศัย ถ้าผุดเกิดในทันทีทันใด จะเรียกว่า โอปปาติกะ. สัตว์นรกนอกจากนี้ ไม่มีร่างอาศัย และไม่ใช่ โอปปาติกะ ก็จะฝังตัวอยู่ใน นรกภูมิขุมต่างๆ โอกาสที่จะได้ร่างใหม่ (เกิด) ยากง่าย ขึ้นอยู่กับ ผลกรรม ที่สะสมไว้.

การเปลี่ยนภพภูมิ ของสัตว์ทั้งหลาย เกิดจากการตาย แล้วเกิดในรอบใหม่ (สัตว์ทั้งหลายทุกสัตว์ ต้องตาย ไม่มีผู้ใดเป็น อมตะ ถ้ายังไม่นิพพาน) การเปลี่ยนภพภูมิ ก็เป็นสิ่งไม่แน่นอน สัตว์ในภพภูมิทั้ง 6 ข้อ อาจสับเปลี่ยนต่างภพภูมิได้เสมอ.

(ค) สิ่งสิ่งหนึ่ง มีอยู่จริง แต่สิ่งสิ่งนั้น สัตตา มองไม่เห็น เพราะสิ่งนั้น ไม่ใช่ภพภูมิ

ยังมีดินแดนอีกหนึ่งแห่ง ซึ่งเป็นดินแดนแห่ง อสังขตะธรรม (charracter unconditioned). เข้าถึงได้โดยการปฏิบัติ. ณ ที่แห่งนี้ ไม่มีที่สุด ไม่มีปรากฏการณ์ คือ ไม่ปรากฏการเกิด ไม่ปรากฏการเสื่อม ไม่ปรากฏการตาย ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่มีนามรูป ใดๆ ปรากฏอยู่ และไม่มีแม้กระทั่ง วิญญาณ. ผู้ที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนแห่งนี้ ไม่เรียกว่าสัตว์ ไม่เรียกว่ามนุษย์ ไม่เรียกว่าเทวดา ไม่เรียกว่ามาร ไม่เรียกว่าพรหม แต่จะถูกเรียกขานว่า "วิมุตติญาณทัสสนะ"

(ง) ข้อโต้แย้ง ระหว่าง "ศิลปะ" กับ "อนาจาร"

ประเด็นคำถามที่ว่า ภาพนู๊ด (คนเปลือย) เป็น ศิลปะ หรือ อนาจาร กันแน่?
ถ้าใช้หลักเกณฑ์ คุณสมบัติของ กาม กามคุณ มาชี้วัด, พิจารณา ได้ดังนี้.

(1) ภาพนู๊ด โดยกายภาพ (วางไว้เฉยๆ ยังไม่มีคนดู) เป็น กามคุณ เข้าหลักเกณฑ์ เป็น "ศิลปะ" แต่เป็นศิลปะชั้นต่ำ (dirty art)

(2) ภาพนูด โดยการแสดง ให้มนุษย์ปุถุชนดู ย่อมอาศัยจิตปรุงแต่ง เป็นกาม ราคะ ได้ เข้าหลักเกณฑ์ เป็น "อนาจาร" ไม่ใช่ศิลปะ

(3) ภาพนู๊ด โดยการแสดง ให้มนุษย์ระดับพระอรหันต์ดู ย่อมไม่ส่งผลต่อ การปรุงแต่ง กาม ราคะ แต่เข้าหลักเกณฑ์ เป็น "วัตถุอนามาส" และสถานที่ที่แสดง จัดเป็น "ที่อโคจร" ซึ่งแม้ผู้หมดกิเลสแล้ว ก็ไม่สมควรดู หรือเดินทางเข้าไป.

ถ้าเช่นนั้น ...

(4) ภาพนู๊ด หรือ วัตถุนู๊ด สำหรับพพระอรหันต์ หรือ อริยชนนั้น มีหรือไม่ ถ้ามี มันคือสิ่งใดกันเล่า?

ภาพนู๊ด หรือ วัตถุนู๊ด สำหรับพพระอรหันต์ หรือ อริยชน คือ ภาพ หรือ ศพคนตาย หรือถูกชำแหระอวัยวะ โครงกระดูก ศพคนเปลือยตายด้วยโรคเอดส์ และสิ่งอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน. เรียกภาพ หรือ วัตถุเหล่านั้นว่า "ดอกไม้อริยะ". เข้าหลักเกณฑ์ เป็น ศิลปะ ชั้น "อันติมะ" (ultimate art).

(5) ภาพ หรือ วัตถุทั่วไป ที่ไม่ใช่นู๊ด จัดเป็น ศิลปะ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า มันมีเงื่อนไขต่อไปนี้ หรือไม่ เพียงใด.

5.1) มี "ความงาม" โดยธรรมชาติ หรือโดยการประดิษฐ์ ที่ก่อให้เกิด "รสแห่งวรรณกรรม 9 รส" (รัก, ตลก ขบขัน, เศร้า สงสาร, โกรธ, กล้า, กลัว, เกลียด ชัง, อัศจรรย์ ตื่นเต้น, สุข สงบ) สิ่งนั้น คือ "ศิลปะแท้" (fine art)

5.2) มี "ความงาม" + "ประโยชน์ใช้สอย" เป็น "ศิลปะประยุกต์" (applied art)

5.3) มี "ความงาม" + "ประโยชน์ใช้สอย" + "มูลค่า ราคา" เป็น "ศิลปะพาณิชย์" หรือ พาณิชยศิลป์ (commercial art)

5.4) มี "ความงาม" + "ประโยชน์ใช้สอย" + "เทคโนโลยีควบคุม" เป็น "ศิลปะหุ่นยนต์" (robotical art | artful)

การละวาง ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ในกามทั้งหลาย ลงเสียได้ ในเวลาอันรวดเร็วเพียงใด นั่นคือ ความงดงาม ของศิลปะอันติมะ (ultimate art) ของผู้สัมมาทิฐิ ในมัฌชิมาปฏิปทา. จึงเป็นผู้สมควรได้รับผลแห่ง อิสระเสรีภาพ สมรรถภาพ ภราดรภาพ บูรณภาพ และสันติภาพ โดยแท้.

จบ.

บรรณานุกรม

"ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่อาจหยั่งลงได้ในที่ไหน." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ น.๓๐๑ | บาลี สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓. http://etipitaka.com/

"สิ่งๆ หนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๙. น.๓๐๓ | บาลี สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘. http://etipitaka.com/

"อสังขตลักษณะ." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๙. น.๓๐๕ | บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖. http://etipitaka.com/

"เครื่องนำไปสู่ภพ." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๕. น.๑๖๑ | บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.๔๓. http://etipitaka.com/

"ความมีขึ้นแห่งภพ." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑๑. น.๖ | บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗. http://etipitaka.com/

"ความหมายของคำว่า 'สัตว์'." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑๑. น.๒๓ | บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗. http://etipitaka.com/

"คติ ๕ และอุปมา." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑๑. น.๓๑ | บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๗/๑๗๐. http://etipitaka.com/

"เหตุที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑๑. น.๑๐๘ | บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๑๗/๔๗๖. http://etipitaka.com/

"เปรตวิสัย." [online]. พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๑๑. น.๑๓๖-๑๔๘ | บาลี มหาวิ. วิ. ๑/๒๑๐/๒๙๕. http://etipitaka.com/

 
   
  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2016 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net