igood media
HOME   | Articles - Book - Poem - SongAUTHOR  |  FILM SCHOOL  |  COMMUNICATION ARTS  |  MY BLOG

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียนนิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:

.
igood-end.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:กรรม ส่อ เจตนา - เจตนา เป็น กรรม

ฝ่าย ประชาธิปไตยบังหน้า - ใช้กลยุทธ์ "โยนหินถามทาง" ผสมกับ "รุก - รับ - เร็ว" เพราะเกรงว่า เวลาของตัวเอง ใกล้หมดแล้ว.

ฝ่าย ฉันรักเธอ ประเทศไทย - ใช้กลยุทธ์ "ล่อเสือ ออกจากถ้ำ" เป็นกับดัก เพราะเชื่อว่า คนเจตนาไม่ดี ย่อม ส่อ แสดง กรรม ออกมา ไม่เวลาใด ก็ เวลาหนึ่ง.

สำเนียง ส่อ ภาษา
เจตนา ส่อ เนรคุณ
วาจา ส่อ สถุล
กิริยา ส่อ สกุล

พฤติการณ์ "โยนหิน ถามทาง" - 'ผู้โยน' กับ 'ก้อนหิน' ย่อมเป็นพวกเดียวกัน ดุจ หูกับขี้ทูด ... ขึ้นเวทีพร้อมกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน เจตนาแบบเดียวกัน จะให้เข้าใจว่าอย่างไร? เมื่อเห็นว่า สังคมส่วนใหญ่ ไม่เอาด้วย เสี่ยงต่อการละเมิด กฎหมาย จึงแสดงออก อาการ "ลอยแพ" ก้อนหิน ซะยังงั้น!!

ถ้าพวกคุณ (มึง) ไม่หยิบ ก้อนหิน ขึ้นมาโยน ก้อนหิน มันจะลอยไป ได้อย่างไร (ตรรกะง่ายๆ). ก้อนหิน เลย ซวยไป ให้มันรับเคราะห์ไป คนเดียว อย่างนั้นหรือ?

กูรู้นะ ว่า พวกคุณ (มึง) คิดอะไรอยู่.

igood-end4 ต.ค. 2562

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:ผมเห็นต่างจากท่านครับ

ครอบครัวใหญ่ ไม่ว่าจะใหญ่ขนาดไหน
ก็ต้องมี พ่อ เป็นเสาหลัก ปกครองลูก เก้าคนสิบคน
ให้อยู่ในวินัย และเป็นคนดี มีกตัญญู.
ลูกบางคน ก็เชื่อฟังพ่อ บางคนก็ อกตัญญู.

พ่อส่วนใหญ่ เป็นพ่อที่ดี สอนลูกเป็น.
พ่อบางคน ก็ทำตัวไม่หมาะสม ที่จะเป็นพ่อ.

พ่อ ในสายตาของคนอื่น อาจมองได้หลายแง่มุม.
แต่ พ่อ ในสายตาลูกๆ ย่อมมองพ่อ คือ พ่อ
ที่เราต้องเคารพ เชื่อฟัง เป็นที่พึ่งของลูก.

แม้ว่า ก่อนหน้านั้น พ่อจะทำตัวไม่ดี ในสายตาคนอื่น
แต่พ่อ ก็คือพ่อ ที่ลูกๆ ไม่เพียงจะให้โอกาส
ให้พ่อทำหน้าที่ เป็นพ่อที่ดีเท่านั้น ยังจะต้อง
ให้ความเคารพนับถือ ในความเป็นพ่อ.

แต่ก็นั่นแหละ พ่ออาจมีข้อบกพร่องบ้าง จริง ในบางข้อ.
แต่เมื่อ เขาได้ทำหน้าที่เป็นพ่อ ในตอนนี้
ลูกๆ ก็ต้องเชื่อฟัง ในฐานะเป็นพ่อ.

เพราะถ้าไม่มีพ่อ หรือพ่อไม่อยู่ ตายไป ในตอนนี้
ครอบครัวก็คงจะระส่ำระสาย.

ก็จริงอีกนั่นแหละ ถ้าพ่อทำตัวไม่ดีจริงๆ
กินแต่เหล้า เอาแต่ด่าทอแม่ และลูกๆ
การงานไม่ทำ คบคนไม่ดี เล่นพนัน.

ความเป็นพ่อ ก็ลดลงตามลำดับ
จนในที่สุด ก็จะไม่มีลูกคนไหนเหลียวแล.

...

ตอนนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
กำลังทำหน้าที่ เป็นพ่อของคนทั้งประเทศ.
ในสายตาของ คนอื่น (ประเทศเพื่อนบ้าน)
มีทั้งชื่นชม และไม่ชื่นชม ก็สุดแล้วแต่.

ในสายตาของ คนทั้งประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนลูก.
บ้างก็ยอมรับ บ้างก็รังเกียจ บ้างก็หวังและรอคอย
เพราะมีความคิด ความชอบ ความชัง หลากหลาย.

แต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก็ยังทำหน้าที่เป็น นายกรัฐมนตรี
เป็นเสมือน พ่อปกครองลูก ต่อไป.

"ไม่มีพ่อคนไหนหรอก ที่จะเป็นพ่อที่สมบูรณ์ 100%
มาตั้งแต่ต้น ภายใต้ ความชอบใจของคน 100%"

ก็ควรให้โอกาส พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ได้บริหารประเทศ "ตามแบบฉบับ ของท่าน".
จะเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบใดๆ
หรือ เผด็จการแบบไหนๆ ก็ตาม.

นิสัยพ่อของเรา บางทีเราก็ไม่ชอบ.
แต่พ่อก็ให้อะไรหลายอย่าง แก่ลูกๆ
ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง เท่าที่พ่อจะให้ได้.
เพราะครอบครัวใหญ่ ครอบครัวนี้
มีปัญหาสารพัด ที่หมักหมม มานาน
อันเนื่องมาจาก นิสัยสันดานของลูกๆ เองด้วย.

คงไม่มีลูกคนไหนหรอก ที่จะ ขับไล่พ่อ ออกจากบ้าน
แบบไม่ดูดำดูดี เหมือนเศษสวะ.

ถ้าพ่อทำตัวเลวระยำจริงๆ อย่างดีก็ให้แค่ ข้าว น้ำ
พอประทังชีวิต ... คงปล่อยให่พ่อเฉาตายไปเอง
ตามวิบากกรรม.

ถ้า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ทำตัวไม่ดี โกง ทุจริต คอรัปชั่น แบบเดียวกับ
ที่คนในระบอบทักษิณทำ ตามๆ กันมา และ
คิดโค่นล้มสถาบัน เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง.

วันนั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็คงถูกคนทั้งประเทศ
ขับไล่ ไม่ให้มีแผ่นดินอยู่. ไม่ใช่แค่ปล่อยให้เฉาตาย
เหมือนกับที่ ลูกๆ ทำกับ พ่อที่เลวๆ.

ท่าน กษิต ภิรมย์ ... ผมเห็นต่างจากท่านครับ.

igood-end30 ส.ค. 2562

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:เจ้าหน้าที่รัฐ เข้าถึงข้อมูลในโลกไซเบอร์ อาจไม่ใช่การละเมิด

ชาวบ้านทั่วไป มักตกเป็นเหยื่อ ของทุรชน
โดยเฉพาะในโลกของไซเบอร์
จนท.รัฐ จะเข้าไปช่วยเหลือ
เขาต้องมีอำนาจ ที่จะเข้าไปได้

การเข้าไปได้ของ จนท.รัฐ
ย่อมเข้าไปได้ในทุกๆ ที่ ของข้อมูล
เพื่อให้ถึง ทั้งข้อมูลชาวบ้านทั่วไป
และข้อมูลของพวกทุรชน

คนที่ออกมาโวยวาย ให้ยกเลิกกฎหมาย
ห้ามให้สิทธิ์แก่ จนท.รัฐ ในการเข้าถึงข้อมูล
กลัวว่า จนท.รัฐ จะไปละเมิดสิทธิ์ส่วนตัว
เขาใช้หัวสมองอันว่างเปล่า ผิดตรรกะคิด?

ถ้าไม่อนุญาตให้ ตำรวจ บุก จับคนร้ายได้
แล้วจะมี ตำรวจ ไว้ทำ ส้นเท้า อะไร!!
(ส้นเท้า แปลว่า ส้นตีน)

คนร้ายอยู่ในที่มืด แต่ ตำรวจอยู่ในที่สว่าง
คนร้าย มีจำนวนมากกว่า หลายเท่า
ตำรวจ ที่ชำนาญการ กลับมีจำนวนน้อย
ถ้าไม่ติด อาวุธ ให้ตำรวจ
ถ้าไม่มี กฎหมายให้อำนาจ จนท.รัฐ
แล้วจะจับคนร้ายได้หรือ?

ทุรชน คนจัญไร เหล่านั้น
ย่อมกลัว จนท.รัฐ เป็นเรื่องธรรมดา
ส่วนชาวบ้านธรรมดา รู้สึกปลอดภัย
เหมือนให้ตำรวจเข้าบ้านได้

แต่ถ้าตำรวจคนนั้น เป็นคนร้าย เสียเอง
ก็ลงโทษเป็นคนๆ ไป
อย่าเหมารวม ตำรวจ หรือ จนท.รัฐ ทุกคน
ว่าเป็นพวกเดียวกับคนร้าย
เข้าไป ริดรอน สิทธิเสรีภาพ ของคุณ

เว้นเสียแต่ว่า คุณ คือผู้มีส่วน
หรือเป็นพวกเดียวกันกับ
พวกทุรชน คนจัญไร เหล่านั้น
ที่กลัวการตรวจสอบ เหมือนกัน.

โปรดใช้วิจารณญาณ ในมโนทัศน์.

"คนที่คิดไม่ดี ย่อมเดือดร้อน
ที่จะมีคนอื่นมาล้วงรู้
สิ่งที่ไม่ดี ที่ตัวเองซ่อนไว้"

ถ้าคนคิดไม่ดี ทำไม่ดี
อยู่ในแวดวง ชาวบ้าน ก็ยังพอมีโทษน้อย ...
แต่ถ้าคนคิดไม่ดี ทำไม่ดี เป็นนักการเมือง
บริหารคนหมู่มาก นั่นแหละ อันตรายสุดขั้ว.

หยุดความคิดชั่ว ตั้งแต่ในข้างใน
ป้องกันการทำชั่ว ในไซเบอร์.

ผมคิดเช่นนี้ ผิดตรงไหน.

igood-end1 มี.ค. 2562

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:เกมดีเบต ของนักการเมือง

ดีเบต เป็นเกมของคน 'เล่นการเมือง'
ที่มุ่งเอาแพ้-ชนะกันด้วย ลิ้นและน้ำลาย
แต่การบริหารประเทศ ไม่ใช่การเล่นการเมือง
การบริหารประเทศ คือการ 'ลงมือทำ'
ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ด้วยสมองที่ซื่อสัตย์.

อย่าเอาประชาชน มาเป็น 'ตัวประกัน'
เพื่อให้ยอมรับ การพ่นน้ำลายใส่กัน.

igood-end25 ก.. 2562

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

 

:การเมืองอริยะ

"การเมืองที่ไม่มีศาสนาเป็นพื้นฐาน ก็ไม่ต่างอะไรจาก สังคมของสัตว์เดรัจฉาน ที่มีแต่เรื่องการกิน การเสพ การสืบพันธุ์ ตลอดจน การแสวงผลประโยชน์และอาณาเขต. ป่วยกล่าวไปไย กับการเมืองประชาธิปไตย ที่มุ่งผลประโยชน์ตนและพวกพ้อง นั่นแหละคือ สังคมสัตว์นรกแท้ๆ.

ถ้าเช่นนั้น ก็มีเพียง "การเมืองอริยะ" เท่านั้น ที่มุ่งสร้างคุณภาพความประเสริฐของมนุษย์ บนพื้นฐานของความอุดมสมบูรณ์และความเท่าเทียมกัน ในการบริโภคปัจจัยสี่ และการปกป้องภัยจากการคุกคามชีวิต และการทำลายภูมิปัญญาของประชาชน."

'อมตกาล' - กวี see right.

igood-end7 พ.ค. 2561

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:คิดถึงใครคนหนึ่ง ที่ไม่อยู่ที่นี่แล้ว

ทำดี เพื่อเอาหน้า เลียแข้งขา เพื่อเอาใจ
เอาสีข้าง เข้าถูไถ เพื่อหวังไป ให้ถึงฝั่ง

คิดการใหญ่ จึงใฝ่สูง งัดไม้ซุง หมายมุ่งหวัง
เอาเงินซื้อ อำนาจคลั่ง สร้างม่านบัง ความฉ้อฉล

แสนเสียดาย ที่เกิดมา ไม่รู้ค่า ความเป็นคน
วิปริต ผิดผู้คน อุกอาจปล้น จนชาติพัง.

igood-end.6 มิ.ย. 2561.

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:สังคมแบบนี้ ปฏิรูปยาก

ประชาคมใดๆ ในโลก ถ้าประกอบด้วย คนประเภทนี้ อยู่เป็นจำนวนมาก
(1) มีความคิด ความเชื่อ แตกต่าง หลากหลาย และยึดแน่น สุดโต่ง
(2) มีความอยาก ความต้องการ หลากหลาย และรุนแรง ไร้ขอบเขต
(3) มีอิสระ เสรีภาพ มากเกินไป และนานเกินไป
(4) มีช่องว่างระหว่าง คนจนกับคนรวย มากเกินไป และนานเกินไป

ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นพลวัต ทำให้ยากแก่การปฏิรูปประเทศ คือ
-ความไร้วินัย สูง
-ความรู้สึกรักชาติ รักแผ่นดิน ต่ำ


igood-end25 สิงหาคม 2560

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:ระบบของประเทศนี้!

ประเทศนี้
ไม่ต้องการ "คนดี" มาปกครอง
ประเทศนี้
ต้องการ "คนสานผลประโยชน์" มาปกครอง
.
คนดี กับ คนสานผลประโยชน์ เป็นได้แค่ เพื่อนเกลอกัน
แต่ไม่อาจ ร่วมรัฐบาลเดียวกันได้
.
คนดี แก้ปัญหาประเทศนี้ไม่ได้ จริงหรือ?
คนสานผลประโยชน์ เท่านั้น ที่จะทำให้ (เศรษฐกิจ) ประเทศนี้ อยู่รอด จริงหรือ?
.
คนดี ไม่อาจปกครองประเทศนี้ได้ เพราะ
คนสานผลประโยชน์ ได้สร้าง "ระบบ" แห่งการปกครองประเทศนี้
เพื่อปกป้อง ผลประโยชน์ตน มาอย่างยาวนาน
ระบบที่ว่านี้ ไม่ส่งเสริมคนดี ให้มีอำนาจ เพื่อมาปกครองประเทศนี้
.
ประเทศนี้
จึงมีแต่ ผู้แสวงผลประโยชน์ตน มากกว่า ผลประโยชน์ส่วนรวม
.
ระบบดี
ย่อมสร้าง คนดี ให้มีอำนาจ
และป้องปราม คนเลว ไม่ให้ทำเลว ตามอำเภอใจ
ระบบเลว
ย่อมส่งเสริม คนเลว ให้มีอำนาจ
และ กีดกัน คนดี ให้ทำดี อย่างจำกัด และไร้อำนาจ
.
"ผลของ ระบบดี ให้ดูที่ ศีลธรรมของชาวบ้าน
ผลของ ระบบเลว ให้ดูที่ ความหน้าด้าน ของนักการเมือง"

igood-end5 มกราคม 2561

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:ภูกระดึง ภูหนึ่งของประเทศไทย มิใช่ภูของใคร กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

การสร้างกระเช้า ขึ้นภูกระดึง: แหล่งท่องเที่ยวของไทย กำลังจะหายไป ถ้า

คิดทำธุรกิจ = คิดฟันกำไร
ที่มาของ กำไร คือการ 'ได้เปรียบ' จาก 'ผู้เสียเปรียบ'
ฝ่ายผู้ซื้อ และ ฝ่ายผู้ขาย ต่างก็ 'คาดหวัง'
ที่จะเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ผ่านการต่อรองราคา
การต่อรองราคา ฝ่ายผู้ซื้อ มักเสียเปรียบเสมอ
แต่ ฝ่ายผู้ขาย เสี่ยงต่อการทำธุรกรรม
(เสี่ยงการขาดทุน) จึงบวก ราคา ความเสี่ยง
ไว้ล่วงหน้า ซึ่งก็คือ กำไร และ บวก 'กำไร'
ซึ่งก็คือ ส่วนได้เปรียบ ซึ่งไม่มีข้อจำกัด

ทั้งฝ่ายผู้ซื้อ และ ฝ่ายผู้ขาย
ก็มีส่วนในการ บริโภคทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม

ดังนั้น วงจรของธุรกิจ คือ การบริโภคทรัพยากร
และ สิ่งแวดล้อม นั่นเอง แต่ ทรัพยากร และ
สิ่งแวดล้อม เป็นของ "คนทุกคน" และ "มีอยู่จำกัด"
ถ้าธุรกิจ "อ้าง" สิทธิ ที่จะทำอะไรก็ได้
กับ ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม
แม้จะยอมเสียค่าตอบแทน ในรูปของ ภาษี
แต่ความเป็นจริง มันคือ "การซื้อสิทธิ์"
ที่จะทำอะไรก็ได้ กับ ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม
ช่างไม่เกรงใจ คนทุกคน บ้างเลย!
ไม่คิดที่จะ หยุดเสพ หยุดขูด
หยุดที่จะทำอะไรก็ได้ บ้างเลยหรือ?!
เพื่อให้ ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม
ได้ฟื้นฟู ซ่อมแซม ตัวเอง
ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม ใช้เวลานาน
ในการสร้าง เจริญเติบโต
แต่ มันต้อง "ตาย"
เพราะฝีมือของ การทำธุรกิจ

ประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งมากมาย
ขอให้คง 'อัตลักษณ์' ของภูกระดึง
ไว้สักแห่ง จะเป็นไรไป

ธุรกิจ ข้างบน หมายถึง ธุรกิจทุนนิยม
ธุรกิจทุนนิยม 'ทำลาย' ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม
ธรุกิจบุญนิยม 'สร้าง' ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม

ธุรกิจทุนนิยม ต่างกับ ธุรกิจบุญนิยม

ธุรกรรมทุนนิยม แข่งขัน แย่งชิง เอาเปรียบ ทำร้าย เพื่อ แสวงสิ่งที่เรียกว่า "กำไร"
ธุรกรรมบุญนิยม แข่งขัน แบ่งปัน พึ่งตน เสียสละ เพื่อ แสวงสิ่งที่เรียกว่า "บุญ"
ธุรกรรมบุญนิยม เหมือน สังคมของพวกมด
เพราะ มดที่มีขนาดต่างกัน จะไม่ทำร้ายกัน
มดตัวใหญ่บางพันธุ์ จะช่วยเหลือมดตัวเล็กกว่า

igood-end
2 มีนาคม 2559

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:ประเทศไทย กำลังไปได้สวย

บางที ก็คาดหวัง
บางครั้ง ก็ท้อถอย
บางวัน ก็รอคอย
เพื่อเกี่ยวก้อย ไปด้วยกัน

สู้ สู้ นะ คนดี
เพื่อตัวเอง เข้มแข็ง
จะได้มีแรง ไปช่วยคนอื่น
เราจะเดินไปด้วยกัน
เพื่อประเทศของเรา
เพื่อชุมชนของเรา

igood-end
4 กันยายน 2558

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)
line

:บทวิเคราะห์ - การลงมติ รับ ไม่รับ คือบทพิสูจน์ 'ปฏิรูป ก่อนเลือกตั้ง'

กลุ่มที่สนับสนุน ที่จะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว คือ บุคคล 2 กลุ่ม กลุ่มนักการเมืองเก่า และ กลุ่มนักธุรกิจ ที่ผูกติดธุรกรรมกับการเมือง ทั้งสองกลุ่ม มีอิทธิพล ต่อการสร้าง มูลค่าของ GDP มูลค่าของ GDP เป็นตัวชี้วัด ความมั่งคั่งของ กลุ่มการเมือง และ กลุ่มธุรกิจ แต่มีอิทธิพลต่อ ประชาชนทั่วไป เพียงเล็กน้อย เพราะ ระบบทุนนิยม ย่อมสร้างความมั่งคั่งให้แก่ ผู้ได้เปรียบ ซึ่งหมายถึง นักธุรกิจ และ นักการเมือง ที่ต่างอาศัย ผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน

ทฤษฎีความพอเพียง มุ่งสร้าง ผลประโยชน์ ที่เป็นความสุขมวลรวม (GNH) ตัวชี้วัด ความสุขมวลรวม คือ การเฉลี่ย ความมั่งคั่ง ความผาสุก และความสมดุล ไปให้แก่ ประชาชนส่วนใหญ่

ความสุขมวลรวม มาจาก การบริหารประเทศ ที่เข้มแข็ง มั่นคง ทั้งทางด้าน ธรรมาภิบาล กฏหมาย แรงงาน สิ่งแวดล้อม และ การค้าขาย แลกเปลี่ยน ที่ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน จนอีกฝ่ายทนไม่ได้

อุดมการของ ระบบทุนนิยมแท้ คือ "การสร้างความมั่งคั่ง ภายใต้ ความสมบูรณ์ของ ทรัพยากร" มิใช่ การเอาเปรียบ ขูด ดูด รีด เอากับ ทรัพยากร แต่เพียงฝ่ายเดียว แล้วผลักภาระปัญหา ไปให้คนจน

ทั้งนักการเมือง และนักธุรกิจ ของประเทศไทย ได้แปรอุดมการณ์ ทุนนิยมแท้ ไปเป็น ระบบทุนนิยมเสรี "มือใครยาว สาวได้สาวเอา" และได้กระทำติดต่อกันมาอย่างยาวนาน จนประเทศไทย เสียหาย ระบบทุกระบบ ทรุดโทรมเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะ ระบบการศึกษา และวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจและสมอง ของชาติไทย จนคนไทยทุกวันนี้ อ่อนแอ คิดไม่เป็น พึ่งตัวเองไม่ได้ รู้สึกแบ่งแยก ต้องพึ่งพาผู้ปกครอง พึ่งพาตลาด และตกเป็นทาสของ ระบบทุนนิยมเสรี-บริโภคนิยม อย่างเลี่ยงไม่ได้

เมื่อปัญหา และ สมดุล ถึงภาวะวิกฤต ความเดือดร้อนก็แผ่ไปทั่ว เป็นไปตามวัฏจักร ผู้ถูกปกครอง "โง่-จน-โรค-อ่อนแอ" ผู้ปกครอง
"รวย-มั่งคั่ง-อิทธิพล-กำลัง"

พระสงฆ์ ทุศีล
ปราชญ์ อ่อนแอ
ผู้ปกครอง อิทธิพล (ไร้ธรรมาภิบาล)
นักธุรกิจใหญ่ กำไร-มั่งคั่ง
นักธุรกิจย่อย ขาดทุน
ประชาชน ยากจน
เด็ก คนแก่ ผู้หญิง ถูกละเมิด
คนป่วย คนพิการ คนไร้ความสามารถ ถูกทอดทิ้ง

ที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อโยงให้เห็นความจำเป็น ของการปฏิรูปประเทศ ทุกฝ่ายยอมรับว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทย ต้องปฏิรูปกันอย่างจริงจัง

แต่มันเป็นความปรารถนา ที่สวนทางกันกับความเป็นจริง ถ้าปล่อยให้ นักการเมือง และ นักธุรกิจ รวมหัวกัน เป็นเจ้าของอำนาจปกครองแต่เพียงกลุ่มเดียว

กลุ่มที่ต้องการเร่งรัด ให้มีการเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการปฏิรูป "กติกา" คือ นักการเมืองเก่า และ นักธุรกิจบางกลุ่ม ที่จะรวมหัวกัน เรียกร้อง และถ้าเป็นเช่นนั้น ประเทศไทย ก็จะทรุดโทรมหนักขึ้นไปกว่ากว่า ดุจเดียวกับ ผู้ที่เสพติดยา ย่อมเสพยาในปริมาณมากขึ้น กว่าทุกๆ ครั้งที่เสพ การเสพติด "อิทธิพล" และ "ความมั่งคั่ง" ก็จะยิ่งหนักกว่าเดิม อิทธิพล และ ความมั่งคั่ง มาจาก คะแนนเสียงที่ซื้อมา ด้วยกลวิธีต่างๆ และมันได้ทำให้ประเทศไทย เสียหายมานานแล้ว

ประเทศไทย ต้องรอให้มีการปฏิรูปก่อน ต้องปล่อยให้ ผู้บริหารประเทศ ที่มีภาระกิจ ปฏิรูป ทำหน้าที่ให้ถึงที่สุด ประเทศไทย ไม่ใช่ของใคร มิใช่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มันเป็นของ คนไทยทุกคน

มีเหตุผลหลัก เพียงประการเดียว ที่นักการเมืองเก่า เร่งรัด ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว โดยยังปฏิรูปไม่เสร็จ ก็คือ ต้องการ เอาระบบเลือกตั้ง เป็นสะพานไปสู่การสร้างเครือข่าย "อำนาจ" + "ผลประโยชน์" ให้แก่พรรคพวกของตน โดยอ้างประชาชน (คนจน) เป็นม่าน ปกปิดความโลภของตน.

รัฐธรรมนูญ คือ กติกาหลัก ที่จะชี้ว่า นาวาประเทศไทย จะไปทางไหน จึงต้องรอ ให้กระบวนการเสร็จสิ้นเสียก่อน ขอร้อง นักเลือกตั้ง อย่าแสดงความ อดอยากปากแห้ง ให้ประชาชนได้เห็นอีกเลย มันน่าเกลียด.

igood-end
21 กุมภาพันธ์ 2559

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:หูแมว จมูกหมา ตาเหยี่ยว ลิ้นจระเข้

“เป็นนักข่าวหรือผู้สื่อข่าวที่ดี ต้องมีอวัยวะรับรู้ 4 อย่าง เหมือน หูแมว จมูกหมา ตาเหยี่ยว ลิ้นจระเข้”.

(1) หูแมว รับฟังข้อมูล ทั้งกว้าง–ลึก ไกล–ใกล้ หยาบ–ละเอียด หนัก–เบา ทุกแง่มุม ทุกระดับชั้น แมวเป็นสัตว์ระวังภัย นักข่าว แม้จะเป็นนักล่าข่าวก็ตาม แต่ก็ควรมีคุณสมบัติของการระวังภัยด้วย เพราะที่มาของข่าวบางข่าว อาจมีภัยมาถึงตัว

(2) จมูกหมา มีประสาทรับรู้กลิ่นที่ดี ดีกว่ามนุษย์มาก นักข่าว ย่อมตื่นตัวอยู่เสมอ ในการแสวงข้อมูล ข้อเท็จจริง แม้ว่าข้อมูลนั้น จะอยู่ห่างไกล ลึกลับ ซับซ้อน เพียงใดก็ตาม นักข่าว ที่ซื้อข่าวเขามา ก็เหมือนสุนัขที่เอาแต่เห่า ไม่ยอมกัด ก็เป็นได้แค่ หมาเฝ้าบ้าน คงไม่มีโอกาสได้เป็น หมานักล่า ซึ่งมีเกียรติเทียบชั้น ราชสีห์

(3) ตาเหยี่ยว มองเห็นเหยื่อได้ คม ชัด ลึก แม้จะอยู่ไกล นักข่าว ต้องสาวไปให้ถึงต้นตอของข้อมูล อย่าสรุปแค่สิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน ต้องพิสูจน์ให้ได้ข้อมูลจริง อย่างถ่องแท้

(4) ลิ้นจระข้ ความจริง จระเข้ ไม่มีลิ้น จึงไม่ต้องรับรู้รสของเหยื่อ นักข่าว ย่อมไม่รับรู้และไม่ปรารถนา อามิสสินจ้าง ในการปกปิด หรือนำเสนอ ข่าวสาร เพื่อใคร ทำไปตามหน้าที่ อย่างตรงไปตรงมา

igood-end
มกราคม 2558

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:นายก กับ ประชาธิปไตย

“ผมอาจจะไม่ใช่ประชาธิปไตย 100% แต่ผมถามว่า การที่เป็นประชาธิปไตย 100% ทำอะไรให้กับประเทศไทยได้บ้าง”

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
21 พ.ย. 25557

"เนื้อหาประชาธิปไตย ไม่ใช่ว่า คนส่วนใหญ่จะทำอะไรก็ได้ แต่มันอยู่ที่ คนคนเดียว (นายก) จะทำอะไรให้แก่คนส่วนใหญ่ได้"

igood-end
๒๒พย.๒๕๕๗

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:ถ้าคิดอย่างนี้ คนไทยก็จะไม่ทะเลาะกัน

(1) เป็นกลาง จะต้อง ถูก มิใช่ ผิด
(2) เป็นกลาง จะต้อง จริง มิใช่ เท็จ
(3) เป็นกลาง จะต้อง ดี มิใช่ เลว
(4) เป็นกลาง จะต้อง ประโยชน์สุข มิใช่ โทษทุกข์

ถูก จริง ดี ประโยชน์สุข ที่ว่านี้ เอาเกณฑ์ที่คนธรรมดาสามัญ เขารับได้นะ
(=ศีลธรรมอันดีของประชาชน)

เอาแค่หลักๆ 4 อย่าง ก็น่าจะพอ (ที่จริงมันมีละเอียดกว่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องของนามธรรมลึกซึ้ง)
มันหมายความว่า ถ้าผู้พูด ยืนยัน ยืนหยัดตัวเองอย่างนี้ ก็นับว่า ผู้นั้น "เป็นกลาง"
(กลางที่เข้าข้าง ศีลธรรม สัจธรรม)

ส่วนคนอื่น อาจจะไม่เอาดัวยกับหลัก 4 ข้อ ก็ได้ จะว่าผู้นั้น ไม่เป็นกลางอย่างนั้นหรือ
เขาอาจจะ "เป็นกลาง" ในความหมายของเขาก็ได้ (กลาง ที่ไม่อยู่ข้างศีลธรรม)

มันเป็นสิ่งที่ตัวคน คนนั้น จะประเมินตัวเอง นี่ผมพูดอย่างเป็นกลางที่สุดแล้ว

แต ... อย่าไปบังคับว่า คนอื่น จะเห็น จะเป็น จะมี อย่างที่ตัวเอง เห็น-เป็น-มี

และ ถ้าเกิดใครก็ตาม ไม่ได้ยึดตามหลัก 5 ข้อข้างต้น แล้วเขาทำตัวของเขาเอง ผลกระทบที่เกิดขึ้น เขาก็รับของเขาเอง จะทุกข์ จะสุข จะได้ประโยชน์ ก็ตัวของเขา อันนี้เราไม่ว่ากัน

แต่ ... อย่าให้ การกระทำ ที่ไม่ได้ยึดหลัก 5 ข้อข้างต้นนั้น ไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นก็แล้วกัน

สรุปว่า

กลางของฉัน ฉันเห็นอย่างนี้
กลางของเธอ เธอก็เห็นอย่างของเธอ

และ ฉัน ก็จะไม่ไปบังคับ ให้เธอ เห็นว่า กลางของฉัน
ต้องเป็นกลางของเธอด้วย

และในทำนองกลับกัน

เธอ ก็จะไม่มาบังคับ ให้ฉัน เห็นว่า กลางของเธอ
ต้องเป็นกลางของฉันด้วย

เพราะ มันเป็นกลางคนละความหมายกัน
ของใครก็ของมัน เราไม่ว่ากัน

แต่ อย่าทำให้สังคมเดือดร้อน ก็แล้วกัน ขอแค่นี้
ส่วนตัวเธอจะเดือดร้อน หรือ จะสุข ก็เป็นเรื่องของเธอ ไม่เกี่ยวกับฉัน
และถ้าใคร ทำให้สังคมเดือดร้อน ทำผิด ก็ต้องได้รับโทษ

เพราะ ไม่มีความเป็นกลาง สำหรับนักโทษ หรือคนผิด
(ผู้พิพากษา คงต้องตัดสินอย่างใดอย่างหนึ่ง
ระหว่าง - กับ + ถ้าจะตัดสิบแบบกลางๆ ไม่บวก ไม่ลบ นั้นทำไม่ได้)

อย่างนี้ แฟร์ไหม๊?

igood-end
7 พฤศจิกายน 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:ความแตกต่าง ระหว่าง 'ตัวแทน' กับ 'ร่างทรง' ในภารกิจกู้ชาติของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

คุณอภิสิทธิ์ คิดแบบการเมืองภาคตัวแทน หรือ การเมืองภาครัฐ ซึ่งเป็นการเมืองที่ยึดรูปแบบ ไม่ได้คิดแบบการเมืองภาคประชาชน จึงได้ออกไปนำเสนอแนวคิดกู้วิกฤตชาติ กับเหล่านักการเมือง ซึ่งล้วนแต่มีแนวคิด 'ตัดขาด' จากประชาชน เพราะนักการเมือง จะคิดเหมือนกันหมด คือ คิดในฐานะ ตัวแทน จึงคิดแทนประชาชน และเอาความต้องการของตน เป็นฐานคิด ตนคิดอย่างไร ประชาชนจะคิดอย่างนั้น (ตัวแทน) โดยขาดการวิเคราะห์ปัจจัยด้าน คุณภาพ และความหลากหลายของประชาชน นักการเมืองพรรคเพื่อไทย คิดว่าฐานเสียงส่วนใหญ่ เป็นคนรากหญ้า คนจน ในภาคชนบท ซื้อได้ ดังนั้น นักการเมืองพวกนี้ จะมองข้ามบริบทของคนภาคเมือง แต่นักการเมืองพวกนั้น มองคุณอภิสิทธิ์ เป็นตัวแทนคนภาคเมือง มันจึงคุยกันไม่รู้เรื่อง ทำให้การเจรจาของคุณอภิสิทธิ์ ยังไงก็ล้มเหลว เพราะไปพูดไปตกลงผิดกลุ่ม ผิดคน

คิดแบบการเมืองภาคตัวแทน ที่ยึดรูปแบบ คือ อำนาจอธิปไตย ต้องมาจาก การเลือกตั้ง การใช้อำนาจ ต้องทำผ่านตัวแทน
มันเข้ากันไม่ได้กับ ห้วงเวลานี้ ซึ่งเป็นการเมืองภาคประชาชน ซึ่งพลัง 'อธิปไตย' ของมวลมหาประชาชน ไม่ใช่มาจาก 'ตัวแทน' แต่มาจากตัวของประชาชนเอง (1 สิทธิ์ 1 เสียง โดยแท้) ที่พวกเขาออกมายืนยันบนถนน เป็นเรือนล้าน ไม่ได้ผ่านตัวแทน แต่อย่างใด (ซึ่งตัวแทน ในมิติของการเมืองรูปแบบ ต่างก็ได้รับการยอมรับกันแล้วว่า มาจากการ 'ซื้อ' ไม่ได้มาจากเจตจำนงที่แท้จริง)

ส่วน กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ ท่านบอกแล้วว่าเป็น 'ร่างทรง' ไม่ใช่ 'ตัวแทน' เพราะ ร่างทรง จะทำอะไรต้องถามเจตจำนงที่แท้จริงของเจ้าของร่าง คือ ประชาชนตัวเป็นๆ ที่อยู่ต่อหน้า ส่วน ตัวแทน จะทำอะไรไม่ต้องถามเจตจำนองของประชาชน เพราะถือว่าตนเข้าสวมสิทธิ์ของประชาชน เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันหย่อนบัตร ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ในห้วงเวลานี้ ปัญหา-สถานการณ์ ทางสังคม มันอ่อนไหว และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้ที่จะใช้อำนาจของประชาชน ต้องรับรู้ เข้าใจ ในความหลากหลาย ของปัญหาและความต้องการ ของประชาชนเสียก่อน

แล้วอะไรล่ะ จะเป็นตัวชี้วัดว่า ร่างทรง จะทำตามเจตจำนงของประชาชน ตัวชี้วัดที่ดีที่สุด คือ การออกเดินสำรวจประชามติ ความเห็น ซึ่งกำนันทำทุกวัน ตรวจกระแสมวลชนทุกวัน ... และถ้าฝ่ายเสื้อแดงจะอ้าง ในความเป็นร่างทรงของมวลชนคนเสื้อแดงจริง ก็ให้ออกมาเดินอย่างกำนันบ้าง อย่าเอาเงินไปซื้อจำนวนของมวลชน ผ่านการบิดเบือนของการให้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนั่นไม่ใช่เจตจำนงที่แท้จริงของประชาชน (ซึ่งถ้าคนเสื้อแดง รู้ความจริงของระบอบทักษิณ พวกเขาก็จะเลิกสนับสนุน)

ข้อกังขาอีกข้อหนึ่ง ที่มักเป็นประเด็นคือ มวลชนมีทั้งสองฝ่าย มวลชนฝ่ายใดชอบธรรม ฝ่ายใดไม่ชอบธรรม เรื่องนี้ไม่ยาก ให้ดูที่ข้อถ้อยแถลงของแกนนำ ฝ่าย นปช. สนับสนุนระบอบทักษิณ ล้มล้างสถาบัน โดยอ้างประชาธิปไตยบังหน้า อ้างยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง ฝ่าย กปปส. สนับสนุนการปฏิรูปประเทศ ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อเวลาผ่านไป ประชาชนที่เคยอยู่ฝ่ายเป็นกลาง ต่างหันมาสนับสนุน กปปส. มากขึ้นเป็นลำดับ นี่คือ ความชอบธรรรม ที่กำนันสุเทพ ในฐานะร่างทรง นำมาประกาศเป็นเจตจำนง นำมวลมหาประชาชน โค่นระบอบทักษิณ

คุณอภิสิทธิ์ จะเว้นวรรคทางการเมืองหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ คุณเอาผิวบริสุทธิ์ของตัวเอง ไปแลกกับเขี้ยวเล็บของ นักการเมืองนักเลงอันธพาล พวก เสือ สิงห์ กระทิง แรด ไม่มีประโยชน์ ทางที่ดีที่สุด คือ เปลี่ยนความคิดจากการเมืองแบบตัวแทน มาเป็นการเมืองภาคประชาชน อย่างที่ลุงกำนันสุเทพทำ ซึ่งเสร็จจากการกู้ชาติในครั้งนี้ มันอาจจะต่างกันที่ ลุงกำนันอำลาการเมือง (การเมืองรูปแบบ การเมืองภาครัฐ การเมืองแบบตัวแทน) แต่คุณอภิสิทธิ์ ยังอยู่ต่อ ก็จะได้ใจมวลมหาประชาชนแบบ 100% ถ้าเพียงบอกว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้ง คุณไม่ต้องทำอะไร อยู่เฉยๆ ประชาชนจะจัดการให้คุณเอง นี่คือหัวใจของมวลมหาประชาชน ที่มีคุณภาพ

อย่าไปเทียบกับลุงกำนัน ซึ่งตอนนี้ท่านอยู่ในฐานะที่ไม่มีผู้ใดคาดเดาได้ ในอนาคต แม้ลุงกำนันจะไม่ลงการเมือง (การเมืองรูปแบบ การเมืองภาครัฐ การเมืองแบบตัวแทน) แต่สิ่งที่ลุงกำนันทำ ที่แท้คือ "การเมืองภาคประชาชน" ที่ไม่ต้องหาเสียง ไม่ต้องใช้ตัวแทน ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องใช้รูปแบบรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร แต่จะมีสภาประชาชน (โดยเนื้อแท้ไม่มี 'รูป' มีแต่ 'ร่าง') รองรับโดยอัตโนมัติ ผมมั่นใจเลยว่า ลุงกำนันจะเดินบนถนนเส้นใดๆ ในกรุงเทพและต่างจังหวัด (โดยเฉพาะภาคใต้ทุกจังหวัด) จะมีหมู่ญาติ (ประชาชน ที่ส่งเสียงเรียก 'กำนัน') ห้อมล้อมทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ นี่มิใช่การเสแสร้ง มิใช่การสร้างภาพ แต่เป็นปรากฏการณ์ ของการเมืองภาคประชาชนโดยแท้ ไม่มี 'ผู้แทน' มีแต่ 'ร่างทรง'

ถ้าแม้นว่า กำนันสุเทพ เอ่ยคำใด ที่เรียกร้องสิทธิ์อันชอบของประชาชน นั่นคือ เสียงสวรรค์ (ผ่านสัญลักษณ์ นกหวีด)

ดังนั้น เสียงสวรรค์ ไม่ใช่มาจาก ตัวแทน แต่จะมาจาก ร่างทรง คุณอภิสิทธิ์ จะได้เสียงสนับสนุนจากสวรรค์ ถ้าคุณมาเป็น ร่างทรง ของประชาชน เพราะผมเห็นว่า งานการเมืองภาครัฐ จะมั่นคงและยั่งยืนอยู่ได้ ต้องมาจากฐานรากของการเมืองภาคประชาชน ดุจปิรามิด ที่มีมวลมหาประชาชนอยู่เป็นฐานล่าง และจะขึ้นไปสู่ยอดปิรามิด ต้องมาจาก 'แรงส่ง' ของมวลมหาประชาชน มิใช่มาจาก 'แรงขับ' ของกลไกทางการเมือง (เลือกตั้ง)

igood-end
4 พฤษภาคม 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:การเมืองสาธารณะ (public politics) กับ การเมืองสามานย์ (nefarious politics)

ก. อำนาจทางการเมือง อำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตย ที่สากลทั่วโลกยอมรับ มีอยู่ 3 ประเภท คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และ อำนาจตุลาการ และเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ ในการใช้อำนาจทั้ง 3 ประเภท จึงให้ผู้ใช้อำนาจทั้งสามนั้น สามารถตรวจสอบและคานอำนาจกันได้ ด้วยสมการ 'อำนาจ' = 'จริยธรรม'

อำนาจบริหาร ที่ไร้การตรวจสอบ = บริหาร 100% ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทุจริต ต่อไปนี้ (เป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น เหมือนกันทุกประเทศ)

(1) รัฐบาลตัวแทน (nominee) ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของ 'นาย' ผู้เป็นนายทุนของพรรค หรือ ผู้เป็นเจ้าของพรรค (อาจเป็นนักธุรกิจทุน นักการเมือง ทหาร อำมาตย์ ศักดินา นักธุรกิจทุนข้ามชาติ) โดยมิได้สนใจ ความรู้สึก สุขภาพ ชีวิตเป็นอยู่ และผลประโยชน์ ของประชาชน

(2) เผด็จการทางรัฐสภา ด้วยการซื้อ ส.ส.ไว้เป็นฐานสนับสนุน ฝ่ายรัฐบาล ให้ผ่านกฏหมาย ที่เอื้อต่อประโยชน์ตนและพวกพ้อง เท่ากับว่า อำนาจนิติบัญญัติ ถูกควบไปกับอำนาจบริหารไปโดยปริยาย

(3) อ้างความชอบธรรมบังหน้า เช่น การซื้อคนจน ไว้เป็น 'ม่านบังตา' ด้วยนโยบาย ประชานิยม เพื่อให้คนจนเหล่านั้น เป็นฐานมวลชนสนับสนุน ให้ตนและพวก อยู่ในอำนาจได้ต่อไป ความชอบธรรม ที่มักนำมาอ้างอยู่เสมอ คือ 'ผ่านการเลือกตั้ง' ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้ง มักจะใช้เป็นข้ออ้าง ที่จะละเมิดสัญญาประชาคม ที่ให้ไว้แก่ประชาชน โดยที่ประชาชนที่ถูกใช้เป็นม่านบังตา จะถูกหลอกให้หลงเชื่อ ศรัทธา และสนับสนุน อำนาจของนายทุนการเมืองต่อไป

(4) นิยมความรุนแรง เพราะ การใช้อำนาจเผด็จการ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม ในที่สุด ประชาชนก็จะต้องได้รับผล และถูกต่อต้านจากประชาชน ไม่ช้าก็เร็ว พวกเขาย่อมทราบข้อนี้ดี จึงซื้อ 'ขี้ข้า' ตั้งเป็นกำแพงป้องกันตัว ขี้ข้าที่ดีที่สุด สำหรับรัฐบาลเผด็จการ และรัฐบาลทุนสามานย์ ก็คือ ตำรวจ (พฤติกรรมของตำรวจ ที่รับใช้นักการเมือง เรียกว่า รัฐตำรวจ)

(5) โยกย้าย ขนเงินและสินทรัพย์ไปไว้ต่างประเทศ เพื่อเก็บไว้เสวยสุข เมื่อยามสิ้นอำนาจ

(6) เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ในอัตราสูง กลายเป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา

ในเมื่ออำนาจบริหาร กับ อำนาจนิติบัญญัติ ถูกควบรวมเป็นอำนาจเดียวกันแล้ว คงเหลืออำนาจตุลาการ ที่จะเป็นฝ่ายตรวจสอบ

ข. เผด็จการ (Dictatorship) ประชาธิปไตย (Democracy) ใช้อะไรชี้วัด

รัฐบาลที่ควบอำนาจบริหาร กับนิติบัญญัติ ไว้ด้วยกัน คือ 'รัฐบาลเผด็จการ' แต่ถ้ารวบอำนาจตุลาการ ไว้ครบ ก็เรียกว่า 'รัฐเผด็จการ' (ถ้ารัฐบาลเผด็จการ ทำร้ายประชาชนของตัวเอง ก็เรียกว่า ทรราช ไม่มีทรราชคนใดในโลก ที่จะไม่ใช้ความรุนแรง และไม่มีทรราชคนใดในโลก ที่ชนะประชาชน)

ประวัติศาสตร์โลก เกิดปรากฏการณ์ 'รัฐบาลเผด็จการ' (ควบอำนาจบริหาร + อำนาจนิติบัญญัติ) มากกว่า 'รัฐเผด็จการ' (ควบรวม อำนาจบริหาร + อำนาจนิติบัญญัติ + อำนาจตุลาการ) แต่ความเป็นเผด็จการ จะดำรงอยู่ได้ ต้องตั้งอยู่บนหลักจริยธรรม ผู้เด็จการที่มีจริยธรรมนั้น หายาก

'รัฐบาลเผด็จการ 'ต่างจาก 'รัฐเผด็จการ' เพราะรัฐเผด็จการ อาจมีผู้นำที่มีคุณธรรมก็ได้ เนื้อหาของเผด็จการ อยู่ที่ การใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แค่ผู้นำเผด็จการ สามารถมี 'ความชอบธรรม' ที่จะอยู่ในอำนาจได้ อยู่ที่ 'จริยธรรม' และใช้ 'อำนาจ' กับ 'จริยธรรม' อย่างสมดุลย์

สาระสำคัญ ของ 'ความชอบธรรมทางการเมือง' นั้น อยู่ที่ 'เพื่อประชาชน' มิใช่ 'เพื่อตนเอง' คนที่ทำงานการเมือง เพื่อประชาชน จะเติบโต ก่อฐานความนิยมมาจาก 'มวลชน'

ดังนั้น คำว่า การเมืองภาคประชาชน จึงมีทิศทางการบริหารปกครอง นิติบัญญัติ และยุติธรรม (อธิปไตย) จากฐานรากที่เป็นมวลมหาประชาชน ขึ้นไปสู่ เบื้อบน คือ ผู้นำระดับบริหาร ตามลำดับขั้นตอน ซึ่งต่างจาก การเมืองภาครัฐ หรือการเมืองภาคตัวแทน (representative democracy) ที่การใช้อำนาจอธิปไตย ก่อเริ่มจากฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นคนเบื้องบน ไปสู่คนเบื้องล่าง ซึ่งเป็นประชาชน ดังเช่น การเมืองในทุกประเทศบนโลกใบนี้ ทำให้นโยบายต่างๆ ของรัฐบาล คิดค้นและประดิษฐกรรม มาจาก 'ผู้แทน' ซึ่งมิใช่ 'ประชาชน' ซึ่งกลับหัวกลับหางกันกับ การเมืองภาคประชาชน

ค. การเมืองสาธารณะ (public politics)

ลักษณะสำคัญ หรือจุดเด่นที่สุด ของ การเมืองภาคประชาชน (civil | people politics) ซึ่งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมด้วย (participatory democracy) และมักเป็น ประชาธิปไตยแบบทางตรง (direct democracy) คือ

(1) ประชาชนควรมีส่วนร่วม ในการกาหนด นโยบายสาธารณะ การตรวจสอบ การใช้อํานาจ ในการบริหารประเทศ

(2) ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ในการรับรู้ข่าวสาร โดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล รฐบาลไม่อาจจะอ้างความมั่นคง มาปิดกั้นเสรีภาพ ในการนําเสนอข่าวสาร ของสื่อมวลชน

(3) ประชาชน ย่อมมีอำนาจการตรวจสอบฝ่ายบริหาร และนักการเมือง ผ่านวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้ทั้ง 4 แบบ คือ 1) การกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียน กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม 2) การตรวจสอบการทุจริต คอรัปชั่น 3) เรียกร้องการถ่ายโอนอำนาจ ที่ประชาชนเห็นว่า ถูกปล้น หรือชิงไป และ 4) การมีส่วนร่วมการวิพากษ์ (critical co-operation) อย่างเสรี

(4) ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมทางการเมือง โดยสงบ สันติ อหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำให้ประชาชน มีสิทธิที่จะก่อตั้ง 'สภาประชาชน' ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองภาคประชาชน โดยชอบ ในฐานะเจ้าของประเทศที่แท้จริง

กระบวนการที่มาของ อำนาจของปวงชน มิใช่เพียงวิถีทาง 'การเลือก' เพียงทางเดียวเท่านั้น เพราะเป็นแค่รูปธรรมส่วนหนึ่งของ 'ความชอบธรรม' ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ ของการเมืองภาคประชาชน ดังนั้น ความชอบธรรม จึงมีที่มาอย่างหลากหลาย ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม ของปวงประชาชน 'การแต่งตั้ง' หรือ 'การเลือกตั้ง' จึงเป็นแค่ 'เครื่องมือ' ที่จะได้มาของ อำนาจ และ ความชอบธรรม

ง. ทัศนะของทุนสามานย์ และระบอบทักษิณ

(1) กระบวนทัศน์แบบดูดเข้าหาศูนย์กลาง เป็นทัศนะที่มาจากปัญญาคิดซับซ้อน และ 'เล็งเห็นผล' ในส่วนที่เห็นว่า ตนได้ประโยชน์ ก็จะพูด จะแสดง จะทำ เฉพาะในส่วนที่ตนได้ประโยชน์ และส่วนที่จะทำให้ตนสูญเสีย ก็จะข้ามไป หรือปิดบังซ่อนไว้ (พูดความจริงครึ่งเดียว) ซึ่งตรงกับคำว่า 'เจ้าเล่ห์' และ 'ขี้โกง' นั่นเอง (คนโกง ไม่ใช่คนโง่ แต่ฉลาด ในการทำบาปให้แก่ตนเอง)

(2) ยึดระบบโครงสร้าง-รูปแบบ (structure-formal) มากกว่า ระบบเนื้อหาสาระ (essence-context) แนวคิดแบบโครงสร้าง-รูปแบบ เป็นแนวคิดของลัทธิวัตถุนิยม ซึ่งเข้าได้ดีกับ ลักทธิทุนนิยมเสรี ที่ยึดเอา 'เงิน' เป็นคุณค่า ส่วนแนวคิดแบบสาระ เป็นแนวคิดของลัทธิ ที่บูชาความดีงาม ความถูกต้อง และอรรถประโยชน์เพื่อบุคคล ชุมชน และสิ่งแวดล้อม สังคมจะพัฒนาไปได้อย่างสวยงาม ต้องใช้แนวคิดทั้งสองแนว อย่างเหมาะสม แต่พวกทุนนิยมสามานย์ จะใช้แนวคิดที่เห็นว่าตนได้ประโยชน์เท่านั้น

จะเห็นว่า บางครั้ง ยิ่งลักษณ์ จะใช้ 'เจตนา' (เนื้อหาสาระ) บ้าง 'ข้อกฏหมาย' (รูปแบบโครงสราง) บ้าง แล้วแต่ว่า อย่างใด ที่จะอ้างเหตุผล เพื่อไม่ให้ต้องรับผิด

(3) ตรรกะที่บิดเบี้ยว หรือตรรกะกลับหัว ซึ่งกับภาษิตไทยว่า 'เห็นกงจักร เป็นดอกบัว' คือ การอ้างเหตุผลที่ผิดเพี้ยน เห็นจริงเป็นเท็จ เห็นถูกเป็นผิด เห็นดีเป็นชั่ว เห็นคุณเป็นโทษ เห็นศิลปะเป็นอนาจาร เห็นความเที่ยงธรรมเป็นความอยุติธรรม เห็นความเหมาะควรเป็นความไม่เหมาะควร เห็นสาระเป็นอสาระ ซึ่งเป็นความเห็นผิดตลอดสาย ตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า 'มิจฉาทิฐิ'

มิใช่ว่า มิจฉาทิฐิ จะพาบ้านเมืองประเทศชาติ ก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ แต่การก้าวไปข้างหน้า ผู้ก้าวพาประเทศไปสู่ความล่มจม

(4) อำนาจ เป็นคนละส่วนกับ จริยธรรม จึงใช้เงิน ซื้ออำนาจ แล้วใช้อำนาจไปหาเงิน เพื่อใช้เป็นต้นทุน ในการแสวงอำนาจ ในรอบต่อไป โดยไม่คำนึงถึงผลทางจริยธรรม หรือ คุณค่า ในความเป็นมนุษย์ เพราะจริยธรรม เป็นอุปสรรคทั้งในทางความคิด (เมตตา น้ำใจ = ต้นทุนที่สูญเปล่า) และในทางปฏิบัติ (การให้เปล่า = ความสูญเสีย)

(5) ประชาชนในประเทศ จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่ม 'ลูกค้า' คือ พันธมิตรร่วมผลประโยชน์ ได้แก่ ตำรวจ ทหาร องค์กรของรัฐ ที่ตนสามารถซื้อไว้เป็นพวก โดยการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทน รวมทั้งเครือญาติทางธุรกิจ ในระบอบทักษิณ 2) กลุ่ม 'ขี้ข้า' (โดยสร้างวาทะกรรม เป็น 'อำมาตย์') ได้แก่ กลุ่มหรือบุคคล ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงานทางการเมือง และการรักษาผลประโยชน์ เช่น นปช. อพปช. และกลุ่มที่เป็น 'แดงอิสระ' 3) กลุ่ม 'ทาส' (โดยสร้างวาทะกรรม เป็น 'ไพร่') คือ กลุ่มประชาชนคนเสื้อแดง ที่ถูกหลอกให้สนับสนุนระบอบทักษิณ คนกลุ่มนี้ จะถูกมอมเมาด้วยข้อมูลข่าวสาร ที่สร้างขึ้นโดยสื่อจัดตั้ง หรือสื่อโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เช่น ทีวี ASIA UPDATE, DDTV และทีวีในเครือข่าย

*[กระบวนทัศน์ ก็คือ กระบวนคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต มาทบทวนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์ ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความเชื่อพื้นฐานที่มีในจิตใจของมนุษย์ทุกคน แตกต่างกันตามเพศ ตามวัย ตามสิ่งแวดล้อม ตามการศึกษาอบรม และตามการตัดสินใจเลือกของแต่ละบุคคล ความเชื่อพื้นฐานนี้แหละเป็นตัวกำหนด ให้แต่ละคนชอบอะไร และไม่ชอบอะไร พอใจแค่ไหนและอย่างไร]

จ. หลังจุดจบของระบอบทักษิณ จะทำอย่างไร

การต่อสู้ระหว่าง ธรรมะ กับ อธรรม มวลมหาประชาชน นำโดยกำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นฝ่ายธรรมะ ส่วนระบอบทักษิณ นำโดย ทักษิณ ชินวัฒร นักโทษหนีคดี และสมุนรับใช้ ที่อาศัยอำนาจทางการเมือง ภายในประเทศ เป็นฝ่ายอธรรม หลักสัจธรรม กล่าวไว้เป็นอมตะว่า "ธรรมะ ย่อมชนะ อธรรม" ระบอบทักษิณ สิ้นความชอบธรรม และจะถูกโค่นลงโดยมวลมหาประชาชน ในเร็ววันนี้ (ขณะเขียนบทความนี้ คือ วันที่ 22 เมษายน 2557)

หลักระบอบทักษิณ สิ้นไป ประเทศไทยจะตกอยู่ในภาวะตกต่ำในทุกๆ ด้าน ในขณะที่มวลมหาประชาชน กลับยกระดับทางคุณธรรม และความสำนึกทางการเมือง ให้สูงขึ้น จนถึงจุดที่สามารถจะหลอมรวมใจให้เป็นหนึ่งเดยว สร้างความสามัคคีที่จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศ ไปสู่จุดหมายที่ศิวิไลซ์ ด้วยการกอบกู้ประเทศ ทั้งนี้

ประเทศไทย ผ่านการกัดเซาะโครงสร้างของประเทศมาอย่างยาวนาน จนคนไทยส่วนใหญ่เห็นว่า การทุจริต เป็นเรื่องปกติ การคอรัปชั่นได้สอดแทรกไปในวิถีวัฒนธรรมของคนไทย มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในวงราชการ และการเมือง ดังนั้น การรื้อโครงสร้างใหม่ทั้งประเทศ จะต้องกระทำอย่างเอาจริงเอาจัง อาศัยความสำนึกของภาคีส่วนรวม และทำอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสำเร็จ

ประเทศไทย ต้องได้รับการปฏิรูป อย่างน้อย 6 เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

(1) การเมือง และนักการเมือง คือ ปฏิรูปกระบวนการทางการเมือง นักการเมือง ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ให้ประชาชนตรวจสอบรัฐบาลได้

(2) การกระจายอำนาจการปกครอง ให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้มีสภาประชาชนในทุกจังหวัด เพื่อให้มีการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ

(3) กระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปตำรวจ ให้เป็นตำรวจของประชาชน ไม่ต้องไปรับใช้นักการเมือง รวมทั้ง ให้คดีทุจริตคอรัปชั่น ไม่มีอายุความ

(4) ความความเหลื่อมล้ำในสังคม ปฏิรูปที่ดินทำกิน การเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ปฏิรูปการศึกษา สุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม และเรื่องอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม (ความไม่เท่าเทียม ทั้งทางด้าน 'ความรู้สึก' และ 'สถานภาพ' ความรู้สึกว่าเหลื่อมล้ำ แก้ด้วยแนวทาง 'เศรษฐกิจพอเพียง' ส่วนสถานภาพที่เหลื่อมล้ำ แก้ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม -ผู้เขียน)

(5) สื่อ และการสื่อสาร ปฏิรูป ศีลธรรม กระบวนทัศน์ เนื้อหาสาระ ของสื่อสารมวลชน และสื่อมวลชน และการป้องกันการคุกคามสื่อ จากภาครัฐ

(6) พลังงาน ปฏิรูปให้ ปตท. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ

igood-end
24 เมษายน 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:นโยบายด้าน สังคม-เศรษฐกิจ-การศึกษา
ควรเปลี่ยนจาก "กินดี อยู่ดี" มาเป็น "กินสุข อยู่สุข"

ก. ความหมาย "กินดี อยู่ดี"

กินดี อยู่ดี หมายถึง การดำเนินชีวิตของประชาชน ที่มี ปัจจัยสี่ มาบริโภคอย่างพอเพียง การดำเนินนโยบาย ที่ก่อให้เกิดการกินดี อยู่ดี ต้องบริหารจัดการปัจจัยสี่ ให้มีอยู่พอเพียงกับความต้องการ ของประชาชน อย่าให้ขาดแคลน และต้องกระจาย ปัจจัยสี่เหล่านั้น ให้ทั่วถึง อย่างเท่าเทียม

กินดี อยู่ดี เป็นเป้าหมายปลายทาง เป็นวาทะกรรม ที่ใช้เป็น "ธง" ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของผู้บริหาร โดยมีวัตถุประสงค์ แสดงเจตจำนงที่แท้จริง และเจตจำนงแอบแฝง

ข. นโยบาย

การใช้วาทะกรรม "กินดี อยู่ดี" เป็นวัตถุประสงค์แท้จริง แต่กระบวนการและวิธีการ ไม่จริง เนื่องจาก ผู้กำหนดนโยบาย มักเป็นผู้ "ได้เปรียบ" เหนือกว่า ผู้รับนโนบาย ซึ่งมักเป็นผู้ "เสียเปรียบ"

ผู้กำหนดนโยบาย (นักการเมือง ผู้บริหาร) ยังอยู่ในสภาพที่ "กินเกินพอดี อยู่เกินพอดี" และเจ้าหน้าที่ฝ่ายผู้ปฏิบัตินโยบาย ก็ยังไม่รู้ซึ้ง และยังทำไม่ได้ "ไม่มี-ไม่ได้-ไม่เป็น" (not being) ในความกินดี อยู่ดีดังกล่าว กลับพยายาม ที่จะตะเกียกตะกายไปสู่สภาพที่ "กินเกินพอดี อยู่เกินพอดี" เช่นเดียวกับ ผู้กำหนดนโยบาย

"กินดี อยู่ดี" มักจะมี "ความเกินพอดี" แอบแฝงอยู่เสมอ เพราะคำว่า "ดี" ไม่ได้หมายถึง "พอดี" แต่ดี ถูกตีความเข้าข้างกิเลสของคน อะไรก็ตาม ที่ตน "ได้" ก็นับว่า ดี อะไรก็ตาม ที่ตน "เสีย" ก็นับว่า ไม่ดี และสิ่งที่แอบแฝงมา ที่เห็นเป็นรูปธรรมช้ดเจน ก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้บริโภค นอกเหนือจาก "ปัจจัยสี่" (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) เช่น อุปกรณ์การสื่อสาร-โทรคมนาคม อุปกรณ์ขนส่ง-เดินทาง อุปกรณ์เสริมความงาม และอุปกรณ์เสริมความบันเทิง ซึ่งเรียกกันว่า "ปัจจัยที่ห้า"

ปัจจัยที่ห้า ได้กลายเป็น ปัจจัยกำหนดความ อยู่ดี กินดี ของประชาชน ไปโดยปริยาย

ดังนั้น วาทะกรรม กินดี อยู่ดี จึงกลายเป็นเครื่องมือ หรือเป็นม่านปิดบัง นโยบายที่แท้จริง นั่นคือ การกระมิดกระเมี้ยน ทำตนให้ดูไม่น่าเกลียด ที่จะเป็นผู้ "ได้เปรียบ" อย่างเนียนๆ ที่คนทั่วไปรู้ไม่ทัน คิดดูเถิดว่า ถ้านักทุนนิยมสามานย์ ได้อำนาจ ได้ช่องทาง มาเป็นผู้กำหนดนโยบาย กินดีอยู่ดี จะก่อให้เกิดความเสียหาย กับบ้านเมือง มากแค่ไหน

ค. ผลกระทบ

ดูระบอบทักษิณ ไว้เป็นตัวอย่าง ตอนเริ่มต้นใหม่ๆ ปี 2548-2549 ระบอบทักษิณ ก่อเกิดในท่ามกลาง สภาพวะ กินไม่ดี อยู่ไม่ดี ของประชาชน จึงเหมาะสำหรับใช้คำว่า กินดี อยู่ดี เป็นกำหนดนโยบาย ให้ตนเป็นฝ่ายได้เปรียบ ชนิดที่คนจน ไม่อาจรู้เท่ากัน กลับมองว่า "ทักษิณ" คือ พระเจ้ามาโปรด ด้วยซ้ำ

ระบบราชการไทย ที่เคยรับนโยบาย เศรษฐกิจพอเพียง ที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้พสกนิการชาวไทย มากว่า 20 ปี ก็ถูกระบอบทักษิณ ทำลายลงไปด้วย ด้วยการใช้ระบบราชการ เป็นช่องทาง ค่อยๆ กัดกร่อน เซาะแซะ ทุบทำลาย ราวกับว่า จะไม่ให้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง หลงเหลือเศษเสี้ยวในประเทศไทย

(แต่นับว่าโชคดี ที่คนไทยผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่ ยังมีคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" อยู่ในหัว คนกลุ่มนี้นี้แหละ ได้พยายามรื้อฟื้น เศรษฐกิจพอเพียง กลับคืนมาให้กับสังคมไทย)

คำว่า กินดี อยู่ดี จึงเป็นเพียงภาพมายา ไว้หลอกหลอนชาวบ้าน จนรู้สึกสับสนไปหมด โดยแยกไม่ออกว่า "กินดี อยู่ดี" กับ "เศรษฐกิจพอเพียง" มันเหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร และอะไรดีกว่ากันแน่ แต่ที่คนไทยมีความรู้สึกร่วมกัน คือ "รักพระเจ้าอยู่หัว" โดยเฉพาะ ความรู้สึก ในยุคล่มสลายของ ระบอบทักษิณ (พ.ศ.2556-2557) เป็นตัวเปรียบเทียบ

ฝ่ายระบอบทักษิณ ได้แสดงพฤติกรรมดูหมิ่น เหยียดหยามหัวใจคนไทย ด้วยการ "หมิ่นในหลวง" อย่างบ้าครั่ง และกว้างขวง ไม่เกรงใจความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศ นั่นแหละ คือ จุดรื้อฟื้น เศรษฐกิจพอเพียง ให้คนไทยทั้งประเทศ หันมาทบทวนกันใหม่ว่า กินดี อยู่ดี คืออะไรกันแน่ 'กินดี อยู่ดี แบบระบอบทักษิณ' มันต่างกับ 'กินดี อยู่ดี แบบเศรษฐกิจพอเพียง' อย่างไร

ง. กินสุข อยู่สุข

"กินสุข อยู่สุข" หมายถึง การดำเนินชีวิตของประชาชน ที่มี ปัจจัยสี่ มาบริโภคอย่างพอเพียง และสมบูรณ์ โดยประชาชน เป็นผู้กำหนด "ความพอ" ด้วยตนเอง (เพราะ "ความพอ" เป็น "ความรู้สึก" ที่ก่อเกิดมาจาก "ความสำนึก" ใน "คุณค่า" ของทรัพยากร ที่พวกเขาบริโภค) ดังนั้น นโยบาย กินสุข อยู่สุข มิได้มาจาก ฝ่ายบริหาร แต่มาจากฝ่ายประชาชน

หากมีการปรับเปลี่ยน ระบบราชการ มารับใช้ หรือเอื้ออำนวยให้ นโยบาย กินสุข อยู่สุข ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นจริงเป็นจัง ก็จะทำให้ "เศรษฐกิจพอเพียง" กับ "กินดี อยู่ดี" กลายเป็นเนื้อเดียวกัน และเรียกว่า "กินสุข อยู่สุข"

จ. ทำให้เป็นรูปธรรม

กินสุข อยู่สุข มิใช่ "วาทะกรรม" แต่เป็น "วถี" เพราะการก่อเกิด "สุข" เรื่องภายในจิตใจ เป็นเรื่องของ ความรู้สึก ความสำนึก ที่ประชาชนเผชิญหน้ากับ ปัญหา หรือ ความทุกข์ อย่างฉลาด มีหลักการ ดังนี้

ปัญหา หรือ ความทุกข์ มาจาก คนเราไม่สามารถ "ตอบสนอง" "ความต้องการ" ได้อย่างพอเพียง ในข้อเท็จจริงนั้น ความต้องการ ของคนเรา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ความต้องการพื้นฐาน และ (2) ความต้องการส่วนเกิน

ความต้องการพื้นฐาน คือ ความต้องการ ปัจจัยสี่ ความปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจน ความต้องการ เสรีภาพในความนึกคิด ส่วน ความต้องการส่วนเกิน คือ ความต้องการ นอกเหนือจาก ความต้องการพื้นฐาน

ความต้องการพื้นฐาน มีความจำเป็น ที่ผู้บริหารภาครัฐ จะต้องผลิต ต้องสร้าง ต้องจัดหา หรือ เอื้อโอากาส ที่เกิดสิ่งนั้น เพื่อไว้บริการประชาชน อย่าให้ขาดแคลน (ประชาชน ที่ขาดแคลน และเกิดความไม่เทียมกัน ในด้านปัจจัยสี่มากๆ พวกเขาก็มีสิทธิ์ จะออกมาเดินชุมนุมเรียกร้อง กับผู้บริหารประเทศได้ อย่างชอบธรรม)

ความต้องการส่วนเกิน จำเป็นต้องใช้ "ต้นทุน" ในการผลิต เพื่อสนองตอบ ประชาชน ในอัตราที่สูง เกิดการ "เยียดเบีน" ทรัพยากรพื้นฐาน (ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ประชาชนทุกคน ย่อมมีสิทธิ์จะได้ใช้ร่วมกันอย่างเท่าเทียม) และก่อให้เกิดมลพิษ มากมาย ส่วนต้นทุนในการสร้าง 'ความต้องการพื้นฐาน' (ปัจจัยสี่) ใช้ต้นทุนต่ำกว่ามาก แต่รัฐบาลทุนสามานย์ จะไม่สนใจสร้างและทำสิ่งนี้

ดังนั้น กินสุข อยู่สุข ก็คือ การผลิต การเพิ่ม การแลกเปลี่ยน บริการ การส่งข้อมูลข่าวสาร ไปสู่ประชาชน ให้ร่วมกัน ผลิตและบริโภค ทรัพยากรพื้นฐาน อย่างรู้ "คุณค่า" และ ต้อง "ทดแทน" เมื่อมันถูกใช้ไป โดย กำหนดเป็นแผนนโยบายหลัก ทั้งในระดับชุมชน และระดับชาติ

igood-end
30 มีนาคม 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:ชนะอะไร ด้วย อะไร

ชนะ เกม ด้วย ปัญญา
ชนะ ขี้ข้า ด้วย เหยื่อล่อ
ชนะ คนฉ้อโกง ด้วย การประจาน
ชนะ คนพาล ด้วย การให้การศึกษา
ชนะ คนบ้า ด้วย การเอาไปขังไว้
ชนะ คนโหดร้าย ด้วย อภัยทาน
ชนะ คนดื้อด้าน ด้วย คำสั่งศาล
ชนะ พวกหมิ่นสถาบัน ด้วย พลังรักชาติ
ชนะ รัฐบาลทรราช ด้วย พลังพิฆาต สันติ-อหิงสา

igood-end
13 มีนาคม 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:ชุดความคิด (paradagm) ของ ยิ่งลักษณ์ และคนในระบอบทักษิณ

-ผลของการกระทำ ให้ดูที่ 'เจตนา' อย่าใช้ข้อกฎหมาย มาริดรอน ตัดสิทธิ์
-การได้เปรียบ ไม่ถือว่า 'โกง' คำว่า โกง ไม่มีความหมาย ในภาษาไทย
-เจตนา เอื้ออาทร และหลักเมตตาธรรม ตนต้องได้ประโยชน์ร่วมด้วย
-ความยุติธรรม ความเป็นธรรม ต้องไม่กระทบ 'ผลประโยชน์' ของตน
-อำนาจที่มาจาก 'การเลือกตั้ง' เป็นอำนาจที่ชอบธรรม ส่วนอำนาจที่มาจาก 'การแต่งตั้ง' เป็นอำนาจที่ไม่ชอบธรรม
-แพ้ไม่ได้ แพ้ไม่เป็น เพราะ 'แพ้' เป็น มาร แต่ 'พาล' เป็น พระ
-'คำสั่ง' และ 'กฎหมาย' มีสองมาตรฐาน คือ (1) คำสั่ง และกฎหมายนั้น ทำให้ตนสูญเสีย (2) คำสั่ง และกฎหมายนั้น ตนได้ประโยชน์
ดังนั้น ที่กล่าวอ้างว่า องค์กรอิสระ ต้องตัดสินให้เป็น มาตรฐานเดียว นั่นถูกแล้ว แต่ต้อง ตัดสินแบบ (2) เท่านั้น ตนจึงจะ 'ยอมรับ'

igood-end
13 มีนาคม 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:ลักษณะนิสัย ของ 'คนขี้โกง'

-เห็นคนอื่น ดีกว่า แล้วไม่สบายใจ
-อภัยไม่เป็น
-เห็นแต่โทษคนอื่น
-ฝ่าฝืนกฏหมาย เป็นนิจ
-สวมสิทธิ์ คนอื่น ให้เป็นของตัวเอง
-เอาพวกนักเลง เป็นเพื่อน เอาคนเถื่อน เป็นโล่ เอาคนโง่ เป็นนาย
-อ้างกฎหมาย ที่เอื้อประโยชน์ตน
-พูดโกหก จนเชื่อว่า คำโกหกนั้น เป็นจริง
-ถ้าได้ นิ่งเฉย ถ้าเสีย โวยวาย
-พูดเอาแต่ได้ พูดให้ร้ายคนอื่น
-ขัดขืน คำตัดสินของศาล
-แพ้เป็นมาร พาลเป็นพระ ชนะเป็นกู
-เชิดชูประชาธิปไตย แต่ใช้อำนาจตระบัดสัตย์
-ใช้เงินยัด ลัดขั้นตอน
-ส่วนตัวมาก่อน ส่วนรวมมาทีหลัง
-ชอบอ้างความเป็นธรรม แต่กลับทำรุนแรง.

igood-end
3 มีนาคม 2557

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:หมดเวลาสำหรับ "ไทยเฉย"

หมดเวลาสำหรับ "ไทยเฉย" ที่พูดว่า คนไทยอย่าทะเลาะกันเลย หันหน้ามาพูดคุยกันดีดี
อย่าพูดโดยไม่คิด
อย่าฟังแบบผิดผิด
อย่านั่งเทียนนึก

ในเมื่อข้อเท็จจริงมันมีอยู่ว่า

(1) ใคร ทะเลาะกับ ใคร
(2) ทะเลาะกันด้วยสาเหตุอะไร
(3) ฝ่ายใดชอบธรรม หรือไม่ชอบธรรม

ก็คนมันมีเรื่องขัดแย้งกัน แล้วจะมาพูดว่า อย่าทะเลาะกัน คนพูดถ้าไม่ตาบอด ก็หูหนวก หรือไม่ก็เป็นใบ้ หรือเป็นบ้า

ดูซิว่า ฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิด
บอกมาซิว่า ฝ่ายใดจริง ฝ่ายใดเท็จ
ยืนยันซิว่า ฝ่ายใดรุนแรง หยาบคาย ฝ่ายใดสันติ อหิสา
ตัดสินซิว่า ฝ่ายใดชอบธรรม ฝ่ายใดไม่ชอบธรรม

ถ้าดูไม่ออก บอกไม่ได้ ยืนยันไม่ถูก ตัดสินไม่เป็น ก็จงหุบปากซะ
เพราะนี่คือ
การตัดทิ้งมะเร็งร้าย
การผ่าทางตันประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงประเทศไทย.

igood-end
17 ธ.ค. 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

:'เผด็จการ' หรือ 'ประชาธิปไตย' อยู่ที่ 'วิธีการ' หรือ 'ระบอบ' กันแน่?

(1)
ยามใด ที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ มีจิตสำนึกทางการเมืองต่ำ และมีนักการเมือง 'จิตใจใฝ่ต่ำ' (คิดทุจริต)
ถ้าใช้วิธีการ 'ประชาธิปไตย' คุณคิดซิว่า 'อำนาจ' ที่แท้จริง จะตกอยู่แก่ใคร และ
ถ้าใช้วิธีการ 'เผด็จการ' จะเกิดอะไรขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ

(2)
ยามใด ที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ มีจิตสำนึกทางการเมืองต่ำ แต่มีนักการเมือง 'จิตใจสูง' (คิดเสียสละ)
ถ้าใช้วิธีการ 'ประชาธิปไตย' คุณคิดซิว่า 'อำนาจ' ที่แท้จริง จะตกอยู่แก่ใคร และ
ถ้าใช้วิธีการ 'เผด็จการ' จะเกิดอะไรขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ

(3)
ยามใด ที่ประชาชนส่วนหนึ่ง มีจิตสำนึกทางการเมืองสูง และมีนักการเมือง 'จิตใจใฝ่ต่ำ' (คิดทุจริต)
ถ้าใช้วิธีการ 'ประชาธิปไตย' คุณคิดซิว่า 'อำนาจ' ที่แท้จริง จะตกอยู่แก่ใคร และ
ถ้าใช้วิธีการ 'เผด็จการ' จะเกิดอะไรขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ

(4)
ยามใด ที่ประชาชนส่วนหนึ่ง มีจิตสำนึกทางการเมืองสูง และมีนักการเมือง 'จิตใจสูง' (คิดเสียสละ)
ถ้าใช้วิธีการ 'ประชาธิปไตย' คุณคิดซิว่า 'อำนาจ' ที่แท้จริง จะตกอยู่แก่ใคร และ
ถ้าใช้วิธีการ 'เผด็จการ' จะเกิดอะไรขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ

'เผด็จการ' หรือ 'ประชาธิปไตย' อยู่ที่ 'วิธีการ' หรือ 'ระบอบ'
ดังนั้น อย่าอ้างมั่วๆ อะไรอะไรก็ประชาธิปไตย ต้องแบ่งให้ออกว่า
ที่คุณคิดคุณพูดนั้น มันหมายถึง "วิธีการ" หรือ "ระบอบ" กันแน่

มีนักการเมืองมักพูดว่า ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุด
มันไม่สำคัญเท่ากับว่า ปัญหามันไม่ใช่ที่ "ระบอบ"
แต่ปัญหามันอยู่ที่ "คน" ที่เป็น "นักการเมือง" ต่างหาก
ที่ชอบอ้างเอาระบอบปนกับวิธีการแบบมั่วๆ และสับสน
แล้วแสวงผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพรรคพวก.

มีนักการเมืองมักพูดว่า ระบอบเผด็จการ เป็นระบบที่เลวทรามต่ำช้า
มันไม่สำคัญเท่ากับว่า ปัญหามันไม่ใช่อยู่ที่ เผด็จการ หรือ ประชาธิปไตย
แต่ปัญหามันอยู่ที่ ผู้มีอำนาจจะใช้ "วิธีการ" อย่างไร
เพื่อสร้างประโยชน์ ผาสุก ให้แก่ประชาชน มิใช่เพื่อตัวเองและพรรคพวก.

หมายเหตุ
(1)
สภาประชาชน มาจากประชาชน ไม่ใช่ ประชาธิปไตย ที่ตรงไหน?
สภาผู้แทนราษฎร ก็มาจากประชาชนเช่นกัน ยังเรียกว่า ประชาธิปไตย ได้เลย

สภา + 'ประชาชน' กลับเป็น ประชาธิปไตย 'มากกว่า'
สภา + 'ผู้แทน' ราษฎร เพราะมันก็แค่ ผู้แทน มิใช่ ประชาชนโดยตรง

อันไหน ความหมายชัดเจนกว่ากัน?

(2)
เนื้อแท้ หรือ เป้าหมายที่แท้จริง ของ "เผด็จการ" หรือ "ประชาธิปไตย" อยู่ที่ ทำเพื่อใคร เพื่อประโยชน์ของใคร ถ้าเผด็จการ หรือ ประชาธิปไตย ทำเพื่อประโยชน์คนกลุ่มเดียว หรือโกงกินบ้าน ก็ไม่ชอบธรรมด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้น อย่าไปพูดว่า เผด็จการ หรือ ประชาธิปไตย ฝ่ายใหนดีกว่ากัน หรือชอบธรรมกว่ากัน แต่ให้ดูที่ "นักการเมือง" ที่เข้าสู่กระบวนการ ไม่ว่าเผด็จการ หรือ ประชาธิปไตยก็ตาม มันทุจริต ซื้อเสียง มาหรือไม่.

igood-end
9 ธ.ค. 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:เกณฑ์ตัดสิน ดี-ชั่ว

การตัดสินว่าอะไรดี อะไรชั่ว ใครดี ใครเลว
ให้ดูที่ 'รูปแบบ-โครงสร้าง' (format-structure) และ 'เนื้่อหาสาระ' (ensence)

สรุปย่อคือ รูปแบบ และ สาระ
อย่ามอง อย่าตัดสิน เพียงด้านเดียว

'รูปแบบ-โครงสร้าง' เป็นเพียง 'พิธีกรรม' หรือ 'วาทกรรม'
ในการแสดง อัตลักษณ์ว่า 'ดี หรือ เลว'

'เนื้อหาสาระ' เป็น 'แก่นแท้'
ในการแสดง อัตลักษณ์ว่า 'ดี-ถูก-จริง-ประโยชน์-สุข-สงบ-สันติ-อหิงสา'

ดังนั้น ตัวชี้วัดว่า รูปแบบ-โครงสร้าง อันใด หรือใคร อยู่ในเกณฑ์ที่สังคมยอมรับได้
ก็คือ "เหตุผล"
สรุปก็คือ

'ข้อความ-เหตุผล' เป็นตัวชี้วัด รูปแบบ-โครงสร้าง
ตัวชี้วัดว่า เนื้อหาสาระ อันใด หรือใคร อยู่ในเกณฑ์ที่สังคมยอมรับได้ ก็คือ ประโยชน์ใช้สอยร่วมกัน หรือ ประโยชน์สาธารณะ (มิใช่ประโยชน์สามานย์)

สรุปก็คือ 'วิบากกรรม' (ผลของการกระทำ) เป็นตัวชี้วัด เนื้อหาสาระ.


igood-end
11 ธ.ค. 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:ความแตกต่าง ที่สมานกันได้

ความแตกต่าง ที่สมานกันได้ (1)

'เทพ' มีมันสมองไว้ให้ 'เมตตา' สรรพชีวิต (kindness)
'มนุษย์' มีมันสมองไว้ให้ 'คิดดี' (wisdom | intelligence thinking)
'สัตว์เดรัจฉาน' มีมันสมองไว้ 'คิดหาวิธี' (way of action)
'สัตว์นรก' มีมันสมองไว้ให้ 'คิดทำบาปอเวจี' (hole in sin)
'ยิ่งลักษณ์' มีมันสมองไว้เพื่อ พี่ของตัวเอง (ระบอบทักษิณ: Thaksinomics)

มันสมองชนิดใด ที่จะสร้างภาวะสมานฉันท์กันได้?

ความแตกต่าง ที่สมานกันได้ (2)

คนเรา แตกต่างกันทาง ศาสนา ให้ดูที่ 'พิธีกรรม'
คนเรา แตกต่างกันทาง ชนชั้นวรรณะ ให้ดูที่ 'การคิด'
คนเรา แตกต่างกันทาง วัฒนธรรม ให้ดูที่ 'การกระทำ'
คนเรา แตกต่างกันทาง การศึกษา ให้ดูที่ 'การพูด'
คนเรา แตกต่างกันทาง เศรษฐกิจ ให้ดูที่ 'รู้จักพอดี'

ในความแตกต่างทั้งหลายเหล่านี้ สามารถสมานกันได้
ด้วย 'เมตตา-อภัย' แก่ผู้ที่ 'รู้สำนึก'.

ถ้าฝ่ายหนึ่ง มีแต่ เมตตา-อภัย แต่อีกฝ่าย 'ไม่รู้สำนึก'
ก็สมานกันไม่ได้ แต่ ... สังคมยังอยู่ได้ และ

ถ้าฝ่ายหนึ่ง ไร้เมตตา-อภัย ขณะที่อีกฝ่าย 'รู้สำนึก' แล้ว
ก็สมานกันไม่ได้เช่นกัน แต่ ... สังคมก็ยังอยู่ได้ ไม่ล่มจม แต่

ถ้าทั้งสองฝ่าย ไร้เมตตา-อภัย และ ไร้สำนึก ...
มันก็ไม่ต่างอะไรกับ สังคมสัตว์นรก กลียุค ดีดีนี่เอง.

ป่ายกล่าวไปไย ถ้าทั้งสองฝ่ายต่างก็มี เมตตา-อภัย และ มีสำนึกดี ...
มันก็คือสวรรค์ที่สัมผัสได้ แบบเห็นเห็น.

ดังนั้น ตราบใดที่ในโลกนี้ ยังมีฝ่ายให้ ('เมตตา-อภัย' หรือ 'สำนึกดี')
โลก สังคม ก็ยังอยู่ได้ แม้จะมีน้อยนิดก็ตาม.


igood-end
11 ธ.ค. 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:แบบจำลองสามเหลี่ยมความชอบธรรม (Model of Righteousness)

righteousness

แบบจำลองสามเหลี่ยมความชอบธรรม (Model of Righteousness)

ก. นิยาม ความหมาย

อำนาจ (authority) หรือ อำนาจหน้าที่ หรือ สิทธิอำนาจ หมายถึง การบริหาร สั่งการของผู้มีอำนาจ อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจ หรือไม่ หรือความที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เป็นอำนาจที่องค์การมอบให้กับผู้ดำรงตำแหน่ง เพื่อที่จะได้ปฏิบัติภารกิจขององค์การได้สำเร็จ เมื่อบุคคลได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ บุคคลนั้นก็จะมีอำนาจและความรับผิดชอบ

จริยธรรม (ethics) มาจากหลักจริยศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยความดีงามทางสังคมมนุษย์ หมายถึง กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ

กฎหมายและนิติธรรม (rule of law) หมายถึง ความเป็นธรรมที่มีอยู่ในกฎหมาย (คุณธรรมทางกฎหมาย) อันเป็นกฎระเบียบแบบแผนที่สังคมยอมรับ และยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น กฎหมาย เป็นสิ่งที่นำมาใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ดังนั้น เพื่อป้องกันการออกกฏหมาย และการบังคับใช้กฏหมาย ที่เกินขอบเขตและข่มขี่ผู้ที่ด้อยกว่า จึงจำเป็นต้องใช้หลักนิติธรรม และหลักนิติรัฐ ควบคู่ไปด้วย

ความชอบธรรม (righteousness)
ความชอบธรรมเป็นคติทางการเมือง หมายความว่า เป็นอำนาจที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน นับเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการปกครอง แต่ความชอบธรรมกับความถูกต้องตามกฎหมายไม่เหมือนกัน การกระทำบางอย่างอาจถูกต้องตามกฎหมายแต่ไม่มีความชอบธรรมก็เป็นได้ ดังกรณีที่รัฐสภาอเมริกันออกมติเอเชียอาคเนย์ทำสงครามเวียดนาม โดยไม่มีการประกาศสงคราม (Public Law 88-408) John Locke เห็นว่า ความชอบธรรมทางการเมืองมาจากการให้ฉันทานุมัติจากประชาชน

แบบจำลองสามเหลี่ยมความชอบธรรม ใช้อธิบาย ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่าง อำนาจ (authority) จริยธรรม (ethics) และ หลักนิติธรรม (rule of law) โดยที่ ความชอบธรรม (righteousness) คือ ศูนย์กลางของอุดมการณ์ ที่ทั้งอำนาจ จริยธรรม และ หลักนิติธรรม ต่างต้องการจะรักษาสถานภาพแห่งอุดมการณ์ของตน โน้มเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งความชอบธรรม อาจเรียกว่า จุดศูนย์กลางแห่งความชอบธรรม คือจุดเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นกลาง"

ในระบอบประชาธิปไตยนั้น เห็นว่าความชอบธรรมของผู้ปกครอง มาจากการได้รับการยอมรับจากประชาชน คือ ผ่านการเลือกตั้ง และ ใช้อำนาจปกครองนั้นตามหลักการ และกระบวนการแห่งประชาธิปไตย อาจกล่าวได้ว่า ความชอบธรรมที่แท้จริงนั้น ขึ้นอยู่กับการยอมรับของประชาชน ไม่จำเป็นว่าที่มาของสถาบันจะเป็นเช่นใด

แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ การสร้างความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย เพียงแค่ใช้วาทกรรมการเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ที่จะสร้างการยอมรับจากสาธารณะ จะต้องสร้างสัมพัธภาพ (relatively)* ให้แก่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยหลัก 4 ฐานราก และ 7 เสาหลักประชาธิปไตย [สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. (สมุทรปราการ : ดับลิวพีเอส), หน้า 226-243] ประชาธิปไตย 4 ฐานราก คือ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน ประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยปรึกษาหารือ และประชาธิปไตยตรวจสอบรอบด้าน ส่วน เสาหลักประชาธิปไตย 7 เสา ได้แก่ สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การปกครองด้วยกฏหมาย กระบวนการเลือกตั้งที่บริสุทธิยุติธรรม ขันติธรรมทางการเมือง ความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ระบบคานอำนาจ และการกระจายอำนาจ

*สัมพัทธภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย 2 ปัจจัยขึ้นไป ที่มีผลเป็นพลวัตรต่อกัน ไม่มีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งที่เป็นอิสระ แต่จะส่งผลกระทบต่อกันเสมอ ในที่นี้หมายถึง บทบาทของอำนาจ จริยธรรม และ กฎหมาย-นิติธรรม ที่กระทำต่อกันแบบสามเส้า

ข. สัมพัธภาพ ระหว่างอำนาจ จริยธรรม และกฏหมาย-นิติธรรม

สามเหลี่ยมความชอบธรรม ด้านอำนาจ พยายามที่จะขยายเส้นบทบาทหน้าที่ ให้ยืดยาวออกไป เพื่อจะได้โน้มเอียงเข้าใกล้จุดศูนย์กลางแห่งความชอบธรรมให้มากที่สุด แต่นั่นย่อมส่งผลกระทบต่อด้านจริยธรรม และ ด้านกฏหมาย-นิติธรรม ให้ต้องลดบทบาท หน้าที่ของตนลง ในทำนองเดียวกัน ด้านจริยธรรม และ ด้านกฎหมาย-นิติธรรม ก็พยายามจะขยายเส้นบทบาทและหน้าที่ของตน ให้ยืดยาวออกไปเช่นกัน และก็ส่งผลกระทบกับอีก 2 ด้านที่อยู่ฝั่งตรงข้าม

ดังนั้น แต่ละด้านของสามเหลี่ยมความชอบธรรม จึงต้องสร้างความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์กับอีกฝ่าย เพื่อรักษาสมดุลของรูปสามเหลี่ยม และเพื่อให้แต่ละด้านของตน โน้มเข้าใกล้จุดศูนย์กลางให้มากที่สุด นั่นหมายถึงว่า แต่ละด้านของสามเหลี่ยม จำเป็นต้องลดบทบาทบางอย่าง หรือยอมสูญเสียบทบาทบางอย่างของตน ที่อาจส่งผลกระทบของด้านที่อยู่ตรงข้าม เพื่อให้การโน้มเอียงเข้าสู่ศูนย์กลางนั้น ดำเนินไปอย่างราบรื่นและไม่ทำให้ดุลยภาพทางอำนาจของแต่ละด้านสูญเสียไป จนทำให้รูปสามเหลี่ยมแห่งความชอบธรรมบิดเบี้ยวไป หรือไม่สมส่วน

ความไม่สมส่วนของรูปสามเหลี่ยม มิใช่ประเด็นสำคัญ รูปสามเหลี่ยมอาจเปลี่ยนรูปเป็นสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าก็ได้ เพราะสามเหลี่ยมด้านเท่า จะเป็นได้ก็แต่ในอุดมคติเท่านั้น

ค. ความชอบธรรม ระหว่างอำนาจ จริยธรรม และ กฏหมาย-นิติธรรม

บทบาทของอำนาจ จริยธรรม และกฏหมาย-นิติธรรม มักจะขัดแย้งกันเสมอ ซึ่งถือเป็นปกติและเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง แสดงบทบทที่มากเกินไปจนเลยขอบเขตไปกระทบอีกปัจจัยหนึ่งที่อยู่ข้างๆ จะมีกฏเกณฑ์อะไรที่จะสร้างความสมดุล หรือพอเหมาะพอดี ในการแสดงบทบาทของปัจจัยทั้ง 3 เหล่านั้น

การโน้มเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งความชอบธรรมของแต่ละด้าน มี 2 แนวทาง คือ

(1) แนวทางประนีประนอม
มุมที่เกิดจากสัมพัทธภาพของแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยม จะเป็นเงื่อนไขแห่งการประนีประนอมบทบาทของแต่ละฝ่าย ให้แสดงบทบาทร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดยอิงหลักการทางรูปทรงเรขาคณิต ที่มีมุมภายในรวมกันเท่ากับ 180 องศา โดยให้ปัจจัยแต่ละด้านของสามเหลี่ยมลดมุมที่กระทำต่อกันลง จะทำให้มีมุมภายในของสามเหลี่ยมรวมกัน น้อยกว่า 180 องศา ผลก็คือ เส้นด้านอำนาจ เส้นด้านจริยธรรม และเส้นด้านกฎหมาย-นิติธรรม ก็จะโน้มโค้งเข้าหาศูนย์กลางแห่งความชอบธรรม ยิ่งลดมุมสัมพัทธภาพให้เล็กลงได้มากเท่าใด ก็จะยิ่งใกล้ศูนย์กลางแห่งความชอบธรรมมากขึ้นเท่านั้น และในทางตรงกันข้าม หากแต่ละด้านยังยืนกรานที่จะแสดงบทบาทมากเกินไป จะทำให้มุมแห่งสัมพัทธภาพเพิ่มขึ้น มุมภายในสามเหลี่ยมจะรวมกัน มากกว่า 180 องศา ก็จะทำให้เส้นด้านอำนาจ เส้นด้านจริยธรรม และเส้นด้านกฏหมาย-นิติธรรม ยิ่งห่างไกลจากศูนย์กลางความชอบธรรมมากขึ้น

(2) แนวทางลดบทบาท
คือการลดขนาดบทบาทของแต่ละด้านให้สั้นลง รูปสามเหลี่ยมก็จะมีขนาดเล็กลง ทำให้แต่ละด้านของสามเหลี่ยมเข้าใกล้ศูนย์กลางมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าแต่ละด้านขยายเส้นบทบาทของตนออกไป ยิ่งออกไปมากเท่าใด ก็จะไปเบียดกับด้านตรงข้ามให้สั้นลง ปัญหานี้อาจไม่เกิดขึ้น ถ้ายอมให้จำนวนพื้นที่ของสามเหลี่ยมแห่งความชอบธรรมเพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป ความชอบธรรมมักมีขีดจำกัด คงต้องปล่อยให้อำนาจ จริยธรรม และกฏหมาย-นิติธรรม สร้างสัมพัทธภาพที่เหมาะสมกันเอาเอง

ปัญหาความแตกแยกของคนไทยในปัจจุบัน เกิดจากต่างฝ่ายต่างอ้างความชอบธรรมของอำนาจ อ้างความชอบธรรมตามหลักจริยธรรม และอ้างความชอบธรรมตามหลักกฏหมาย ที่ฝ่ายตนถือว่า “ชอบธรรม” และสามารถกระทำได้ จึงเกิดปัญหากระทบกระทั่งต่อกัน คงไม่มีผู้ใดจะเสี่ยงเข้าไป “ตัดสิน” หรือ “จัดการ” ให้แต่ละฝ่ายแสดงบทบาทแห่งความชอบธรรมในขอบเขตที่เหมาะสม เพราะผู้ที่จะเข้าไปตัดสินหรือจัดการ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ อำนาจ นั่นเอง.

igood-end
4 เมษายน 2556

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:ความเป็นกลาง คืออะไร

ความเป็นกลาง คือ ความสมดุล ของ
วัตถุ และ นาม
กาย กับ จิต
เปลือก กับ แก่น
ปริมาณ กับ คุณภาพ
สัจจะ กับ สมมุติ

ความเป็นกลาง คือ ความชัดเจน โปร่งใส ดุจ
หงาย ของที่คว่ำ
ทำที่มืด ให้สว่าง
ชักของลึก ให้ตื้น
ตื่นจากความหลับ

ความเป็นกลาง คือ การมีสุขภาวะที่สมดุล ของ
ร่างกาย จิตใจ อารมณ์
และ สังคม สิ่งแวดล้อม

ความเป็นกลาง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จาก เลว ไปสู่ ดี
จาก การเอาเปรียบ ไปสู่ การเสียสละ
จาก ไร้สาระ ไปสู่ สาระ
สิ่งที่ หมด – เหลือ คือ กิเลส อัตตา*

ความเป็นกลาง คือ การลดความรุนแรง (violence)
ไปสู่ อหิงสา (nonviolence)
จนเกิด อโหสิ (peace)

ความเป็นกลาง คือ การให้โอกาส คนดี มีอำนาจ เพราะ “คนดี” ย่อมสร้าง “ระบบดี”
ระบบดี จะส่งเสริมให้คนดี ให้ทำดีมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน ก็ป้องปราม คนเลว ให้ทำเลว ยากขึ้น หรือ ไม่มีโอกาสทำเลวเลย

ความเป็นกลาง คือ การเลือกข้าง เลือกฝ่าย
เลือก จริง ปฏิเสธ เท็จ
เลือก ดี ปฏิเสธ ชั่ว
เลือก ถูก ปฏิเสธ ผิด
เลือก ประโยชน์สุข ปฏิเสธ โทษทุกข์
เลือก ศิลปะ ปฏิเสธ อนาจาร
เลือก สาระ ปฏิเสธ ไร้สาระ
เลือก เที่ยงธรรม ปฏิเสธ ลำเอียง
เลือก เหมาะควร ปฏิเสธ ไม่เหมาะควร
เลือก หมด ปฏิเสธ เหลือ.*

igood-end
2552-06-09

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:ปัจจัยการขับเคลื่อนทางการเมือง (factor of politics driving)

กิจกรรมทางการเมือง จะดำเนินต่อไปได้ จะต้องมีปัจจัยต่อไปนี้ ประกอบด้วย

(1) “เหตุผล กับ ความเหมาะสม” (หลักนิติศาสตร์ กับ หลักรัฐศาสตร์) พฤติกรรมของนักการเมืองที่ถูกซ่อนเร้นไว้ จะถูกเปิดเผย โดยเหตุและผล และความสมเหตุสมผล เพราะนักการเมือง ย่อมไม่ทิ้งร่องรอยแห่งความชั่วร้ายของตน แต่ความชั่วร้ายที่ซ่อนเร้น จะถูกเปิดเผยจากบริบทรอบข้าง บนหลักแห่งเหตุผล ตามคติภาษิตไทยว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล”

(2) “สัญญาประชาคม กับ ความไว้วางใจ” ข้อตกลง หรือ คำสัญญา ที่กระทำต่อหน้าสาธารณะ ต้องได้รับความไว้วางใจ จากประชาชน และ ภาคีร่วมกิจกรรม

(3) “ความจริง กับ ความถูกต้อง” ความจริง ยั่งยืน (สัจจะ) ความเท็จ ไม่ยั่งยืน คนพูดโกหก จะทำชั่วนั้น ไม่มี

(4) “ผลประโยชน์ กับ เกียรติยศชื่อเสียง” สิ่งที่นักการเมือง ต้องการ คือ ผลประโยชน์ กับ ชื่อเสียง ถ้าแสวงผลประโยชน์ เพื่อตนและพวกพ้อง มากกว่า เพื่อส่วนรวม ก็จะทำให้ชื่อเสียงไม่ดี

(5) “บันไดขึ้น กับ บันไดลง” หมายถึง จุดเริ่มต้น กับ จุดสิ้นสุด ของการดำรงตำแหน่ง หรือ กิจกรรม โครงการ การเปิดตัวของนักการเมือง หรือ กิจกรรมทางการเมือง หรือ โครงการทางการเมือง จะต้องเป็นข่าว และ เมื่อจะปิดตัวกิจกรรม โครงการ หรือ ลงจากตำแหน่ง จะต้องไม่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติ หรือ อาจถือว่าเป็นมารยาท ที่จะต้องหาบันไดลงให้ได้ การยุติการชุมนุม หากไม่มีบันไดลง ก็จะยุติได้ยาก

(6) “สื่อ กับ มวลชน” นักการเมืองที่ใช้ สื่อ กับ สี่อสารมวลชน เป็น จะทำให้มวลชน เชื่อฟัง แต่จะเชื่อถือ เชื่อมั่น หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ความจริง ตามที่สื่อออกไป ภาพที่สร้าง ถ้าไม่จริง ภาพนั้น ก็จะกลับไปทำร้าย ผู้สร้าง

(7) “การใช้เงิน กับ การตรวจสอบ” เงินสนับสนุน เงินรายได้ เงินจ่ายในแผนงบประมาณ จะต้องได้รับการตรวจสอบ ให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส เพราะ เงิน มีอำนาจ ทำให้นักการเมือง กระทำในสิ่งที่ซ่อนเร้นได้ง่าย เพราะมีอำนาจและช่องทาง ในการซ่อนเร้น ได้ง่ายกว่าประชาทั่วไป

(8) “อำนาจตุลาการ กับ อำนาจสนับสนุนจากพลังประชาชน” (พลังเงียบ) นักการเมือง จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และยอมรับคำตัดสินของศาล โดยไม่อ้างเสียงหรือพลังสนับสนุนจากประชาชนเพียงอย่างเดียว มาเป็นข้ออ้าง เพื่อปิดบังซ่อนเร้น สิ่งที่ไม่ดีของตนเอง

การนำนักการเมืองชั่ว มาลงโทษ ถ้าใช้ “มาตรฐานเดียว” ไม่สามารถทำได้ ก็ควรใช้มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 3 หรือ มาตรฐาน ที่ n ทั้งนี้ เพื่อให้ดุลยภาพ ระหว่าง อำนาจ กับ จริยธรรม เป็นจริง

igood-end
2553-04-06

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:สื่อสาร การเมือง บูรณาการ

สื่อสารการเมือง ต้องบูรณาการ
(1) จริยศาสตร์
(2) สุนทรียศาสตร์
(3) รัฐศาสตร์ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อสร้างภารกิจหลัก ๓ ประการ คือ
“สื่อสารการเมือง”
“สื่อสายคลายทุกข์” และ
“สื่อสุข สู่ ประชาชน”

igood-end
2551-04-19

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.โท ม.แสตมฟอร์ด (Master degree: PG Signature - Stamford International University)
line

:แขก 5 ประเภท

ในบ้านหลังหนึ่ง เป็นบ้านหลังใหญ่ มีเครื่องอำนวยสะดวก อาหารการกิน พร้อมสรรพ มีห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องพักผ่อน ห้องรับแขก ที่ถูกจัดแต่งไว้อย่างหรู เสน่ห์ของบ้านหลังนี้ก็คือ เจ้าของบ้านใจดี และมีทรัพย์สินสิ่งขอมีค่า ตกแต่งประดับในห้องต่างๆ มากมาย การดูแล ปิดเปิดห้องต่างๆ เจ้าของก็ใจดี อนุญาตให้แขกที่มาพัก ช่วยกันสอดส่องดูแล ทำความสะอาด และจัดการบ้าน ให้น่าอยู่ด้วยตนเอง โดยเจ้าของบ้าน จะคอยดูอยู่ห่างๆ
ในบรรดาแขกที่มาพัก มี 5 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1
พวกที่มาอาศัยอยู่แล้ว ต่างเอาใจใส่ดูแลบ้าน ให้สะอาด ปลอดภัย มีการจัดเวรยาม เมื่อเห็นขโมยเข้าบ้าน ต่างก็ช่วยกัน กวดจับขโมยนั้น ส่งให้ตำรวจ หรือ ส่งให้เจ้าของบ้านจัดการ

ประเภทที่ 2
พวกที่มาอาศัยอยู่แล้ว เอาใจใส่ดูแลบ้าน ให้สะอาด ปลอดภัย แต่มีความขลาดกลัว เมื่อตกกลางคืนต่างก็มุดหัวนอน เมื่อเห็นขโมยเข้าบ้าน ทำได้แค่ตะโกน ให้พวกชาวบ้านคนอื่นๆ รู้ จะได้มาช่วยกันจับขโมย

ประเภทที่ 3
พวกที่มาอาศัยอยู่แล้ว เอาแต่กิน แล้วก็นอน ไม่ทำอะไรเลย ให้เป็นประโยชน์ ปล่อยเวลาให้ผ่านไปวันวัน เมื่อเห็นขโมย เข้าบ้าน ก็ละเลย ทำเป็นไม่เห็น

ประเภทที่ 4
พวกที่มาอาศัยอยู่แล้ว นอกจากเอาแต่กิน กับ นอน และไม่ทำอะไร ให้เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบ้านแล้ว ยังเป็นสาย ให้โจรเข้าไปขโมยของในบ้าน

ประเภทที่ 5
พวกที่แฝงตัวมาอาศัยอยู่ แล้วสมคบกัน ขโมยของทุกอย่างในบ้านไป

ถามว่า
(1) ถ้าคุณจะไปเป็นแขกในบ้านหลังนี้ คุณจะเป็นแขกประเภทใด
(2) ถ้าคุณเป็นเจ้าของบ้าน คุณคิดว่า จะอนุญาตให้แขกประเภทใด อยู่ในบ้านต่อไป
(3) ถ้าคุณเป็นเจ้าของบ้าน คุณคิดว่า จะขับไล่ แขกประเภทใด ให้ออกจากบ้านไปโดยเร็ว
(4) ถ้าบ้านหลังนี้ คือ ประเทศไทย ใครคือเจ้าของบ้าน และ ใครคือ โจร

igood-end
2554

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดออนไลน์ อย่างอิสระฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่บ้าน กับ TOPICA
line

:รักประเทศไทย อย่างมักง่าย

อะไรอะไร ก็อย่าทะเลาะกัน
โดยไม่หันดู เหตุผล

อะไรอะไร ก็อย่าแตกแยก
โดยไม่แหวก (แหกตา) ดู ฝูงชน

อะไรอะไร ก็ให้รักกัน
โดยดึงดัน ปั้นอารมณ์ (ปอง ดอง)

อะไรอะไร ก็ให้มีความสามัคคี
โดยไม่ชี้ ว่าคนดี หรือ คนร้าย

อะไรอะไร ก็ปรองดอง
โดยไม่มองว่า จะปรองดองกับใคร

อะไรอะไร ก็ให้ประเทศไทย เดินไปข้างหน้า
โดยไม่ศึกษาว่า “เดินหน้า” ไปเพื่อใคร

อะไรอะไร ก็คนไทยเหมือนกัน
โดยไม่หวั่นว่า มัน จัญไร หรือ จรรโลง.

สรุป จะปรองดอง จะครองรัก จะสามัคคี จะมีใจให้ใคร ให้ดูที่ “คน” คนนั้นให้ดีเสียก่อน อย่าทำอะไรมั่วๆ บ้านเมืองมันจะยุ่ง

igood-end
2554-12-04

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - SE-ED Online Shoppingศูนย์หนังสือ SE-ED Online Shopping
line

:คน 43 จำพวก

คนพวกนี้ อยู่ในตระกูลเดียวกัน
พวกเป็นกลาง
พวกวางตัวเหนือเหตุผล
พวกเห็นคนไม่ใช่คน
พวกสร้างอิทธิพลอำนาจ
พวกประกาศสันติอหิงสา แต่ถือศาสตราไว้ข้างหลัง
พวกพลังเงียบ
พวกเอาเปรียบสังคม
พวกนิยมละครน้ำเน่า
พวกทำดีเอาหน้า
พวกปากกล้าขาสั่น
พวกปลุกปั่นยุยง
พวกหลงผิดคิดอุบาทว์
พวกอำมาตย์จัญไร
พวกไพร่สถุล
พวกลืมบุญคุณครูอาจารย์
พวกเก็บอุดมการณ์ไว้ในลิ้นชัก
พวกมักง่ายเห็นแก่ตัว
พวกคิดชั่วล้มปืนล้มเจ้า
พวกชอบกินข้าวปนกับขี้
พวกเห็นคนดีเป็นคนชั่ว
พวกพูดมั่วตระบัดสัตย์
พวกไร้สมบัติผู้ดี
พวกจิ้งจกไร้สี
พวกมีจิตริษยา
พวกเห็นคนอื่นดีกว่าแล้วไม่สบายใจ
พวกชอบประชาธิปไตยนับหัว
พวกอำพรางตัวไม่ทราบฝ่าย
พวกสมองลาปัญญาควาย
พวกทำตัวสบายใส่เกียร์ว่าง
พวกวางตัวเป็น แตงโม มะเขือเทศ
พวกเพศเพี้ยนสับสน
พวกโจรในเครื่องแบบ
พวกอีแอบสีกากี
พวกมีมากลากไป
พวกเอาหูไปนาเอาตาไปไร่
พวกปล่อยให้คนดีถูกด่าแล้วนิ่งเฉย
พวกละเลยนอนหลับทับสิทธิ์
พวกติดบ่วงสวรรค์
พวกสมานฉันท์กับคนผิด
พวกคอมมิวนิสต์กลับชาติมาเกิด
พวกชูเชิดระบอบทักษิณ
พวกโกงบ้านกินเมือง
พวกฝันเฟื่องสันติภาพ

igood-end
2554-02-19

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ได้มากถึง 16 ชั่วโมง ต่อวันเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน กับ TOPICA
line

:การเมืองเก่า การเมืองใหม่

นักการเมืองเก่า
มองการเมือง คือ เกม (game) และคาดหวังว่า การเมือง คือ ที่มาของ เกียรติ และ อิทธิพล

ประชาชน
มองการเมือง คือ ความฝัน (dream) และคาดหวังว่า การเมือง คือ ที่มาของ ปัจจัยสี่และความสุข

สื่อ สื่อมวลชน
มองการเมือง คือ ละครปาหี่ (monster) คาดหวังว่า การเมือง คือ ช่องทางอิสรภาพ ของสื่อ

นักธุรกิจ
มองการเมือง คือ ผลประโยชน์ และ คาดหวังว่า การเมือง คือ ช่องทางแสวงหาความมั่งคั่ง

ทหาร ข้าราชการ
มองการเมือง คือ ยุทธศาสตร์ และ นโยบาย และคาดหวังว่า การเมือง คือ ที่มาของ สวัสดิภาพยั่งยืน

พระ (สมมุติสงฆ์)
มองการเมือง คือ เขตหวงห้ามของนักบวช แต่กลับ คาดหวังว่า การเมือง คือ ที่มาของ พัดยศ สรรเสริญ

igood-end
2555-02-27

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - MSIG - Travel Easy เพื่อนเดินทางตัวจริง
line

:อัตลักษณ์ ของนักการเมือง “น้ำดี”

นักการเมือง “น้ำดี” ต้องมี หลักสัมมาปัญญา หรือ igood (intelligence good) 4 ประการ

อารมณ์อุดมปัญญา (i-emotion: intelligence emotion) คือ สมาธิ มั่นคง บนแรงยั่วยุ

คิดฉลาดสร้างสรรค์ (i-thinking: intelligence thinking) ทำสิ่งที่ยาก ให้ง่าย

ปัญญาสรรสร้าง (i-creativity: intelligence creativity) ใช้ (หลักคิด + วิธี + เทคโนโลยี) สู่การตัดสินใจ ฝ่า ปัญหาวิกฤติ (บริหารความเสี่ยง)

องอาจปัญญา (i-action: intelligence action) “รูจริง-รู้จำ-รู้แจ้ง-รู้แจง-รู้จบ”

คำว่า i มีความหมาย 4 นัยะ คือ

i หมายถึง “identity” ความมีตัวตน ลักษณะเฉพาะตน

i หมายถึง “intelligence” ปัญญาฉลาดรู้ ฉลาดเลือก ฉลาดรับ ฉลาดปฏิเสธ
(ตามหลัก จริยธรรม 9)

i หมายถึง “ฉัน” (me) ซึ่งเป็นผู้กระทำ หรือเป็นประธาน สัมมาปัญญา ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากปราศจาก ตัวฉัน (without i without i-Good)

igood-end.
2553-12-02

[กลับไปหน้า สารบัญ เวทีความคิด] - ป.ตรี ม.แสตมฟอร์ด (Bachelor degree: UG General - Stamford International University)
line

 
   
  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2020 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net