Touring Saving Thailand

 

 

หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

 

นานาสาระ - ทริป ท่องเที่ยว จักรยาน :
TIP - Touring Saving Thailand

# ประสบการณ์กางมุ้งนอน. สำหรับ นักเดินทางไกล ท่องเที่ยว ธุดงค์ หรือนักปฏิบัติธรรม.


บางครั้ง กางกลดนอน ก็ยุ่งยาก ตรงที่ หาที่แขวนกลดไม่ได้. มุ้งกลดบางหลัง รัศมีแคบ. ผมมีวิธีง่ายๆ ในการกาง เก็บ พกพา.

(1) หาผ้าผืนบางๆ. ผ้าอะไรก็ได้ กว้าง ยาว เท่าขนาดความสูง ของแต่ละคน.

(2) เย็บมุมทั้งสี่ ให้เป็นซอง สำหรับยึดกับ เสาสปริง. (อาจใช้หนังยาง รัดมุมช่วย)


(3) เสาสปริง สองเส้น ยาวเส้นละ 3.5 ม. กางไขว้มุมกัน แล้วใช้หนังยาง มัดยึดโครงเสา จุดที่ไขว้กากบาท ให้แน่น.

ถ้าเสาสปริงยาวเกิน จะทำให้โครงเสาสูง โยกเยก ติดตั้ง (คนเดียว) ยาก , ถ้าสั้นเกิน หลังคามุ้งจะต่ำ. แต่โครงเสาต่ำ จะติดตั้งง่ายกว่า. ควรหาเสาสปริง ที่มีขนาดยาว ท่อนละ 50 cm. จะทำให้เก็บ พกพา ง่าย.

เมื่อกางโครงเสาเสร็จ สามารถยก ย้าย เคลื่อน ได้ง่ายมาก ไม่ทำให้โครงมุ้งหลุด หรือพัง.

(4) มุ้ง. ใช้ได้ทุกชนิด ทุกขนาด (มุ้งกลด มุ้งสี่มุม มุ้งกระโจม) คลุมลงบนหลังคา.

หากกางบริเวณ กลางแจ้ง หรือทุ่งโล่ง ถ้ามีลม มีหมอก ก็คลุมด้วย พลาสติก. (ยึดมุม ทั้งสี่ ที่พื้นด้วยสมอบก หรือไม่ก็ กางเต็นท์ผืนใหญ่ อีกชั้น)

 

อย่ามองข้าม ถุงดำ size ใหญ่สุด เมื่อคลี่ออกแล้ว ได้ยาว 180 ซม. ยาวพอ ที่จะใช้เป็น พลาสติกปูรองพื้นได้สบายๆ

(5) เสาสปริง. เสาสปริงทุกเส้น จะมีเชือกยางยืด ซ่อนอยู่ข้างในท่อเสา. เชือกยางยืด ทำหน้าที่รั้งเสาแต่ละท่อน ให้ส่วนปลายของเสา สวมยึดติดกันได้.

 



ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อย คือ สายยางยืด ถูกคมของปลอกท่อเหล็ก บาดจนขาด. แก้ไขง่ายๆ โดยหาปลายมีดคมๆ หรือปลายกรรไกรตัดสายไฟ ขุดลบคมที่ปลอกท่อเหล็ก นั้นเสีย.

จริงใจ ไมตรี.

สู่ดิน ชาวหินฟ้า
igoodmedia.net (2022)
16 เมษายน 2565



# เต็นท์ 2 หลัง ที่เพื่อนให้มา กับการจัดแพ็คของ ใส่รถ Police TEXAS

 

เต้นท์ หลังนี้ เพื่อนรัก, ดำรง ให้มา เหมาะมาก สำหรับทริปยาวๆ ที่ขนสัมภาระด้วย รถพ่วง, ผมชอบมาก.

กันลม กันหนาว กันฝน ดีเยี่ยม. แข็งแรง เก็บ-กาง ง่าย แบบม้วนเก็บ ประหยัดพื้นที่ต่างจาก เต็นท์แบบสปริง.

จึงเหมาะสำหรับนักปั่นทัวริ่ง ทุกคน ทุกสถานะ เพราะพกติดไปกับรถจักรยานได้ ง่ายกว่า เพราะม้วนเก็บแล้ว ยาวเพียง 50 ซม.

ผมให้ คะแนน 5 ดาว อีกเช่นกัน. แนะนำเต็นท์แบบกาง ตัวนี้ครับ.



เต็นท์โครงกึ่งสปริง

เต็นท์หลังนี้ เป็นแบบกึ่งสปริง (พับเก็บเป็นรูปวงกลม). ครูจ๊อด ศราวุฒิ ให้มา เหมาะมาก สำหรับทริปสั้นๆ ใช้สัมภาระน้อยๆ, ( ไม่ต้องใช้รถพ่วง) ผมชอบมาก.

เก็บ-กาง เร็วและง่าย ประหยัดพื้นที่เก็บ. เหมาะสำหรับนักปั่นทัวริ่ง เพราะพับแล้ว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง แคบเพียง 50 ซม. สามารถ พกติดไปกับรถจักรยานได้.

ผมให้ คะแนน 5 ดาว. แนะนำเต็นท์กึ่งสปริง ตัวนี้ครับ.

นี่คือ เต็นท์สปริง ที่ขายทั่วไป นอนได้ 3 คน นี่เล็กสุดแล้ว. เหมาุะสำหรับพกติดรถยนต์ แต่ไม่เหมาะสำหรับจักรยาน. ผมจึงจำเป็นต้อง สร้างรถพ่วง สำหรับบรรทุกเต็นท์หลังนี้. สุดท้าย หนักและไม่ค่อยสะดวก.

 

โชคดี ที่ครูจ๊อด ศราวุฒิ ร.ร.บ้านไทรงาม อ.วิเชียรบุรี ให้เต็นท์ตัวเล็กมา แล้วผมก็แลกเต็นท์หลังนี้ ให้ไป. ขอบคุณ ครูจ๊อดมากนะครับ ที่ยอมให้ผมแลก, ผมชอบมากๆ ครับ และเป็นประโยชน์ต่อผมมาก.


นี่คือ การจัดของ สำหรับทัวริ่ง ชุดใหญ่ชุดเต็ม. เอารถพ่วงไปด้วย บรรทุกของได้มาก. รถล้อเล็ก 20" ให้กำลังมอเตอร์ สำหรับลากรถพ่วงได้ดี.

 

แต่ทุกอย่าง มีงบประมาณพื้นที่บรรทุกได้ ไม่เกิน ถังดำใบนี้ 70 ลิตร. แถมกระเป๋ากลม สำหรับเต็นสปริง ได้อีก 1 ใบ พร้อมถังน้ำแบบพับได้.

 

นี่คือ การจัดของ สำหรับทัวริ่ง ชุดเล็ก ที่ไม่เอารถพ่วงไป. หน้าหนาว อาจมีข้อจำกัด ในการบรรทุกของ. ถ้าจะให้ครบชุด จะทำให้การบรรทุกของตัวรถ ดูหนาไปมาก กลายเป็นรถ "พุ่มพวง 2" ดูอีรุงตุงนัง ไม่เรียบร้อย.

 

ข้อสำคัญ ต้องจัด balance น้ำหนักบรรทุก ให้พอดี. คือ ล้อหลัง 60% ล้อหน้า 40%. ผมเลยต้อง วางแบตเตอรี่ ไว้ที่กลางลำตัวรถ และวางในตำแหน่งต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปไ้ด้. ทำแบบนี้ จะช่วยให้จุดศูนย์ถ่วงของรถกว้าง เวลาปั่น และลงเขาเร็วๆ ไม่โงนเงน.

 

ยอมเสียเวลา ทำที่วางเต็นท์สปริง ไว้ที่ท้ายตะแกรง. กระเป๋าใส่เต็นท์ สามารถใส่เครื่องนอนได้ครบชุด. ส่วนกล่องท้ายรถ ผมเอากล่องสำหรับวางท้ายรถจักรยานยนต์ ขนาด 32 ลิตร มาวางสำหรับใส่ของ. ใส่ของได้เยอะดี และไม่ทำให้รถดูเทอะทะจนเกินไป (ถ้าใหญ่กว่านี้ จะกลายเป็น สาวอ้วนตุ้ยนุ้ยไป แค่นี้ ก็อ้วนมากพอแล้ว). ด้านหน้า ก็เพิ่มกล่องขนาด 15 ลิตร อีกใบ เท่ห์ๆ สำหรับใส่ของจิปาถะได้อีก.

 

เมื่อลองชั่งสมดุลน้ำหนักแล้ว สามารถบรรทุกสัมภาระได้จำกัดพอดี โดยไม่ต้องใช้รถพ่วง ก็ได้. เหมาะสำหรับฤดูร้อน แต่ถ้าฤดูฝน และฤดูหนาว หรือ ที่ต้องเดินทางชนิดแรมเดือน ก็จะใช้รถพ่วง.

 

 

 


สู่ดิน ชาวหินฟ้า
-นักวิชาการ สัมพัทธภาพ วิทยาศาสตร์-พุทธศาสน์ และ
-ศิลปิน วรรณกรรม

[กลับไปหน้าสารบัญ บทความ หนังสือเล่ม ร้อยกรอง บทเพลง]

thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net