igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ

Blog film school

My Media channel

blog

1 หน้าแรก
2
บทความ
หนังสือเล่ม
ร้อยกรอง เพลง
3
บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
วีดิโอ มิวสิควีดิโอ
4
วิชาเรียน นิเทศศาสตร์
ตำราเอกสาร
สื่อการเรียน
 

 

 

 

สัมพัทธภาพวิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์

 

สิ่งที่เล็กที่สุด กับ สิ่งที่ใหญ่ที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่เบาที่สุด กับ สิ่งที่หนักที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่หนาแน่นที่สุด กับ สิ่งที่เบาบางที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่เข้มข้นที่สุด กับ สิ่งที่เจือจางมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สถานที่ที่สว่างจ้ามากที่สุด กับ สถานที่ที่มืดมิดที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด กับ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

แรงดึงดูดมากที่สุด กับ แรงผลักมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งหรือสถานที่ที่ร้อนที่สุด กับ สิ่งหรือสถานที่ที่เย็นที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่แข็งที่สุด กับ สิ่งที่อ่อนนุ่มที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่มีความหนามากที่สุด กับ สิ่งที่มีความบางมากที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สถานที่โกลาหล อึกทึกที่สุด กับ สถานที่เงียบสงัดที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่เคลื่อนที่เร็วที่สุด กับ สิ่งที่เคลื่อนที่ช้าที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่มีอายุยืนยาวที่สุด กับ สิ่งที่มีอายุสั้นที่สุด ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

สิ่งที่โง่ที่สุด (อวิชชา) กับ สิ่งที่ฉลาดที่สุด (วิชชา) ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

ความทุกข์ กับ ความสุข ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

นรก โลก สวรรค์ ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

อัตตา นัตถิตา อนัตตา ก็มีอยู่ในจักรวาลนี้

นิพพาน หาได้ในกายนี้ ซึ่งอยู่ในจักรวาลนี้

จักรวาลนี้ คือ วัฏจักรของ กาลเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต.

 

พุทธศาสน์
แก้ปัญหาการเกิด อันเป็นต้นเหตุของ
แก่ เจ็บ ตาย

 

 

ลัทธิ ความเชื่อ
แก้ปัญหาการตาย และหลังการตาย

 

 

วิทยาศาสตร์
แก้ปัญหาความแก่
ความเจ็บป่วย และทุกขภาพ

 

 

 

สรรพสิ่งสัมบูรณ์ ด้วยสัตตะธัมมะธาตุ (ธัมมะธาตุ 7) :
สัมพัทธภาพ ของ ความจริงสมมุติ กับ ความจริงปรมัตถ์
(The 7–Element: Absolute of Everything)

Copyright ? 2019 by Sudin Chaohinfa
All rights reserved.

 

พิมพ์ครั้งแรก: (online) http://www.igoodmedia.net
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562

 

ข้อมูลทางบรรณานุกรม

สู่ดิน ชาวหินฟ้า. (2562). สรรพสิ่งสัมบูรณ์ ด้วยสัตตะธัมมะธาตุ :
สัมพัทธภาพ ของ ความจริงสมมุติ กับ ความจริงปรมัตถ์
(The 7–Element: Absolute of Everything). 423 หน้า.
(online) http://www.igoodmedia.net

 

 


สารบัญ

คำนำ

อารัมภบทของผู้เขียน 

บทนำ – สัตตะธัมมะธาตุ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน 

บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ : นวัตกรรมทางปัญญา ของเผ่าพันธุ์มนุษย์  

1.1 พันธกิจของ วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
1.2 สิ่งที่พุทธศาสน์ ค้นพบ อาจเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ กำลังค้นหา
1.3 ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
แต่ความจริงที่พระตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ตลอดกาล

บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มวลสาร พลังงาน

2.1 มวล – อนุภาค
2.2 แรง – คลื่น
2.3 อุณหภูมิ – พลังงาน

บทที่ 3 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ 

3.1 มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง
3.2 วัฎจักร – อนันต์

บทที่ 4 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : จิตธาตุ  

4.1 นามรูป – วิญญาณ – สังขาร
4.2 วิมุตติ – นิพพาน

บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ  

5.1 กายภาพของจิตวิญญาณ
5.2 กระบวนการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
5.3 การหลุดพ้น การบรรลุธรรม

บทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ  

6.1 ความจริงสัมบูรณ์ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
6.2 กฎของเวลา
6.3 กฎแห่งนิรันดร์
6.4 กฎสมดุล
6.5 สัมพัทธภาพ (Relativity)
6.6 กฎการอนุรักษ์ (Conservation law)
6.7 มาตรวัด กรอบอ้างอิง

บทที่ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง  

7.1 ปรากฏการณ์ร่วม วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์
7.2 สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์

บทสรุป – สัตตะธัมมะธาตุ : ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง  

ประมวลศัพท์และคำสำคัญ  

บรรณานุกรม

 


สารบัญรูปภาพ

 

ภาพที่ 1.01


   กรวยเวลา แสดงวงจรชีวิตของเอกภพ ...

 

ภาพที่ 2.01


   สัตตะธัมมะธาตุ (ธัมมะธาตุ 7) ปรากฎการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง

 

ภาพที่ 2.02


   ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ ที่เกิดใหม่ ยังมีอยู่ในปัจจุบัน

 

ภาพที่ 2.03


   เปรียบเทียบสัดส่วน ขนาด และมวล ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา

 

ภาพที่ 2.04


   วิวัฒนาการของความเข้าใจ โครงสร้างภายในอะตอม (Atomic models)

 

ภาพที่ 2.05


   ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ แสดงให้เห็นอะตอมแต่ละตัว

 

ภาพที่ 2.06


   มวลของดาราจักรทางช้างเผือก ที่นักดาราศาสตร์คำนวณได้

 

ภาพที่ 2.07a


   แรงพื้นฐานที่ค้นพบแล้ว 4 ชนิด

 

ภาพที่ 2.07b


   แรงพื้นฐานที่ค้นพบแล้ว 4 ชนิด

 

ภาพที่ 2.07c


   แรงพื้นฐานอีก 1 ชนิด ที่สันนิษฐานว่ามี แต่ยังค้นไม่พบ

 

ภาพที่ 2.08


   แบบจำลองมาตรฐาน ของอนุภาคที่ค้นพบ

 

ภาพที่ 2.09


   ส่วนประกอบของคลื่น และลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

 

ภาพที่ 2.10


   เปรียบเทียบขนาดของเครื่องเร่งอนุภาค 5 รุ่น ของศูนย์วิจัย CERN

 

ภาพที่ 2.11


   หน้าที่ของเครื่องเร่งอนุภาค Future Circular Collider หรือ FCC
เพื่อการวิจัยและการค้นหาบิ๊กแบง

 

ภาพที่ 2.12


   ระบบ ขอบเขต และสิ่งแวดล้อม ของอุณหพลศาสตร์

 

 

ภาพที่ 3.01


   การเกิดขึ้นของ มิติที่ 4 ของรถยนต์คันหนึ่ง

 

ภาพที่ 3.02
   การสร้างเทคโนโลยี กระตุ้นระบบประสาทสัมผัสการรับรู้รสจำลอง

 

ภาพที่ 3.03


   กาลอวกาศวัตถุธาตุ มี 4 มิติ แต่กาลอวกาศของจิตธาตุ มีได้อย่างมาก 2 มิติ

 

ภาพที่ 3.04


   ปฏิจจสมุปบาท วัฏจักร เกิด แก่ ตาย ของจิตธาตุ

 

ภาพที่ 3.05


   วัฏจักรของการเกิด ระบบกลไก ชีวะ-ฟิสิกส์ ตามแบบจำลอง
ของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

 

ภาพที่ 3.06


   วัฏจักรของการเกิด ระบบกลไก ชีวะ-ชีวิต ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

 

ภาพที่ 3.07


   วัฏจักรการเกิด-ดับ ของปฏิจจสมุปบาท

 

ภาพที่ 3.08


   รูปทรงเรขาคณิต แฟร็กทัล สร้างจำนวนอนันต์ให้แก่รูปทรง

 

 

ภาพที่ 4.01


   ภพภูมิวิวัฒน์ ของสัตว์ทั้งหลาย

 

ภาพที่ 5.01


   กระบวนการ จิต มโน วิญญาณ

 

ภาพที่ 5.02-


   ก มโน จิต วิญญาณ ผังที่ 1 : แสงกับฉาก

 

ภาพที่ 5.02-


   ข มโน จิต วิญญาณ ผังที่ 8 : จิต มโน วิญญาณ

 

ภาพที่ 5.03


   สัมพัทธภาพกาลเวลาของผู้สังเกต ที่มีต่อสังขารทั้งหลาย

 

ภาพที่ 5.04


   แผนที่ วิมุตติ – นิพพาน ตามพุทธวจน ...

 

 

ภาพที่ 6.01


   ผังโครงสร้างความสัมพันธ์ของ อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจสี่

 

ภาพที่ 6.02


   อนุภาคหนึ่ง เคลื่อนที่ไปในอวกาศ ในระยะเวลาหนึ่ง ก่อให้เกิด
กรวยเวลา และ มิติเวลา (มิติที่ 4)

 

ภาพที่ 6.03


   เวลาแบบปัจจุบันสัมบูรณ์ – เวลาแบบปัจจุบันสัมพัทธ์

 

ภาพที่ 6.04-


   ก กรวยเหตุการณ์ และลูกคลื่นเหตุการณ์ บนเส้นแกนเวลา

 

ภาพที่ 6.04-


   ข กรวยเหตุการณ์ และลูกคลื่นเหตุการณ์ บนเส้นแกนเวลา

 

ภาพที่ 6.04-


   ค ความปั่นป่วนของ กรวยเหตุการณ์ และลูกคลื่นเหตุการณ์

 

ภาพที่ 6.05


   ภาพจำลอง เลขจำนวนจริง กับ เลขจำนวนจินตภาพ
ที่นำมาใช้เป็นจำนวนนับให้แก่ เวลาจริง และ เวลาจินตภาพ.

 

ภาพที่ 6.06


   ผังแสดงทิศทางของเวลาสัมพัทธ์ มุมมองที่มีต่อ เวลาจริง กับ เวลาจินตภาพ

 

ภาพที่ 6.07


   รูปทรงเรขาคณิต แตรของกาเบรียล

 

ภาพที่ 6.08


   ภาพลวงตา Rubn's vase

 

ภาพที่ 6.09


   การไหลของเวลา อาจสร้างภาพลวงตา เพราะ “ปัจจุบัน”
เลื่อนไหลไปตลอดเวลา.

 

ภาพที่ 6.10


   เอกภพที่กำลังขยายตัว ประกอบด้วย ปมเงื่อนปมของสตริง

 

ภาพที่ 6.11


   จุดศูนย์กลางมวล และ เสถียรภาพของสมดุล

 

ภาพที่ 6.12


   แบบจำลองการโน้มสู่ความชอบธรรม

 

ภาพที่ 6.13


   แบบจำลองมโนทัศน์สัมพัทธภาพ

 

ภาพที่ 6.14


   สัมพัทธภาพ ของตำแหน่งและทิศทาง ก่อให้เกิดการตีความหมาย แตกต่างกัน

 

ภาพที่ 6.15


   สัมพัทธภาพ เวลา-ระยะทาง ของ ความเร็วรถ

 

ภาพที่ 6.16


   พฤติกรรมของเวลา ในภาวะแวดล้อมความโน้มถ่วงยิ่งยวด

 

 

ภาพที่ 7.01


   ส่วนผสม อวิชชา สังขาร วิญญาณ – แสง อวกาศ เวลา

 

ภาพที่ 7.02


   การวิวัฒน์ในจุดร่วม ฟิสิกส์กับจิต

 

 


สารบัญตาราง

 

ตารางที่ 1.01
   โครงสร้าง และประเภท ของกลไกชีวะ

ตารางที่ 2.01
   ความสัมพันธ์ระหว่าง ธัมมะธาตุ กับ ลักษณะ – สมบัติ 7 ประการ

ตารางที่ 2.02
   เปรียบเทียบ คุณสมบัติและองค์ประกอบ ของสิ่งที่มีมวล (วัตถุธาตุ-สสาร)
กับ สิ่งที่ไม่มีมวล (ธัมมะธาตุ-จิต) จากหน่วยขนาดเล็ก ไปหน่วยขนาดใหญ่

ตารางที่ 3.01
   วัฏจักรการเกิดขึ้น การเสื่อมสลาย ของสังขารธรรม 6

ตารางที่ 4.01
   โครงสร้างลักษณะทางกายภาพ ของสังขารธรรมระดับต่างๆ

ตารางที่ 5.01
   การอุปมา เหตุปัจจัยที่เป็นที่ตั้งอาศัยของวิญญาณฐิติ

ตารางที่ 5.02
   เปรียบเทียบ มโนทัศน์การปล่อยวางของ สัตตา กับ วิมุตติญานทัสสนะ

ตารางที่ 5.03
   สมบัติการเป็นธาตุของนิวรณ์ 5

ตารางที่ 6.01
   การเชื่อมโยง สังขตลักษณะ ไตรลักษณ์ ขันธ์- 5 อิทัปปัจจยตา
ปฏิจจสมุปบาทซึ่งแวดล้อมด้วย ลักษณะ 3 คุณสมบัติ 4

ตารางที่ 7.01
   การวิวัฒน์ของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ในสัตตะธัมมะธาตุ

ตารางที่ 7.02
   คุณสมบัติสิ่งที่เป็นอาหารของ อวิชชา

 

   


คำนำ

 

มนุษย์เกิดมา พร้อมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่มนุษย์กลับรู้จักธรรมชาติน้อยที่สุด. นักวิทยาศาสตร์ พยายามเรียนรู้ธรรมชาติ แต่ก็ได้ความรู้มาระดับหนึ่ง. มีเพียงพระเจ้าเท่านั้น ที่รู้ในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ ไม่กล้าพูดไม่กล้ายืนยัน. ในบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย มีเพียง ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระองค์เดียว ที่กล้ายืนยันว่า พระองค์หยั่งรู้ความจริงทั้งหมดในธรรมชาติ. ความจริงแท้ ที่ไม่มีมีผู้ใดหรือสิ่งใด จะปฏิเสธได้เลย คือ ธรรมชาติมีการเกิด การเสื่อม และการตาย. ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีสถานะเป็นพระเจ้า หรือเป็นอะไรหรือแบบใด ย่อมไม่รอดพ้นอิทธิพล ของความจริงอันยิ่งใหญ่ นี้ได้เลย. ความจริงทั้งหมดในธรรมชาติ และความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบทั้งหมด ได้บรรจุรวมลงไว้ใน “สัตตะธัมมะธาตุ” นี้แล้ว ทั้งหมดทั้งสิ้น.

 

สัตตะธัมมะธาตุ เป็นองค์ความรู้และความจริง ที่รวบรวมลักษณะ – สมบัติ ที่เป็นพื้นฐานที่สุดของธรรมชาติ 7 ประการ ไว้ในหนังสือเล่มนี้. และในบรรดา ลักษณะ – สมบัติทั้ง 7 ประการนั้น มีส่วนผสม ของ วัตถุธาตุและจิตธาตุ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์. บทที่ 1 ถึง บทที่ 4 ได้อธิบายความหมาย ลักษณะ – สมบัติของธัมมะธาตุ ที่เป็นวัตถุทั้งหมด ส่วนที่เป็นจิตธาตุ ได้แยกอธิบายไว้โดยละเอียด ในบทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ. ผู้เขียนคาดหวังว่า นักวิทยาศาสตร์จะสามารถเข้าใจ เข้าไปให้ถึงจิตวิญญาณได้ โดยอาศัยมโนทัศน์สัมพัทธภาพ เป็นช่องทางสื่อสาร ที่เป็นระเบียบวิธี (revelatory methodology) ในการถ่ายทอด เรียนรู้ ตามแบบฉบับของพระเจ้า และกฎมูลฐานของธรรมชาติ. ในบทที่ 6 จะเป็นเครื่องมือ ช่วยกระชับความรู้วิทยาศาสตร์ กับความจริงพุทธศาสน์ ให้เข้ากันได้ และเทียบเคียงกันได้ แม้ฝ่ายหนึ่งจะอยู่ในโลกของรูปธรรม อีกฝ่ายอยู่ในโลกของนามธรรม ก็ตาม.

 

ทุกๆ ส่วนของแต่ละข้อ ในสัตตะธัมมะธาตุ ประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นความรู้ หลักการทฤษฎี และความคิดเห็น. ผู้อ่านสามารถเข้าถึงส่วนต่างเหล่านั้นได้ไม่ยาก หากไม่เข้าใจในส่วนใด อาจข้ามส่วนนั้นไปก่อน แล้วค่อยย้อนกลับมาศึกษาทบทวนในภายหลัง. เพราะในสัตตะธัมมะธาตุ ประกอบด้วยมิติของความรู้ จากง่ายไปยาก จากตรรกะพื้นฐาน ไปสู่ความลุ่มลึกและซับซ้อน. การใช้หลักตรรกะเหตุผลอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ ต้องใช้จินตนาการร่วมด้วย.

หนังสือเล่มนี้ พยายามอธิบาย ความรู้และความจริง ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านพุทธศาสน์ ในทุกแง่มุมให้มากที่สุด ภายใต้มโนทัศน์สัมพัทธภาพ. มโนทัศน์สัมพัทธภาพ จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการทลายอุปสรรค ความเห็นของฝั่งวิทยาศาสตร์ ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องจิตวิญญาณ ในขณะที่ฝ่ายพุทธศาสน์ ให้ความสนใจ ในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้า แค่เป็นเพียง ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสธาตุ.

แต่ในชีวิตจริง มนุษย์ยังต้องเผชิญกับ ภัยพิบัติ ปัญหามลพิษ การเบียดบียนกันและกัน อันนำไปสู่ความทุกข์ เจ็บป่วย และตายในที่สุด. แม้ว่า นักวิทยาศาสตร์ จะไม่เชื่อในเหตุผล ที่พระเจ้าบอกถึง ต้นเหตุที่คุกคามมนุษย์อยู่นั้น มันซับซ้อนเกินกว่า ที่นักวิทยาศาสตร์ จะเข้าใจ แต่พวกเขาก็มีภาระ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือเฉพาะช่วงชีวิตหนึ่ง ให้แก่มนุษย์ ตามวิธีทางแห่งวิทยาการ คือ วัตถุและเทคโนโลยี ที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างและพัฒนาขึ้น.

 

“นับว่าเป็นการสมควรแล้ว ที่นักวิทยาศาสตร์ มีขอบเขตศึกษา เฉพาะเรื่องของวัตถุธาตุ. ถ้านักวิทยาศาสตรคนใดคนหนึ่ง ออกมาประกาศว่า ตนเองตรัสรู้ธรรมอันวิเศษ หรือค้นพบอนุภาคพระเจ้าแล้ว. ก็ไม่ทราบว่า จะวางพระพุทธเจ้า และพระเจ้าองค์อื่นๆ ไว้ตรงไหน. ขณะเดียวกัน ถ้าพระพุทธเจ้า ประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพแทนไอน์สไตน์ และทฤษฎีบิ๊กแบง ก็ไม่ทราบว่า จะมีนักวิทยาศาสตร์ไว้ทำไม เช่นกัน. ภารกิจร่วมระหว่างวิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ ยังคงดำเนินต่อไปอย่างสันติ.”

 

ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณ แหล่งที่ให้ความรู้และข้อมูลทุกๆ ด้าน ทั้งที่เป็นบุคคล สถานที่ สื่อ กิจกรรม – พิธีกรรม ตลอดจนคำบรรยาย. โดยเฉพาะแหล่งข้อมูลหนังสือ โปรแกรม E-Tipitaka จาก หน่วยงานต่างๆ ของวัดนาป่าพง จังหวัดปทุมธานี และแหล่งข้อมูลสื่อ กิจกรรม – พิธีกรรม คำบรรยาย จากพุทธสถานสันติอโศก กรุงเทพมหานคร. หนังสือเล่มนี้ จะถูกเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ http://www.igoodmedia.net เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ. และหวังว่า สัตตะธัมมะธาตุ จะเป็นจุดเชื่อมแนวคิดและความจริง ให้แก่ผู้ศึกษา ในการรังสรรค์วิสัยทัศน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ศึกษา แก่โลกและสังคมสืบไป.

 

สู่ดิน ชาวหินฟ้า
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

 


อารัมภบท

 

หนังสือเล่มนี้ กำเนิดขึ้นเมื่อครั้งที่ผู้เขียนฟังคำบรรยาย แนวคิดเรื่ององค์รวม (oneness) จากรองศาสตราจารย์ สมควร กวียะ ซึ่งเป็นอาจารย์ของผู้เขียนขณะนั้น. ทำให้ผู้เขียนเกิดข้อกังขามากมาย เพราะสรรพสิ่งในเอกภพนี้ มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว จะใช้หลักการใดที่จะบอกว่า ความเป็นหนึ่งเดียวนั้น มีความเป็นไปได้จริง. ผู้เขียนจึงเริ่มลงมือ ศึกษาแนวทางที่จะจัดการเรื่องนี้ โดยรวบรวมโครงเรื่องเป็นบทความก่อน. แต่เมื่อศึกษาลงลึก จึงพบว่า ความเป็นหนึ่งเดียวนั้นมีความลึกซึ้ง เกินกว่าบทความเพียงบทเดียว จะอธิบายได้ครบถ้วน. จากโครงร่างบทความ ได้ถูกขยายออกเป็นหนังสือเล่ม. ผู้เขียนเริ่มเขียน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 และได้รับการแก้ไขปรับปรุงมาตลอด จนกระทั่งปิดเล่มได้ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562.

สัตตะธัมมะธาตุ เป็นข้อเสนอแนวคิด การเชื่อมโยงหลักการด้าน ฟิสิกส์วิทยาศาสาตร์ กับหลักพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน ในการอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ. โดยอธิบายถึง ลักษณะ สมบัติ และอาการ ของธัมมะธาตุ (mental-data element) ซึ่งต่างก็มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน และ เสื่อมสลายไปสู่แหล่งเดียวกัน ได้อย่างไร.

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการเกิด การดำรงอยู่ การดับสลาย ของสังขารธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของศาสตร์ทุกแขนง. เพื่อสนับสนุนว่า สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ เรียกว่าสิ่งลี้ลับใน เอกภพนั้น แท้จริงแล้ว ไม่ใช่ความลี้ลับสำหรับโลกของจิตวิญญาณ. เพื่อศึกษาว่า ลักษณะ – สมบัติ (distinguishing quality) 7 ประการ ของสัตตะธัมมะธาตุ มีความสอดคล้อง เข้ากันได้หรือไม่ อย่างไร. และเพื่อหาข้อสรุปว่า หลักการทางด้านวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสน์ มีข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกัน มากน้อยเพียงไร เมื่ออธิบายด้วยมโนทัศน์สัมพัทธภาพ (conceptual relativity).

สัตตะธัมมะธาตุ เป็นทฤษฎีเดียว ที่อธิบายและยืนยันว่า สรรพสิ่ง กำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน หลังจากนั้น ก็จะถูกหลอมรวมกัน เป็นสิ่งเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง. ยกเว้น คุณสมบัติข้อที่ 7 (วิมุตติ – นิพพาน). วิมุตติ – นิพพาน เป็นธัมมะธาตุเพียงหนึ่งเดียว ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจาก ธัมมะธาตุอื่นๆ เกือบจะสิ้นเชิง. แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะ–สมบัติทั้ง 7 ประการ ของสัตตะธัมมะธาตุ ที่อธิบายในหนังสือเล่มนี้ แท้จริงคือ องค์รวมของสรรพสิ่ง (oneness) นั่นเอง.

พุทธศาสน์ เป็นศาสนีย์ หรือวจนะ (คำพูด) ของพระพุทธเจ้า (พุทธวจน) ที่ทรงใช้สั่งสอนสาวก ต่อมาถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก. เมื่ออ้างอิงถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ผู้เขียนไม่ใช้คำว่า พุทธศาสตร์ เพราะสิ่งที่อ้างอิงในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด มาจากคำพูดโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เท่านั้น. ถ้าใช้คำ พุทธศาสตร์ อาจทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้เขียนหมายรวมเอาลัทธิ ความเชื่อ และศาสตร์แขนงอื่น ที่ผสมปะปนอยู่ในศาสตร์ของพุทธ ซึ่งผู้เขียนไม่ต้องการเช่นนั้น.

คำแนะนำในการอ่านหนังสือเล่มนี้. ตัวเลขทั้งหมด ในหนังสือเล่ม ผู้เขียนใช้ เลขอารบิก เพื่อเป็นการแสดงความเป็นสากล ของการใช้หน่วยนับ. ส่วน ข้อความ ที่เขียนในวงเล็บใหญ่ [ ] และหรือใช้ อักษรเอียง เป็นความเห็นของผู้เขียน ในกรณีที่ไม่ได้เขียนไว้ในเชิงอรรถ. เพื่อให้การจับใจความ และการตีความหมาย ของถ้อยคำในหนังสือ มีความถูกต้อง และง่ายแก่การอ่าน, ผู้เขียน ได้ใช้เครื่องหมายแบ่งวรรคตอน คอยกำกับประโยคที่เขียนไว้ด้วย คือ

การเว้นวรรค คำ ข้อความ เพื่อต้องการแยก คำ หรือ ข้อความนั้น, ในการบอกความหมายให้ชัดเจน เพราะบางคำที่เขียนติดกัน กับแยกคำ ให้ความหมายต่างกัน และการแยกคำ แยกข้อความ ทำให้อ่านง่ายดูไม่ลานตา. จุด (.) เพื่อบอกว่า สิ้นสุดประโยคแล้ว. สำหรับประโยคยาว จะมีเครื่องหมาย จุลภาค ( ,) เพื่อบอกว่า คำ ข้อความ นั้นถูกแยกส่วนไว้ แต่ยังคงอยู่ในประโยคเดียวกัน. คำ หรือ ข้อความ ในเครื่องหมาย อัญประกาศ ( “ ” ) เป็นคำ หรือ ข้อความ ที่คัดลอกมาจากแหล่งต้นฉบับ. ส่วน คำ หรือ ข้อความในเครื่องหมาย อัญประกาศเดี่ยว (‘ ') ผู้เขียนต้องการเน้นคำ หรือข้อความนั้นอีกครั้ง เป็นการเฉพาะ และเป็นการแทน ตัวอักษรหนาในบางกรณี. คำสำคัญที่ปรากฏครั้งแรก จะเขียนด้วยอักษร ตัวหนา (bold) และหากต้องการเน้นคำสำคัญนั้นอีกครั้ง จะใช้อักษร ตัวเอียง (italic) หรือ หนาเอียง.

 

เกี่ยวกับผู้เขียน


อาจารย์ สู่ดิน ชาวหินฟ้า


วัน เดือน ปี เกิด : 3 มกราคม 2501
• นักวิชาการ สัมพัทธภาพวิทยาศาสตร์–พุทธศาสน์
• ศิลปินด้านวรรณกรรม


นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการสื่อสาร) มหาวิทยาลัยเกริก (พ.ศ. 2549)
website: http://www.igoodmedia.net


e-mail: me@igoodmedia.net
media channel: youtube/igoodmedia.net
“เพราะเราไม่พัก เราไม่เพียร เราจึงอยู่อย่างพอเพียงได้”

 

ผลงาน


• เอกสารการเรียน การผลิตภาพยนตร์และวิดีทัศน์ การเขียนบทภาพยนตร์ และการแสดง (Compact Disc Movie and Vedio Production)
http://www.igoodmedia.net/ author/02_book/textbook_film-
production/chapter_01new.pdf
• ฝ่าอุปสรรค ตามหารักนิรันดร์ (Hopeful with Hearted)
นวนิยาย แฟนตาซี ผจญภัย วิทยาศาสตร์ แอคชั่น จากตัวละครในวรรณคดี และ นิทานพื้นบ้านหลายเรื่อง รวมอยู่ในเรื่องเดียวกัน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ จากบทประพันธ์ของ ดิน หิน ฟ้า
http://www.igoodmedia.net/ index.html?#hwh
• บทภาพยนตร์ เรื่อง พลังรัก พลังชีวิต (alive) และเรื่องอื่นๆ
http://www.igoodmedia.net/ film-school/01_script/screenplay/
02_alive_Screenplay.pdf
http://www.igoodmedia.net/film- school/index.html?#screenplay-index

 

 

สมการของจักรวาล

สรรพสิ่ง มีอยู่ในธรรมชาติสองระบบ คือ สังขตลักษณะ (conditioned) และ อสังขตลักษณะ (unconditioned) ซึ่ง สามารถอธิบายการกำเนิด การดำรงอยู่ และการดับสลาย ของสรรพสิ่ง ได้ด้วยสมการ 2 สมการ คือ

infinity = Zigma et และ |O| = et / infinity หรือ
อนันต์ = ผลรวม ของ พลังงาน กับ เวลา
สัมบูรณ์ = การทอนค่า (หาร) ของ ผลรวมของพลังงานกับเวลา ด้วย ค่าอนันต์.

สัมบูรณ์ คือ ค่าสัมบูรณ์ของศูนย์ หรือ สุญญตา จะมีได้ก็ต่อเมื่อ พลังงาน และ เวลา ถูกหารด้วย ค่าอนันต์ หรือ การตัดขาดของวงจร สังสารวัฏ (ไม่มีการเกิด อุบัติใดๆ)

ตราบใดที่ยังมี พลังงาน และ เวลา อยู่ ณ ที่ใดๆ (ในเอกภพนี้) วัฏจักรการเกิด เสื่อม ตาย ก็จะมีอยู่ตราบนั้น. แม้ว่าสิ่งนั้น จะมีมวล หรือไม่มีมวลเหลืออยู่ก็ตาม (เช่น เทวดา นรก เวลา แสง อวกาศ วิญญาณ). สาเหตุที่เราไม่สามารถมีเพียงสมการเดียว เพราะ ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ได้ถูกแบ่งออกเป็น ระบบสังขตธรรม และ ระบบอสังขตธรรม นั่นเอง.

 

 

 

บทนำ – สัตตะธัมมะธาตุ : องค์รวมชีวิต ภายใต้ทฤษฎีเดียวกัน

บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์ : นวัตกรรมทางปัญญา ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

1.1 พันธกิจของ วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
1.2 สิ่งที่พุทธศาสน์ ค้นพบ อาจเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ กำลังค้นหา
1.3 ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อาจถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
แต่ความจริงที่พระตถาคตตรัสรู้ เป็นความจริงแท้ตลอดกาล

บทที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มวลสาร พลังงาน 

2.1 มวล – อนุภาค
2.2 แรง – คลื่น
2.3 อุณหภูมิ – พลังงาน

บทที่ 3 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : มิติ กาลอวกาศ

3.1 มิติ กาลอวกาศ – รูปทรง
3.2 วัฎจักร – อนันต์

บทที่ 4 ลักษณะและคุณสมบัติมูลฐานของธัมมะธาตุ : จิตธาตุ

4.1 นามรูป – วิญญาณ – สังขาร
4.2 วิมุตติ – นิพพาน

บทที่ 5 ฟิสิกส์แห่งจิตวิญญาณ

5.1 กายภาพของจิตวิญญาณ
5.2 กระบวนการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
5.3 การหลุดพ้น การบรรลุธรรม

บทที่ 6 กฎมูลฐานของธรรมชาติ

6.1 ความจริงสัมบูรณ์ ของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
6.2 กฎของเวลา
6.3 กฎแห่งนิรันดร์
6.4 กฎสมดุล
6.5 สัมพัทธภาพ (Relativity)
6.6 กฎการอนุรักษ์ (Conservation law)
6.7 มาตรวัด กรอบอ้างอิง

บทที่ 7 ปรากฏการณ์สัมบูรณ์ของสรรพสิ่ง

7.1 ปรากฏการณ์ร่วม วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์
7.2 สัมพัทธภาพของ วิทยาศาสตร์ – พุทธศาสน์

บทสรุป – สัตตะธัมมะธาตุ : ทฤษฎีเดียว อธิบายทุกสรรพสิ่ง

ประมวลศัพท์และคำสำคัญ

บทความ (สรุปจากหนังสือทั้งเล่ม)

 

  thinking focus new idea today
คำคม คำคิด แง่คิด ชีวิตดี
igood media
หน้าแรก - ชุมชน คนคิดดีวรรณกรรม - วิชาการ - บทความ เรื่องสั้น ร้อยกรอง เพลงภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ตัวอย่าง วิดีโอ มิวสิควิดีโอ
นิเทศศาสตร์ - วิชาเรียน บรรยาย ตำรา เอกสารการเรียน สื่อการเรียน ถาม ตอบ
 


igood media copyright
 
SUDIN CHAOHINFA, igoodmedia.net : Administration and Producer
Copyright © 2010-2021 intelligence good media homeschool.
All rights reserved. me@igoodmedia.net